คณะรัฐมนตรีอนุมัติกระบวนการพัฒนากฎหมายตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
1. จัดประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษเพื่อพิจารณาแผนการพัฒนากฎหมายแห่งชาติ ในวันอังคารที่ 15 มีนาคม 2548 ช่วงบ่าย
2. ให้กระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐทุกแห่งจัดทำแผนการพัฒนากฎหมายของแต่ละกระทรวง และหน่วยงาน โดยให้นำเสนอแผนดังกล่าวให้คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมายพิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 เว้นแต่กระทรวงหรือกรมที่ไม่มีกฎหมายในความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา ทั้งนี้ แผนดังกล่าวอย่างน้อยจะต้องมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 กฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับที่จะต้องดำเนินการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับกรอบนโยบายในการพัฒนากฎหมายซึ่งมีหลัก 3 ประการ และแนวทาง 15 ประการ ซึ่งสรุปสาระสำคัญของการปรับปรุงในแต่ละเรื่องให้ชัดเจน
2.2 หน่วยงานและบุคคลผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตามแผน
2.3 ระยะเวลาแล้วเสร็จเพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีของแต่ละเรื่อง ซึ่งต้องไม่เกินปี พ.ศ. 2548
2.4 รายละเอียดอื่น ๆ ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนด
เมื่อได้รับแผนดังกล่าวแล้ว ให้คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาการกฎหมายพิจารณาและจัดทำแผนการพัฒนากฎหมายแห่งชาติเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในวันอังคารที่ 15 มีนาคม 2548 ต่อไป
3. ให้กระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนากฎหมายของแต่ละหน่วยงานมีอำนาจหน้าที่กำกับ ติดตาม เร่งรัดการปฏิบัติตามแผนการพัฒนากฎหมายของหน่วยงานและตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย หรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการนโยบายฯ แต่งตั้งโดยมอบหมายให้ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวงหรือที่ปรึกษากฎหมายของกระทรวง เป็นประธานกรรมการ และปฏิบัติหน้าที่ผู้ประสานงานการพัฒนากฎหมายกับคณะอนุกรรมการกำกับการพัฒนากฎหมายของส่วนราชการซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานด้วย
4. ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการกำหนดตัวชี้วัดในการพัฒนากฎหมายไว้ในข้อตกลงคำรับรองการพัฒนาการปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2548 ของทุกกระทรวง และกรม เว้นแต่กระทรวงหรือกรมที่ไม่มีกฎหมายในความ-รับผิดชอบที่ต้องพัฒนา และให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการร่วมกับคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมายร่วมกันเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว
5. ให้ถือว่า การพัฒนากฎหมายเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐทุกแห่งต้องให้ความสำคัญและให้ทุกหน่วยงานดังกล่าวให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย และคณะอนุกรรมการทุกคณะโดยเฉพาะเมื่อคณะกรรมการนโยบายฯ หรือคณะอนุกรรมการประสงค์จะยืมตัวข้าราชการ ลูกจ้าง หรือพนักงานราชการในสังกัดหน่วยงานใดมาปฏิบัติราชการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ก็ให้หน่วยงานนั้น ๆ ให้ยืมตัวมาปฏิบัติราชการเต็มเวลาได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ธันวาคม 2547--จบ--
1. จัดประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษเพื่อพิจารณาแผนการพัฒนากฎหมายแห่งชาติ ในวันอังคารที่ 15 มีนาคม 2548 ช่วงบ่าย
2. ให้กระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐทุกแห่งจัดทำแผนการพัฒนากฎหมายของแต่ละกระทรวง และหน่วยงาน โดยให้นำเสนอแผนดังกล่าวให้คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมายพิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 เว้นแต่กระทรวงหรือกรมที่ไม่มีกฎหมายในความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา ทั้งนี้ แผนดังกล่าวอย่างน้อยจะต้องมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 กฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับที่จะต้องดำเนินการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับกรอบนโยบายในการพัฒนากฎหมายซึ่งมีหลัก 3 ประการ และแนวทาง 15 ประการ ซึ่งสรุปสาระสำคัญของการปรับปรุงในแต่ละเรื่องให้ชัดเจน
2.2 หน่วยงานและบุคคลผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตามแผน
2.3 ระยะเวลาแล้วเสร็จเพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีของแต่ละเรื่อง ซึ่งต้องไม่เกินปี พ.ศ. 2548
2.4 รายละเอียดอื่น ๆ ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนด
เมื่อได้รับแผนดังกล่าวแล้ว ให้คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาการกฎหมายพิจารณาและจัดทำแผนการพัฒนากฎหมายแห่งชาติเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในวันอังคารที่ 15 มีนาคม 2548 ต่อไป
3. ให้กระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนากฎหมายของแต่ละหน่วยงานมีอำนาจหน้าที่กำกับ ติดตาม เร่งรัดการปฏิบัติตามแผนการพัฒนากฎหมายของหน่วยงานและตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย หรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการนโยบายฯ แต่งตั้งโดยมอบหมายให้ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวงหรือที่ปรึกษากฎหมายของกระทรวง เป็นประธานกรรมการ และปฏิบัติหน้าที่ผู้ประสานงานการพัฒนากฎหมายกับคณะอนุกรรมการกำกับการพัฒนากฎหมายของส่วนราชการซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานด้วย
4. ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการกำหนดตัวชี้วัดในการพัฒนากฎหมายไว้ในข้อตกลงคำรับรองการพัฒนาการปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2548 ของทุกกระทรวง และกรม เว้นแต่กระทรวงหรือกรมที่ไม่มีกฎหมายในความ-รับผิดชอบที่ต้องพัฒนา และให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการร่วมกับคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมายร่วมกันเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว
5. ให้ถือว่า การพัฒนากฎหมายเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐทุกแห่งต้องให้ความสำคัญและให้ทุกหน่วยงานดังกล่าวให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย และคณะอนุกรรมการทุกคณะโดยเฉพาะเมื่อคณะกรรมการนโยบายฯ หรือคณะอนุกรรมการประสงค์จะยืมตัวข้าราชการ ลูกจ้าง หรือพนักงานราชการในสังกัดหน่วยงานใดมาปฏิบัติราชการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ก็ให้หน่วยงานนั้น ๆ ให้ยืมตัวมาปฏิบัติราชการเต็มเวลาได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ธันวาคม 2547--จบ--