คณะรัฐมนตรีรับทราบ ผลการตรวจสอบของคณะกรรมการอิสระกรณีตากใบตามที่ รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) รายงานซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. การชุมนุมประท้วงของราษฎรบางส่วนที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ เป็นการกระทำที่มีการวางแผนมาก่อนโดยคนกลุ่มหนึ่ง โดยยกเอาการเรียกร้องให้ปล่อยตัว ชรบ. 6 คน เป็นข้อกล่าวอ้าง
2. ผู้ชุมนุมบางส่วนมีอาวุธ เห็นได้จากรอยลูกกระสุนปืนที่สถานีตำรวจ ต้นไม้ หรือที่พักในสวนสาธารณะ
3. มาตราการที่เจ้าหน้าที่ใช้ในการสกัดกั้นหรือการเจรจา โดยเจ้าหน้าที่ ผู้นำศาสนา และบิดามารดาของ ชรบ. 6 คน เป็นไปอย่างเหมาะสมแล้ว
4. เจ้าหน้าที่มีเหตุอันสมควรเชื่อว่าหากปล่อยเหตุการณ์ยืดเยื้อออกไปจะทำให้เหตุการณ์ลุกลามจนมิอาจควบคุมสถานการณ์ได้ แต่การใช้กำลังทหารเกณฑ์และทหารพรานเข้าร่วมสลายการชุมนุมนั้น แม้จะมีความจำเป็นตามสถานการณ์ แต่ก็ยังเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นไปตามแบบแผนและวิธีปฏิบัติตามหลักสากล ซึ่งควรมีการตรวจพิสูจน์ต่อไป
5. ความบกพร่องในการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมเกิดจากการไม่สามารถจำแนกแกนนำออกจากผู้ชุมนุมได้เพราะมีจำนวนมากขึ้น จึงปรับแผนด้วยการนำตัวผู้ชุมนุมทั้งหมดไปควบคุมตัวแล้วค่อยคัดกรองออก ทำให้เกิดความบกพร่องในการเตรียมการและเคลื่อนย้าย
6. การตัดสินใจขนย้าย ผู้ถูกควบคุมตัวจากจังหวัดนราธิวาสไปค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เป็นเรื่องถูกต้องแล้ว เพราะที่ค่ายดังกล่าวมีสถานที่ควบคุมตัว และโรงพยาบาล
7. การเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมตัวมีความสับสนและฉุกละหุก เพราะมีรถน้อย (ประมาณ 26 - 28 คัน) ขณะที่ผู้ถูกควบคุมมี 1,300 คน และเจ้าหน้าที่ต้องพยายามบรรทุกให้หมด จึงอาจมีการนอนทับซ้อนกันจริง (อาจทับซ้อนอวัยวะบางส่วน) ผลการตรวจสอบศพพบว่า ผู้เสียชีวิตได้รับอากาศน้อย กล้ามเนื้อที่ใช้หายใจอ่อนแรง หลายราย ถูกกดทับที่หน้าอก หลายรายเสียสมดุลลของสารในเลือด และอาจมีอาการไตวายเฉียบพลัน จึงเป็นความบกพร่องของผู้บังคับบัญชาที่ปล่อยปละละเลยไม่ดูแล ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย
8. เหตุเกิดเวลากลางคืน ฝนตกหนัก รถมีน้อย ผู้ถูกควบคุมมีมาก กลัวการถูกชิงตัว กลัวอุบัติเหตุระหว่างทางถนนแคบ การขนย้ายมีระยะทาง 150 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง
9. การดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร มีประสิทธิภาพและเหมาะสม
10. มีผู้สูญหาย 7 คน
11. ผู้บังคับบัญชาที่มีส่วนรับผิดชอบในเรื่องนี้ได้แก่ พลตรี เฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร ผบ.พล ร.5 ผู้ได้รับคำสั่งจากแม่ทัพภาคที่ 4 ให้คุมกำลังในการสลายการชุมนุมและรับผิดชอบยุทธวิธี แต่ไม่ได้อยู่ควบคุมดูแลภารกิจโดยไม่มีเหตุผลและความจำเป็น พลตรี สินชัย นุตสถิตย์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ผู้ได้รับคำสั่งให้จัดเตรียมน้ำ อาหารและพื้นที่รับรองผู้ถูกควบคุมที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร แต่มิได้มีคำสั่งหรือดำเนินการใดเพื่อบรรเทาความเสียหาย และพลโท พิศาล วัฒนวงษ์-คีรี แม่ทัพภาคที่ 4 ซึ่งปฏิบัติหน้าที่บกพร่องขาดความรับผิดชอบในฐานะผู้บังคับบัญชา
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการอิสระพบว่า เจ้าหน้าที่ไม่มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดการเสียชีวิต บาดเจ็บ แต่ก็มีบทเรียนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นควรนำมาพิจารณาต่อไป
การตรวจสอบของคณะกรรมการอิสระดังกล่าวเป็นเพียงการตรวจสอบเบื้องต้น ซึ่งแม้คณะกรรมการอิสระจะเป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล แต่กรรมการดังกล่าวมิใช่พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงจำเป็นต้องดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำคำชี้แจงตามแนวทางที่คณะกรรมการอิสระกำหนดเป็นภาษาต่างประเทศเพื่อแจ้งต่อผู้สื่อข่าวและสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศ และ ให้โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีจัดทำคำชี้แจงตามแนวทางที่คณะกรรมการอิสระกำหนด เพื่อเปิดเผยผลการพิจารณาของคณะกรรมการอิสระให้ประชาชนทราบ
โดยที่คณะกรรมการอิสระมีความเห็นว่า มีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ระดับผู้บังคับบัญชาการอย่างน้อยสามคนมีส่วนบกพร่องในหน้าที่ จึงมอบหมายให้กระทรวงกลาโหมรับไปดำเนินการสอบทางวินัยทหารโดยใช้ข้อเท็จจริงตามสำนวนการตรวจสอบของคณะกรรมการอิสระเป็นหลัก และให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้มีอำนาจดำเนินการสืบสวนสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อหาตัวผู้ต้องรับผิดชอบทางกฎหมายมาดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป ในกรณีที่ผู้กระทำผิดเป็นทหารและอยู่ในอำนาจศาลทหารให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายอาญาทหารและธรรมนูญศาลทหารด้วย
นอกจากนี้ให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือและเยียวยาความเสียหายในกรณีดังกล่าว โดยใช้สำนวนการตรวจสอบของคณะกรรมอิสระเป็นหลัก ความช่วยเหลือและเยียวยาให้ครอบคลุมถึงการช่วยเหลือญาติ ผู้เสียชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บ ผู้เสียหาย ทรัพย์ที่เสียหายหรือสูญหาย เช่น โทรศัพท์มือถือ และอาจรวมถึงความเสียหายอื่นๆ ตามความจำเป็น โดยถือว่าเป็นกรณีพิเศษแตกต่างจากการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์อื่นๆ คณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วย
1) นายรุ่ง แก้วแดง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน 2) นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธาน คณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนกองอำนวยการ สสส.จชตง. ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการที่ 18 ปลัดจังหวัดนราธิวาสผู้แทนสำนักจุฬาราชมนตรี และนายวีระยุค พันธุเพชร ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการ
และมอบหมายให้กองทัพบก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรมร่วมกันศึกษารายงานของคณะกรรมการอิสระกรณีกรือเซะและกรณีตากใบ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีโดยด่วนว่ามาตรการด้านระบบและแนวทางการบริหารจัดการในกรณีเกิดสถานการณ์เช่นนี้ในอนาคต ควรป้องกันหรือดำเนินการในลักษณะใด และมีปัญหาทางกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดที่ยังไม่เหมาะสมหรือขาดแคลน สมควรวางมาตรการจัดหาหรือวางระเบียบป้องกันอย่างไรแล้วเสนอนายกรัฐฒนตรีโดยด่วน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ธันวาคม 2547--จบ--
1. การชุมนุมประท้วงของราษฎรบางส่วนที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ เป็นการกระทำที่มีการวางแผนมาก่อนโดยคนกลุ่มหนึ่ง โดยยกเอาการเรียกร้องให้ปล่อยตัว ชรบ. 6 คน เป็นข้อกล่าวอ้าง
2. ผู้ชุมนุมบางส่วนมีอาวุธ เห็นได้จากรอยลูกกระสุนปืนที่สถานีตำรวจ ต้นไม้ หรือที่พักในสวนสาธารณะ
3. มาตราการที่เจ้าหน้าที่ใช้ในการสกัดกั้นหรือการเจรจา โดยเจ้าหน้าที่ ผู้นำศาสนา และบิดามารดาของ ชรบ. 6 คน เป็นไปอย่างเหมาะสมแล้ว
4. เจ้าหน้าที่มีเหตุอันสมควรเชื่อว่าหากปล่อยเหตุการณ์ยืดเยื้อออกไปจะทำให้เหตุการณ์ลุกลามจนมิอาจควบคุมสถานการณ์ได้ แต่การใช้กำลังทหารเกณฑ์และทหารพรานเข้าร่วมสลายการชุมนุมนั้น แม้จะมีความจำเป็นตามสถานการณ์ แต่ก็ยังเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นไปตามแบบแผนและวิธีปฏิบัติตามหลักสากล ซึ่งควรมีการตรวจพิสูจน์ต่อไป
5. ความบกพร่องในการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมเกิดจากการไม่สามารถจำแนกแกนนำออกจากผู้ชุมนุมได้เพราะมีจำนวนมากขึ้น จึงปรับแผนด้วยการนำตัวผู้ชุมนุมทั้งหมดไปควบคุมตัวแล้วค่อยคัดกรองออก ทำให้เกิดความบกพร่องในการเตรียมการและเคลื่อนย้าย
6. การตัดสินใจขนย้าย ผู้ถูกควบคุมตัวจากจังหวัดนราธิวาสไปค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เป็นเรื่องถูกต้องแล้ว เพราะที่ค่ายดังกล่าวมีสถานที่ควบคุมตัว และโรงพยาบาล
7. การเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมตัวมีความสับสนและฉุกละหุก เพราะมีรถน้อย (ประมาณ 26 - 28 คัน) ขณะที่ผู้ถูกควบคุมมี 1,300 คน และเจ้าหน้าที่ต้องพยายามบรรทุกให้หมด จึงอาจมีการนอนทับซ้อนกันจริง (อาจทับซ้อนอวัยวะบางส่วน) ผลการตรวจสอบศพพบว่า ผู้เสียชีวิตได้รับอากาศน้อย กล้ามเนื้อที่ใช้หายใจอ่อนแรง หลายราย ถูกกดทับที่หน้าอก หลายรายเสียสมดุลลของสารในเลือด และอาจมีอาการไตวายเฉียบพลัน จึงเป็นความบกพร่องของผู้บังคับบัญชาที่ปล่อยปละละเลยไม่ดูแล ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย
8. เหตุเกิดเวลากลางคืน ฝนตกหนัก รถมีน้อย ผู้ถูกควบคุมมีมาก กลัวการถูกชิงตัว กลัวอุบัติเหตุระหว่างทางถนนแคบ การขนย้ายมีระยะทาง 150 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง
9. การดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร มีประสิทธิภาพและเหมาะสม
10. มีผู้สูญหาย 7 คน
11. ผู้บังคับบัญชาที่มีส่วนรับผิดชอบในเรื่องนี้ได้แก่ พลตรี เฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร ผบ.พล ร.5 ผู้ได้รับคำสั่งจากแม่ทัพภาคที่ 4 ให้คุมกำลังในการสลายการชุมนุมและรับผิดชอบยุทธวิธี แต่ไม่ได้อยู่ควบคุมดูแลภารกิจโดยไม่มีเหตุผลและความจำเป็น พลตรี สินชัย นุตสถิตย์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ผู้ได้รับคำสั่งให้จัดเตรียมน้ำ อาหารและพื้นที่รับรองผู้ถูกควบคุมที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร แต่มิได้มีคำสั่งหรือดำเนินการใดเพื่อบรรเทาความเสียหาย และพลโท พิศาล วัฒนวงษ์-คีรี แม่ทัพภาคที่ 4 ซึ่งปฏิบัติหน้าที่บกพร่องขาดความรับผิดชอบในฐานะผู้บังคับบัญชา
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการอิสระพบว่า เจ้าหน้าที่ไม่มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดการเสียชีวิต บาดเจ็บ แต่ก็มีบทเรียนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นควรนำมาพิจารณาต่อไป
การตรวจสอบของคณะกรรมการอิสระดังกล่าวเป็นเพียงการตรวจสอบเบื้องต้น ซึ่งแม้คณะกรรมการอิสระจะเป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล แต่กรรมการดังกล่าวมิใช่พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงจำเป็นต้องดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำคำชี้แจงตามแนวทางที่คณะกรรมการอิสระกำหนดเป็นภาษาต่างประเทศเพื่อแจ้งต่อผู้สื่อข่าวและสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศ และ ให้โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีจัดทำคำชี้แจงตามแนวทางที่คณะกรรมการอิสระกำหนด เพื่อเปิดเผยผลการพิจารณาของคณะกรรมการอิสระให้ประชาชนทราบ
โดยที่คณะกรรมการอิสระมีความเห็นว่า มีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ระดับผู้บังคับบัญชาการอย่างน้อยสามคนมีส่วนบกพร่องในหน้าที่ จึงมอบหมายให้กระทรวงกลาโหมรับไปดำเนินการสอบทางวินัยทหารโดยใช้ข้อเท็จจริงตามสำนวนการตรวจสอบของคณะกรรมการอิสระเป็นหลัก และให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้มีอำนาจดำเนินการสืบสวนสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อหาตัวผู้ต้องรับผิดชอบทางกฎหมายมาดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป ในกรณีที่ผู้กระทำผิดเป็นทหารและอยู่ในอำนาจศาลทหารให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายอาญาทหารและธรรมนูญศาลทหารด้วย
นอกจากนี้ให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือและเยียวยาความเสียหายในกรณีดังกล่าว โดยใช้สำนวนการตรวจสอบของคณะกรรมอิสระเป็นหลัก ความช่วยเหลือและเยียวยาให้ครอบคลุมถึงการช่วยเหลือญาติ ผู้เสียชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บ ผู้เสียหาย ทรัพย์ที่เสียหายหรือสูญหาย เช่น โทรศัพท์มือถือ และอาจรวมถึงความเสียหายอื่นๆ ตามความจำเป็น โดยถือว่าเป็นกรณีพิเศษแตกต่างจากการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์อื่นๆ คณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วย
1) นายรุ่ง แก้วแดง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน 2) นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธาน คณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนกองอำนวยการ สสส.จชตง. ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการที่ 18 ปลัดจังหวัดนราธิวาสผู้แทนสำนักจุฬาราชมนตรี และนายวีระยุค พันธุเพชร ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการ
และมอบหมายให้กองทัพบก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรมร่วมกันศึกษารายงานของคณะกรรมการอิสระกรณีกรือเซะและกรณีตากใบ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีโดยด่วนว่ามาตรการด้านระบบและแนวทางการบริหารจัดการในกรณีเกิดสถานการณ์เช่นนี้ในอนาคต ควรป้องกันหรือดำเนินการในลักษณะใด และมีปัญหาทางกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดที่ยังไม่เหมาะสมหรือขาดแคลน สมควรวางมาตรการจัดหาหรือวางระเบียบป้องกันอย่างไรแล้วเสนอนายกรัฐฒนตรีโดยด่วน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ธันวาคม 2547--จบ--