คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรกลุ่มสินค้า และอนุมัติร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและการยกเว้นอากรศุลกากร ตามาตรา12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2548 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อมิให้โครงสร้างภาษีศุลกากรเป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการผลิตในประเทศ ซึ่งจะสงผลกระทบโดยรวมต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมและสมาคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาร่วมกัน เห็นควรเสนอแนวทางเพื่อให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยเสนอการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรของสินค้าจำนวน 19 ประเภทย่อย ดังนี้
1. น้ำผลไม้เข้มข้น จำนวน 6 ประเภทย่อย ได้แก่ น้ำผลไม้เข้มข้นจำพวกส้ม (ประเภทย่อย 2009.11 2009.19 และ 2009.39) น้ำเกรปฟรุ๊ต (ประเภทย่อย 2009.29) น้ำองุ่น (ประเภทย่อย 2009.69) และน้ำแอปเปิ้ล (ประเภทย่อย 2009.79) เห็นควรปรับลดอัตราอากรขาเข้าจากร้อยละ 30 ลงเหลือร้อยละ 10 เท่ากับอัตราอากรตามโครงสร้างฯ ที่กระทรวงการคลังกำหนด
2. หินอ่อนหินแกรนิต จำนวน 8 ประเภทย่อย เห็นควรปรับปรุงโครงสร้างอัตราอากรขาเข้า ดังนี้
(1) หินก้อนดิบ จำนวน 5 ประเภทย่อย ได้แก่ ประเภทย่อย 2515.11 2515.20 2516.11 2516.21 และ 2516.90 ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ได้จากเหมืองโดยตรง เห็นควรปรับลดอัตราอากรขาเข้าจากร้อยละ 8.75 ลงเหลือร้อยละ 1
(2) หินก้อนเหลี่ยมกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งมีขนาดด้านกว้าง ยาว และสูงไม่น้อยกว่าด้านละ 50 เซนติเมตร จำนวน 3 ประเภทย่อย ได้แก่ ประเภทย่อย 2515.12 2516.12 และ 2516.22 เห็นควรปรับลดอัตราอากรขาเข้าจากร้อยละ 20 ลงเหลือร้อยละ 1 โดยเขียนแยกเป็นรายการเฉพาะ ทั้งนี้ เนื่องจากตามกระบวนการผลิตหินลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็นวัตถุดิบขั้นต้นเช่นเดียวกับหินก้อนดิบที่สกัดได้จากเหมืองหินโดยตรง
(3) สำหรับหินแผ่นกึ่งสำเร็จรูปชนิดที่มีผิวหน้าไม่ขัดมัน ซึ่งจัดอยู่ในประเภทย่อย 2515.12 2516.12 และ 2516.22 เช่นกัน เห็นควรกำหนดอัตราอากรขาเข้าไว้ที่ร้อยละ 12.5 ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบโรงงานแปรรูปหินในประเทศได้มีส่วนต่างของอัตราอากรขาเข้าระหว่างวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปที่ผลิตได้ในอัตราที่เหมาะสม
3. โพลิอะไมด์ ตามประเภทย่อย 3908.10 เห็นควรปรับลดอัตราอากรขาเข้าจากร้อยละ 20 ลงเหลือร้อยละ 5 เท่ากับอัตราอากรตามโครงสร้างการผลิตที่กระทรวงการคลังกำหนด
4. ผ้าไหม จำนวน 3 ประเภทย่อย ได้แก่ ประเภทย่อย 5007.10 5007.20 และ 5007.90 เห็นควรกำหนดอัตราอากรขาเข้าไว้ที่ร้อยละ 17.5 ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมไหมไทยได้มีระยะเลาในการปรับตัว และเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับผ้าไหมที่นำเข้าจากประเทศจีนและอินเดีย
5. แผ่นเหล็ก TMBP ตามประเภทย่อย 7209.18 เห็นควรกำหนดอัตราอากรขาเข้าไว้ที่ อัตราร้อยละ 1 สำหรับการนำเข้าจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548
การดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าจำนวน 19 ประเภทย่อยดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนการผลิตในส่วนของภาระภาษีนำเข้า และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตในประเทศให้สามารถแข่งขันได้ ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวคาดว่าจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในส่วนของภาษีศุลกากรไปเป็นจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 173 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ธันวาคม 2547--จบ--
กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมและสมาคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาร่วมกัน เห็นควรเสนอแนวทางเพื่อให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยเสนอการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรของสินค้าจำนวน 19 ประเภทย่อย ดังนี้
1. น้ำผลไม้เข้มข้น จำนวน 6 ประเภทย่อย ได้แก่ น้ำผลไม้เข้มข้นจำพวกส้ม (ประเภทย่อย 2009.11 2009.19 และ 2009.39) น้ำเกรปฟรุ๊ต (ประเภทย่อย 2009.29) น้ำองุ่น (ประเภทย่อย 2009.69) และน้ำแอปเปิ้ล (ประเภทย่อย 2009.79) เห็นควรปรับลดอัตราอากรขาเข้าจากร้อยละ 30 ลงเหลือร้อยละ 10 เท่ากับอัตราอากรตามโครงสร้างฯ ที่กระทรวงการคลังกำหนด
2. หินอ่อนหินแกรนิต จำนวน 8 ประเภทย่อย เห็นควรปรับปรุงโครงสร้างอัตราอากรขาเข้า ดังนี้
(1) หินก้อนดิบ จำนวน 5 ประเภทย่อย ได้แก่ ประเภทย่อย 2515.11 2515.20 2516.11 2516.21 และ 2516.90 ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ได้จากเหมืองโดยตรง เห็นควรปรับลดอัตราอากรขาเข้าจากร้อยละ 8.75 ลงเหลือร้อยละ 1
(2) หินก้อนเหลี่ยมกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งมีขนาดด้านกว้าง ยาว และสูงไม่น้อยกว่าด้านละ 50 เซนติเมตร จำนวน 3 ประเภทย่อย ได้แก่ ประเภทย่อย 2515.12 2516.12 และ 2516.22 เห็นควรปรับลดอัตราอากรขาเข้าจากร้อยละ 20 ลงเหลือร้อยละ 1 โดยเขียนแยกเป็นรายการเฉพาะ ทั้งนี้ เนื่องจากตามกระบวนการผลิตหินลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็นวัตถุดิบขั้นต้นเช่นเดียวกับหินก้อนดิบที่สกัดได้จากเหมืองหินโดยตรง
(3) สำหรับหินแผ่นกึ่งสำเร็จรูปชนิดที่มีผิวหน้าไม่ขัดมัน ซึ่งจัดอยู่ในประเภทย่อย 2515.12 2516.12 และ 2516.22 เช่นกัน เห็นควรกำหนดอัตราอากรขาเข้าไว้ที่ร้อยละ 12.5 ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบโรงงานแปรรูปหินในประเทศได้มีส่วนต่างของอัตราอากรขาเข้าระหว่างวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปที่ผลิตได้ในอัตราที่เหมาะสม
3. โพลิอะไมด์ ตามประเภทย่อย 3908.10 เห็นควรปรับลดอัตราอากรขาเข้าจากร้อยละ 20 ลงเหลือร้อยละ 5 เท่ากับอัตราอากรตามโครงสร้างการผลิตที่กระทรวงการคลังกำหนด
4. ผ้าไหม จำนวน 3 ประเภทย่อย ได้แก่ ประเภทย่อย 5007.10 5007.20 และ 5007.90 เห็นควรกำหนดอัตราอากรขาเข้าไว้ที่ร้อยละ 17.5 ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมไหมไทยได้มีระยะเลาในการปรับตัว และเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับผ้าไหมที่นำเข้าจากประเทศจีนและอินเดีย
5. แผ่นเหล็ก TMBP ตามประเภทย่อย 7209.18 เห็นควรกำหนดอัตราอากรขาเข้าไว้ที่ อัตราร้อยละ 1 สำหรับการนำเข้าจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548
การดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าจำนวน 19 ประเภทย่อยดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนการผลิตในส่วนของภาระภาษีนำเข้า และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตในประเทศให้สามารถแข่งขันได้ ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวคาดว่าจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในส่วนของภาษีศุลกากรไปเป็นจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 173 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ธันวาคม 2547--จบ--