ทำเนียบรัฐบาล--19 เม.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานผลการดำเนินงานและการแก้ไขปัญหาการส่งออกของคณะกรรมการพัฒนาการส่งออก สรุปได้ดังนี้
1. การผลักดันด้านการตลาด
1.1 ให้ความเห็นชอบแผนส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก ปี 2541 โดยให้มีการประสานงานร่วมกันระหว่างกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้สอดคล้องกับแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม รวมทั้งให้มีการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมตามแผนในทุกไตรมาสเป็นรายสินค้าและรายตลาด
1.2 เรื่องมาตรการเร่งรัดการส่งออกในตลาด/สินค้าที่มีการส่งออกลดลง โดยตลาดสำคัญที่มีการส่งออกลดลง ได้แก่ตลาดญี่ปุ่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง คณะกรรมการพัฒนาการส่งออกได้พิจารณาเห็นชอบแผนปฏิบัติการเร่งรัดการแก้ไขปัญหาการส่งออก ตลอดจนมาตรการด้านการตลาดเชิงรุกใน 3 ตลาดดังกล่าว และได้นำเสนอคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว
1.3 พิจารณาเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการขยายช่องทางการตลาดของผู้ส่งออกในต่างประเทศ โดยให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยกำหนดมาตรการในการสนับสนุนทั้งด้านการลงทุนในต่างประเทศและสนับสนุนการส่งออกนอกเหนือจากการให้บริการ Packing Credit ทั่วไป นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการจัดกิจกรรม ทั้งฝึกอบรม สัมมนาและหาผู้เข้าร่วมโครงการเปิดเครือข่ายช่องทางการจำหน่ายสินค้า Brand Name ไทยในตลาดต่างประเทศ
1.4 พิจารณาเรื่องยุทธศาสตร์การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าระดับสากล ตามข้อเสนอของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบอนน์ เกี่ยวกับการส่งเสริมการส่งออก โดยให้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าระดับสากลเกี่ยวกับสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีให้มากขึ้น และต้องทำความรู้จักกับผู้ค้าท้องถิ่น ศึกษาสภาวะตลาด ศึกษาผลิตภัณฑ์ในเชิงเปรียบเทียบ ทั้งนี้ ได้มีมติมอบหมายให้กรมส่งเสริมการส่งออกดำเนินการต่อไป
1.5 เห็นชอบเป้าหมายการส่งออกปี 2542 มูลค่า 56.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2541 ร้อยละ 4 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอจากผลการประชุมหัวหน้าสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ และศูนย์พาณิชยกรรมทั่วโลก
1.6 เห็นชอบมาตรการและกลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก ปี 2542 โดยกำหนดสินค้าเป้าหมาย 14 รายการ และธุรกิจบริการ 13 กลุ่ม และจัดทำเป็นโครงการเพื่อดำเนินการรวม 448 โครงการ และ ณ วันที่ 7 เมษายน 2542 ได้มีการดำเนินการแล้วและระหว่างดำเนินการ รวม 207 โครงการ หรือร้อยละ 46.21 ทั้งนี้มีกลยุทธ์ที่สำคัญ ได้แก่
1) การสร้างชื่อทางการค้าของสินค้าไทย (Brand Image) และส่งเสริมการขยายตลาดภายใต้ Brand Name ของไทย ซึ่งมีการดำเนินการเป็น 3 ระดับ ได้แก่
- การโฆษณาประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของประเทศ (Country Image)
- การสร้างภาพลักษณ์ประชาสัมพันธ์กลุ่มสินค้า (Product Category Image)
- การสนับสนุนให้ผู้ประกอบการพัฒนาชื่อทางการค้าของตนเอง
ทั้งนี้ ได้มีการเปิดตัวโครงการทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเปิดรับสมัครผู้ประสงค์ที่จะใช้สัญญลักษณ์ตราสินค้าไทย “Thailand : Diversity and Refinement ” แล้ว
2) การจัดทำโครงการพาณิชย์อิเลคโทรนิคส์ โดยเป็นการจัดระบบข้อมูลของผู้ส่งออกลงในเครือข่ายอินเตอร์เนท ซึ่งขณะนี้ได้มีการซื้อขายระหว่างกันบ้างแล้ว
3) การสนับสนุนการขยายช่องทางการตลาดของผู้ส่งออก (Distribution Network) ในตลาดต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายและช่องทางการตลาดในต่างประเทศในรูปของการจัดตั้งสาขาในต่างประเทศ อาทิ การร่วมลงทุน ธุรกิจแฟรนไชส์ ตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น
1.7 เห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกเพื่อเพิ่มสัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่ โดยสนับสนุนมาตรการ 3 ด้าน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2542 ได้แก่
1) มาตรการการเงิน
- ผลักดันให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยโดยดำเนินโครงการประกันสินเชื่อเพื่อการส่งออกในรูปแบบต่าง ๆ สำหรับตลาดใหม่ รวมทั้งให้มีการจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ส่งออก
- ผลักดันให้มีการชดเชยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ผู้ส่งออก ร้อยละ 5 โดยจะใช้วงเงินประมาณ 150 ล้านบาทจากกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
2) มาตรการภาษี ผลักดันให้ผู้ส่งออกสามารถนำค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมด้านการตลาดในตลาดใหม่มาหักค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีได้เป็น 2 เท่า
3) มาตรการส่งเสริมการส่งออก ให้กระทรวงพาณิชย์เพิ่มเติมกิจกรรมในการสนับสนุนการส่งออกโดยการจัดคณะผู้แทนการค้าไปเยือนตลาดใหม่ การสร้างเครือข่ายการกระจายสินค้า อาทิ การจัด Solo Show ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายด้านค่าเช่าสถานที่ ค่าตกแต่ง อุปกรณ์ การจัดทำนัดหมายให้กว้างขวางและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
2. การผลักดันด้านสภาพคล่องทางการเงินของผู้ส่งออก
ผลักดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับปรุงสัดส่วนวงเงิน Packing Credit ในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทยให้สูงขึ้นกว่าสัดส่วนวงเงินของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจากเดิมมีสัดส่วน 50:50 เป็น 60:40 เพื่อลดความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์และเป็นแรงจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ส่งออกมากขึ้น
3. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานต่าง ๆ ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการส่งออก
คณะกรรมการพัฒนาการส่งออกได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานในด้านต่าง ๆ เพื่อดูแลในกิจการเฉพาะด้าน ทั้งนี้ เพื่อที่สามารถติดตามสภาวะต่าง ๆ ได้ในรายละเอียด ดังนี้
3.1 คณะอนุกรรมการติดตามและเร่งรัดการส่งออก
1) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และนางบุญทิพา สิมะสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
2) มีหน้าที่ในการประมวลปัญหา อุปสรรค และเสนอแนะมาตรการในการแก้ไขปัญหาการส่งออกในด้านต่าง ๆ
3.2 คณะอนุกรรมการส่งเสริมการส่งออกอาหาร
1) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และนางสาวอรจิต สิงคาลวณิช ที่ปรึกษาการพาณิชย์เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
2) มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย กลยุทธ แผนปฏิบัติการ รวมทั้งการกำกับดูแลการดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนการส่งเสริมและพัฒนาการส่งออกสินค้าอาหาร และวางแผนท่าทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
3.3 คณะอนุกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาสุขอนามัยและคุณภาพในการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร
1) นายสมภพ อมาตยกุล เป็นประธาน และเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นอนุกรรมการ และเลขานุการ
2) มีหน้าที่กำหนดนโยบาย แผนงาน และแผนปฏิบัติการทั้งระยะสั้นและระยะยาวตามมาตรการที่เห็นพ้องกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ สำหรับการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาสุขอนามัยและคุณภาพในการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร
ทั้งนี้ ได้มีการเสนอแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหารวม 8 ด้าน ซึ่งได้นำเสนอคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว
3.4 คณะอนุกรรมการส่งเสริมการส่งออกธุรกิจบริการ
1) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และรองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
2) มีหน้าที่กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ และแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการส่งออกสินค้าธุรกิจบริการ และแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการส่งออก
3.5 คณะอนุกรรมการเพื่อสร้างภาพพจน์สินค้าและบริการการส่งออกของไทย
1) ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และผู้อำนวยการกองแผนงาน กรมส่งเสริมการส่งออก เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
2) มีหน้าที่ในการเสนอแนะกิจกรรมและโครงการสร้างภาพพจน์สินค้าและบริการส่งออกของไทย และดำเนินการให้มีการประกาศเกียรติคุณผู้ส่งออก Prime Minister s Export Award เป็นประจำทุกปี
3.6 คณะอนุกรรมการคัดเลือกผู้ส่งออกสินค้าไทยดีเด่นรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรกคุณาภรณ์
1) ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และผู้อำนวยการกองแผนงาน กรมส่งเสริมการส่งออก เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
2) มีหน้าที่พิจารณา กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการพิจารณา คุณสมบัติ และการคัดเลือกผู้ส่งออกไทยดีเด่นที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรกคุณาภรณ์
3.7 คณะทำงานส่งเสริมการส่งออก รายสินค้า จำนวน 5 คณะ ได้แก่ สินค้าสิ่งทอ สินค้าอาหาร สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเลคโทรนิกส์ และส่วนประกอบ สินค้าเครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งบ้าน
1) อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นประธาน และผู้อำนวยการกองแผนงาน เป็นคณะทำงาน และเลขานุการ
2) มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย และกลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาการส่งออกในรายละเอียดของแต่ละสินค้าเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และกรอบนโยบายหลัก รวมทั้งการหาแนวทางการลดอุปสรรคของการค้าในรายสินค้า
3.8 คณะทำงานพิจารณาคัดเลือกและตัดสินผู้ส่งออกสินค้าไทยดีเด่นที่ใช้ชื่อตราสินค้าเป็นของตนเอง
1) รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นประธาน และผู้อำนวยการกองแผนงาน เป็นคณะทำงานและเลขานุการ
2) มีหน้าที่ในการพิจารณาคัดเลือกและตัดสินผู้ส่งออกไทยดีเด่นที่ใช้ชื่อทางการค้าของตนเอง และนำเสนอคณะอนุกรรมการฯ
3.9 คณะทำงานพิจารณาคัดเลือกและตัดสินผู้ส่งออกสินค้าไทยดีเด่นที่มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตนเอง
1) รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นประธาน และผู้อำนวยการสำนักพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อการส่งออก เป็นคณะทำงานและเลขานุการ
2) มีหน้าที่ในการพิจารณาคัดเลือกและตัดสินผู้ส่งออกไทยที่มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตนเอง และนำเสนอคณะอนุกรรมการฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 เมษายน 2542--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานผลการดำเนินงานและการแก้ไขปัญหาการส่งออกของคณะกรรมการพัฒนาการส่งออก สรุปได้ดังนี้
1. การผลักดันด้านการตลาด
1.1 ให้ความเห็นชอบแผนส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก ปี 2541 โดยให้มีการประสานงานร่วมกันระหว่างกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้สอดคล้องกับแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม รวมทั้งให้มีการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมตามแผนในทุกไตรมาสเป็นรายสินค้าและรายตลาด
1.2 เรื่องมาตรการเร่งรัดการส่งออกในตลาด/สินค้าที่มีการส่งออกลดลง โดยตลาดสำคัญที่มีการส่งออกลดลง ได้แก่ตลาดญี่ปุ่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง คณะกรรมการพัฒนาการส่งออกได้พิจารณาเห็นชอบแผนปฏิบัติการเร่งรัดการแก้ไขปัญหาการส่งออก ตลอดจนมาตรการด้านการตลาดเชิงรุกใน 3 ตลาดดังกล่าว และได้นำเสนอคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว
1.3 พิจารณาเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการขยายช่องทางการตลาดของผู้ส่งออกในต่างประเทศ โดยให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยกำหนดมาตรการในการสนับสนุนทั้งด้านการลงทุนในต่างประเทศและสนับสนุนการส่งออกนอกเหนือจากการให้บริการ Packing Credit ทั่วไป นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการจัดกิจกรรม ทั้งฝึกอบรม สัมมนาและหาผู้เข้าร่วมโครงการเปิดเครือข่ายช่องทางการจำหน่ายสินค้า Brand Name ไทยในตลาดต่างประเทศ
1.4 พิจารณาเรื่องยุทธศาสตร์การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าระดับสากล ตามข้อเสนอของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบอนน์ เกี่ยวกับการส่งเสริมการส่งออก โดยให้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าระดับสากลเกี่ยวกับสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีให้มากขึ้น และต้องทำความรู้จักกับผู้ค้าท้องถิ่น ศึกษาสภาวะตลาด ศึกษาผลิตภัณฑ์ในเชิงเปรียบเทียบ ทั้งนี้ ได้มีมติมอบหมายให้กรมส่งเสริมการส่งออกดำเนินการต่อไป
1.5 เห็นชอบเป้าหมายการส่งออกปี 2542 มูลค่า 56.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2541 ร้อยละ 4 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอจากผลการประชุมหัวหน้าสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ และศูนย์พาณิชยกรรมทั่วโลก
1.6 เห็นชอบมาตรการและกลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก ปี 2542 โดยกำหนดสินค้าเป้าหมาย 14 รายการ และธุรกิจบริการ 13 กลุ่ม และจัดทำเป็นโครงการเพื่อดำเนินการรวม 448 โครงการ และ ณ วันที่ 7 เมษายน 2542 ได้มีการดำเนินการแล้วและระหว่างดำเนินการ รวม 207 โครงการ หรือร้อยละ 46.21 ทั้งนี้มีกลยุทธ์ที่สำคัญ ได้แก่
1) การสร้างชื่อทางการค้าของสินค้าไทย (Brand Image) และส่งเสริมการขยายตลาดภายใต้ Brand Name ของไทย ซึ่งมีการดำเนินการเป็น 3 ระดับ ได้แก่
- การโฆษณาประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของประเทศ (Country Image)
- การสร้างภาพลักษณ์ประชาสัมพันธ์กลุ่มสินค้า (Product Category Image)
- การสนับสนุนให้ผู้ประกอบการพัฒนาชื่อทางการค้าของตนเอง
ทั้งนี้ ได้มีการเปิดตัวโครงการทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเปิดรับสมัครผู้ประสงค์ที่จะใช้สัญญลักษณ์ตราสินค้าไทย “Thailand : Diversity and Refinement ” แล้ว
2) การจัดทำโครงการพาณิชย์อิเลคโทรนิคส์ โดยเป็นการจัดระบบข้อมูลของผู้ส่งออกลงในเครือข่ายอินเตอร์เนท ซึ่งขณะนี้ได้มีการซื้อขายระหว่างกันบ้างแล้ว
3) การสนับสนุนการขยายช่องทางการตลาดของผู้ส่งออก (Distribution Network) ในตลาดต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายและช่องทางการตลาดในต่างประเทศในรูปของการจัดตั้งสาขาในต่างประเทศ อาทิ การร่วมลงทุน ธุรกิจแฟรนไชส์ ตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น
1.7 เห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกเพื่อเพิ่มสัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่ โดยสนับสนุนมาตรการ 3 ด้าน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2542 ได้แก่
1) มาตรการการเงิน
- ผลักดันให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยโดยดำเนินโครงการประกันสินเชื่อเพื่อการส่งออกในรูปแบบต่าง ๆ สำหรับตลาดใหม่ รวมทั้งให้มีการจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ส่งออก
- ผลักดันให้มีการชดเชยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ผู้ส่งออก ร้อยละ 5 โดยจะใช้วงเงินประมาณ 150 ล้านบาทจากกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
2) มาตรการภาษี ผลักดันให้ผู้ส่งออกสามารถนำค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมด้านการตลาดในตลาดใหม่มาหักค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีได้เป็น 2 เท่า
3) มาตรการส่งเสริมการส่งออก ให้กระทรวงพาณิชย์เพิ่มเติมกิจกรรมในการสนับสนุนการส่งออกโดยการจัดคณะผู้แทนการค้าไปเยือนตลาดใหม่ การสร้างเครือข่ายการกระจายสินค้า อาทิ การจัด Solo Show ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายด้านค่าเช่าสถานที่ ค่าตกแต่ง อุปกรณ์ การจัดทำนัดหมายให้กว้างขวางและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
2. การผลักดันด้านสภาพคล่องทางการเงินของผู้ส่งออก
ผลักดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับปรุงสัดส่วนวงเงิน Packing Credit ในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทยให้สูงขึ้นกว่าสัดส่วนวงเงินของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจากเดิมมีสัดส่วน 50:50 เป็น 60:40 เพื่อลดความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์และเป็นแรงจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ส่งออกมากขึ้น
3. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานต่าง ๆ ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการส่งออก
คณะกรรมการพัฒนาการส่งออกได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานในด้านต่าง ๆ เพื่อดูแลในกิจการเฉพาะด้าน ทั้งนี้ เพื่อที่สามารถติดตามสภาวะต่าง ๆ ได้ในรายละเอียด ดังนี้
3.1 คณะอนุกรรมการติดตามและเร่งรัดการส่งออก
1) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และนางบุญทิพา สิมะสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
2) มีหน้าที่ในการประมวลปัญหา อุปสรรค และเสนอแนะมาตรการในการแก้ไขปัญหาการส่งออกในด้านต่าง ๆ
3.2 คณะอนุกรรมการส่งเสริมการส่งออกอาหาร
1) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และนางสาวอรจิต สิงคาลวณิช ที่ปรึกษาการพาณิชย์เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
2) มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย กลยุทธ แผนปฏิบัติการ รวมทั้งการกำกับดูแลการดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนการส่งเสริมและพัฒนาการส่งออกสินค้าอาหาร และวางแผนท่าทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
3.3 คณะอนุกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาสุขอนามัยและคุณภาพในการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร
1) นายสมภพ อมาตยกุล เป็นประธาน และเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นอนุกรรมการ และเลขานุการ
2) มีหน้าที่กำหนดนโยบาย แผนงาน และแผนปฏิบัติการทั้งระยะสั้นและระยะยาวตามมาตรการที่เห็นพ้องกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ สำหรับการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาสุขอนามัยและคุณภาพในการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร
ทั้งนี้ ได้มีการเสนอแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหารวม 8 ด้าน ซึ่งได้นำเสนอคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว
3.4 คณะอนุกรรมการส่งเสริมการส่งออกธุรกิจบริการ
1) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และรองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
2) มีหน้าที่กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ และแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการส่งออกสินค้าธุรกิจบริการ และแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการส่งออก
3.5 คณะอนุกรรมการเพื่อสร้างภาพพจน์สินค้าและบริการการส่งออกของไทย
1) ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และผู้อำนวยการกองแผนงาน กรมส่งเสริมการส่งออก เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
2) มีหน้าที่ในการเสนอแนะกิจกรรมและโครงการสร้างภาพพจน์สินค้าและบริการส่งออกของไทย และดำเนินการให้มีการประกาศเกียรติคุณผู้ส่งออก Prime Minister s Export Award เป็นประจำทุกปี
3.6 คณะอนุกรรมการคัดเลือกผู้ส่งออกสินค้าไทยดีเด่นรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรกคุณาภรณ์
1) ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และผู้อำนวยการกองแผนงาน กรมส่งเสริมการส่งออก เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
2) มีหน้าที่พิจารณา กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการพิจารณา คุณสมบัติ และการคัดเลือกผู้ส่งออกไทยดีเด่นที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรกคุณาภรณ์
3.7 คณะทำงานส่งเสริมการส่งออก รายสินค้า จำนวน 5 คณะ ได้แก่ สินค้าสิ่งทอ สินค้าอาหาร สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเลคโทรนิกส์ และส่วนประกอบ สินค้าเครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งบ้าน
1) อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นประธาน และผู้อำนวยการกองแผนงาน เป็นคณะทำงาน และเลขานุการ
2) มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย และกลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาการส่งออกในรายละเอียดของแต่ละสินค้าเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และกรอบนโยบายหลัก รวมทั้งการหาแนวทางการลดอุปสรรคของการค้าในรายสินค้า
3.8 คณะทำงานพิจารณาคัดเลือกและตัดสินผู้ส่งออกสินค้าไทยดีเด่นที่ใช้ชื่อตราสินค้าเป็นของตนเอง
1) รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นประธาน และผู้อำนวยการกองแผนงาน เป็นคณะทำงานและเลขานุการ
2) มีหน้าที่ในการพิจารณาคัดเลือกและตัดสินผู้ส่งออกไทยดีเด่นที่ใช้ชื่อทางการค้าของตนเอง และนำเสนอคณะอนุกรรมการฯ
3.9 คณะทำงานพิจารณาคัดเลือกและตัดสินผู้ส่งออกสินค้าไทยดีเด่นที่มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตนเอง
1) รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นประธาน และผู้อำนวยการสำนักพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อการส่งออก เป็นคณะทำงานและเลขานุการ
2) มีหน้าที่ในการพิจารณาคัดเลือกและตัดสินผู้ส่งออกไทยที่มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตนเอง และนำเสนอคณะอนุกรรมการฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 เมษายน 2542--