ทำเนียบรัฐบาล--2 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายสังคมเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย (ฉบับที่ ..)พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเลิกการกำหนดให้องค์การจัดการน้ำเสียจัดตั้งบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดขึ้นเพื่อการดำเนินการ การจัดการและการบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียรวมโดยเฉพาะ
2. เพิ่มจำนวนคณะกรรมการในคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสียอีก 4 คน (จากเดิมจำนวน 11 คน เป็น15 คน) ประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกรุงเทพมหานคร และผู้แทนการประปานครหลวง เหตุจำเป็นที่ต้องเพิ่มผู้แทนของบางหน่วยงานให้เป็นกรรมการก็เพื่อให้การประสานงานในการจัดทำโครงการ ตลอดจนการดำเนินการจัดเก็บรายได้จากการบำบัดน้ำเสียได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ให้คณะรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่น
เนื่องจากคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสียได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 4/2540 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2540 เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย พ.ศ. 2538 ยกเลิกบทบัญญัติที่กำหนดให้องค์การจัดการน้ำเสียจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดขึ้น เพื่อการดำเนินการ การจัดการและการบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียรวมโดยเฉพาะ เนื่องจากในการดำเนินการจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมในระยะเริ่มแรกนั้น การที่จะเสนอให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัทเป็นไปได้โดยยาก เพราะเอกชนยังไม่มีความมั่นใจในผลตอบแทนที่จะได้รับว่ามีความเป็นไปได้เพียงใด ดังนั้น จำเป็นที่องค์การจัดการน้ำเสียจะต้องเป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเองไปก่อน แล้วจึงสามารถชักจูงให้เอกชนเข้าร่วมในภายหลังได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 2 มิถุนายน 2540--
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายสังคมเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย (ฉบับที่ ..)พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเลิกการกำหนดให้องค์การจัดการน้ำเสียจัดตั้งบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดขึ้นเพื่อการดำเนินการ การจัดการและการบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียรวมโดยเฉพาะ
2. เพิ่มจำนวนคณะกรรมการในคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสียอีก 4 คน (จากเดิมจำนวน 11 คน เป็น15 คน) ประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกรุงเทพมหานคร และผู้แทนการประปานครหลวง เหตุจำเป็นที่ต้องเพิ่มผู้แทนของบางหน่วยงานให้เป็นกรรมการก็เพื่อให้การประสานงานในการจัดทำโครงการ ตลอดจนการดำเนินการจัดเก็บรายได้จากการบำบัดน้ำเสียได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ให้คณะรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่น
เนื่องจากคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสียได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 4/2540 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2540 เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย พ.ศ. 2538 ยกเลิกบทบัญญัติที่กำหนดให้องค์การจัดการน้ำเสียจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดขึ้น เพื่อการดำเนินการ การจัดการและการบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียรวมโดยเฉพาะ เนื่องจากในการดำเนินการจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมในระยะเริ่มแรกนั้น การที่จะเสนอให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัทเป็นไปได้โดยยาก เพราะเอกชนยังไม่มีความมั่นใจในผลตอบแทนที่จะได้รับว่ามีความเป็นไปได้เพียงใด ดังนั้น จำเป็นที่องค์การจัดการน้ำเสียจะต้องเป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเองไปก่อน แล้วจึงสามารถชักจูงให้เอกชนเข้าร่วมในภายหลังได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 2 มิถุนายน 2540--