ทำเนียบรัฐบาล--1 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบ ผลการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลของสำนักนายกรัฐมนตรีประจำปีงบประมาณ 2537 ระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน 2537 ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ สรุปสาระสำคัญจำแนกตามนโยบายของรัฐบาลได้ ดังนี้
1. นโยบายการเมืองและการบริหารราชการ
1.1 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้พัฒนาบุคลากรและกระบวนการวินิจฉัยเรื่องราวร้องทุกข์ ตลอดจนเตรียมปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้พร้อมเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งศาลปกครอง โดยได้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาและรับหลักการแล้ว จัดฝึกอบรมและบรรยายพิเศษเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดตั้งศาลปกครองให้แก่ข้าราชการของสำนักงาน ฯ จัดเตรียมร่างอนุบัญญัติและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ-วินิจฉัยร้องทุกข์ภูมิภาค เตรียมการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อเสนอแต่งตั้งเป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ จัดหาที่ดินเพื่อสร้างอาคารสถานที่ทำการถาวรของสำนักงานคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ภูมิภาค
1.2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ร่วมประชุมกับกระทรวงมหาดไทยและสำนักราชเลขาธิการ เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับนักโทษที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว ให้ได้รับการปล่อยตัวเร็วขึ้น ร่วมประชุมกับกระทรวงกลาโหม และกระทรวงมหาดไทย เพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษที่ดำรงยศทหารหรือตำรวจ
1.3 สำนักงาน ป.ป.ป. ได้ดำเนินการวางมาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ดำเนินการศึกษา ตรวจสอบ และวิเคราะห์ ตำแหน่งต่าง ๆ ของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจที่ต้องแสดงรายการสินทรัพย์และหนี้สิน สืบสวนสอบสวน จัดตั้งศูนย์ข้อมูลทางวิชาการงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ และพัฒนาศูนย์ข้อมูลของสำนักงาน ฯ เสนอมาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว คือ มาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบเกี่ยวกับการจัดซื้อยา และมาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบกรณีการจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุ
1.4 สำนักงาน ก.พ. ได้จัดทำข้อเสนอในการปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือน จัดทำรายงานวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าตอบแทนภาคราชการและเอกชน ตามโครงการการจัดทำโครงสร้างบัญชีอัตราเงินเดือนตามกลุ่มวิชาชีพ ศึกษาและสำรวจข้อมูลเพื่อปรับปรุงสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของข้าราชการ เร่งรัดติดตามให้หน่วยงานของรัฐออกระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ปรับปรุงขนาดกำลังคนภาครัฐโดยศึกษาและกำหนดแนวทางการลดจำนวนข้าราชการด้วยการเกลี่ยอัตรากำลัง และจูงใจให้ลาออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานในภาคเอกชนศึกษาและกำหนดแนวทางการปรับปรุงสายงานและมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง
2. นโยบายต่างประเทศ กรมวิเทศสหการ ดำเนินการดังนี้
2.1 ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการแก่ต่างประเทศแบบทวิภาคี โดยให้ความช่วยเหลือด้านทุนการศึกษา ฝึกอบรม และดูงาน จำนวน 479 ทุน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 51 คน คณะผู้แทนไปหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศต่าง ๆ จำนวน 3 คณะ ให้ความช่วยเหลือด้านวัสดุอุปกรณ์ มูลค่ารวม 35.46 ล้านบาท และให้ความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ เป็นมูลค่า 9.41 ล้านบาท จัดหาหลักสูตรทุนการศึกษาฝึกอบรมลักษณะ Group Training จำนวน 255 ทุน แลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา จำนวน 28 ทุน ทางวิทยาศาสตร์และวิชาการไทย-จีน จำนวน 112 ทุน และร่วมมือกับต่างประเทศจัดหลักสูตรฝึกอบรมดูงานในประเทศไทย จำนวน 152 ทุน คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 142.59 ล้านบาท
2.2 รับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการต่างประเทศ โดยประสานงานและเจรจาขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เพื่อขอรับความช่วยเหลือให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ในรูปของโครงการ ทุน ผู้เชี่ยวชาญอาสาสมัครและวัสดุอุปกรณ์ ในสาขาต่าง ๆ คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,404.16 ล้านบาท
3. นโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบท
3.1 สำนักงบประมาณ ได้อนุมัติเงินประจำงวดตามโครงการพัฒนาตำบล จำนวน 1,999.1 ล้านบาท อนุมัติเงินประจำงวดตามโครงการพัฒนาจังหวัด จำนวน 4,200 ล้านบาท และอนุมัติเงินประจำงวดกองทุนเพื่อกระจายการผลิตและการจ้างงานไปสู่ภูมิภาค จำนวน 800 ล้านบาท
3.2 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดสัมมนา กรอ.ภูมิภาคเรื่อง "ยุทธศาสตร์พัฒนาภาคเหนือสู่ความร่วมมือเศรษฐกิจ 5 เชียง" ที่จังหวัดเชียงใหม่ สนับสนุนการจัดประชุมปรึกษาหารือของสภาธุรกิจชายแดนภาคใต้ ดำเนินการให้การสนับสนุนด้านวิชาการแก่จังหวัดต่าง ๆ เพื่อจัดทำสถิติผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP)
4. นโยบายฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร
4.1 องค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) ได้ดำเนินการโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการจราจรดังนี้
4.1.1 ออกพันธบัตร (รวม 2 งวด) เป็นเงินทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินมาใช้ดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
4.1.2 ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาศึกษาเส้นทางและงานออกแบบเบื้องต้น ระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน ในวงเงิน 35 ล้านบาท
4.1.3 ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจัดทำแผนการพัฒนาเชิงพาณิชย์เหนือพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงห้วยขวาง ในวงเงิน 893,450 บาท
4.2 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เสนอแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 6 โครงการย่อย โดยประสานการดำเนินงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1) โครงการก่อสร้างถนนสายหลักเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร (โครงการต่อเนื่อง)จำนวน10 สาย
2) โครงการก่อสร้างถนนสายรองในกรุงเทพมหานคร (โครงการต่อเนื่อง) รวม 9 สาย
3) โครงการถนนสายรองกรุงเทพมหานครเพิ่มเติม (โครงการต่อเนื่อง) รวม 4 สาย
4) โครงการก่อสร้างถนนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (โครงการต่อเนื่อง) ก่อสร้างถนนสายรอง 10 สาย
5) โครงการก่อสร้างสถานีเรือโดยสาร (โครงการใหม่) ท่าเรือใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ท่าเรือใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า ท่าเรือใต้สะพานพระนั่งเกล้า
6) โครงการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดนครอินทร์และถนนต่อเชื่อมสายติวานนท์ - เพชรเกษม (โครงการต่อเนื่อง) บริเวณวัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี
5. นโยบายเศรษฐกิจ
5.1 ด้านการเงินการคลัง
สำนักงบประมาณ ได้กำหนดระยะเวลาอนุมัติเงินประจำงวด โอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย และแนวทางปฏิบัติบางประการเพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ พร้อมกับกำหนดวิธีปฏิบัติที่สามารถใช้จ่ายเงินงบประมาณได้รวดเร็วคล่องตัวยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับมาตรการในการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
5.2 ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.2.1 องค์การสวนสัตว์ ได้สำรวจพื้นที่บริเวณป่าดงฟ้าห่วน ที่ได้รับการอนุมัติให้จัดสร้างสวนสัตว์อุบลราชธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,217 ไร่ และประสานงานกับสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดทำการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการประกอบกิจการบริการสาธารณะ ร่วมกับเอกชนจัดอบรมเยาวชนตามโครงการเยาวชนรักสัตว์ และจัดอุปกรณ์สนามเด็กเล่นในสวนสัตว์ ดำเนินงานตามแผนงานการจัดทำสวนสัตว์ให้เป็นสถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าหายากและใกล้จะสูญพันธุ์ จัดปลูกไม้ดอกไม้ประดับและตกแต่งภูมิทัศน์ ให้บริการรถพ่วงแก่ผู้เข้าชนสวนสัตว์ที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว พิจารณาให้จัดรถยนต์โดยสารในสวนสัตว์เชียงใหม่ พร้อมกับดำเนินการ จัดทำแผนการจัดสวนอาหารในสวนสัตว์ดุสิต นอกจากนี้ ได้รับความช่วยเลือจากประเทศสหรัฐอเมริกา (สำนักงานยูเสด) ในโครงการก่อตั้งงานให้การศึกษาและโครงการก่อตั้งงานเก็บข้อมูลของสัตว์ป่า และได้ดำเนินการจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การวิจัยและการให้การศึกษาจากการจัดตั้งห้องสมุด
5.2.2 องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้จัดทำแผนแม่บทของสวนพฤกษศาสตร์ การปรับปรุงพื้นที่ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าชมนอกจากนี้ได้ดำเนินงานศึกษาวิจัยพรรณไม้ ด้วยการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยแก่นักวิทยาศาสตร์ (6 ทุน) ดำเนินการวิจัยขั้นพื้นฐานด้านพฤกษนุกรมวิธาน ด้านนิเวศน์วิทยาของพืช และด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน จัดทำเอกสารการวิจัยพรรณไม้ในสวน ศึกษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่เก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ในพื้นที่องค์การ และบริเวณใกล้เคียงพร้อมทั้งบันทึกข้อมูล จัดสัมมนาทางวิชาการเรื่องพฤกษศาสตร์ไทยในอนาคต
5.3 ด้านอุตสาหกรรม
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้จัดทำเอกสารลู่ทางการลงทุนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออก และอุตสาหกรรมเกษตร รวม 3 เรื่อง เผยแร่เพื่อชักจูงการลงทุนจากประเทศฝ่ายสื่อต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จัดสัมมนาเพื่อชักจูงการลงทุนที่ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 2 ครั้ง ชี้แจงเกี่ยวกับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเป็นพิเศษสำหรับการลงทุนในเขตจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ เพื่อส่งเสริมการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมในภูมิภาค จัดสัมมนาเพื่อพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม จัดตั้งศูนย์ข้อมูลการลงทุน กับจัดสัมมนานักลงทุนไทยในภาคต่าง ๆ เกี่ยวกับการลงทุนในอินโดจีน จำนวน 3 ครั้ง เพื่อส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในต่างประเทศ และจัดคณะนักลงทุนไทยไปพบปะเจรจากับองค์กรหรือนักลงทุนในประเทศเป้าหมายเพื่อสนับสนุนคนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังได้จัดเตรียมและวางระบบคอมพิวเตอร์สนับสนุนการใช้งานฐานข้อมูลการลงทุน เพื่อการเชื่อมโยงระบบข้อมูลของสำนักงานส่วนกลางกับต่างประเทศ
5.4 ด้านการเกษตร
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้ยืมเงินจากกองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน ด้านหนี้สินและที่ดิน จำนวน 1,662 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 282,559,203 บาท เพื่อไถ่ถอนหรือซื้อที่ดินทำกินคืนประมาณ 21,400 ไร่เศษ และให้เกษตรกรและผู้ยากจนยืมเงินกองทุนหมุนเวียนเพื่อปลดเปลื้องหนี้สินเดิมของเกษตรกรที่ยากจน จำนวน 71 ราย เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 9,485,175 บาท เพื่อไถ่ถอนหรือซื้อที่ดินทำกินคืนเนื้อที่ประมาณ 1,355 ไร่เศษ
5.5 ด้านการพาณิชย์ระหว่างประเทศ
5.5.1 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลการลงทุน และจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา จัดคณะนักลงทุนไทยไปพบปะเจรจากับองค์กรหรือนักลงทุนในประเทศเป้าหมาย โดยได้จัดไปประเทศลาว 2 ครั้ง จัด Investment Clinic จำนวน 2 ครั้ง จัดสัมมนาการลงทุนในอินโดจีนในภาคต่าง ๆ 3 ครั้ง ที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และพัทยา และจัดสัมมนาชักจูงการลงทุนที่ฮ่องกง ไต้หวัน เยอรมัน อเมริกา แคนาดา และสเปน
5.5.2 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ประสานกับส่วนราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดท่าทีและแนวทางในการดำเนินการ และเจรจากับประเทศกลุ่มอาเซียน ได้เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 26 ที่เชียงใหม่ และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประชุมหารือแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาอันเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างไทย - สหรัฐ
5.6 ด้านคมนาคม (การจราจร)
สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ได้แก้ไขการจราจรในเมืองใหญ่และเมืองที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคม โดยปรับตารางเวลาเดินรถไฟเข้าออกสถานีกรุงเทพมหานคร ทดลองใช้ช่องทางเดินรถประจำทาง สำรวจและออกแบบทางลอดใต้ทางแยก 2 แห่ง จัดอบรมอาสาจราจรบริเวณแยกวงเวียนหลักสี่ จำกัดเวลา และเส้นทางเดินรถบรรทุกสินค้าและรถน้ำมัน จัดสัมมนาและฝึกอบรมการจัดระบบการจราจรและขนส่ง 4 จังหวัดหลักที่เป็นศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาค และจัดสัมมนาเพื่อหามาตรการควบคุมและกระจายปริมาณการจราจร รวมทั้งเร่งรัดหน่วยงานต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามมติที่ประชุมสัมมนาการแก้ไขปัญหาการจราจรเร่งด่วน กับกวดขันการจับกุมการใช้พื้นผิวถนนเป็นอู่ซ่อมรถ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินและโครงการรถเมล์รางกรุงเทพมหานคร กับจัดทำแผนปฏิบัตการแก้ไขปัญหาการจราจรเร่งด่วน (มิถุนายน - ธันวาคม 2537) และประชุมคณะอนุกรรมการจัดระบบขนส่งขนาดใหญ่เพื่อพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับการประสานโครงการขนส่งขนาดใหญ่
5.7 ด้านพลังงาน
5.7.1 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้เตรียมการอบรมเทคนิคการจัดเก็บข้อมูลและการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า เพื่อปรับปรุงวิธีการจัดเก็บข้อมูลตลอดจนรูปแบบการนำเสนอข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้านครหลวง เพื่อแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าให้มีความชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้ ประสานงานกับศาลากลางจังหวัดและโรงเรียนประจำจังหวัด ใน 25 จังหวัด ทางภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าประหยัดพลังงานตามโครงการ จัดการด้านการใช้ไฟฟ้า จัดทำระบบฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการประเมินผลและประมวลผลโครงการ พร้อมทั้งได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการและกรุงเทพมหานคร จัดทำแบบเรียนและสื่อการสอนเพื่อปลูกฝังทัศนคติการประหยัดไฟให้แก่เยาวชน เสนออัตราค่าไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัทผลิตไฟฟ้าหรือบริษัทในเครือต่อประธานคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานแห่งชาติพิจารณาแล้ว และได้อนุมัติอัตราค่าไฟฟ้าเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2537ปรับปรุงกฎเกณฑ์และส่งเสริมการค้าของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง แก้ไขเอกสารและเงื่อนไขบางประการในการรับซื้อไฟฟ้า (Independent Power Producer - IPP) ปรับปรุงแผนการลงทุนของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง เพื่อแก้ไขปัญหาความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า (ปัญหาไฟฟ้าตก - ไฟฟ้าดับ) โดยศึกษาเกี่ยวกับทางเลือกการใช้เชื้อเพลิง
5.7.1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกงเครื่องที่ 4 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมระยองชุดที่ 4 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ชุดที่ 1 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพองชุดที่ 2 และการปรับปรุงโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนภูมิพลเครื่องที่ 1 และ 2 พร้อมกับดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามโครงการต่าง ๆ รวม 7 โครงการ มีผลการดำเนินงานแล้วเสร็จ ร้อยละ 90 ขึ้นไป 3 โครงการ ส่วนโครงการอื่น ๆ มีผลความก้าวหน้าของการดำเนินการเป็นไปตามลำดับของโครงการที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ ได้ดำเนินงานพิจารณาความเหมาะสม และงานวิศวกรรมของโครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า รวม 16 โครงการ โดยก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้า 115 กิโลโวลต์ สำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล เครื่องที่ 1 - 4 สำหรับโครงการอื่นมีผลการดำเนินงานแล้วเสร็จ ร้อยละ 90 ขึ้นไป 4 โครงการ ได้แก่ โครงการขยายระบบขนส่งพลังไฟฟ้าเร่งด่วนโครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ ท่าตะโก - ขอนแก่น 3 โครงการขยายระบบส่งพลังไฟฟ้าสำหรับอุตสาหกรรมในเขตภาคตะวันตกและภาคกลาง และโครงการระบบส่งไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ สำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ ชุดที่ 1 ส่วนอีก 8 โครงการ มีผลความก้าวหน้าเป็นไปตามโครงการที่กำหนดไว้นอกจากนี้ได้พิจารณาความเหมาะสมและงานวิศวกรรมของโครงการเกี่ยวกับระบบส่งไฟฟ้าอีก 3 โครงการ โครงการขยายเหมืองแม่เมาะ ได้ขยายเหมืองลิกไนต์ สำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 8 - 13 รวม 3 โครงการ ปรากฎว่าโครงการขยายเหมืองลิกไนต์ สำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 8 - 9 ดำเนินการได้แล้วเสร็จร้อยละ 74.04 นอกจากนี้ได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอันเนื่องมาจากการพัฒนาและการผลิตพลังาน ตามโครงการก่อสร้างระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 8 - 11 ซึ่งได้ดำเนินงานพิจารณาความเหมาะสม และงานวิศวกรรมแล้วเสร็จ ร้อยละ 57.22
6. นโยบายทางสังคม
6.1 ด้านการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ดำเนินการดังนี้
1) ด้านการพัฒนาการศึกษา ได้จัดทำแผนปฏิบัติการหลักโครงการประเมินผลการจัดการศึกษาพื้นฐานเพื่อปวงชน และโครงการติดตามประเมินผลการปฏิรูปการฝึกหัดครู จัดทำร่างรายงานโครงการประเมินผลการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โครงการองค์ประกอบที่มีผลต่อการเรียนทางวิทยาศาสตร์และ-คณิตศาสตร์ โครงการขยายการศึกษาขึนพื้นฐาน : องค์กำหนดความต้องการของผู้รับบริการ และประสิทธิภาพของผู้ให้บริการ และโครงการศึกษาความต้องการและการผลิตกำลังคนเพื่อการงานและอาชีพ จัดทำสรุปผลการเสวนาทางวิชาการโครงการวิจัยความต้องการการพัฒนาการศึกษาในอนาคต และสรุปผลการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อมวลชน เพื่อการเรียนรู้ เตรียมการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการ พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา และเตรียมการเก็บข้อมูลภาคสนามโครงการวิจัยประสิทธิภาพ การใช้ครู กำหนดพื้นที่วิจัยส่งเสริมบทบาทสถาบันครอบครัวในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก จัดฝึกอบรมและจัดเวทีตาม ความก้าวหน้าในการดำเนินงานของกลุ่มชาวบ้านตามโครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ พร้อมทั้งดำเนินการแก้ไขร่างบทสรุปรวมผลงานวิจัยทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา กับปรับปรุงแผนการดำเนินงานพัฒนาและระบบบริหารการศึกษา
2) ด้านการวางแผนการศึกษา ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 พร้อมกับจัดส่งโครงการใหม่ และแนวคิดที่ควรเร่งดำเนินการในช่วงปลายแผนพัฒนาการศึกษาฯ ฉบับที่ 7 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาจัดทำร่างแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้สำหรับการศึกษาเพื่อปวงชน
3) ด้านสารสนเทศทางการศึกษา ได้เตรียมการจัดสัมมนาเรื่องการเก็บข้อมูลการศึกษา ขั้นพื้นฐาน และการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผนและพัฒนาการศึกษาพร้อมทั้งจัดทำคู่มือการอบรมสถิติจังหวัดและกำหนดเค้าโครงรายงานวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ประสานงานโครงการและผู้สำเร็จการศึกษา เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผนและพัฒนาการศึกษา
6.2 ด้านสาธารณสุข
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้จัดโครงการเพื่อป้องกันโรคเอดส์ โดยฝึกอบรมบุคลากรการแพทย์ทางด้านสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา จำนวน 2 ครั้ง รวม 200 คน และผลิตสื่อเพื่อใช้ในโครงการฝึกอบรมเพื่อให้บุคลากรทางด้านนี้ทั่วประเทศสามารถดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ได้อย่างมีมาตรฐาน จัดฝึกอบรมโครงการพัฒนาบุคลากรที่เป็นวิทยากรกลางให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ทุกกระทรวง ภาคเอกชน จำนวน 2 ครั้ง 318 คน จัดสัมมนาเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 2 ครั้งรวม 562 คน จัดสัมมนา "องค์กรชุมชนกับการจัดการปัญหาโรคเอดส์ ยาเสพติด และสิ่งแวดล้อม" รวมทั้งจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่สารคดี วิดีโอเทป เทปคาสเซท เผยแพร่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์และแจกจ่ายให้แก่สถาบันการศึกษาและประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งให้การสนับสนุนการจัดสัมมนาแนวทางการตรวจราชการเกี่ยวกับโรคเอดส์และเด็กในธุรกิจทางเพศ
6.3 ด้านการคุ้มครอบผู้บริโภค
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผุ้ประกอบธุรกิจ จำนวน 951 เรื่อง ตรวจสอบสินค้าที่ควบคุมฉลากตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากในกรุงเทพมหานคร รวมสินค้า 5 ประเภท จำนวน 9,012 ตัวอย่าง ประสานกับสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำการละเมิดสิทธิของผุ้บริโภคในคดีแพ่ง รวม 6 คดี ดำเนินการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 รวม 164 คดี จัดทำสื่อและสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่แก่ผู้บริโภค จำนวน 125,600 ฉบับ/เล่ม ผลิตรายการวิทยุเพื่อเผยแพร่ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง รวม 5 รายการ จำนวน 290 ครั้ง ผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อเผยแพร่ความรู้พื้นฐานทางด้านกฎหมายให้แก่ผู้บริโภค ดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในวันคุ้มครอบผู้บริโภค ปี 2537 จัดสัมมนาคณะกรรมการคุ้มครอบผู้บริโภคประจำจังหวัดจำนวน 75 จังหวัด ตรวจสอบการโฆษณาสินค้า หรือบริการจากสื่อหนังสือพิมพ์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 4,446 ข้อความ ดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ศึกษาและวิจัยปัญหาในการดำเนินการคุ้มครอบผู้บริโภคขององค์การพัฒนาเอกชน ดำเนินการจัดสัมมนาผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในองค์การเอกชนสถาบันการศึกษาและสื่อมวลชน ที่มีบทบาทในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค จำนวน 200 คน
6.4 ด้านเด็กและสตรี
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้จัดสัมมนาฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมายแก่ผุ้นำสตรีและสตรีทั่วไปในจังหวัดเชียงราย พะเยา ขอนแก่น สุรินทร์ และนครปฐม สัมมนาเรื่องรายงานสถานภาพสตรี ประชุมโครงการสตรีอาเซียน สัมมนาระดมความคิดเห็นเพื่อเตรียมการเรื่องพนักงานสอบสวนหญิง จัดประชุมระดับชาติว่าด้วยนโยบายและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเด็กในธุรกิจทางเพศ จัดสัมมนาและจัดหาเอกสารจำนวน 500 เล่ม ในโครงการถวายความรู้พระสังฆาธิการเกี่ยวกับปัญหาโสเภณีเด็ก และจัดสัมมนาโครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินการของแต่ละจังหวัดเกี่ยวกับการพัฒนาสตรีและครอบครัว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบ ผลการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลของสำนักนายกรัฐมนตรีประจำปีงบประมาณ 2537 ระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน 2537 ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ สรุปสาระสำคัญจำแนกตามนโยบายของรัฐบาลได้ ดังนี้
1. นโยบายการเมืองและการบริหารราชการ
1.1 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้พัฒนาบุคลากรและกระบวนการวินิจฉัยเรื่องราวร้องทุกข์ ตลอดจนเตรียมปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้พร้อมเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งศาลปกครอง โดยได้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาและรับหลักการแล้ว จัดฝึกอบรมและบรรยายพิเศษเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดตั้งศาลปกครองให้แก่ข้าราชการของสำนักงาน ฯ จัดเตรียมร่างอนุบัญญัติและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ-วินิจฉัยร้องทุกข์ภูมิภาค เตรียมการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อเสนอแต่งตั้งเป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ จัดหาที่ดินเพื่อสร้างอาคารสถานที่ทำการถาวรของสำนักงานคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ภูมิภาค
1.2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ร่วมประชุมกับกระทรวงมหาดไทยและสำนักราชเลขาธิการ เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับนักโทษที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว ให้ได้รับการปล่อยตัวเร็วขึ้น ร่วมประชุมกับกระทรวงกลาโหม และกระทรวงมหาดไทย เพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษที่ดำรงยศทหารหรือตำรวจ
1.3 สำนักงาน ป.ป.ป. ได้ดำเนินการวางมาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ดำเนินการศึกษา ตรวจสอบ และวิเคราะห์ ตำแหน่งต่าง ๆ ของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจที่ต้องแสดงรายการสินทรัพย์และหนี้สิน สืบสวนสอบสวน จัดตั้งศูนย์ข้อมูลทางวิชาการงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ และพัฒนาศูนย์ข้อมูลของสำนักงาน ฯ เสนอมาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว คือ มาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบเกี่ยวกับการจัดซื้อยา และมาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบกรณีการจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุ
1.4 สำนักงาน ก.พ. ได้จัดทำข้อเสนอในการปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือน จัดทำรายงานวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าตอบแทนภาคราชการและเอกชน ตามโครงการการจัดทำโครงสร้างบัญชีอัตราเงินเดือนตามกลุ่มวิชาชีพ ศึกษาและสำรวจข้อมูลเพื่อปรับปรุงสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของข้าราชการ เร่งรัดติดตามให้หน่วยงานของรัฐออกระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ปรับปรุงขนาดกำลังคนภาครัฐโดยศึกษาและกำหนดแนวทางการลดจำนวนข้าราชการด้วยการเกลี่ยอัตรากำลัง และจูงใจให้ลาออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานในภาคเอกชนศึกษาและกำหนดแนวทางการปรับปรุงสายงานและมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง
2. นโยบายต่างประเทศ กรมวิเทศสหการ ดำเนินการดังนี้
2.1 ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการแก่ต่างประเทศแบบทวิภาคี โดยให้ความช่วยเหลือด้านทุนการศึกษา ฝึกอบรม และดูงาน จำนวน 479 ทุน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 51 คน คณะผู้แทนไปหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศต่าง ๆ จำนวน 3 คณะ ให้ความช่วยเหลือด้านวัสดุอุปกรณ์ มูลค่ารวม 35.46 ล้านบาท และให้ความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ เป็นมูลค่า 9.41 ล้านบาท จัดหาหลักสูตรทุนการศึกษาฝึกอบรมลักษณะ Group Training จำนวน 255 ทุน แลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา จำนวน 28 ทุน ทางวิทยาศาสตร์และวิชาการไทย-จีน จำนวน 112 ทุน และร่วมมือกับต่างประเทศจัดหลักสูตรฝึกอบรมดูงานในประเทศไทย จำนวน 152 ทุน คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 142.59 ล้านบาท
2.2 รับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการต่างประเทศ โดยประสานงานและเจรจาขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เพื่อขอรับความช่วยเหลือให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ในรูปของโครงการ ทุน ผู้เชี่ยวชาญอาสาสมัครและวัสดุอุปกรณ์ ในสาขาต่าง ๆ คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,404.16 ล้านบาท
3. นโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบท
3.1 สำนักงบประมาณ ได้อนุมัติเงินประจำงวดตามโครงการพัฒนาตำบล จำนวน 1,999.1 ล้านบาท อนุมัติเงินประจำงวดตามโครงการพัฒนาจังหวัด จำนวน 4,200 ล้านบาท และอนุมัติเงินประจำงวดกองทุนเพื่อกระจายการผลิตและการจ้างงานไปสู่ภูมิภาค จำนวน 800 ล้านบาท
3.2 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดสัมมนา กรอ.ภูมิภาคเรื่อง "ยุทธศาสตร์พัฒนาภาคเหนือสู่ความร่วมมือเศรษฐกิจ 5 เชียง" ที่จังหวัดเชียงใหม่ สนับสนุนการจัดประชุมปรึกษาหารือของสภาธุรกิจชายแดนภาคใต้ ดำเนินการให้การสนับสนุนด้านวิชาการแก่จังหวัดต่าง ๆ เพื่อจัดทำสถิติผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP)
4. นโยบายฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร
4.1 องค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) ได้ดำเนินการโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการจราจรดังนี้
4.1.1 ออกพันธบัตร (รวม 2 งวด) เป็นเงินทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินมาใช้ดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
4.1.2 ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาศึกษาเส้นทางและงานออกแบบเบื้องต้น ระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน ในวงเงิน 35 ล้านบาท
4.1.3 ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจัดทำแผนการพัฒนาเชิงพาณิชย์เหนือพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงห้วยขวาง ในวงเงิน 893,450 บาท
4.2 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เสนอแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 6 โครงการย่อย โดยประสานการดำเนินงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1) โครงการก่อสร้างถนนสายหลักเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร (โครงการต่อเนื่อง)จำนวน10 สาย
2) โครงการก่อสร้างถนนสายรองในกรุงเทพมหานคร (โครงการต่อเนื่อง) รวม 9 สาย
3) โครงการถนนสายรองกรุงเทพมหานครเพิ่มเติม (โครงการต่อเนื่อง) รวม 4 สาย
4) โครงการก่อสร้างถนนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (โครงการต่อเนื่อง) ก่อสร้างถนนสายรอง 10 สาย
5) โครงการก่อสร้างสถานีเรือโดยสาร (โครงการใหม่) ท่าเรือใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ท่าเรือใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า ท่าเรือใต้สะพานพระนั่งเกล้า
6) โครงการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดนครอินทร์และถนนต่อเชื่อมสายติวานนท์ - เพชรเกษม (โครงการต่อเนื่อง) บริเวณวัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี
5. นโยบายเศรษฐกิจ
5.1 ด้านการเงินการคลัง
สำนักงบประมาณ ได้กำหนดระยะเวลาอนุมัติเงินประจำงวด โอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย และแนวทางปฏิบัติบางประการเพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ พร้อมกับกำหนดวิธีปฏิบัติที่สามารถใช้จ่ายเงินงบประมาณได้รวดเร็วคล่องตัวยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับมาตรการในการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
5.2 ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.2.1 องค์การสวนสัตว์ ได้สำรวจพื้นที่บริเวณป่าดงฟ้าห่วน ที่ได้รับการอนุมัติให้จัดสร้างสวนสัตว์อุบลราชธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,217 ไร่ และประสานงานกับสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดทำการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการประกอบกิจการบริการสาธารณะ ร่วมกับเอกชนจัดอบรมเยาวชนตามโครงการเยาวชนรักสัตว์ และจัดอุปกรณ์สนามเด็กเล่นในสวนสัตว์ ดำเนินงานตามแผนงานการจัดทำสวนสัตว์ให้เป็นสถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าหายากและใกล้จะสูญพันธุ์ จัดปลูกไม้ดอกไม้ประดับและตกแต่งภูมิทัศน์ ให้บริการรถพ่วงแก่ผู้เข้าชนสวนสัตว์ที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว พิจารณาให้จัดรถยนต์โดยสารในสวนสัตว์เชียงใหม่ พร้อมกับดำเนินการ จัดทำแผนการจัดสวนอาหารในสวนสัตว์ดุสิต นอกจากนี้ ได้รับความช่วยเลือจากประเทศสหรัฐอเมริกา (สำนักงานยูเสด) ในโครงการก่อตั้งงานให้การศึกษาและโครงการก่อตั้งงานเก็บข้อมูลของสัตว์ป่า และได้ดำเนินการจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การวิจัยและการให้การศึกษาจากการจัดตั้งห้องสมุด
5.2.2 องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้จัดทำแผนแม่บทของสวนพฤกษศาสตร์ การปรับปรุงพื้นที่ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าชมนอกจากนี้ได้ดำเนินงานศึกษาวิจัยพรรณไม้ ด้วยการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยแก่นักวิทยาศาสตร์ (6 ทุน) ดำเนินการวิจัยขั้นพื้นฐานด้านพฤกษนุกรมวิธาน ด้านนิเวศน์วิทยาของพืช และด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน จัดทำเอกสารการวิจัยพรรณไม้ในสวน ศึกษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่เก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ในพื้นที่องค์การ และบริเวณใกล้เคียงพร้อมทั้งบันทึกข้อมูล จัดสัมมนาทางวิชาการเรื่องพฤกษศาสตร์ไทยในอนาคต
5.3 ด้านอุตสาหกรรม
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้จัดทำเอกสารลู่ทางการลงทุนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออก และอุตสาหกรรมเกษตร รวม 3 เรื่อง เผยแร่เพื่อชักจูงการลงทุนจากประเทศฝ่ายสื่อต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จัดสัมมนาเพื่อชักจูงการลงทุนที่ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 2 ครั้ง ชี้แจงเกี่ยวกับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเป็นพิเศษสำหรับการลงทุนในเขตจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ เพื่อส่งเสริมการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมในภูมิภาค จัดสัมมนาเพื่อพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม จัดตั้งศูนย์ข้อมูลการลงทุน กับจัดสัมมนานักลงทุนไทยในภาคต่าง ๆ เกี่ยวกับการลงทุนในอินโดจีน จำนวน 3 ครั้ง เพื่อส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในต่างประเทศ และจัดคณะนักลงทุนไทยไปพบปะเจรจากับองค์กรหรือนักลงทุนในประเทศเป้าหมายเพื่อสนับสนุนคนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังได้จัดเตรียมและวางระบบคอมพิวเตอร์สนับสนุนการใช้งานฐานข้อมูลการลงทุน เพื่อการเชื่อมโยงระบบข้อมูลของสำนักงานส่วนกลางกับต่างประเทศ
5.4 ด้านการเกษตร
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้ยืมเงินจากกองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน ด้านหนี้สินและที่ดิน จำนวน 1,662 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 282,559,203 บาท เพื่อไถ่ถอนหรือซื้อที่ดินทำกินคืนประมาณ 21,400 ไร่เศษ และให้เกษตรกรและผู้ยากจนยืมเงินกองทุนหมุนเวียนเพื่อปลดเปลื้องหนี้สินเดิมของเกษตรกรที่ยากจน จำนวน 71 ราย เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 9,485,175 บาท เพื่อไถ่ถอนหรือซื้อที่ดินทำกินคืนเนื้อที่ประมาณ 1,355 ไร่เศษ
5.5 ด้านการพาณิชย์ระหว่างประเทศ
5.5.1 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลการลงทุน และจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา จัดคณะนักลงทุนไทยไปพบปะเจรจากับองค์กรหรือนักลงทุนในประเทศเป้าหมาย โดยได้จัดไปประเทศลาว 2 ครั้ง จัด Investment Clinic จำนวน 2 ครั้ง จัดสัมมนาการลงทุนในอินโดจีนในภาคต่าง ๆ 3 ครั้ง ที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และพัทยา และจัดสัมมนาชักจูงการลงทุนที่ฮ่องกง ไต้หวัน เยอรมัน อเมริกา แคนาดา และสเปน
5.5.2 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ประสานกับส่วนราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดท่าทีและแนวทางในการดำเนินการ และเจรจากับประเทศกลุ่มอาเซียน ได้เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 26 ที่เชียงใหม่ และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประชุมหารือแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาอันเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างไทย - สหรัฐ
5.6 ด้านคมนาคม (การจราจร)
สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ได้แก้ไขการจราจรในเมืองใหญ่และเมืองที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคม โดยปรับตารางเวลาเดินรถไฟเข้าออกสถานีกรุงเทพมหานคร ทดลองใช้ช่องทางเดินรถประจำทาง สำรวจและออกแบบทางลอดใต้ทางแยก 2 แห่ง จัดอบรมอาสาจราจรบริเวณแยกวงเวียนหลักสี่ จำกัดเวลา และเส้นทางเดินรถบรรทุกสินค้าและรถน้ำมัน จัดสัมมนาและฝึกอบรมการจัดระบบการจราจรและขนส่ง 4 จังหวัดหลักที่เป็นศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาค และจัดสัมมนาเพื่อหามาตรการควบคุมและกระจายปริมาณการจราจร รวมทั้งเร่งรัดหน่วยงานต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามมติที่ประชุมสัมมนาการแก้ไขปัญหาการจราจรเร่งด่วน กับกวดขันการจับกุมการใช้พื้นผิวถนนเป็นอู่ซ่อมรถ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินและโครงการรถเมล์รางกรุงเทพมหานคร กับจัดทำแผนปฏิบัตการแก้ไขปัญหาการจราจรเร่งด่วน (มิถุนายน - ธันวาคม 2537) และประชุมคณะอนุกรรมการจัดระบบขนส่งขนาดใหญ่เพื่อพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับการประสานโครงการขนส่งขนาดใหญ่
5.7 ด้านพลังงาน
5.7.1 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้เตรียมการอบรมเทคนิคการจัดเก็บข้อมูลและการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า เพื่อปรับปรุงวิธีการจัดเก็บข้อมูลตลอดจนรูปแบบการนำเสนอข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้านครหลวง เพื่อแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าให้มีความชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้ ประสานงานกับศาลากลางจังหวัดและโรงเรียนประจำจังหวัด ใน 25 จังหวัด ทางภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าประหยัดพลังงานตามโครงการ จัดการด้านการใช้ไฟฟ้า จัดทำระบบฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการประเมินผลและประมวลผลโครงการ พร้อมทั้งได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการและกรุงเทพมหานคร จัดทำแบบเรียนและสื่อการสอนเพื่อปลูกฝังทัศนคติการประหยัดไฟให้แก่เยาวชน เสนออัตราค่าไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัทผลิตไฟฟ้าหรือบริษัทในเครือต่อประธานคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานแห่งชาติพิจารณาแล้ว และได้อนุมัติอัตราค่าไฟฟ้าเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2537ปรับปรุงกฎเกณฑ์และส่งเสริมการค้าของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง แก้ไขเอกสารและเงื่อนไขบางประการในการรับซื้อไฟฟ้า (Independent Power Producer - IPP) ปรับปรุงแผนการลงทุนของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง เพื่อแก้ไขปัญหาความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า (ปัญหาไฟฟ้าตก - ไฟฟ้าดับ) โดยศึกษาเกี่ยวกับทางเลือกการใช้เชื้อเพลิง
5.7.1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกงเครื่องที่ 4 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมระยองชุดที่ 4 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ชุดที่ 1 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพองชุดที่ 2 และการปรับปรุงโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนภูมิพลเครื่องที่ 1 และ 2 พร้อมกับดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามโครงการต่าง ๆ รวม 7 โครงการ มีผลการดำเนินงานแล้วเสร็จ ร้อยละ 90 ขึ้นไป 3 โครงการ ส่วนโครงการอื่น ๆ มีผลความก้าวหน้าของการดำเนินการเป็นไปตามลำดับของโครงการที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ ได้ดำเนินงานพิจารณาความเหมาะสม และงานวิศวกรรมของโครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า รวม 16 โครงการ โดยก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้า 115 กิโลโวลต์ สำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล เครื่องที่ 1 - 4 สำหรับโครงการอื่นมีผลการดำเนินงานแล้วเสร็จ ร้อยละ 90 ขึ้นไป 4 โครงการ ได้แก่ โครงการขยายระบบขนส่งพลังไฟฟ้าเร่งด่วนโครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ ท่าตะโก - ขอนแก่น 3 โครงการขยายระบบส่งพลังไฟฟ้าสำหรับอุตสาหกรรมในเขตภาคตะวันตกและภาคกลาง และโครงการระบบส่งไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ สำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ ชุดที่ 1 ส่วนอีก 8 โครงการ มีผลความก้าวหน้าเป็นไปตามโครงการที่กำหนดไว้นอกจากนี้ได้พิจารณาความเหมาะสมและงานวิศวกรรมของโครงการเกี่ยวกับระบบส่งไฟฟ้าอีก 3 โครงการ โครงการขยายเหมืองแม่เมาะ ได้ขยายเหมืองลิกไนต์ สำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 8 - 13 รวม 3 โครงการ ปรากฎว่าโครงการขยายเหมืองลิกไนต์ สำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 8 - 9 ดำเนินการได้แล้วเสร็จร้อยละ 74.04 นอกจากนี้ได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอันเนื่องมาจากการพัฒนาและการผลิตพลังาน ตามโครงการก่อสร้างระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 8 - 11 ซึ่งได้ดำเนินงานพิจารณาความเหมาะสม และงานวิศวกรรมแล้วเสร็จ ร้อยละ 57.22
6. นโยบายทางสังคม
6.1 ด้านการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ดำเนินการดังนี้
1) ด้านการพัฒนาการศึกษา ได้จัดทำแผนปฏิบัติการหลักโครงการประเมินผลการจัดการศึกษาพื้นฐานเพื่อปวงชน และโครงการติดตามประเมินผลการปฏิรูปการฝึกหัดครู จัดทำร่างรายงานโครงการประเมินผลการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โครงการองค์ประกอบที่มีผลต่อการเรียนทางวิทยาศาสตร์และ-คณิตศาสตร์ โครงการขยายการศึกษาขึนพื้นฐาน : องค์กำหนดความต้องการของผู้รับบริการ และประสิทธิภาพของผู้ให้บริการ และโครงการศึกษาความต้องการและการผลิตกำลังคนเพื่อการงานและอาชีพ จัดทำสรุปผลการเสวนาทางวิชาการโครงการวิจัยความต้องการการพัฒนาการศึกษาในอนาคต และสรุปผลการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อมวลชน เพื่อการเรียนรู้ เตรียมการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการ พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา และเตรียมการเก็บข้อมูลภาคสนามโครงการวิจัยประสิทธิภาพ การใช้ครู กำหนดพื้นที่วิจัยส่งเสริมบทบาทสถาบันครอบครัวในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก จัดฝึกอบรมและจัดเวทีตาม ความก้าวหน้าในการดำเนินงานของกลุ่มชาวบ้านตามโครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ พร้อมทั้งดำเนินการแก้ไขร่างบทสรุปรวมผลงานวิจัยทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา กับปรับปรุงแผนการดำเนินงานพัฒนาและระบบบริหารการศึกษา
2) ด้านการวางแผนการศึกษา ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 พร้อมกับจัดส่งโครงการใหม่ และแนวคิดที่ควรเร่งดำเนินการในช่วงปลายแผนพัฒนาการศึกษาฯ ฉบับที่ 7 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาจัดทำร่างแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้สำหรับการศึกษาเพื่อปวงชน
3) ด้านสารสนเทศทางการศึกษา ได้เตรียมการจัดสัมมนาเรื่องการเก็บข้อมูลการศึกษา ขั้นพื้นฐาน และการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผนและพัฒนาการศึกษาพร้อมทั้งจัดทำคู่มือการอบรมสถิติจังหวัดและกำหนดเค้าโครงรายงานวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ประสานงานโครงการและผู้สำเร็จการศึกษา เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผนและพัฒนาการศึกษา
6.2 ด้านสาธารณสุข
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้จัดโครงการเพื่อป้องกันโรคเอดส์ โดยฝึกอบรมบุคลากรการแพทย์ทางด้านสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา จำนวน 2 ครั้ง รวม 200 คน และผลิตสื่อเพื่อใช้ในโครงการฝึกอบรมเพื่อให้บุคลากรทางด้านนี้ทั่วประเทศสามารถดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ได้อย่างมีมาตรฐาน จัดฝึกอบรมโครงการพัฒนาบุคลากรที่เป็นวิทยากรกลางให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ทุกกระทรวง ภาคเอกชน จำนวน 2 ครั้ง 318 คน จัดสัมมนาเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 2 ครั้งรวม 562 คน จัดสัมมนา "องค์กรชุมชนกับการจัดการปัญหาโรคเอดส์ ยาเสพติด และสิ่งแวดล้อม" รวมทั้งจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่สารคดี วิดีโอเทป เทปคาสเซท เผยแพร่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์และแจกจ่ายให้แก่สถาบันการศึกษาและประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งให้การสนับสนุนการจัดสัมมนาแนวทางการตรวจราชการเกี่ยวกับโรคเอดส์และเด็กในธุรกิจทางเพศ
6.3 ด้านการคุ้มครอบผู้บริโภค
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผุ้ประกอบธุรกิจ จำนวน 951 เรื่อง ตรวจสอบสินค้าที่ควบคุมฉลากตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากในกรุงเทพมหานคร รวมสินค้า 5 ประเภท จำนวน 9,012 ตัวอย่าง ประสานกับสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำการละเมิดสิทธิของผุ้บริโภคในคดีแพ่ง รวม 6 คดี ดำเนินการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 รวม 164 คดี จัดทำสื่อและสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่แก่ผู้บริโภค จำนวน 125,600 ฉบับ/เล่ม ผลิตรายการวิทยุเพื่อเผยแพร่ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง รวม 5 รายการ จำนวน 290 ครั้ง ผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อเผยแพร่ความรู้พื้นฐานทางด้านกฎหมายให้แก่ผู้บริโภค ดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในวันคุ้มครอบผู้บริโภค ปี 2537 จัดสัมมนาคณะกรรมการคุ้มครอบผู้บริโภคประจำจังหวัดจำนวน 75 จังหวัด ตรวจสอบการโฆษณาสินค้า หรือบริการจากสื่อหนังสือพิมพ์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 4,446 ข้อความ ดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ศึกษาและวิจัยปัญหาในการดำเนินการคุ้มครอบผู้บริโภคขององค์การพัฒนาเอกชน ดำเนินการจัดสัมมนาผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในองค์การเอกชนสถาบันการศึกษาและสื่อมวลชน ที่มีบทบาทในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค จำนวน 200 คน
6.4 ด้านเด็กและสตรี
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้จัดสัมมนาฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมายแก่ผุ้นำสตรีและสตรีทั่วไปในจังหวัดเชียงราย พะเยา ขอนแก่น สุรินทร์ และนครปฐม สัมมนาเรื่องรายงานสถานภาพสตรี ประชุมโครงการสตรีอาเซียน สัมมนาระดมความคิดเห็นเพื่อเตรียมการเรื่องพนักงานสอบสวนหญิง จัดประชุมระดับชาติว่าด้วยนโยบายและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเด็กในธุรกิจทางเพศ จัดสัมมนาและจัดหาเอกสารจำนวน 500 เล่ม ในโครงการถวายความรู้พระสังฆาธิการเกี่ยวกับปัญหาโสเภณีเด็ก และจัดสัมมนาโครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินการของแต่ละจังหวัดเกี่ยวกับการพัฒนาสตรีและครอบครัว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538--