คณะรัฐมนตรีพิจารณาผลการดำเนินการของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1) เห็นชอบให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยคงอยู่ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 92 แห่งพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544
2) ทราบผลการศึกษาการแปลงสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วให้เป็นหลักทรัพย์ (securitization) ที่ บสท. ได้รายงานว่า ได้พิจารณาข้อดีและข้อเสียของแนวทางการทำธุรกรรมแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์แล้ว ปรากฏว่า การดำเนินการตามแนวทางการแปลงสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วให้เป็นหลักทรัพย์นั้น ขนาดของกอง สินทรัพย์ที่จะใช้ในการดำเนินการในแต่ละคราวจะต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (economies of scale) และมูลค่าหลักประกันควรจะมีสูงกว่าภาระหนี้ส่วนที่เหลือ รวมทั้งลักษณะของกองสินทรัพย์ควรอยู่ในประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อเช่าซื้อ (hire purchase) จึงจะทำให้ตราสารหนี้ที่เสนอขายเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุน ขณะที่กองสินทรัพย์ของ บสท. ในปัจจุบันโดยรวมแล้ว หลักประกันคิดเป็นเพียงประมาณร้อยละ 62 เมื่อเทียบกับภาระหนี้ที่ต้องผ่อนชำระตามแผน และสิทธิเรียกร้องส่วนใหญ่ไม่ใช่ประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อเช่าซื้อ (hire purchase) นอกจากนี้ ขนาดของสินทรัพย์ที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วของ บสท. โดยส่วนใหญ่จะเป็นหนี้รายใหญ่ และมีประวัติการผ่อนชำระเพียง 1-2 ปีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จึงอาจจะไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุดสำหรับ บสท. ในสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น ในปัจจุบัน บสท. อยู่ระหว่างดำเนินการจัดกลุ่มลูกหนี้เฉพาะภาคธุรกิจเพื่อจำหน่ายให้กับสถาบันการเงินผู้โอน สถาบันการเงินอื่นๆ หรือนักลงทุนรายใหญ่ต่อไป
อย่างไรก็ตาม การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์อาจกระทำได้เมื่อมีการรวมสินทรัพย์ของหน่วยงานของ
รัฐที่ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเข้าด้วยกัน ซึ่งขณะนี้ กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งคณะกรรมการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพขึ้นมาเพื่อดูแลการประสานงานและให้ความร่วมมือระหว่างกันเพื่อเร่งรัดให้การแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเสร็จสิ้นโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ธันวาคม 2547--จบ--
1) เห็นชอบให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยคงอยู่ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 92 แห่งพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544
2) ทราบผลการศึกษาการแปลงสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วให้เป็นหลักทรัพย์ (securitization) ที่ บสท. ได้รายงานว่า ได้พิจารณาข้อดีและข้อเสียของแนวทางการทำธุรกรรมแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์แล้ว ปรากฏว่า การดำเนินการตามแนวทางการแปลงสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วให้เป็นหลักทรัพย์นั้น ขนาดของกอง สินทรัพย์ที่จะใช้ในการดำเนินการในแต่ละคราวจะต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (economies of scale) และมูลค่าหลักประกันควรจะมีสูงกว่าภาระหนี้ส่วนที่เหลือ รวมทั้งลักษณะของกองสินทรัพย์ควรอยู่ในประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อเช่าซื้อ (hire purchase) จึงจะทำให้ตราสารหนี้ที่เสนอขายเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุน ขณะที่กองสินทรัพย์ของ บสท. ในปัจจุบันโดยรวมแล้ว หลักประกันคิดเป็นเพียงประมาณร้อยละ 62 เมื่อเทียบกับภาระหนี้ที่ต้องผ่อนชำระตามแผน และสิทธิเรียกร้องส่วนใหญ่ไม่ใช่ประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อเช่าซื้อ (hire purchase) นอกจากนี้ ขนาดของสินทรัพย์ที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วของ บสท. โดยส่วนใหญ่จะเป็นหนี้รายใหญ่ และมีประวัติการผ่อนชำระเพียง 1-2 ปีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จึงอาจจะไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุดสำหรับ บสท. ในสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น ในปัจจุบัน บสท. อยู่ระหว่างดำเนินการจัดกลุ่มลูกหนี้เฉพาะภาคธุรกิจเพื่อจำหน่ายให้กับสถาบันการเงินผู้โอน สถาบันการเงินอื่นๆ หรือนักลงทุนรายใหญ่ต่อไป
อย่างไรก็ตาม การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์อาจกระทำได้เมื่อมีการรวมสินทรัพย์ของหน่วยงานของ
รัฐที่ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเข้าด้วยกัน ซึ่งขณะนี้ กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งคณะกรรมการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพขึ้นมาเพื่อดูแลการประสานงานและให้ความร่วมมือระหว่างกันเพื่อเร่งรัดให้การแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเสร็จสิ้นโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ธันวาคม 2547--จบ--