แท็ก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การประปาส่วนภูมิภาค
กระทรวงมหาดไทย
เกาะสมุย
น้ำประปา
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำบนเกาะสมุยแล้วมีมติดังนี้
1. รับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบเพื่อใช้ผลิตน้ำประปาบนเกาะสมุย
2. รับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำบนเกาะสมุย
3. เห็นชอบตามความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับกรณีที่กระทรวงมหาดไทย โดยการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองลิปะใหญ่โดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ หรือพิจารณาหาทางเลือกอื่นได้ จึงเห็นชอบให้ กปภ. ดำเนินการปรับปรุงข้อมูลในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการให้เป็นปัจจุบัน โดยให้ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบที่ชัดเจน โดยเฉพาะต่อพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารในบริเวณใกล้เคียงโครงการต่อแหล่งน้ำธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (น้ำตกห้วยหินลาด) และการสะสมของตะกอนดินในอ่างเก็บน้ำ ทั้งในระยะการดำเนินโครงการและเมื่อโครงการแล้วเสร็จ และส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง สำหรับเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ก่อนการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามลำดับ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2546 (การขอผ่อนผันใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ)
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบเพื่อใช้ผลิตน้ำประปาบนเกาะสมุย ปรากฏว่า แผนงานระยะสั้นได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วแต่ยังไม่สามารถให้หลักประกันได้ว่าจะสามารถใช้ผลิตน้ำประปาได้อย่างเพียงพอ สำหรับแผนระยะกลางยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประชา มาลีนนท์) ประธานคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำบนเกาะสมุย เกาะภูเก็ตและเกาะสีชัง จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาแผนสำรองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำประปาในพื้นที่ท่องเที่ยว ซึ่งผลการศึกษาของคณะทำงาน สรุปได้ว่า พื้นที่เกาะสมุยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำประปา จึงได้เสนอแผนสำรองในการป้องกันและแก้ไขปัญหารวม 2 แผน ได้แก่ แผนสำรองเร่งด่วน และแผนสำรองอื่น ๆ ซึ่งผลการดำเนินงานทั้ง 2 แผน สรุปได้ดังนี้
1. แผนสำรองเร่งด่วน กปภ. ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ (Mobile Plant) เสร็จแล้วเมื่อต้นปี 2547 และ กปภ. ได้เร่งเจรจาและทำสัญญากับ บริษัท EAST WATER เพื่อลงทุนผลิตน้ำจืดจากทะเลด้วยระบบ Reverse Osmosis (RO) ที่เกาะสมุยให้ทันในช่วงฤดูแล้งของปี 2548 โดย กปภ. จะซื้อน้ำจืดที่ผลิตได้ในปริมาณไม่น้อยกว่า 2,500 ลบ.ม./วัน เป็นเวลา 15 ปี อัตราค่าน้ำเท่ากับ 45.50 บาท/ลบ.ม. และปรับค่าน้ำตามอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ทุกปี โดยระบบ RO จะสร้างเสร็จและจ่ายน้ำได้ประมาณเดือนมีนาคม 2548 และเนื่องจากเกาะสมุยมีโรงกรองน้ำของ กปภ. ที่สามารถผลิตน้ำประปาได้ด้วย ดังนั้น เมื่อรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการผลิตน้ำประปาเอง กับการซื้อน้ำประปา RO จากบริษัทฯ มารวมกันให้บริการแก่ผู้ใช้น้ำบนเกาะสมุยแล้ว จะทำให้ต้นทุนค่าน้ำประปาบนเกาะสมุยเฉลี่ยได้ประมาณ 25 บาท/ลบ.ม. แต่ในปัจจุบันอัตราค่าน้ำประปาของ กปภ. ที่ใช้ทั่วประเทศรวมถึงเกาะสมุยด้วยจะเฉลี่ยเท่ากับ 11.75 บาท/ลบ.ม. เท่านั้น (มีอัตราระหว่าง 7.75 —21.75 บาท/ลบ.ม.) ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนและถูกมาก เมื่อเปรียบเทียบกับราคาซื้อขายน้ำดิบในช่วงภาวะฝนแล้งที่ผู้ประกอบการในเกาะสมุยซื้อจากภาคเอกชนในราคาประมาณ 150 บาท/ลบ.ม.
อนึ่ง สำหรับภาระต้นทุนค่าน้ำประปาที่เพิ่มสูงขึ้นจากการรับซื้อน้ำประปา RO ของ กปภ. นั้น กระทรวงมหาดไทยจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับอัตราค่าน้ำเฉพาะพื้นที่เกาะสมุยอีกครั้ง เมื่อมีการเริ่มใช้น้ำ RO ในเดือนมีนาคม 2548 โดยจะปรับค่าน้ำในกลุ่มที่อยู่อาศัยให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และจะปรับอัตราค่าน้ำในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ/โรงแรมให้สูงขึ้นเพื่อชดเชยต้นทุนค่าน้ำที่เพิ่มขึ้นและช่วยอุดหนุนค่าน้ำของผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัยที่เก็บในราคาต่ำกว่าต้นทุน
2. แผนสำรองอื่น ๆ ได้แก่ โครงการขุดสระพักน้ำดิบบริเวณพรุกระจูด โดย กปภ. จะซื้อที่ดินบริเวณพรุกระจูดประมาณ 120 ไร่ เพื่อขุดสระพักน้ำดิบ แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่ได้ประมาณการ โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองลิปะใหญ่ ซึ่งจะก่อสร้างในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ โดยกรมชลประทานยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติยังไม่พิจารณาอนุญาตการเข้าใช้พื้นที่ และโครงการก่อสร้างพรุบางรักอยู่ระหว่างการศึกษาของกรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า ได้ดำเนินงานแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำบนเกาะสมุย ดังนี้
1. แผนงานระยะสั้น การพัฒนาพรุหน้าเมือง ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อย
2. แผนงานระยะกลาง
2.1 โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองลิปะใหญ่ ผลการดำเนินงาน
- การสำรวจและออกแบบเขื่อนเสร็จแล้ว
- งานสำรวจกันเขตได้ดำเนินการเสร็จแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำแผนที่
กันเขต ส่วนงานรังวัดแบ่งแยกแปลงกรรมสิทธิ์ จะเริ่มดำเนินการหลังจาก
ได้รับแผนที่กันเขตแล้ว
- การขอใช้ที่ดินป่าสงวน จำนวน 144-2-6.2 ไร่ ขออนุญาตเมื่อวันที่ 23
พฤษภาคม 2546 และได้ดำเนินการตรวจสอบสภาพป่าแล้ว เมื่อวันที่ 13-19
สิงหาคม 2546 ขณะนี้ได้รับอนุญาตโดยสภาเทศบาลตำบลเกาะสมุยให้ใช้พื้นที่
ตามบันทึกการประชุมวันที่ 28 กันยายน 2547 เพื่อการขอใช้พื้นที่ต่อไป
- งานจัดหาที่ดิน มีที่ดินที่ถูกเขตก่อสร้างต้องจ่ายค่าทดแทนประมาณ 30 ราย
เนื้อที่ประมาณ 145 ไร่ (บริเวณหัวงานเนื้อที่ 35 ไร่ บริเวณอ่างเก็บน้ำ
เนื้อที่ประมาณ 110 ไร่) เป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ ราษฎรครอบครองทำ
ประโยชน์สวนผลไม้ เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ ค่าทดแทนทรัพย์สิน ปัจจุบันยัง
ไม่ได้ดำเนินการ
2.2 โครงการพัฒนาพรุบางรัก ผลการดำเนินงาน
- พิจารณารายงานความเหมาะสมเบื้องต้นเสร็จแล้ว
- การประสานงานเรื่องที่ดิน อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไม่สามารถ
ส่งมอบพื้นที่ให้ได้
2.3 โครงการพัฒนาพรุเฉวง
- การก่อสร้างโครงการได้ดำเนินงานโครงการแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2547
และมอบให้เทศบาลตำบลเกาะสมุยไปดูแลรักษาแล้ว ปัจจุบันคุณภาพน้ำไม่ดี
เนื่องจากชุมชนรอบพรุทิ้งน้ำเสียลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ธันวาคม 2547--จบ--
1. รับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบเพื่อใช้ผลิตน้ำประปาบนเกาะสมุย
2. รับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำบนเกาะสมุย
3. เห็นชอบตามความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับกรณีที่กระทรวงมหาดไทย โดยการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองลิปะใหญ่โดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ หรือพิจารณาหาทางเลือกอื่นได้ จึงเห็นชอบให้ กปภ. ดำเนินการปรับปรุงข้อมูลในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการให้เป็นปัจจุบัน โดยให้ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบที่ชัดเจน โดยเฉพาะต่อพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารในบริเวณใกล้เคียงโครงการต่อแหล่งน้ำธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (น้ำตกห้วยหินลาด) และการสะสมของตะกอนดินในอ่างเก็บน้ำ ทั้งในระยะการดำเนินโครงการและเมื่อโครงการแล้วเสร็จ และส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง สำหรับเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ก่อนการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามลำดับ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2546 (การขอผ่อนผันใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ)
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบเพื่อใช้ผลิตน้ำประปาบนเกาะสมุย ปรากฏว่า แผนงานระยะสั้นได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วแต่ยังไม่สามารถให้หลักประกันได้ว่าจะสามารถใช้ผลิตน้ำประปาได้อย่างเพียงพอ สำหรับแผนระยะกลางยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประชา มาลีนนท์) ประธานคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำบนเกาะสมุย เกาะภูเก็ตและเกาะสีชัง จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาแผนสำรองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำประปาในพื้นที่ท่องเที่ยว ซึ่งผลการศึกษาของคณะทำงาน สรุปได้ว่า พื้นที่เกาะสมุยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำประปา จึงได้เสนอแผนสำรองในการป้องกันและแก้ไขปัญหารวม 2 แผน ได้แก่ แผนสำรองเร่งด่วน และแผนสำรองอื่น ๆ ซึ่งผลการดำเนินงานทั้ง 2 แผน สรุปได้ดังนี้
1. แผนสำรองเร่งด่วน กปภ. ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ (Mobile Plant) เสร็จแล้วเมื่อต้นปี 2547 และ กปภ. ได้เร่งเจรจาและทำสัญญากับ บริษัท EAST WATER เพื่อลงทุนผลิตน้ำจืดจากทะเลด้วยระบบ Reverse Osmosis (RO) ที่เกาะสมุยให้ทันในช่วงฤดูแล้งของปี 2548 โดย กปภ. จะซื้อน้ำจืดที่ผลิตได้ในปริมาณไม่น้อยกว่า 2,500 ลบ.ม./วัน เป็นเวลา 15 ปี อัตราค่าน้ำเท่ากับ 45.50 บาท/ลบ.ม. และปรับค่าน้ำตามอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ทุกปี โดยระบบ RO จะสร้างเสร็จและจ่ายน้ำได้ประมาณเดือนมีนาคม 2548 และเนื่องจากเกาะสมุยมีโรงกรองน้ำของ กปภ. ที่สามารถผลิตน้ำประปาได้ด้วย ดังนั้น เมื่อรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการผลิตน้ำประปาเอง กับการซื้อน้ำประปา RO จากบริษัทฯ มารวมกันให้บริการแก่ผู้ใช้น้ำบนเกาะสมุยแล้ว จะทำให้ต้นทุนค่าน้ำประปาบนเกาะสมุยเฉลี่ยได้ประมาณ 25 บาท/ลบ.ม. แต่ในปัจจุบันอัตราค่าน้ำประปาของ กปภ. ที่ใช้ทั่วประเทศรวมถึงเกาะสมุยด้วยจะเฉลี่ยเท่ากับ 11.75 บาท/ลบ.ม. เท่านั้น (มีอัตราระหว่าง 7.75 —21.75 บาท/ลบ.ม.) ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนและถูกมาก เมื่อเปรียบเทียบกับราคาซื้อขายน้ำดิบในช่วงภาวะฝนแล้งที่ผู้ประกอบการในเกาะสมุยซื้อจากภาคเอกชนในราคาประมาณ 150 บาท/ลบ.ม.
อนึ่ง สำหรับภาระต้นทุนค่าน้ำประปาที่เพิ่มสูงขึ้นจากการรับซื้อน้ำประปา RO ของ กปภ. นั้น กระทรวงมหาดไทยจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับอัตราค่าน้ำเฉพาะพื้นที่เกาะสมุยอีกครั้ง เมื่อมีการเริ่มใช้น้ำ RO ในเดือนมีนาคม 2548 โดยจะปรับค่าน้ำในกลุ่มที่อยู่อาศัยให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และจะปรับอัตราค่าน้ำในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ/โรงแรมให้สูงขึ้นเพื่อชดเชยต้นทุนค่าน้ำที่เพิ่มขึ้นและช่วยอุดหนุนค่าน้ำของผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัยที่เก็บในราคาต่ำกว่าต้นทุน
2. แผนสำรองอื่น ๆ ได้แก่ โครงการขุดสระพักน้ำดิบบริเวณพรุกระจูด โดย กปภ. จะซื้อที่ดินบริเวณพรุกระจูดประมาณ 120 ไร่ เพื่อขุดสระพักน้ำดิบ แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่ได้ประมาณการ โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองลิปะใหญ่ ซึ่งจะก่อสร้างในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ โดยกรมชลประทานยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติยังไม่พิจารณาอนุญาตการเข้าใช้พื้นที่ และโครงการก่อสร้างพรุบางรักอยู่ระหว่างการศึกษาของกรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า ได้ดำเนินงานแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำบนเกาะสมุย ดังนี้
1. แผนงานระยะสั้น การพัฒนาพรุหน้าเมือง ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อย
2. แผนงานระยะกลาง
2.1 โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองลิปะใหญ่ ผลการดำเนินงาน
- การสำรวจและออกแบบเขื่อนเสร็จแล้ว
- งานสำรวจกันเขตได้ดำเนินการเสร็จแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำแผนที่
กันเขต ส่วนงานรังวัดแบ่งแยกแปลงกรรมสิทธิ์ จะเริ่มดำเนินการหลังจาก
ได้รับแผนที่กันเขตแล้ว
- การขอใช้ที่ดินป่าสงวน จำนวน 144-2-6.2 ไร่ ขออนุญาตเมื่อวันที่ 23
พฤษภาคม 2546 และได้ดำเนินการตรวจสอบสภาพป่าแล้ว เมื่อวันที่ 13-19
สิงหาคม 2546 ขณะนี้ได้รับอนุญาตโดยสภาเทศบาลตำบลเกาะสมุยให้ใช้พื้นที่
ตามบันทึกการประชุมวันที่ 28 กันยายน 2547 เพื่อการขอใช้พื้นที่ต่อไป
- งานจัดหาที่ดิน มีที่ดินที่ถูกเขตก่อสร้างต้องจ่ายค่าทดแทนประมาณ 30 ราย
เนื้อที่ประมาณ 145 ไร่ (บริเวณหัวงานเนื้อที่ 35 ไร่ บริเวณอ่างเก็บน้ำ
เนื้อที่ประมาณ 110 ไร่) เป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ ราษฎรครอบครองทำ
ประโยชน์สวนผลไม้ เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ ค่าทดแทนทรัพย์สิน ปัจจุบันยัง
ไม่ได้ดำเนินการ
2.2 โครงการพัฒนาพรุบางรัก ผลการดำเนินงาน
- พิจารณารายงานความเหมาะสมเบื้องต้นเสร็จแล้ว
- การประสานงานเรื่องที่ดิน อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไม่สามารถ
ส่งมอบพื้นที่ให้ได้
2.3 โครงการพัฒนาพรุเฉวง
- การก่อสร้างโครงการได้ดำเนินงานโครงการแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2547
และมอบให้เทศบาลตำบลเกาะสมุยไปดูแลรักษาแล้ว ปัจจุบันคุณภาพน้ำไม่ดี
เนื่องจากชุมชนรอบพรุทิ้งน้ำเสียลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ธันวาคม 2547--จบ--