คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนการลงทุน ฉบับที่ 9 ระยะที่ 2 สำหรับแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าปี 2547 — 2550 (ฉบับปรับปรุง) ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยใช้ค่าพยากรณ์ความต้องการการไฟฟ้าชุดใหม่ (ฉบับเดือนมกราคม 2547) และใช้งบประมาณลงทุนรวม 38,494 ล้านบาทตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า
1. ปัจจุบัน กฟน. อยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ปีงบประมาณ 2547-2550 โดยใช้ค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าของคณะอนุกรรมการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ฉบับเดือนสิงหาคม 2545 ซึ่งคาดว่าความต้องการพลังไฟฟ้าในเขตบริการของ กฟน. จะเพิ่มขึ้นประมาณ 1,405 เมกะวัตต์ หรือมีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.87 ต่อปี
2. เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศได้ขยายตัวมากกว่าที่ประมาณการไว้ ทำให้ความต้องการไฟฟ้าในเขตพื้นที่ของ กฟน. ในปี 2546 มีค่าสูงขึ้นมากกว่าค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าของคณะอนุกรรมการการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ฉบับเดือนสิงหาคม 2545 ดังนั้น คณะอนุกรรมการพยากรณ์ฯ จึงได้จัดทำค่าพยากรณ์ฯ ชุดใหม่ฉบับเดือนมกราคม 2547 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ กฟน. จำเป็นต้องทบทวนแผนการลงทุน ตามแผนฯ ปี 25547-2550 ให้สอดคล้องกับค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าฉบับเดือนมกราคม 2547 และรักษาความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าให้อยู่ในระดับเดียวกันกับแผนฯ ปีงบประมาณ 2547-2550 เดิม ดังนี้
2.1 ค่าพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า คณะอนุกรรมการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ได้จัดทำค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ฉบับเดือนมกราคม 2547 แยกเป็น 3 กรณี คือ กรณีเศรษฐกิจเติบโตเร็ว (Target Economic Growth:TEG) กรณีเศรษฐกิจเติบโตปานกลาง (Moderate Economic Growth:MEG) และกรณีเศรษฐกิจเติบโตช้า (Low Economic Growth:LEG) โดยในช่วงปี 2547-2550 ค่าพยากรณ์ความต้องการพลังไฟฟ้า กรณี TEG MEG และ LEG เพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 8.22 6.42 และ 3.99 (ค่าพยากรณ์ฯ เดิม เพิ่มขึ้นในอัตราการเฉลี่ยร้อยละ 4.87) โดยใช้ค่าพยากรณ์ ความต้องการไฟฟ้าฉบับเดือนมกราคม 2547 กรณีเศรษฐกิจเติบโตปานกลาง MEG เป็นกรณีฐาน (Base Case)
2.2 งบประมาณลงทุนของแผนฯ ปี 2547- 2550 (ฉบับปรับปรุง) ประกอบด้วย ส่วนที่เป็นเงินตราต่างประเทศ สำหรับเป็นค่าอุปกรณ์ต่างประเทศ และส่วนที่เป็นเงินตราในประเทศสำหรับเป็นค่าภาษีนำเข้าอุปกรณ์ต่างประเทศ ค่าวัสดุอุปกรณ์ในประเทศ ค่าแรงก่อสร้างติดตั้งและค่าดำเนินการ (Overhead Charge) โดยประมาณจากปีฯ 2546 (ณ อัตราแลกเปลี่ยน 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ) บวกสำรองเผื่อขาด (Contingency) ร้อยละ 5 แล้วปรับเป็นราคาตามปีที่คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายจริง (Current Price) โดยติดอัตราการเพิ่มของราคา (Escalation Factor) สำหรับเงินตราต่างประเทศ ในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี และเงินตราในประเทศ ในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี มียอดรวมทั้งสิ้น 38,494 ล้านบาท เป็นเงินตราต่างประเทศ 13,914 ล้านบาท (ร้อยละ 36) และเงินตราในประเทศ 24,580 ล้านบาท (ร้อยละ 64) งบประมาณดังกล่าวรวมดอกเบี้ยระหว่างการก่อสร้าง จำนวน 1,833 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ธันวาคม 2547--จบ--
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า
1. ปัจจุบัน กฟน. อยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ปีงบประมาณ 2547-2550 โดยใช้ค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าของคณะอนุกรรมการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ฉบับเดือนสิงหาคม 2545 ซึ่งคาดว่าความต้องการพลังไฟฟ้าในเขตบริการของ กฟน. จะเพิ่มขึ้นประมาณ 1,405 เมกะวัตต์ หรือมีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.87 ต่อปี
2. เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศได้ขยายตัวมากกว่าที่ประมาณการไว้ ทำให้ความต้องการไฟฟ้าในเขตพื้นที่ของ กฟน. ในปี 2546 มีค่าสูงขึ้นมากกว่าค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าของคณะอนุกรรมการการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ฉบับเดือนสิงหาคม 2545 ดังนั้น คณะอนุกรรมการพยากรณ์ฯ จึงได้จัดทำค่าพยากรณ์ฯ ชุดใหม่ฉบับเดือนมกราคม 2547 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ กฟน. จำเป็นต้องทบทวนแผนการลงทุน ตามแผนฯ ปี 25547-2550 ให้สอดคล้องกับค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าฉบับเดือนมกราคม 2547 และรักษาความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าให้อยู่ในระดับเดียวกันกับแผนฯ ปีงบประมาณ 2547-2550 เดิม ดังนี้
2.1 ค่าพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า คณะอนุกรรมการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ได้จัดทำค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ฉบับเดือนมกราคม 2547 แยกเป็น 3 กรณี คือ กรณีเศรษฐกิจเติบโตเร็ว (Target Economic Growth:TEG) กรณีเศรษฐกิจเติบโตปานกลาง (Moderate Economic Growth:MEG) และกรณีเศรษฐกิจเติบโตช้า (Low Economic Growth:LEG) โดยในช่วงปี 2547-2550 ค่าพยากรณ์ความต้องการพลังไฟฟ้า กรณี TEG MEG และ LEG เพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 8.22 6.42 และ 3.99 (ค่าพยากรณ์ฯ เดิม เพิ่มขึ้นในอัตราการเฉลี่ยร้อยละ 4.87) โดยใช้ค่าพยากรณ์ ความต้องการไฟฟ้าฉบับเดือนมกราคม 2547 กรณีเศรษฐกิจเติบโตปานกลาง MEG เป็นกรณีฐาน (Base Case)
2.2 งบประมาณลงทุนของแผนฯ ปี 2547- 2550 (ฉบับปรับปรุง) ประกอบด้วย ส่วนที่เป็นเงินตราต่างประเทศ สำหรับเป็นค่าอุปกรณ์ต่างประเทศ และส่วนที่เป็นเงินตราในประเทศสำหรับเป็นค่าภาษีนำเข้าอุปกรณ์ต่างประเทศ ค่าวัสดุอุปกรณ์ในประเทศ ค่าแรงก่อสร้างติดตั้งและค่าดำเนินการ (Overhead Charge) โดยประมาณจากปีฯ 2546 (ณ อัตราแลกเปลี่ยน 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ) บวกสำรองเผื่อขาด (Contingency) ร้อยละ 5 แล้วปรับเป็นราคาตามปีที่คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายจริง (Current Price) โดยติดอัตราการเพิ่มของราคา (Escalation Factor) สำหรับเงินตราต่างประเทศ ในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี และเงินตราในประเทศ ในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี มียอดรวมทั้งสิ้น 38,494 ล้านบาท เป็นเงินตราต่างประเทศ 13,914 ล้านบาท (ร้อยละ 36) และเงินตราในประเทศ 24,580 ล้านบาท (ร้อยละ 64) งบประมาณดังกล่าวรวมดอกเบี้ยระหว่างการก่อสร้าง จำนวน 1,833 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ธันวาคม 2547--จบ--