คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการชดเชยค่าภาษีอากร สินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรเป็นการส่งเสริมการส่งออก โดยการให้เงินชดเชยแก่ผู้ส่งออกในรูปบัตรภาษีตามอัตราที่กำหนดไว้ตามประเภทพิกัดอัตราศุลกากร ตั้งแต่อัตรา 0 ถึงอัตราร้อยละ 3.86 ของมูลค่าส่งออกไม่รวมค่าขนส่งและค่าประกันภัย ทั้งนี้ผู้ขอใช้สิทธิจะต้องไม่ใช้สิทธิขอคืนหรือยกเว้นอากรจากมาตรการส่งเสริมการส่งออกอื่น แต่เนื่องจากการปฏิบัติตามมาตรการชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรที่ผ่านมามีปัญหา ดังนี้
1.1 ปัญหาการกำหนดอัตราเงินชดเชย เนื่องจากการคำนวณอัตราเงินชดเชยใช้ข้อมูลโครงสร้างการผลิตจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต (Input-output Table) เป็นหลัก ซึ่งมีความล่าช้าของข้อมูล ปัจจุบันใช้ข้อมูล ปี 2541 จึงทำให้ค่าที่คำนวณได้อาจสูงหรือต่ำว่าความเป็นจริง ไม่เป็นไปตามภาระภาษีที่แฝงอยู่
1.2 ปัญหาข้อปฏิบัติตามเงื่อนไขขององค์การการค้าโลก ที่กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการห้ามอุดหนุนการส่งออก (Prohibited Subsidy) ในกรณีที่กำหนดอัตราเงินชดเชยเกินว่าภาระภาษีอากรที่แฝงอยู่จริง ก็จะเข้าข่ายเป็นการให้การอุดหนุนการส่งออก และอาจทำให้ถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้ได้
1.3 ปัญหาในการคืนเงินชดเชย กรมศุลกากรมีภาระมากในการคืนเงินชดเชย เนื่องจากต้องตรวจสอบเอกสารจำนวนมาก และการจ่ายเงินชดเชยที่พิจารณาเฉพาะหลักฐานการส่งออก จึงอาจเกิดการผิดพลาด หรือทุจริตได้ง่าย เช่น สินค้าส่งออกไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในใบขนสินค้า หรือไม่ได้ส่งออกสินค้าจริง เป็นต้น
2. คณะกรรมการพิจารณาชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรได้ดำนินการทบทวนมาตรการชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรให้มีความเหมาะสมกับโครงสร้างภาษีอากรมาตรการส่งเสริมการส่งออกที่มีอยู่หลายมาตรการและเพื่อให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพและ ส่งผลต่อเสถียรภาพการคลังในระยะยาว คณะกรรมการพิจารณาชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรจึงเห็นควรให้ทยอยยกเลิกการให้เงินชดเชยเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ยกเลิกสินค้าที่มีอัตราเงินชดเชยเป็น 0 และไม่มีผู้ขอรับเงินชดเชยใน 3 ปี ที่ผ่านมา โดยดำเนินการในปีแรก เพื่อลดรายการสินค้าที่ไม่จำเป็นออกจากประกาศำหนดอัตราเงินชดเชยที่ใช้บังคับอยู่ ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ส่งออก
ขั้นตอนที่ 2 ยกเลิกให้เงินชดเชยแก่ผู้ประกอบการที่สามารถใช้สิทธิประโยชน์มาตรการอื่นได้ ดำเนินการในปีที่ 2 และปีที่ 3 โดยให้ผู้ส่งออกหันไปใช้สิทธิประโยชน์มาตรการอื่นที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเช่นเดียวกัน
ขั้นตอนที่ 3 ยกเลิกการให้เงินชดเชยทั้งหมดในปีที่ 4 โดยจะต้องมีมาตรการเพื่อรองรับผู้ประกอบการ SMEs
ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณาชดเชยค่าภาษีอากรฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวในขั้นที่ 1 แล้ว โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังออกประกาศ ที่ อ3/2547 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2547 เพื่อกำหนดชนิดสินค้าที่ไม่ให้เงินชดเชยสำหรับสินค้าที่มีอัตราเงินชดเชยเป็น 0 และสินค้าที่ไม่มีผู้ขอรับเงินชดเชยใน 3 ปี ที่ผ่านมา จำนวน 1,569 ประเภทพิกัด
นอกจากนี้กระทรวงการคลังได้ปรับปรุงระเบียบพิธีการในการส่งออกที่มีอยู่ให้เอื้อต่อผู้ส่งออกมากยิ่งขึ้น เช่น การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระบบ EDI (Electronic Data Interchange) มาใช้ในการผ่านพิธีการนำเข้า ส่งออก การคืนเงินภาษีอากรแก่ผู้ส่งออกที่รวดเร็ว และศึกษาแนวทางการปรับปรุงการคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ให้สามารถคืนให้แก่ผู้ส่งออกตามอัตราอากรที่กำหนด ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ผู้ส่งออกสามารถใช้สิทธิได้โดยง่าย เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ธันวาคม 2547--จบ--
1. มาตรการชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรเป็นการส่งเสริมการส่งออก โดยการให้เงินชดเชยแก่ผู้ส่งออกในรูปบัตรภาษีตามอัตราที่กำหนดไว้ตามประเภทพิกัดอัตราศุลกากร ตั้งแต่อัตรา 0 ถึงอัตราร้อยละ 3.86 ของมูลค่าส่งออกไม่รวมค่าขนส่งและค่าประกันภัย ทั้งนี้ผู้ขอใช้สิทธิจะต้องไม่ใช้สิทธิขอคืนหรือยกเว้นอากรจากมาตรการส่งเสริมการส่งออกอื่น แต่เนื่องจากการปฏิบัติตามมาตรการชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรที่ผ่านมามีปัญหา ดังนี้
1.1 ปัญหาการกำหนดอัตราเงินชดเชย เนื่องจากการคำนวณอัตราเงินชดเชยใช้ข้อมูลโครงสร้างการผลิตจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต (Input-output Table) เป็นหลัก ซึ่งมีความล่าช้าของข้อมูล ปัจจุบันใช้ข้อมูล ปี 2541 จึงทำให้ค่าที่คำนวณได้อาจสูงหรือต่ำว่าความเป็นจริง ไม่เป็นไปตามภาระภาษีที่แฝงอยู่
1.2 ปัญหาข้อปฏิบัติตามเงื่อนไขขององค์การการค้าโลก ที่กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการห้ามอุดหนุนการส่งออก (Prohibited Subsidy) ในกรณีที่กำหนดอัตราเงินชดเชยเกินว่าภาระภาษีอากรที่แฝงอยู่จริง ก็จะเข้าข่ายเป็นการให้การอุดหนุนการส่งออก และอาจทำให้ถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้ได้
1.3 ปัญหาในการคืนเงินชดเชย กรมศุลกากรมีภาระมากในการคืนเงินชดเชย เนื่องจากต้องตรวจสอบเอกสารจำนวนมาก และการจ่ายเงินชดเชยที่พิจารณาเฉพาะหลักฐานการส่งออก จึงอาจเกิดการผิดพลาด หรือทุจริตได้ง่าย เช่น สินค้าส่งออกไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในใบขนสินค้า หรือไม่ได้ส่งออกสินค้าจริง เป็นต้น
2. คณะกรรมการพิจารณาชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรได้ดำนินการทบทวนมาตรการชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรให้มีความเหมาะสมกับโครงสร้างภาษีอากรมาตรการส่งเสริมการส่งออกที่มีอยู่หลายมาตรการและเพื่อให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพและ ส่งผลต่อเสถียรภาพการคลังในระยะยาว คณะกรรมการพิจารณาชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรจึงเห็นควรให้ทยอยยกเลิกการให้เงินชดเชยเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ยกเลิกสินค้าที่มีอัตราเงินชดเชยเป็น 0 และไม่มีผู้ขอรับเงินชดเชยใน 3 ปี ที่ผ่านมา โดยดำเนินการในปีแรก เพื่อลดรายการสินค้าที่ไม่จำเป็นออกจากประกาศำหนดอัตราเงินชดเชยที่ใช้บังคับอยู่ ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ส่งออก
ขั้นตอนที่ 2 ยกเลิกให้เงินชดเชยแก่ผู้ประกอบการที่สามารถใช้สิทธิประโยชน์มาตรการอื่นได้ ดำเนินการในปีที่ 2 และปีที่ 3 โดยให้ผู้ส่งออกหันไปใช้สิทธิประโยชน์มาตรการอื่นที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเช่นเดียวกัน
ขั้นตอนที่ 3 ยกเลิกการให้เงินชดเชยทั้งหมดในปีที่ 4 โดยจะต้องมีมาตรการเพื่อรองรับผู้ประกอบการ SMEs
ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณาชดเชยค่าภาษีอากรฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวในขั้นที่ 1 แล้ว โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังออกประกาศ ที่ อ3/2547 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2547 เพื่อกำหนดชนิดสินค้าที่ไม่ให้เงินชดเชยสำหรับสินค้าที่มีอัตราเงินชดเชยเป็น 0 และสินค้าที่ไม่มีผู้ขอรับเงินชดเชยใน 3 ปี ที่ผ่านมา จำนวน 1,569 ประเภทพิกัด
นอกจากนี้กระทรวงการคลังได้ปรับปรุงระเบียบพิธีการในการส่งออกที่มีอยู่ให้เอื้อต่อผู้ส่งออกมากยิ่งขึ้น เช่น การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระบบ EDI (Electronic Data Interchange) มาใช้ในการผ่านพิธีการนำเข้า ส่งออก การคืนเงินภาษีอากรแก่ผู้ส่งออกที่รวดเร็ว และศึกษาแนวทางการปรับปรุงการคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ให้สามารถคืนให้แก่ผู้ส่งออกตามอัตราอากรที่กำหนด ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ผู้ส่งออกสามารถใช้สิทธิได้โดยง่าย เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ธันวาคม 2547--จบ--