ทำเนียบรัฐบาล--22 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการและสาระสำคัญของแผนพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2540 - 2549 ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ซึ่งเป็นแผนที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 โดยมุ่งให้การช่วยเหลือ แก้ไข บำบัด และฟื้นฟูเด็กและเยาวชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความเห็นชอบในหลักการแล้ว
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติมอบให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสำนักงบประมาณนำไปพิจารณาจัดสรรทรัพยากรที่ต้องใช้ตามแผนพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2540 - 2549 ตามที่เห็นสมควร โดยให้กระทรวงยุติธรรมทำความตกลงกับหน่วยงานทั้งสองในรายละเอียด และมอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่มีบทบาทภารกิจเกี่ยวกับการช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน สนับสนุนให้กระทรวงยุติธรรมจัดตั้งคณะกรรมการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัวแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว เพื่อให้มีศูนย์ประสานเครือข่ายในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชน
เนื่องจากปัจจุบันการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนเกิดขึ้นบ่อยและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ทำให้เด็กและเยาวชนตกอยู่ในภาวะทุกข์ยาก บางคนถูกทอดทิ้ง เร่ร่อน ขาดผู้อุปการะ ต้องเผชิญปัญหาชีวิตโดยลำพังตั้งแต่อายุยังน้อย หน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชนที่มีบทบาทภารกิจในการช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เยาวชนและบุคคลที่เดือดร้อน ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากต่างก็ได้พยายามแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือแต่ทำได้ไม่มาก เนื่องจากทรัพยากรบุคคลและงบประมาณมีจำนวนจำกัด หากมีการประสานความร่วมมือในการดำเนินงานอาจทำให้ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนได้มากขึ้น จึงได้จัดทำแผนพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2540 - 2549 ขึ้นเพื่อเป็นแผนแม่บทในการดำเนินงาน พอสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. นโยบายการพิทักษ์สิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว จะอำนวยความยุติธรรมแก่เด็ก เยาวชน และครอบครัว โดยมุ่งขยายงานศาลเยาวชนและครอบครัว และสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้ได้รับการพิทักษ์คุ้มครองอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
2. มีเป้าหมายที่จะให้การพิทักษ์คุ้มครองเด็กและเยาวชน 3 กลุ่มคือ
1) กลุ่มเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด
2) กลุ่มเด็กและเยาวชนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการกระทำผิด
3) กลุ่มเด็กและเยาวชนที่ถูกกระทำทารุณกรรม ถูกบังคับกดขี่ด้านแรงงานและขายบริการทางเพศ
3. การจัดทำแผนฯ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อศึกษาวิเคราะห์หาปัญหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไข กำหนดกลยุทธ์ในการแก้ไขอย่างเป็นระบบ เป็นไปตามหลักวิชาการวางแผน ประกอบด้วยแผนงานต่าง ๆ 6 ด้าน คือ
แผนด้านที่ 1 แผนส่งเสริมและประสานความร่วมมือในการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว
แผนด้านที่ 2 แผนปรับปรุงระบบแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู สงเคราะห์เด็ก เยาวชนและครอบครัว
แผนด้านที่ 3 แผนปรับปรุงโครงสร้างและระบบบบริหารงานศาลเยาวชนและครอบครัว กับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
แผนด้านที่ 4 แผนขยายงานพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว
แผนด้านที่ 5 แผนพัฒนางานตุลาการ
แผนด้านที่ 6 แผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล
4. การประสานงาน กระทรวงยุติธรรมได้จัดทำ "ร่างข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว" ให้มีการลงนามร่วมกันระหว่างกระทรวงยุติธรรมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และทบวงมหาวิทยาลัย โดยมีนายก-รัฐมนตรีร่วมลงนาม
5. ด้านงบประมาณ กระทรวงยุติธรรมจัดทำคำของบประมาณประจำปีในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายของศาลเยาวชนและครอบครัวกับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ส่วนหน่วยงานอื่นที่จะสนับสนุนงานของศาลเยาวชนและครอบครัวกับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ก็สามารถขอตั้งงบประมาณสำหรับดำเนินงานตามบทบาทภารกิจที่รับผิดชอบ โดยประสานการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 กรกฎาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการและสาระสำคัญของแผนพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2540 - 2549 ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ซึ่งเป็นแผนที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 โดยมุ่งให้การช่วยเหลือ แก้ไข บำบัด และฟื้นฟูเด็กและเยาวชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความเห็นชอบในหลักการแล้ว
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติมอบให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสำนักงบประมาณนำไปพิจารณาจัดสรรทรัพยากรที่ต้องใช้ตามแผนพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2540 - 2549 ตามที่เห็นสมควร โดยให้กระทรวงยุติธรรมทำความตกลงกับหน่วยงานทั้งสองในรายละเอียด และมอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่มีบทบาทภารกิจเกี่ยวกับการช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน สนับสนุนให้กระทรวงยุติธรรมจัดตั้งคณะกรรมการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัวแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว เพื่อให้มีศูนย์ประสานเครือข่ายในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชน
เนื่องจากปัจจุบันการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนเกิดขึ้นบ่อยและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ทำให้เด็กและเยาวชนตกอยู่ในภาวะทุกข์ยาก บางคนถูกทอดทิ้ง เร่ร่อน ขาดผู้อุปการะ ต้องเผชิญปัญหาชีวิตโดยลำพังตั้งแต่อายุยังน้อย หน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชนที่มีบทบาทภารกิจในการช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เยาวชนและบุคคลที่เดือดร้อน ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากต่างก็ได้พยายามแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือแต่ทำได้ไม่มาก เนื่องจากทรัพยากรบุคคลและงบประมาณมีจำนวนจำกัด หากมีการประสานความร่วมมือในการดำเนินงานอาจทำให้ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนได้มากขึ้น จึงได้จัดทำแผนพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2540 - 2549 ขึ้นเพื่อเป็นแผนแม่บทในการดำเนินงาน พอสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. นโยบายการพิทักษ์สิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว จะอำนวยความยุติธรรมแก่เด็ก เยาวชน และครอบครัว โดยมุ่งขยายงานศาลเยาวชนและครอบครัว และสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้ได้รับการพิทักษ์คุ้มครองอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
2. มีเป้าหมายที่จะให้การพิทักษ์คุ้มครองเด็กและเยาวชน 3 กลุ่มคือ
1) กลุ่มเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด
2) กลุ่มเด็กและเยาวชนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการกระทำผิด
3) กลุ่มเด็กและเยาวชนที่ถูกกระทำทารุณกรรม ถูกบังคับกดขี่ด้านแรงงานและขายบริการทางเพศ
3. การจัดทำแผนฯ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อศึกษาวิเคราะห์หาปัญหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไข กำหนดกลยุทธ์ในการแก้ไขอย่างเป็นระบบ เป็นไปตามหลักวิชาการวางแผน ประกอบด้วยแผนงานต่าง ๆ 6 ด้าน คือ
แผนด้านที่ 1 แผนส่งเสริมและประสานความร่วมมือในการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว
แผนด้านที่ 2 แผนปรับปรุงระบบแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู สงเคราะห์เด็ก เยาวชนและครอบครัว
แผนด้านที่ 3 แผนปรับปรุงโครงสร้างและระบบบบริหารงานศาลเยาวชนและครอบครัว กับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
แผนด้านที่ 4 แผนขยายงานพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว
แผนด้านที่ 5 แผนพัฒนางานตุลาการ
แผนด้านที่ 6 แผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล
4. การประสานงาน กระทรวงยุติธรรมได้จัดทำ "ร่างข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว" ให้มีการลงนามร่วมกันระหว่างกระทรวงยุติธรรมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และทบวงมหาวิทยาลัย โดยมีนายก-รัฐมนตรีร่วมลงนาม
5. ด้านงบประมาณ กระทรวงยุติธรรมจัดทำคำของบประมาณประจำปีในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายของศาลเยาวชนและครอบครัวกับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ส่วนหน่วยงานอื่นที่จะสนับสนุนงานของศาลเยาวชนและครอบครัวกับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ก็สามารถขอตั้งงบประมาณสำหรับดำเนินงานตามบทบาทภารกิจที่รับผิดชอบ โดยประสานการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 กรกฎาคม 2541--