ทำเนียบรัฐบาล--8 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ให้องค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) กู้เงินเพิ่มจำนวน 11,417 ล้านบาท เพื่อนำไปเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก พื้นที่ส่วนใต้ช่วงหัวลำโพง - ห้วยขวาง ส่วนเหนือช่วงห้วยขวาง - บางซื่อ และพื้นที่บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุง โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันและพิจารณาวิธีการกู้เงิน และให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตามกำหนดชำระต่อไป
ทั้งนี้ เดิมการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ประมาณการค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก เมื่อปี พ.ศ. 2535 เป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับ ซึ่งจะมีการเวนคืนที่ดินบริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงที่เขตห้วยขวาง จำนวนเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ส่วนแนวสายทางที่จะมีการเวนคืนที่ดินบริเวณสถานีเนื้อที่ประมาณ 85 ไร่ โดยกำหนดวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินไว้ทั้งสิ้น 16,830 ล้านบาท และโดยที่ปัจจุบันโครงการฯ ดังกล่าว ได้เปลี่ยนเป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินตลอดสายจึงจำเป็นต้องเวนคืนที่ดินตามแนวสายทางมากขึ้นเป็นเนื้อที่ประมาณ 159 ไร่ ประกอบกับการประเมินราคาที่ดินในปี 2540 สูงกว่าปี 2535 ทำให้ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มขึ้นโดยต้องจ่ายในส่วนที่เหลือทั้งหมดและส่วนที่เพิ่มขึ้น ประมาณราคาไว้เป็นจำนวน15,392 ล้านบาท ในการนี้ รฟม. ได้ออกพันธบัตรกู้เงิน จำนวน 5,000 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยได้เบิกจ่ายให้แก่ผู้ถูกเวนคืนแล้ว เป็นเงิน 4,478 ล้านบาท คงเหลือ 522 ล้านบาท ประกอบกับคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่8 เมษายน 2540 ได้มีมติอนุมัติให้ รฟม. กู้เงินเพื่อเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก ในวงเงินจำนวน 3,453 ล้านบาท รวมเป็นวงเงินคงเหลือเพื่อดำเนินการเวนคืน จำนวน 3,975 ล้านบาท (522 + 3,453) จึงมีความจำเป็นต้องขออนุมัติวงเงินเพิ่มเติมอีก จำนวน 11,417 ล้านบาท (15,392 - 3,975)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 8 กรกฎาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ให้องค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) กู้เงินเพิ่มจำนวน 11,417 ล้านบาท เพื่อนำไปเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก พื้นที่ส่วนใต้ช่วงหัวลำโพง - ห้วยขวาง ส่วนเหนือช่วงห้วยขวาง - บางซื่อ และพื้นที่บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุง โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันและพิจารณาวิธีการกู้เงิน และให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตามกำหนดชำระต่อไป
ทั้งนี้ เดิมการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ประมาณการค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก เมื่อปี พ.ศ. 2535 เป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับ ซึ่งจะมีการเวนคืนที่ดินบริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงที่เขตห้วยขวาง จำนวนเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ส่วนแนวสายทางที่จะมีการเวนคืนที่ดินบริเวณสถานีเนื้อที่ประมาณ 85 ไร่ โดยกำหนดวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินไว้ทั้งสิ้น 16,830 ล้านบาท และโดยที่ปัจจุบันโครงการฯ ดังกล่าว ได้เปลี่ยนเป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินตลอดสายจึงจำเป็นต้องเวนคืนที่ดินตามแนวสายทางมากขึ้นเป็นเนื้อที่ประมาณ 159 ไร่ ประกอบกับการประเมินราคาที่ดินในปี 2540 สูงกว่าปี 2535 ทำให้ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มขึ้นโดยต้องจ่ายในส่วนที่เหลือทั้งหมดและส่วนที่เพิ่มขึ้น ประมาณราคาไว้เป็นจำนวน15,392 ล้านบาท ในการนี้ รฟม. ได้ออกพันธบัตรกู้เงิน จำนวน 5,000 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยได้เบิกจ่ายให้แก่ผู้ถูกเวนคืนแล้ว เป็นเงิน 4,478 ล้านบาท คงเหลือ 522 ล้านบาท ประกอบกับคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่8 เมษายน 2540 ได้มีมติอนุมัติให้ รฟม. กู้เงินเพื่อเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก ในวงเงินจำนวน 3,453 ล้านบาท รวมเป็นวงเงินคงเหลือเพื่อดำเนินการเวนคืน จำนวน 3,975 ล้านบาท (522 + 3,453) จึงมีความจำเป็นต้องขออนุมัติวงเงินเพิ่มเติมอีก จำนวน 11,417 ล้านบาท (15,392 - 3,975)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 8 กรกฎาคม 2540--