ทำเนียบรัฐบาล--7 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ ความเสียหายจากสถานการณ์ น้ำท่วม และอัคคีภัย จนถึง วันที่ 4 กันยายน 2537 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กระทรวงมหาดไทย เสนอ ดังนี้
อุทกภัย
1. ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ
ความจุทั้งหมด ปริมาณน้ำเก็บกัก ปริมาณน้ำใช้งานได้
(ล้าน ลบ.ม.) (ล้าน ลบ.ม.) (ล้าน ลบ.ม.) เขื่อนภูมิพล 13,462.00 7,887.00 4,087.00 เขื่อนสิริกิติ์ 9,510.00 7,864.00 5,014.00 เขื่อนแม่งัด 265.00 296.00 274.00 เขื่อนเขาแหลม 8,860.00 9,027.00 6,015.00 เขื่อนแก่งกระจาน 710.00 727.00 660.00 เขื่อนอุบลรัตน์ 2,263.00 393.00 -17.00
2. ความเสียหายจากภาวะน้ำท่วม ตามที่ได้มีฝนตกหนักตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมจนถึง วันที่ 2 กันยายน 2537 มีพื้นที่ประสบภาวะน้ำท่วมแล้ว 29 จังหวัด
2.1 ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 286.671 ครอบครัว 1,175,277 คน เสียชีวิต 28 คน สูญหาย 2 คน บาดเจ็บ 3 คน อพยพราษฎรไปอยู่ที่ปลอดภัยแล้ว 7,622 ครอบครัว 25,293 คน บ้าน เรือนราษฎรเสียหายทั้งหลัง 339 หลัง บางส่วน 7,420 หลัง
2.2 สิ่งสาธารณประโยชน์ชำรุดเสียหาย แยกเป็น ถนน 5,054 สาย สะพาน 829 แห่ง ทำนบ/เหมือง/ฝาย 1,032 แห่ง สถานที่ราชการ 15 แห่ง โรงเรียน 70 แห่ง วัด 53 แห่ง
2.3 พื้นที่การเกษตรและปศุสัตว์เสียหาย แยกเป็น พื้นที่ประสบภัย 1,843,733 พื้นที่เสีย หาย 1,074,985 ไร่ พืชต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายมี ดังนี้ ข้าว 752,612 ไร่ ข้าวโพด 110,817 ไร ถั่วเหลือง 90,881 ไร พืชผัก พืชไร่อื่น 76,998 ไร่ ไม้ผล 43,677 ไร่ สัตว์เลี้ยงเสียหายและ สูญหายประมาณ 511,861 ตัว ได้แก่ โค 10,377 ตัว กระบือ 677 ตัว สุกร 7,309 ตัว เป็ด 51,487 ตัว และไก่ 442,011 ตัว บ่อปลาเสียหาย 2,074 บ่อ พื้นที่ 2,951.77 ไร่
3. การให้ความช่วยเหลือ
3.1 การช่วยเหลือกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน
1) ค่าใช้จ่ายด้านการเกษตร ในความรับผิดชอบของกรมประมง และกรมปศุสัตว์ สำหรับภัย ที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงินหน่วยงานละ 1 ล้านบาท
2) ค่าใช้จ่ายด้านพืช ในความรับผิดชอบของกรมส่งเสริมการเกษตรให้ใช้ร่วมกับกรม การปกครอง สำหรับภัยที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงิน 5 ล้านบาท
3.2 การช่วยเหลือระยะยาว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีหนังสือแจ้งให้กรมส่งเสริม การเกษตร กรมปศุสัตว์ และกรมประมง เร่งทำการสำรวจความเสียหายตามแบบ คชภ.2 และจัดทำ ความต้องการความช่วยเหลือตามที่เกษตรกรต้องการเพื่อพิจารณาขอเงินงบกลางโดยด่วนต่อไปแล้ว
3.3 การขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนกลาง จังหวัดที่ประสบภัยได้ส่งโครงการ ขอความช่วยตามหลักเกณฑ์มายังสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแล้ว จำนวน 9 จังหวัด 2 หน่วย งาน แยกประเภทโครงการได้ ดังนี้
- ถนน/ท่อระบายน้ำ 1,140 โครงการ เป็นเงิน 163,994,982 บาท
- สะพาน/ท่อเหลี่ยม คสล. 259 โครงการ เป็นเงิน 99,675,299 บาท
- ทำนบ/เหมือง/ฝาย 239 โครงการ เป็นเงิน 33,410,219 บาท
- อื่นๆ 194 โครงการ เป็นเงิน 81,804,799 บาท
รวมทั้งสิ้น 1832 โครงการ เป็นเงิน 378,885,299 บาท
อัคคีภัย
1. สถานการณ์อัคคีภัย ในวันที่ 29 สิงหาคม 2537 ได้เกิดเพลิงไหม้ที่บริเวณชุมชนร่มเกล้า เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร สรุปได้ดังนี้ (ข้อมูลวันที่ 2 กันยายน 2537)
2. ความเสียหาย
2.1 บ้านเรือนถูกเพลิงไหม้เสียหายทั้งหลัง 986 หลัง (เฉพาะที่สำนักงานเขต คลองเตย กทม. ออกหนังสือรับรองให้)
2.1.1 ชุมชนร่มเกล้า 953 หลัง
2.1.2 ชุมชนหัวโค้ง 33 หลัง
2.2 จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 59 คน (ข้อมูลสภากาชาดไทย)
2.3 ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 986 ครอบครัว 3,782 คน
2.4 พื้นที่ประสบภัยประมาณ 25 ไร่
3. การช่วยเหลือ ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัยกระทรวง มหาดไทย (ศูนย์ ฉก.มท.) ณ กองป้องกัยภัยฝ่ายพลเรือน (ชั้นที่ 1) กรมการปกครองโดยประสานกับ หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ เช่น สำนักงานเขตคลองเตย สน.คลองเตย ตำรวจดับ เพลิง มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มูลนิธิร่วมกตัญญู และหน่วยอาสาสมัคร ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และตั้งจุดรับ บริจาคสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นต่างๆ ณ จัดเกิดเหตุเพลิงไหม้
4. การจัดที่อยู่อาศัยชั่วคราว ทางราชการได้จัดที่พักชั่วคราวให้ผู้ประสบภัยไว้ 3 แห่งคือ บริเวณใต้ทางด่วนใกล้จุดเกิดเหตุ บริเวณด้านหลังมารีเน่อร์คลับ และบริเวณบ้านพักชุมชนเกาะลาวเดิม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 กันยายน 2537--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ ความเสียหายจากสถานการณ์ น้ำท่วม และอัคคีภัย จนถึง วันที่ 4 กันยายน 2537 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กระทรวงมหาดไทย เสนอ ดังนี้
อุทกภัย
1. ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ
ความจุทั้งหมด ปริมาณน้ำเก็บกัก ปริมาณน้ำใช้งานได้
(ล้าน ลบ.ม.) (ล้าน ลบ.ม.) (ล้าน ลบ.ม.) เขื่อนภูมิพล 13,462.00 7,887.00 4,087.00 เขื่อนสิริกิติ์ 9,510.00 7,864.00 5,014.00 เขื่อนแม่งัด 265.00 296.00 274.00 เขื่อนเขาแหลม 8,860.00 9,027.00 6,015.00 เขื่อนแก่งกระจาน 710.00 727.00 660.00 เขื่อนอุบลรัตน์ 2,263.00 393.00 -17.00
2. ความเสียหายจากภาวะน้ำท่วม ตามที่ได้มีฝนตกหนักตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมจนถึง วันที่ 2 กันยายน 2537 มีพื้นที่ประสบภาวะน้ำท่วมแล้ว 29 จังหวัด
2.1 ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 286.671 ครอบครัว 1,175,277 คน เสียชีวิต 28 คน สูญหาย 2 คน บาดเจ็บ 3 คน อพยพราษฎรไปอยู่ที่ปลอดภัยแล้ว 7,622 ครอบครัว 25,293 คน บ้าน เรือนราษฎรเสียหายทั้งหลัง 339 หลัง บางส่วน 7,420 หลัง
2.2 สิ่งสาธารณประโยชน์ชำรุดเสียหาย แยกเป็น ถนน 5,054 สาย สะพาน 829 แห่ง ทำนบ/เหมือง/ฝาย 1,032 แห่ง สถานที่ราชการ 15 แห่ง โรงเรียน 70 แห่ง วัด 53 แห่ง
2.3 พื้นที่การเกษตรและปศุสัตว์เสียหาย แยกเป็น พื้นที่ประสบภัย 1,843,733 พื้นที่เสีย หาย 1,074,985 ไร่ พืชต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายมี ดังนี้ ข้าว 752,612 ไร่ ข้าวโพด 110,817 ไร ถั่วเหลือง 90,881 ไร พืชผัก พืชไร่อื่น 76,998 ไร่ ไม้ผล 43,677 ไร่ สัตว์เลี้ยงเสียหายและ สูญหายประมาณ 511,861 ตัว ได้แก่ โค 10,377 ตัว กระบือ 677 ตัว สุกร 7,309 ตัว เป็ด 51,487 ตัว และไก่ 442,011 ตัว บ่อปลาเสียหาย 2,074 บ่อ พื้นที่ 2,951.77 ไร่
3. การให้ความช่วยเหลือ
3.1 การช่วยเหลือกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน
1) ค่าใช้จ่ายด้านการเกษตร ในความรับผิดชอบของกรมประมง และกรมปศุสัตว์ สำหรับภัย ที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงินหน่วยงานละ 1 ล้านบาท
2) ค่าใช้จ่ายด้านพืช ในความรับผิดชอบของกรมส่งเสริมการเกษตรให้ใช้ร่วมกับกรม การปกครอง สำหรับภัยที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงิน 5 ล้านบาท
3.2 การช่วยเหลือระยะยาว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีหนังสือแจ้งให้กรมส่งเสริม การเกษตร กรมปศุสัตว์ และกรมประมง เร่งทำการสำรวจความเสียหายตามแบบ คชภ.2 และจัดทำ ความต้องการความช่วยเหลือตามที่เกษตรกรต้องการเพื่อพิจารณาขอเงินงบกลางโดยด่วนต่อไปแล้ว
3.3 การขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนกลาง จังหวัดที่ประสบภัยได้ส่งโครงการ ขอความช่วยตามหลักเกณฑ์มายังสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแล้ว จำนวน 9 จังหวัด 2 หน่วย งาน แยกประเภทโครงการได้ ดังนี้
- ถนน/ท่อระบายน้ำ 1,140 โครงการ เป็นเงิน 163,994,982 บาท
- สะพาน/ท่อเหลี่ยม คสล. 259 โครงการ เป็นเงิน 99,675,299 บาท
- ทำนบ/เหมือง/ฝาย 239 โครงการ เป็นเงิน 33,410,219 บาท
- อื่นๆ 194 โครงการ เป็นเงิน 81,804,799 บาท
รวมทั้งสิ้น 1832 โครงการ เป็นเงิน 378,885,299 บาท
อัคคีภัย
1. สถานการณ์อัคคีภัย ในวันที่ 29 สิงหาคม 2537 ได้เกิดเพลิงไหม้ที่บริเวณชุมชนร่มเกล้า เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร สรุปได้ดังนี้ (ข้อมูลวันที่ 2 กันยายน 2537)
2. ความเสียหาย
2.1 บ้านเรือนถูกเพลิงไหม้เสียหายทั้งหลัง 986 หลัง (เฉพาะที่สำนักงานเขต คลองเตย กทม. ออกหนังสือรับรองให้)
2.1.1 ชุมชนร่มเกล้า 953 หลัง
2.1.2 ชุมชนหัวโค้ง 33 หลัง
2.2 จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 59 คน (ข้อมูลสภากาชาดไทย)
2.3 ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 986 ครอบครัว 3,782 คน
2.4 พื้นที่ประสบภัยประมาณ 25 ไร่
3. การช่วยเหลือ ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัยกระทรวง มหาดไทย (ศูนย์ ฉก.มท.) ณ กองป้องกัยภัยฝ่ายพลเรือน (ชั้นที่ 1) กรมการปกครองโดยประสานกับ หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ เช่น สำนักงานเขตคลองเตย สน.คลองเตย ตำรวจดับ เพลิง มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มูลนิธิร่วมกตัญญู และหน่วยอาสาสมัคร ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และตั้งจุดรับ บริจาคสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นต่างๆ ณ จัดเกิดเหตุเพลิงไหม้
4. การจัดที่อยู่อาศัยชั่วคราว ทางราชการได้จัดที่พักชั่วคราวให้ผู้ประสบภัยไว้ 3 แห่งคือ บริเวณใต้ทางด่วนใกล้จุดเกิดเหตุ บริเวณด้านหลังมารีเน่อร์คลับ และบริเวณบ้านพักชุมชนเกาะลาวเดิม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 กันยายน 2537--