คณะรัฐมนตรีเห็นชอบผลการประเมินตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัดต่าง ๆ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 รวมทั้งเห็นชอบกับหลักเกณฑ์วิธีการ และการจัดสรรสิ่งจูงใจ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร.เสนอ
1. ที่มา
1.1 คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการและรายละเอียดของแนวทางและวิธีการในการสร้างแจงจูงใจเพื่อเสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามที่ ก.พ.ร. เสนอ โดยในการกำหนดแนวทางและสิ่งจูงใจภาคราชการต้องส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบราชการและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สอดคล้องกับความต้องการของระดับองค์กรและระดับบุคคล สิ่งจูงใจที่ให้ต้องมีความหลากหลาย ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ และมุ่งสู่เป้าหมายเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
1.2 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดทำแนวทางและวิธีการให้ส่วนราชการและจังหวัดต่าง ๆ จัดทำข้อเสนอแนวทางการปฏิบัติราชการหรือคำรับรองการปฏิบัติราชการ เพื่อใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการและจัดสรรสิ่งจูงใจประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 โดยส่วนราชการที่มีการจัดทำข้อเสนอแนวทางการปฏิบัติราชการหรือคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) ส่วนราชการในกลุ่มภาคบังคับ จำนวน 68 ส่วนราชการ
2) ส่วนราชการในกลุ่มท้าทาย จำนวน 23 ส่วนราชการ
3) ส่วนราชการในกลุ่มนำร่อง
- กระทรวงนำร่อง 10 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวง
อุตสาหกรรม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงพลังงาน กระทรวงแรงงาน และกระทรวงมหาดไทย จำนวน 72 ส่วนราชการ
- จังหวัด 75 จังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
2. การพิจารณาของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้พิจารณาเรื่อง ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัลจูงใจประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ในการประชุมเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2547 แล้ว มีความเห็นดังนี้
1. ผลการประเมินการปฏิบัติราชการ
1.1 เห็นชอบกับแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพิจารณาแล้ว เช่น การพิจารณาคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติราชการจากรายงานการประเมินผลตนเองของส่วนราชการ/จังหวัดร่วมกับผลการประเมิน ณ ส่วนราชการ/จังหวัดต่าง ๆ การปรับลดคะแนนเนื่องจากการส่งรายงานผลการปฏิบัติราชการล่าช้า การปรับลดคะแนนตัวชี้วัดเชิงคุณภาพที่ดำเนินการไม่ครบถ้วนหรือมีเอกสารหลักฐานไม่น่าเชื่อถือ การพิจารณาคำขอปรับเปลี่ยนตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน ของส่วนราชการ/จังหวัด เป็นรายกรณี เป็นต้น
1.2 เห็นชอบกับผลการประเมินการปฏิบัติราชการเบื้องต้นของส่วนราชการและจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งยังมีบางตัวชี้วัดที่ยังขาดข้อมูลที่ครบถ้วน เนื่องจากจะใช้ข้อมูลทุติยภูมิ เช่น ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการร้อยละที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด เป็นต้น
1.3 ผลการประเมินการปฏิบัติราชการนี้ยังไม่รวมผลการประเมินของสำนักราชเลขาธิการ เนื่องจากมีการวางระบบเป็นการเฉพาะและกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เนื่องจากยังไม่จัดส่งรายงานผลการปฏิบัติราชการด้วยตนเองมายังสำนักงาน ก.พ.ร.
2. การจัดสรรสิ่งจูงใจ
โดยที่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 เห็นควรให้จัดสรรสิ่งจูงใจให้แก่หน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับสูงทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ประกอบกับคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2547 ได้เห็นชอบให้กำหนดเงินเพิ่มพิเศษตามผลงานให้แก่ผู้บริหารระดับสูง และระดับรองลงไปของหน่วยงานกลุ่มท้าทายและกลุ่มนำร่อง ก.พ.ร. จึงเห็นควรกำหนดเงินรางวัลให้แก่หน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานที่มีการประเมินในระดับสูง และกำหนดเงินเพิ่มพิเศษตามผลงานให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและระดับรองลงไปของหน่วยงานในกลุ่มท้าทายและนำร่อง โดยใช้ผลการประเมินตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด และใช้หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดสรรสิ่งจูงใจ ดังนี้
2.1 การจัดสรรเงินรางวัลให้แก่หน่วยงาน
1) หลักเกณฑ์
- จัดสรรเงินรางวัลให้กับส่วนราชการและจังหวัด เพื่อให้ส่วนราชการและจังหวัดนำไปจัดสรรต่อให้แก่ข้าราชการซึ่งมีผลการประเมินในระดับสูง
- ส่วนราชการและจังหวัดที่มีผลการประเมินต่ำกว่า 3 ไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัล
- การจัดสรรเงินรางวัลให้แก่ส่วนราชการและจังหวัด จะพิจารณาจากอัตราเงินเดือนจริงของข้าราชการและลูกจ้างประจำในส่วนราชการและจังหวัด และผลการประเมินตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด โดยส่วนราชการในกลุ่มเดียวกันที่มีคะแนนผลการประเมินเท่ากัน และมีเงินเดือนของข้าราชการและลูกจ้างประจำรวมกันทั้งหมดเท่ากัน จะได้รับเงินรางวัลเท่ากัน
- ส่วนราชการในกลุ่มท้าทาย และกลุ่มนำร่อง จะได้รับเงินรางวัลเป็น 2 เท่าของส่วนราชการในกลุ่มภาคบังคับ เนื่องจากส่วนราชการในกลุ่มดังกล่าวต้องมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และคำรับรองการปฏิบัติราชการ นอกจากนี้ ยังมีจำนวนตัวชี้วัดที่ต้องดำเนินการที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน และมีจำนวนมากกว่า
- ใช้ข้อมูลเงินเดือนของข้าราชการและลูกจ้างประจำแต่ละส่วนราชการและจังหวัดจากกรมบัญชีกลาง
2) วิธีการจัดสรรเงินรางวัล
การจัดสรรเงินรางวัลให้แก่ส่วนราชการและจังหวัด ใช้สูตรในการคำนวณ ดังนี้
Wi = B (Ri) (Pi)
N
B (Ri) (Pi)
i = 1
วงเงินรางวัลที่แต่ละส่วนราชการจะได้รับ = A*(Wi)
โดยที่
I = ส่วนราชการ/จังหวัด 1, 2,............., n
Ri คะแนนการประเมินผลของแต่ละส่วนราชการ/จังหวัด (Rating)
Pi เงินเดือนของแต่ละส่วนราชการ (Payroll)
Wi ค่าถ่วงน้ำหนักของแต่ละส่วนราชการ (Weight)
A ยอดวงเงินรางวัลที่มีอยู่ทั้งหมด
B ค่าถ่วงน้ำหนักของวงเงินรางวัลที่จะได้รับ
B (Ri) ค่าถ่วงน้ำหนักเงินรางวัลที่จะได้รับ
- ถ่วง
น้ำหนัก
คะแนน
ผลการ
ประเมิน
(Ri)
ของแต่
ละ
ส่วน
ราชการ/
จังหวัด
เพื่อ
คำนวณ
เงิน
รางวัล
ดัง
นี้
Ri
5 B (5) 3
4.5 B (4.5) 2.5
4 B (4) 2
3.5 B (3.5) 1.5
3 B (3) 1
2 B (2) 0
1 B (1) 0
คะแนนผลการประเมินค่าอื่น ๆ จะคิดเป็นค่าถ่วงน้ำหนักเงินรางวัลที่จะได้รับจำนวนเท่าใด คำนวณได้
โดยการเทียบบัญญัติไตรยางค์
3) การจ่ายเงินรางวัลจะจ่ายเป็น 2 งวด โดยงวดแรกจ่ายตามผลการประเมินการปฏิบัติราชการเบื้องต้นของส่วนราชการและจังหวัด และจ่ายงวดที่ 2 สำหรับส่วนราชการหรือจังหวัดที่ยังไม่ทราบค่าคะแนนของตัวชี้วัดทั้งหมด เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว จะได้เงินรางวัลเพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมเงินรางวัลที่จัดสรรให้แก่ส่วนราชการและจังหวัดทั้งหมดจะอยู่ภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจำนวน 5,550 ล้านบาท
2.2 การจัดสรรเงินรางวัลให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการและจังหวัด
เมื่อแต่ละส่วนราชการและจังหวัดได้รับการจัดสรรเงินรางวัลไปแล้วจะต้องนำไปจัดสรรให้แก่
ข้าราชการและลูกจ้างประจำต่อไป โดยยึดหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้
1) หลักเกณฑ์
ยึดผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำเป็นหลัก ซึ่งผล
การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำดังกล่าวนี้จะต้องเน้นที่ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการที่ทำให้แผนยุทธศาสตร์ขององค์กรประสบความสำเร็จ
- ต้องทำการประเมินข้าราชการและลูกจ้างโดยให้คะแนนอยู่ในระดับ 1 — 5 เช่นเดียวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด โดยคะแนน 1 หมายถึงระดับที่ต่ำที่สุด และคะแนน 5 หมายถึง ระดับที่สูงสุด
- ข้าราชการที่สังกัดราชการบริหารส่วนภูมิภาค และข้าราชการที่สังกัดราชการบริหารส่วนกลาง แต่ปฏิบัติงานอยู่ในภูมิภาคให้จังหวัดเป็นผู้ประเมินผ่านทางคณะกรรมการซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน โดยให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นเป็นผู้ประเมินในเบื้องต้นมาก่อน
- ข้าราชการสังกัดส่วนกลาง ให้บังคับบัญชาชั้นต้นประเมินแล้วส่งให้คณะกรรมการซึ่งมีอธิบดีเป็นประธานเป็นผู้ประเมินตัดสินในขั้นสุดท้าย
2) วิธีการจัดสรรสิ่งจูงใจ
ในการจัดสรรสิ่งจูงใจให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการและจังหวัดให้ใช้สูตรการคำนวณเช่นเดียวกันกับการจัดสรรสิ่งจูงใจให้แก่ส่วนราชการและจังหวัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการคำนวณแบบถัวเฉลี่ยจำนวนเท่ากันทุกคน
ทั้งนี้ ผู้ที่ได้คะแนนผลการประเมินต่ำกว่า 3 ไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัล และสำนักงาน ก.พ.ร. จะได้จัดทำคู่มือแนวทางการจัดสรรสิ่งจูงใจให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำส่งให้แก่ส่วนราชการและจังหวัดต่อไป
2.3 การกำหนดเงินเพิ่มพิเศษตามผลงานให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและระดับรองลงไปของหน่วยงานในกลุ่มท้าทายและกลุ่มนำร่อง
ผู้บริหารระดับสูงและระดับรองลงไปของส่วนราชการและจังหวัด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2547 จะได้รับเงินเพิ่มพิเศษตามผลงานจำนวนเท่าใดให้ขึ้นอยู่กับผลการประเมินตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัดนั้น ๆ โดยจะกำหนดให้ได้รับเป็นร้อยละของวงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้ ส่วนในรายละเอียดจะเป็นเท่าใด ก.พ.ร. จะพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะใช้วงเงินทั้งหมดอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับจัดสรรไว้แล้วสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จำนวน 295 ล้านบาท
2.4 การกำหนดสิ่งจูงใจที่ไม่เป็นตัวเงินให้แก่ผู้บริหารระดับสูง
สำนักงาน ก.พ.ร. จะนำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาคัดเลือกผู้บริหารระดับสูงเพื่อรับการจัดสรรทุนใน “โครงการพัฒนาผู้บริหารเพื่อเป็นผู้นำในการพัฒนาการบริหารภาครัฐ” ซึ่งเป็นโครงการที่ร่วมมือกันดำเนินการระหว่างสำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ธันวาคม 2547--จบ--
1. ที่มา
1.1 คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการและรายละเอียดของแนวทางและวิธีการในการสร้างแจงจูงใจเพื่อเสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามที่ ก.พ.ร. เสนอ โดยในการกำหนดแนวทางและสิ่งจูงใจภาคราชการต้องส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบราชการและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สอดคล้องกับความต้องการของระดับองค์กรและระดับบุคคล สิ่งจูงใจที่ให้ต้องมีความหลากหลาย ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ และมุ่งสู่เป้าหมายเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
1.2 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดทำแนวทางและวิธีการให้ส่วนราชการและจังหวัดต่าง ๆ จัดทำข้อเสนอแนวทางการปฏิบัติราชการหรือคำรับรองการปฏิบัติราชการ เพื่อใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการและจัดสรรสิ่งจูงใจประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 โดยส่วนราชการที่มีการจัดทำข้อเสนอแนวทางการปฏิบัติราชการหรือคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) ส่วนราชการในกลุ่มภาคบังคับ จำนวน 68 ส่วนราชการ
2) ส่วนราชการในกลุ่มท้าทาย จำนวน 23 ส่วนราชการ
3) ส่วนราชการในกลุ่มนำร่อง
- กระทรวงนำร่อง 10 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวง
อุตสาหกรรม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงพลังงาน กระทรวงแรงงาน และกระทรวงมหาดไทย จำนวน 72 ส่วนราชการ
- จังหวัด 75 จังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
2. การพิจารณาของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้พิจารณาเรื่อง ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัลจูงใจประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ในการประชุมเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2547 แล้ว มีความเห็นดังนี้
1. ผลการประเมินการปฏิบัติราชการ
1.1 เห็นชอบกับแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพิจารณาแล้ว เช่น การพิจารณาคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติราชการจากรายงานการประเมินผลตนเองของส่วนราชการ/จังหวัดร่วมกับผลการประเมิน ณ ส่วนราชการ/จังหวัดต่าง ๆ การปรับลดคะแนนเนื่องจากการส่งรายงานผลการปฏิบัติราชการล่าช้า การปรับลดคะแนนตัวชี้วัดเชิงคุณภาพที่ดำเนินการไม่ครบถ้วนหรือมีเอกสารหลักฐานไม่น่าเชื่อถือ การพิจารณาคำขอปรับเปลี่ยนตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน ของส่วนราชการ/จังหวัด เป็นรายกรณี เป็นต้น
1.2 เห็นชอบกับผลการประเมินการปฏิบัติราชการเบื้องต้นของส่วนราชการและจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งยังมีบางตัวชี้วัดที่ยังขาดข้อมูลที่ครบถ้วน เนื่องจากจะใช้ข้อมูลทุติยภูมิ เช่น ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการร้อยละที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด เป็นต้น
1.3 ผลการประเมินการปฏิบัติราชการนี้ยังไม่รวมผลการประเมินของสำนักราชเลขาธิการ เนื่องจากมีการวางระบบเป็นการเฉพาะและกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เนื่องจากยังไม่จัดส่งรายงานผลการปฏิบัติราชการด้วยตนเองมายังสำนักงาน ก.พ.ร.
2. การจัดสรรสิ่งจูงใจ
โดยที่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 เห็นควรให้จัดสรรสิ่งจูงใจให้แก่หน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับสูงทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ประกอบกับคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2547 ได้เห็นชอบให้กำหนดเงินเพิ่มพิเศษตามผลงานให้แก่ผู้บริหารระดับสูง และระดับรองลงไปของหน่วยงานกลุ่มท้าทายและกลุ่มนำร่อง ก.พ.ร. จึงเห็นควรกำหนดเงินรางวัลให้แก่หน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานที่มีการประเมินในระดับสูง และกำหนดเงินเพิ่มพิเศษตามผลงานให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและระดับรองลงไปของหน่วยงานในกลุ่มท้าทายและนำร่อง โดยใช้ผลการประเมินตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด และใช้หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดสรรสิ่งจูงใจ ดังนี้
2.1 การจัดสรรเงินรางวัลให้แก่หน่วยงาน
1) หลักเกณฑ์
- จัดสรรเงินรางวัลให้กับส่วนราชการและจังหวัด เพื่อให้ส่วนราชการและจังหวัดนำไปจัดสรรต่อให้แก่ข้าราชการซึ่งมีผลการประเมินในระดับสูง
- ส่วนราชการและจังหวัดที่มีผลการประเมินต่ำกว่า 3 ไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัล
- การจัดสรรเงินรางวัลให้แก่ส่วนราชการและจังหวัด จะพิจารณาจากอัตราเงินเดือนจริงของข้าราชการและลูกจ้างประจำในส่วนราชการและจังหวัด และผลการประเมินตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด โดยส่วนราชการในกลุ่มเดียวกันที่มีคะแนนผลการประเมินเท่ากัน และมีเงินเดือนของข้าราชการและลูกจ้างประจำรวมกันทั้งหมดเท่ากัน จะได้รับเงินรางวัลเท่ากัน
- ส่วนราชการในกลุ่มท้าทาย และกลุ่มนำร่อง จะได้รับเงินรางวัลเป็น 2 เท่าของส่วนราชการในกลุ่มภาคบังคับ เนื่องจากส่วนราชการในกลุ่มดังกล่าวต้องมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และคำรับรองการปฏิบัติราชการ นอกจากนี้ ยังมีจำนวนตัวชี้วัดที่ต้องดำเนินการที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน และมีจำนวนมากกว่า
- ใช้ข้อมูลเงินเดือนของข้าราชการและลูกจ้างประจำแต่ละส่วนราชการและจังหวัดจากกรมบัญชีกลาง
2) วิธีการจัดสรรเงินรางวัล
การจัดสรรเงินรางวัลให้แก่ส่วนราชการและจังหวัด ใช้สูตรในการคำนวณ ดังนี้
Wi = B (Ri) (Pi)
N
B (Ri) (Pi)
i = 1
วงเงินรางวัลที่แต่ละส่วนราชการจะได้รับ = A*(Wi)
โดยที่
I = ส่วนราชการ/จังหวัด 1, 2,............., n
Ri คะแนนการประเมินผลของแต่ละส่วนราชการ/จังหวัด (Rating)
Pi เงินเดือนของแต่ละส่วนราชการ (Payroll)
Wi ค่าถ่วงน้ำหนักของแต่ละส่วนราชการ (Weight)
A ยอดวงเงินรางวัลที่มีอยู่ทั้งหมด
B ค่าถ่วงน้ำหนักของวงเงินรางวัลที่จะได้รับ
B (Ri) ค่าถ่วงน้ำหนักเงินรางวัลที่จะได้รับ
- ถ่วง
น้ำหนัก
คะแนน
ผลการ
ประเมิน
(Ri)
ของแต่
ละ
ส่วน
ราชการ/
จังหวัด
เพื่อ
คำนวณ
เงิน
รางวัล
ดัง
นี้
Ri
5 B (5) 3
4.5 B (4.5) 2.5
4 B (4) 2
3.5 B (3.5) 1.5
3 B (3) 1
2 B (2) 0
1 B (1) 0
คะแนนผลการประเมินค่าอื่น ๆ จะคิดเป็นค่าถ่วงน้ำหนักเงินรางวัลที่จะได้รับจำนวนเท่าใด คำนวณได้
โดยการเทียบบัญญัติไตรยางค์
3) การจ่ายเงินรางวัลจะจ่ายเป็น 2 งวด โดยงวดแรกจ่ายตามผลการประเมินการปฏิบัติราชการเบื้องต้นของส่วนราชการและจังหวัด และจ่ายงวดที่ 2 สำหรับส่วนราชการหรือจังหวัดที่ยังไม่ทราบค่าคะแนนของตัวชี้วัดทั้งหมด เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว จะได้เงินรางวัลเพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมเงินรางวัลที่จัดสรรให้แก่ส่วนราชการและจังหวัดทั้งหมดจะอยู่ภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจำนวน 5,550 ล้านบาท
2.2 การจัดสรรเงินรางวัลให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการและจังหวัด
เมื่อแต่ละส่วนราชการและจังหวัดได้รับการจัดสรรเงินรางวัลไปแล้วจะต้องนำไปจัดสรรให้แก่
ข้าราชการและลูกจ้างประจำต่อไป โดยยึดหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้
1) หลักเกณฑ์
ยึดผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำเป็นหลัก ซึ่งผล
การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำดังกล่าวนี้จะต้องเน้นที่ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการที่ทำให้แผนยุทธศาสตร์ขององค์กรประสบความสำเร็จ
- ต้องทำการประเมินข้าราชการและลูกจ้างโดยให้คะแนนอยู่ในระดับ 1 — 5 เช่นเดียวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด โดยคะแนน 1 หมายถึงระดับที่ต่ำที่สุด และคะแนน 5 หมายถึง ระดับที่สูงสุด
- ข้าราชการที่สังกัดราชการบริหารส่วนภูมิภาค และข้าราชการที่สังกัดราชการบริหารส่วนกลาง แต่ปฏิบัติงานอยู่ในภูมิภาคให้จังหวัดเป็นผู้ประเมินผ่านทางคณะกรรมการซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน โดยให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นเป็นผู้ประเมินในเบื้องต้นมาก่อน
- ข้าราชการสังกัดส่วนกลาง ให้บังคับบัญชาชั้นต้นประเมินแล้วส่งให้คณะกรรมการซึ่งมีอธิบดีเป็นประธานเป็นผู้ประเมินตัดสินในขั้นสุดท้าย
2) วิธีการจัดสรรสิ่งจูงใจ
ในการจัดสรรสิ่งจูงใจให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการและจังหวัดให้ใช้สูตรการคำนวณเช่นเดียวกันกับการจัดสรรสิ่งจูงใจให้แก่ส่วนราชการและจังหวัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการคำนวณแบบถัวเฉลี่ยจำนวนเท่ากันทุกคน
ทั้งนี้ ผู้ที่ได้คะแนนผลการประเมินต่ำกว่า 3 ไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัล และสำนักงาน ก.พ.ร. จะได้จัดทำคู่มือแนวทางการจัดสรรสิ่งจูงใจให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำส่งให้แก่ส่วนราชการและจังหวัดต่อไป
2.3 การกำหนดเงินเพิ่มพิเศษตามผลงานให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและระดับรองลงไปของหน่วยงานในกลุ่มท้าทายและกลุ่มนำร่อง
ผู้บริหารระดับสูงและระดับรองลงไปของส่วนราชการและจังหวัด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2547 จะได้รับเงินเพิ่มพิเศษตามผลงานจำนวนเท่าใดให้ขึ้นอยู่กับผลการประเมินตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัดนั้น ๆ โดยจะกำหนดให้ได้รับเป็นร้อยละของวงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้ ส่วนในรายละเอียดจะเป็นเท่าใด ก.พ.ร. จะพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะใช้วงเงินทั้งหมดอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับจัดสรรไว้แล้วสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จำนวน 295 ล้านบาท
2.4 การกำหนดสิ่งจูงใจที่ไม่เป็นตัวเงินให้แก่ผู้บริหารระดับสูง
สำนักงาน ก.พ.ร. จะนำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาคัดเลือกผู้บริหารระดับสูงเพื่อรับการจัดสรรทุนใน “โครงการพัฒนาผู้บริหารเพื่อเป็นผู้นำในการพัฒนาการบริหารภาครัฐ” ซึ่งเป็นโครงการที่ร่วมมือกันดำเนินการระหว่างสำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ธันวาคม 2547--จบ--