แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ภาวะเศรษฐกิจ
รัฐมนตรี
ธปท.
ทำเนียบรัฐบาล--4 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงาน เรื่องเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ ไตรมาสแรกปี 2541 และประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจไทย สรุปได้ดังนี้
1. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไตรมาสแรกปี 2541 (สศช.)
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไตรมาสแรกปี 2541โดยส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มอ่อนตัวต่อเนื่องจากปลายปี 2540 เป็นไปตามที่คาดหมายไว้ อย่างไรก็ดีภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาภายในภูมิภาค และผลกระทบของวิกฤตการณ์การเงินภายในประเทศต่อภาคเศรษฐกิจรายสาขาที่ค่อนข้างรุนแรง อาจส่งผลกระทบด้านลบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2541 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมซึ่งเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจในด้านสำคัญ 7 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจโลก ภาวะการเงิน เงินเฟ้อ การบริโภค - การลงทุน เศรษฐกิจรายสาขาการผลิต การค้าระหว่างประเทศ และการคลัง พอสรุปได้ดังนี้
1) เศรษฐกิจโลก : IMF ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลก
1.1 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับการประมาณการเศรษฐกิจโลกในปี 2541 แสดงถึงความรุนแรงและผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียต่อเศรษฐกิจโลกที่มากกว่าประมาณการเดิม การขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.1 และ 6.4 เทียบกับประมาณการเดิมร้อยละ 3.5 และ 9.4 ตามลำดับ
1.2 แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2539 เริ่มชะลอลงในปี 2540 เนื่องจากปัจจัยในประเทศ เช่นการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม และการปรับลดงบประมาณรายจ่าย ในปี 2541 คาดว่าเศรษฐกิจจะอยู่ในภาวะชะงักงัน เนื่องจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจในเอเซียที่มีผลต่อการส่งออก ความกังวลเกี่ยวกับระบบการเงินในประเทศ และการอ่อนตัวของระดับราคาทรัพย์สิน โดยจะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และการว่างงานร้อยละ 0.0 - 0.3 และ 3.6 ตามลำดับ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศมาตรการด้านการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2541 ในวงเงิน 16 ล้านล้านเยน และแสดงเจตจำนงถึงความมุ่งมั่นในการฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่นและช่วยเหลือเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย
2) ภาวะการเงิน : ค่าเงินบาทแข็งตัวและมีเสถียรภาพ แต่ตลาดเงินยังขาดสภาพคล่อง
2.1 อัตราแลกเปลี่ยน หลังจากประเทศไทยได้ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงจนถึงเฉลี่ย 53.82 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนมกราคม 2541 หลังจากนั้นได้ปรับตัวแข็งขึ้น และมีเสถียรภาพต่อความผันผวนทางเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ในเดือนมีนาคมอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉลี่ยเท่ากับ 41.33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐและมีค่าต่ำกว่า 40 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เป็นช่วงสั้น
2.2 สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย สภาพคล่องทางการเงินในประเทศยังตึงตัวค่อนข้างมาก แม้ว่าประเทศไทยจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2540 และมาตรการของรัฐบาลปัจจุบันจะสร้างความเชื่อมั่นกับต่างประเทศได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ประเทศไทยยังประสบปัญหาการไหลออกสุทธิของเงิน เนื่องจากครบกำหนดชำระหนี้ต่างประเทศ และมีการเร่งชำระหนี้ต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ กิจการวิเทศธนกิจ และธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร รวมถึงมาตรการสร้างความมั่นคงแก่ระบบสถาบันการเงิน และยกระดับการกำกับดูแลสถาบันการเงินให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เช่น เกณฑ์การรับรู้ รายได้ และการกันสำรองสำหรับสินทรัพย์ที่จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน
(1) ดุลการชำระเงิน ในช่วง 2 เดือนแรก ฐานะดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายภาคเอกชนขาดดุล 3,699 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 190,100 ล้านบาท เมื่อรวมกับบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายทางการซึ่งเกินดุล 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ2,300 ล้านบาท และเงินกู้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนำเข้ามาจำนวน 443 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ดุลการชำระเงินขาดดุล 942 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 46,255 ล้านบาท
(2) สำรองเงินตราระหว่างประเทศ ฐานะทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2541 มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 28.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมียอดคงค้างภาระ Swap 16.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับทุนสำรองฯ จำนวน 27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2540
(3) อัตราดอกเบี้ย โดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่มีการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ให้กู้ยืมแก่ธุรกิจเป็นแรงจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีสภาพคล่องสูงได้หันมาให้กู้ในตลาดซื้อคืน แทนการให้กู้ยืมแก่ธุรกิจในประเทศ นอกจากนั้นธนาคารซึ่งกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งมีต้นทุนสูงตามอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นได้แข่งขันระดมเงินออม ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้อยู่ในระดับสูงเช่นกัน
(4) ภาวะตลาดทุน ดัชนีราคาหุ้น ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2541 ปิดที่ระดับ 459.11 จุด ลดลงโดยต่อเนื่องร้อยละ 34.9 เทียบกับลดลงร้อยละ 45.3 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว เนื่องจากผลประกอบการของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2540 มีแนวโน้มขาดทุนเกือบทั้งหมด ตามการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และต้นทุนทางการเงินตึงตัว ขณะที่มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในไตรมาสแรกมีมูลค่าเฉลี่ย 4,320.55 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เทียบกับลดลงร้อยละ 44.6 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว
3) อัตราเงินเฟ้อ : ไตรมาสแรกเฉลี่ยร้อยละ 9.1
3.1 ในไตรมาสแรกของปี 2541 เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับร้อยละ 4.4 ในช่วงเดือนเดียวกันจากปีที่แล้ว ทั้งนี้เป็นการเพิ่มขึ้นในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 10.5 และหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เทียบกับร้อยละ 5.7 และ 3.6 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้วตามลำดับ
สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ที่มีราคาเพิ่มขึ้นสูงมาก ได้แก่ ประเภทข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.4 เทียบกับร้อยละ 15.8 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว เนื่องจากความต้องการข้าวมีมากต่อเนื่องจากปลายปีที่แล้วทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
3.2 เงินเฟ้อภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มสูงเป็นอันดับแรก ร้อยละ 10.0 เทียบกับร้อยละ 6.5 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว รองลงมาได้แก่ ภาคใต้ ภาคเหนือ กรุงเทพมหานคร และภาคกลางและภาคตะวันออก ร้อยละ 9.6, 8.9, 8.5 และ 8.4 เทียบกับร้อยละ 5.0, 4.8, 3.9 และ 5.2 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้วตามลำดับ
3.3 ดัชนีราคาขายส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 เทียบกับร้อยละ 2.0 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 เทียบกับร้อยละ 0.4 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว โดยเป็นการปรับราคาเพิ่มในสินค้าทุกประเภท และเพิ่มสูงมากในสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เหล็ก ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต กระเบื้องและวัสดุประกอบ และอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ส่วนดัชนีราคาขายส่งสินค้าออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.8 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว ทั้งนี้คาดว่าเป็นผลจากการปรับราคาเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น
3.4 ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันในตลาดโลก ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541 ลดลงกว่าร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว เนื่องจากกลุ่มประเทศโอเปคเพิ่มเพดานการผลิตน้ำมันเมื่อเดือนธันวาคม 2540 ขณะที่ความต้องการน้ำมันในตลาดโลกลดลงตามการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย
4) การบริโภคและการลงทุน : ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
4.1 การใช้จ่ายในเดือนมกราคมยังคงลดลงต่อเนื่อง ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอำนาจซื้อของประชาชนที่ลดลงแม้ว่าจะมีเทศกาลสำคัญ 2 เทศกาล คือเทศกาลปีใหม่ และเทศกาลตรุษจีน ประมาณการใช้กระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 เทียบกับร้อยละ 6.7 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว และเป็นการลดลงในการใช้ไฟฟ้าเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรมร้อยละ 5.1 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายเครื่องดื่มประเภทโซดาและน้ำอัดลมลดลงร้อยละ 4.1 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว สำหรับปริมาณการจำหน่ายหมวดยานยนต์ลดลงทั้งในการจำหน่ายรถยนต์ รถจักรยานยนต์และยางรถยนต์ร้อยละ 74.1, 58.8 และ 12.9 ตามลำดับ เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 และลดลงร้อยละ 23.8 และ 21.4 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว ตามลำดับ
4.2 เครื่องชี้การลงทุนยังคงแสดงถึงการลดลงของการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีการลงทุนลดลงจากระดับ 96.3 และ 69.7 ในเดือนมกราคมและธันวาคมปี 2540 เป็น 61.0 ในเดือนมกราคม 2541 ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าขยายตัวน้อย (LowActivities) หรือคิดเป็นลดลงร้อยละ 36.7 จากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ และปริมาณการจำหน่ายสังกะสี ลดลงร้อยละ 61.8, 41.4 และ 11.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.2, 11.6 และ 8.9 ในช่วงเดียวกันจากปีที่ผ่านมาตามลำดับ ในขณะที่มีเพียงมูลค่าการนำเข้าสินค้านำเข้าสินค้าประเภททุนเท่านั้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 เทียบกับรัอยละ 4.6 จากเดือนมกราคมในปีที่แล้ว
5) เศรษฐกิจรายสาขาการผลิต : ภาคอุตสาหกรรมซบเซา ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมและท่องเที่ยวขยายตัวดี
5.1 ภาคการเกษตรกรรม ในปี 2541 ผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงกว่าปีที่แล้ว สาเหตุเนื่องจาก สาขาพืชผลมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเกือบทุกพืช เช่น ข้าวนาปี ข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพารา เป็นผลมาจากราคาสินค้าเกษตรอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เพิ่มผลผลิต ประกอบกับธัญพืชของโลกได้รับความเสียหายจากภาวะเอลนิโน ทำให้ความต้องการสินค้าเกษตรของตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นสำหรับสาขาปศุสัตว์ ผลผลิตเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเนื้อไก่แช่แข็งของไทยขยายตัวสูง เนื่องจากต้นทุนในช่วงนี้ต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง ซึ่งไทยมีความได้เปรียบทั้งเรื่องคุณภาพของสินค้าและราคาที่มีผลมาจากค่าเงินบาทอ่อนตัว ประกอบกับจีนมีปัญหาเรื่องโรคระบาดของไก่ และมีการประกาศยอมรับคุณภาพสินค้าไทยแล้ว นับว่าเป็นโอกาสดีของไทยที่จะครองตลาดการส่งออกได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการก็ยังประสบกับปัญหาเรื่องวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศไม่เพียงพอจึงจำเป็นต้องมีการนำเข้า ซึ่งในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับสูงส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นตาม ในช่วง 2 เดือนแรกส่งออกไก่แช่แข็ง คิดเป็นมูลค่า 3,110 ล้านบาท ส่วนสาขาประมง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำมีการส่งออกกุ้งแช่แข็งในช่วง 2 เดือนแรก คิดเป็นมูลค่า 12,047 ล้านบาท ประกอบกับกรมประมงประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงกุ้งพ่อ - แม่พันธุ์ที่มีคุณภาพ และได้จากการเพาะเลี้ยงขึ้นเอง โดยมีสายพันธุ์ที่ดี แข็งแรงและตัวโต
5.2 ราคาสินค้าเกษตร โดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอดในช่วง 2 - 3 เดือน เนื่องจากความต้องการสินค้าเกษตรของผู้ส่งออกอยู่ในเกณฑ์สูง และประกอบกับการอ่อนตัวของค่าเงินบาทส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรของไทยได้เปรียบกว่าประเทศคู่แข่งอื่น ๆ โดยราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2541 เพิ่มขึ้นทุกพืช เช่น ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 นาปี ข้าวโพด ยางพารา และมันสำปะหลัง
5.3 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2541 ลดลงร้อยละ 14.8 เทียบกับอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตและเร่งส่งออกให้สูงสุดจากที่เคยพึ่งพาตลาดในประเทศ และลดต้นทุนการผลิตโดยการตัดค่าใช้จ่าย เช่น การปลดพนักงานส่วนหนึ่งออก และในช่วงที่ 2 เดือนแรกของปี 2541 ผลผลิตอุตสาหกรรมเกือบทุกหมวดลดลง เช่น หมวดยานยนต์ หมวดก่อสร้าง หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ยกเว้นหมวดสินค้าอุตสาหกรรมส่งออก2 เดือนแรกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ สินค้าสัตว์น้ำกระป๋อง สับปะรดกระป๋อง ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และแผงวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบมีอัตราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 207.1, 60.2, 94.7 และ 49.8 เทียบกับร้อยละ 7.3, -14.6, -8.5 และ -0.2 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว ตามลำดับ
5.4 การท่องเที่ยว หลังจากภาวะซบเซาในปี 2540 ในเดือนมกราคมจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 เทียบกับร้อยละ 1.7 ในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจากตลาดสำคัญ ๆ ปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวจาก ภูมิภาคเอเซียตะวันออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 เทียบกับร้อยละ 1.2 ในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 เทียบกับลดลงร้อยละ 3.6 ในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว การเพิ่มขึ้นนี้ส่วนหนึ่งเนื่องจากเทศกาลตรุษจีนและฮารีรายอตรงกับเดือนมกราคม ในขณะที่เทศกาลดังกล่าวในปีที่แล้วตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวจาก ภูมิภาคยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว
6) การค้าระหว่างประเทศ : การส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐลดลง แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุลสูง
6.1 การส่งออก หลังจากขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 6.9 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2540 ในไตรมาสแรกของปี 2541 มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.8 เทียบกับลดลงร้อยละ 0.5 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 79.4 เทียบกับร้อยละ 1.7 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
6.2 การนำเข้า มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสแรกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐลดลงร้อยละ 38.6 เทียบกับลดลงร้อยละ 5.4 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมูลค่าการนำเข้าปรับตัวลดลงในทุกหมวดสินค้าตามภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศทั้งด้านการผลิต การส่งออก การลงทุนและการบริโภค อย่างไรก็ตามมูลค่าการนำเข้าในรูปเงินบาทยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 เทียบกับลดลงร้อยละ 3.4 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
6.3 ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด จากมูลค่าการนำเข้าที่ลดลงมากกว่ามูลค่การส่งออก ส่งผลให้ดุลการค้าในช่วง 2 เดือนแรกเกินดุลประมาณ 2,009 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 99,405 ล้านบาท เทียบกับขาดดุล 2,307 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 59,439 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เมื่อรวมกับดุลบริการบริจาคซึ่งเกินดุลประมาณ 721 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 36,050 ล้านบาท ทำให้ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 2 เดือนแรกเกินดุลประมาณ 2,730 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ135,455 ล้านบาท เทียบกับขาดดุล 1,399 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 36,054 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
7) ฐานะการคลัง : ขาดดุลเงินสดประมาณ 30,000 ล้านบาท
ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2541 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 298,750 ล้านบาทลดลงร้อยละ 2.4 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ของระยะเดียวกันกับงบประมาณปีที่แล้ว เนื่องจากการจัดเก็บภาษีรถยนต์ สุรา และอากรขาเข้าลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยและมูลค่าการนำเข้าลดลงมาก แม้ว่าจะจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้นจากการขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2540 ขณะที่มีรายจ่ายรวม 325,657 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.6 เทียบกับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 36.2 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว เนื่องจากการเข้มงวดในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ประเทศไทยได้ทำไว้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ดุลเงินสดในช่วง 5 เดือนแรกขาดดุล 29,741 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกต ดังนี้
1. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจชี้ถึงผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจสาขาการผลิต การลงทุน และการบริโภค ที่รุนแรงในไตรมาสแรกของปี 2541 ประกอบกับแนวโน้มของการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคมีข้อจำกัดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจชะงักงันของประเทศญี่ปุ่น แนวโน้มดังกล่าวอาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวมากกว่าที่คาดไว้ได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการสร้างสภาพคล่องในระบบการเงินให้เกิดขึ้น โดยไม่กระทบต่อดุลยภาพของเงินบาท ทั้งนี้เพื่อให้ภาคการผลิต การลงทุน และการบริโภคฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
2. ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกันยายน 2540 (ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ) เป็นผลมาจากการลดลงของมูลค่าการนำเข้ามากกว่าการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออก นอกจากนั้นมูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐในช่วง 2 เดือนแรกกลับลดลงร้อยละ 2.6 ในขณะที่การนำเข้าลดลงถึงร้อยละ 41.0
3. เนื่องจากการส่งออกเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศในปี 2541จึงควรพิจารณาทบทวนสถานการณ์และวิเคราะห์ปัญหาของภาคการส่งออกทั้งด้านราคา ปริมาณ การผลิตและการตลาด เพื่อให้สามารถวางมาตรการสนับสนุนการส่งออกขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในอนาคตต่อไป
4. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีในช่วงไตรมาสแรก ได้แก่ ค่าเงินบาทที่เริ่มแข็งตัวและมีเสถียรภาพมากขึ้น และเงินเฟ้อซึ่งอาจมีแนวโน้มทั้งปีต่ำกว่าประมาณการเดิม
5. การประเมินภาวะเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกเป็นการประเมินเบื้องต้นซึ่งจะได้มีการประเมินในรายละเอียดร่วมกันระหว่างคณะผู้แทนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศและฝ่ายไทย เพื่อจัดเตรียมหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 4 ในช่วงระหว่างวันที่4 - 14 พฤษภาคม
2. สรุปภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปี 2541 (ธปท.)
ภาพรวมเศรษฐกิจไทย
ในไตรมาสแรกของปี 2541 เศรษฐกิจไทยยังคงหดตัวต่อเนื่องทั้งการผลิตและการลงทุน ขณะที่การส่งออก (ในรูปดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งขยายตัวมาตลอดนับจากช่วงครึ่งหลังของปีก่อนกลับหดตัวลงในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ทั้งนี้ มีสาเหตุจากหลายปัจจัย ที่สำคัญได้แก่ ราคาสินค้าออก (ในรูปดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงมาก การชะลอลงของอุปสงค์นำเข้าของประเทศคู่ค้าของไทยปัญหาสภาพคล่องในระบบการเงินส่งผลให้ผู้ประกอบการขาดเงินทุน ประกอบกับปัญหาในระบบสถาบันการเงินส่งผลกระทบต่อกระบวนการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าออก ขณะเดียวกันผลกระทบจากค่าเงินในภูมิภาคที่อ่อนตัวทำให้การส่งออกได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่จากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ส่วนการลงทุนยังซบเซาตามภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทางด้านการบริโภคหดตัวลงมากเช่นกัน เนื่องจากกำลังซื้อลดลง กอปรกับประชาชนมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพเศรษฐกิจบางด้านปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะค่าเงินบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่นักลงทุนมีความมั่นใจต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของทางการไทยมากขึ้น ทำให้เงินทุนไหลออกน้อยลงและสามารถยืดอายุหนี้ได้มากขึ้น รวมทั้งมีการนำเข้าเงินทุนของทางการ ส่วนฐานะการคลังมีความสมดุลมากขึ้นจากการบริหารรายจ่ายให้สอดคล้องกับรายได้เป็นสำคัญ ขณะที่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องเพราะการลดลงของการนำเข้าตามภาวะการผลิตและการลงทุน ส่วนแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นตามแรงกดดันทางด้านต้นทุนสอดคล้องกับค่าเงินบาทที่อ่อนตัวในช่วงก่อนหน้านี้ และการขึ้นอัตราภาษีบางประเภท อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อไม่รุนแรงมากเนื่องจากอุปสงค์ที่หดตัวลงภายในประเทศ ราคาน้ำมันตลาดโลกที่อ่อนตัวลง และค่าเงินบาทที่มีเสถียรภาพมากขึ้น
รายละเอียดที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2541 มีดังนี้
1. การผลิต การใช้จ่าย การลงทุน หดตัวมาก
การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีก่อน และรุนแรงมากขึ้นตามอุปสงค์ภายในประเทศโดยลดลงเกือบทุกหมวด ยกเว้นหมวดสิ่งทอที่ขยายตัวในเกณฑ์ดีตามการส่งออก หมวดที่กาารผลิตลดลงมาก ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง และหมวดวัสดุก่อสร้าง เป็นที่น่าสังเกตว่า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเริ่มลดลงในปีนี้ หลังจากชะลอตัวอย่างต่อเนื่องในไตรมาสก่อน ส่วนการผลิตภาคเกษตรโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ยกเว้นสาขาปศุสัตว์ และป่าไม้ ดังนั้น ภาคเกษตรจึงมีบทบาทในการพยุงมิให้การผลิตรวมหดตัวลงมาก
ทางด้านการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนยังคงหดตัวต่อเนื่องจากปีก่อน ทั้งนี้ พิจารณาจากเครื่องชี้การบริโภคที่สำคัญ เช่น ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง ปริมาณการจำหน่ายน้ำมัน และรายรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ที่หักผลของการขึ้นอัตราภาษีออก) ลดลงมาก ขณะเดียวกันการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่ำกว่าระดับปกติเป็นเดือนที่ 13 และมีอัตราการขยายตัวติดลบเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน โดยลดลงทั้งการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ และการลงทุนด้านการก่อสร้าง สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐถูกจำกัดด้วยรายได้ที่ลดลง
2. อัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.7 ต่อปี ณ สิ้นปีก่อนเป็นร้อยละ 9.5 ต่อปี ณ สิ้นมีนาคมปีนี้ ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยด้านต้นทุนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อยังต่ำกว่าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 10.8 มาก ทางด้านอัตราเพิ่มของดัชนีราคาขายส่งและดัชนีราคาขายส่งสำหรับสินค้าออกเร่งตัวขึ้นเช่นกันเป็นเฉลี่ยร้อยละ 19.0 และ 31.1 ตามลำดับ ในช่วงไตรมาสแรก เป็นที่น่าสังเกตว่าดัชนีราคาขายส่งได้เร่งตัวขึ้นสูงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีก่อน สำหรับ ปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น ได้แก่ 1) ผลของค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงมากในช่วงก่อนหน้านี้ 2) การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิต อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ช่วยชะลอการเร่งตัวของเงินเฟ้อ ได้แก่ 1) อุปสงค์ภายในประเทศหดตัวลงมาก 2) ค่าเงินบาทที่มีเสถียรภาพมากขึ้น3) ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง 4) ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
3. ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกันยายนปีก่อน เนื่องจากการนำเข้าลดลงมาก ขณะที่การส่งออกขยายตัวต่อเนื่องยกเว้นในเดือนมกราคมปีนี้ โดยมีข้อสังเกตว่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง ซึ่งเคยขยายตัวดีกลับหดตัวลงในเดือนมกราคม และสินค้าบางประเภท เช่น ผลิตภัณฑ์น้ำมัน รองเท้า ของเล่น น้ำตาล และตลับลูกปืน ลดลงมากกว่าร้อยละ 30 อย่างไรก็ตาม สินค้าบางประเภท เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติก ชิ้นส่วนยานยนต์ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน และอาหารทะเลกระป่องยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่เป็นความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของการส่งออกได้แก่ 1) การแข่งขันในตลาดโลกรุนแรงขึ้นทำให้ราคาสินค้าออกลดลงมาก 2) อุปสงค์นำเข้าของประเทศคู่ค้าของไทยชะลอลง โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเซีย 3) ปัญหาสภาพคล่องในระบบการเงิน
ด้านการนำเข้าแสดงแนวโน้มที่หดตัวรุนแรงขึ้นเป็นลำดับจากร้อยละ 25 - 30 ในไตรมาสที่ 4 ของปีก่อนเป็นร้อยละ 45 และ 36 ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ตามลำดับในปีนี้ สะท้อนอุปสงค์ภายในประเทศที่หดตัวมากขึ้น การนำเข้าที่ลดลงมากตามอุปสงค์ภายในประเทศ และการส่งออกที่ลดลงเล็กน้อย ส่งผลให้ดุลการค้าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้เกินดุล 2.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับที่ขาดดุลในระยะเดียวกันปีก่อนทางด้านเงินทุนเคลื่อนย้ายแม้จะยังคงเป็นการไหลออกสุทธิอยู่ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการชำระภาระล่วงหน้าเงินตราต่างประเทศ ธปท. แต่การไหลออกของเงินทุนภาคเอกชนชะลอลง นับจากเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา จากการปรับตัวที่ดีขึ้นของภาคธนาคารพาณิชย์ที่ไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจ ซึ่งกลับมามีเงินทุนไหลเข้าสุทธิในเดือนดังกล่าว เนื่องจากนักลงทุนเริ่มมีความมั่นใจต่อมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไทยมากขึ้น ทำให้สามารถยืดหนี้ต่างประเทศได้ในสัดส่วนที่สูงขึ้น โดยรวมในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ดุลการชำระเงินยังคงขาดดุล 0.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ในเดือนมีนาคมมีเงินทุนต่างประเทศเข้ามามาก ส่วนหนึ่งเป็นการนำเข้าเงินกู้ของทางการ ทำให้ดุลการชำระเงินในเดือนนี้เกินดุลสูง ช่วยให้ดุลการชำระเงินในไตรมาสแรกเกินดุล 0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2541 อยู่ที่ระดับ 27.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 6.1 เดือนของมูลค่าการนำเข้า และยอดคงค้าง Swap มีจำนวน 15.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
4. ฐานะการคลังขาดดุลต่ำกว่าที่คาดไว้ โดยในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2541 ดุลเงินสดรัฐบาลขาดดุล 26.6 พันล้านบาท ดีกว่าเป้าหมายที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศตั้งไว้ 35 พันล้านบาท แบ่งเป็นการขาดดุลงบประมาณ 28.4 พ้นล้านบาท และเกินดุลนอกงบประมาณ 1.8 พันล้านบาท โดยการจัดเก็บรายได้สูงกว่าที่คาดไว้เดิม เนื่องจากการเพิ่มอัตราภาษี เช่น ภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ขณะที่การใช้จ่ายต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่วนหนึ่งเนื่องจากทางการมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย และมีประสิทธิภาพในการควบคุมการใช้จ่ายให้สอดคล้องกับการจัดเก็บรายได้มากขึ้น ตลอดจนการปรับลดค่าใช้จ่ายบางประเภทลง เช่น ค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ ค่าล่วงเวลา และสวัสดิการอื่น ๆ เป็นต้น
5. ภาวะการเงิน ในไตรมาสแรก โดยรวมแล้วสภาพคล่องในตลาดเงินมีความตึงตัวลดลง แต่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ชะลอตัวลงมาก โดยในช่วงต้นปีสภาพคล่องในตลาดเงินมีความตึงตัวมากต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน เนื่องจากเงินบาทยังมีความผันผวนตามค่าเงินในภูมิภาค และมาตรการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินยังไม่บรรลุผลเท่าที่ควร โดยธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและเล็ก และบริษัทเงินทุนยังคงประสบกับปัญหาสภาพคล่อง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่มีสภาพคล่องส่วนเกินเหลือ สภาพคล่องในตลาดเงินปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาส เนื่องจากมีเงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศจากเงินกู้ของทางการและการเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องในตลาดสินเชื่อยังคงตัวตัว เนื่องจากสถาบันการเงินเพิ่มความระมัดระวังในคุณภาพสินทรัพย์ ตลอดจนถือครองสภาพคล่องเพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมการไว้กรณีเรียกคืนหนี้ นอกจากนี้ การขยายตัวของสินเชื่อชะลอลงเหลือร้อยละ 12.4 ณ สิ้นไตรมาส และเมื่อไม่รวมผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนต่อสินเชื่อวิเทศธนกิจแล้ว สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 5.2 เทียบกับร้อยละ 8.2 เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา ทำให้สัดส่วนเงินให้กู้ยืมต่อเงินฝากลดลงต่อเนื่องในไตรมาสที่หนึ่ง
สำหรับอัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงตามสภาพคล่องที่ยังตึงตัว โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร 1 วัน ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 24 ต่อปี เมื่อสิ้นปีก่อน เป็นร้อยละ 19.75 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาสแรกปีนี้ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารลดลงจากร้อยละ 21.73 ต่อปี ในเดือนธันวาคมปีก่อน เหลือร้อยละ 20.57 ต่อปีในเดือนมีนาคมปีนี้ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารขนาดใหญ่และเล็กมีความแตกต่างกัน โดยอัตราดอกเบี้ยของธนาคารขนาดใหญ่ค่อนข้างทรงตัว แต่ธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งประสบปัญหาสภาพคล่องได้ปรับดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้นเพื่อเร่งระดมเงินฝาก
6. อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพมากขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2541 โดยเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีแนวโน้มอ่อนตัวมาตลอดช่วงครึ่งหลังของปีก่อน และอ่อนตัวที่สุดในเดือนมกราคมปีนี้ ที่ระดับเฉลี่ย 53.71 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นมีแนวโน้มแข็งขึ้นเป็น 46.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนกุมภาพันธ์ และ 41.33 บาท ในเดือนมีนาคม หรือแข็งขึ้นร้อยละ 16.0 และร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ตามลำดับ ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินบาทแข็งขึ้น ได้แก่ (1) การยกเลิกมาตรการแบ่งแยกตลาดเงินตราต่างประเทศ (2) ความคืบหน้าในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจทั้งของไทย และในภูมิภาค
7. ภาวะตลาดทุนชะลอตัวต่อเนื่อง มูลค่าหลักทรัพย์ออกใหม่ของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น จากการเร่งเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน การออกพันธบัตรของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และการออกพันธบัตรของรัฐวิสาหกิจ ส่วนการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดรอง ในส่วนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีมูลค่าการซื้อขายต่อวันเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย ขณะที่ดัชนีราคาหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 23.2 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2540 มาปิดที่ 459.11 ณ สิ้นไตรมาส ส่วนปริมาณธุรกรรมในตลาดรองอื่น ๆ ลดลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 พฤษภาคม 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงาน เรื่องเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ ไตรมาสแรกปี 2541 และประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจไทย สรุปได้ดังนี้
1. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไตรมาสแรกปี 2541 (สศช.)
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไตรมาสแรกปี 2541โดยส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มอ่อนตัวต่อเนื่องจากปลายปี 2540 เป็นไปตามที่คาดหมายไว้ อย่างไรก็ดีภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาภายในภูมิภาค และผลกระทบของวิกฤตการณ์การเงินภายในประเทศต่อภาคเศรษฐกิจรายสาขาที่ค่อนข้างรุนแรง อาจส่งผลกระทบด้านลบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2541 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมซึ่งเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจในด้านสำคัญ 7 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจโลก ภาวะการเงิน เงินเฟ้อ การบริโภค - การลงทุน เศรษฐกิจรายสาขาการผลิต การค้าระหว่างประเทศ และการคลัง พอสรุปได้ดังนี้
1) เศรษฐกิจโลก : IMF ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลก
1.1 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับการประมาณการเศรษฐกิจโลกในปี 2541 แสดงถึงความรุนแรงและผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียต่อเศรษฐกิจโลกที่มากกว่าประมาณการเดิม การขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.1 และ 6.4 เทียบกับประมาณการเดิมร้อยละ 3.5 และ 9.4 ตามลำดับ
1.2 แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2539 เริ่มชะลอลงในปี 2540 เนื่องจากปัจจัยในประเทศ เช่นการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม และการปรับลดงบประมาณรายจ่าย ในปี 2541 คาดว่าเศรษฐกิจจะอยู่ในภาวะชะงักงัน เนื่องจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจในเอเซียที่มีผลต่อการส่งออก ความกังวลเกี่ยวกับระบบการเงินในประเทศ และการอ่อนตัวของระดับราคาทรัพย์สิน โดยจะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และการว่างงานร้อยละ 0.0 - 0.3 และ 3.6 ตามลำดับ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศมาตรการด้านการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2541 ในวงเงิน 16 ล้านล้านเยน และแสดงเจตจำนงถึงความมุ่งมั่นในการฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่นและช่วยเหลือเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย
2) ภาวะการเงิน : ค่าเงินบาทแข็งตัวและมีเสถียรภาพ แต่ตลาดเงินยังขาดสภาพคล่อง
2.1 อัตราแลกเปลี่ยน หลังจากประเทศไทยได้ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงจนถึงเฉลี่ย 53.82 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนมกราคม 2541 หลังจากนั้นได้ปรับตัวแข็งขึ้น และมีเสถียรภาพต่อความผันผวนทางเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ในเดือนมีนาคมอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉลี่ยเท่ากับ 41.33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐและมีค่าต่ำกว่า 40 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เป็นช่วงสั้น
2.2 สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย สภาพคล่องทางการเงินในประเทศยังตึงตัวค่อนข้างมาก แม้ว่าประเทศไทยจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2540 และมาตรการของรัฐบาลปัจจุบันจะสร้างความเชื่อมั่นกับต่างประเทศได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ประเทศไทยยังประสบปัญหาการไหลออกสุทธิของเงิน เนื่องจากครบกำหนดชำระหนี้ต่างประเทศ และมีการเร่งชำระหนี้ต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ กิจการวิเทศธนกิจ และธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร รวมถึงมาตรการสร้างความมั่นคงแก่ระบบสถาบันการเงิน และยกระดับการกำกับดูแลสถาบันการเงินให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เช่น เกณฑ์การรับรู้ รายได้ และการกันสำรองสำหรับสินทรัพย์ที่จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน
(1) ดุลการชำระเงิน ในช่วง 2 เดือนแรก ฐานะดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายภาคเอกชนขาดดุล 3,699 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 190,100 ล้านบาท เมื่อรวมกับบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายทางการซึ่งเกินดุล 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ2,300 ล้านบาท และเงินกู้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนำเข้ามาจำนวน 443 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ดุลการชำระเงินขาดดุล 942 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 46,255 ล้านบาท
(2) สำรองเงินตราระหว่างประเทศ ฐานะทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2541 มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 28.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมียอดคงค้างภาระ Swap 16.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับทุนสำรองฯ จำนวน 27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2540
(3) อัตราดอกเบี้ย โดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่มีการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ให้กู้ยืมแก่ธุรกิจเป็นแรงจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีสภาพคล่องสูงได้หันมาให้กู้ในตลาดซื้อคืน แทนการให้กู้ยืมแก่ธุรกิจในประเทศ นอกจากนั้นธนาคารซึ่งกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งมีต้นทุนสูงตามอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นได้แข่งขันระดมเงินออม ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้อยู่ในระดับสูงเช่นกัน
(4) ภาวะตลาดทุน ดัชนีราคาหุ้น ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2541 ปิดที่ระดับ 459.11 จุด ลดลงโดยต่อเนื่องร้อยละ 34.9 เทียบกับลดลงร้อยละ 45.3 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว เนื่องจากผลประกอบการของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2540 มีแนวโน้มขาดทุนเกือบทั้งหมด ตามการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และต้นทุนทางการเงินตึงตัว ขณะที่มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในไตรมาสแรกมีมูลค่าเฉลี่ย 4,320.55 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เทียบกับลดลงร้อยละ 44.6 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว
3) อัตราเงินเฟ้อ : ไตรมาสแรกเฉลี่ยร้อยละ 9.1
3.1 ในไตรมาสแรกของปี 2541 เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับร้อยละ 4.4 ในช่วงเดือนเดียวกันจากปีที่แล้ว ทั้งนี้เป็นการเพิ่มขึ้นในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 10.5 และหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เทียบกับร้อยละ 5.7 และ 3.6 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้วตามลำดับ
สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ที่มีราคาเพิ่มขึ้นสูงมาก ได้แก่ ประเภทข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.4 เทียบกับร้อยละ 15.8 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว เนื่องจากความต้องการข้าวมีมากต่อเนื่องจากปลายปีที่แล้วทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
3.2 เงินเฟ้อภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มสูงเป็นอันดับแรก ร้อยละ 10.0 เทียบกับร้อยละ 6.5 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว รองลงมาได้แก่ ภาคใต้ ภาคเหนือ กรุงเทพมหานคร และภาคกลางและภาคตะวันออก ร้อยละ 9.6, 8.9, 8.5 และ 8.4 เทียบกับร้อยละ 5.0, 4.8, 3.9 และ 5.2 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้วตามลำดับ
3.3 ดัชนีราคาขายส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 เทียบกับร้อยละ 2.0 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 เทียบกับร้อยละ 0.4 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว โดยเป็นการปรับราคาเพิ่มในสินค้าทุกประเภท และเพิ่มสูงมากในสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เหล็ก ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต กระเบื้องและวัสดุประกอบ และอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ส่วนดัชนีราคาขายส่งสินค้าออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.8 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว ทั้งนี้คาดว่าเป็นผลจากการปรับราคาเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น
3.4 ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันในตลาดโลก ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกช่วง 3 เดือนแรกของปี 2541 ลดลงกว่าร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว เนื่องจากกลุ่มประเทศโอเปคเพิ่มเพดานการผลิตน้ำมันเมื่อเดือนธันวาคม 2540 ขณะที่ความต้องการน้ำมันในตลาดโลกลดลงตามการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย
4) การบริโภคและการลงทุน : ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
4.1 การใช้จ่ายในเดือนมกราคมยังคงลดลงต่อเนื่อง ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอำนาจซื้อของประชาชนที่ลดลงแม้ว่าจะมีเทศกาลสำคัญ 2 เทศกาล คือเทศกาลปีใหม่ และเทศกาลตรุษจีน ประมาณการใช้กระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 เทียบกับร้อยละ 6.7 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว และเป็นการลดลงในการใช้ไฟฟ้าเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรมร้อยละ 5.1 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายเครื่องดื่มประเภทโซดาและน้ำอัดลมลดลงร้อยละ 4.1 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว สำหรับปริมาณการจำหน่ายหมวดยานยนต์ลดลงทั้งในการจำหน่ายรถยนต์ รถจักรยานยนต์และยางรถยนต์ร้อยละ 74.1, 58.8 และ 12.9 ตามลำดับ เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 และลดลงร้อยละ 23.8 และ 21.4 ในช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว ตามลำดับ
4.2 เครื่องชี้การลงทุนยังคงแสดงถึงการลดลงของการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีการลงทุนลดลงจากระดับ 96.3 และ 69.7 ในเดือนมกราคมและธันวาคมปี 2540 เป็น 61.0 ในเดือนมกราคม 2541 ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าขยายตัวน้อย (LowActivities) หรือคิดเป็นลดลงร้อยละ 36.7 จากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ และปริมาณการจำหน่ายสังกะสี ลดลงร้อยละ 61.8, 41.4 และ 11.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.2, 11.6 และ 8.9 ในช่วงเดียวกันจากปีที่ผ่านมาตามลำดับ ในขณะที่มีเพียงมูลค่าการนำเข้าสินค้านำเข้าสินค้าประเภททุนเท่านั้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 เทียบกับรัอยละ 4.6 จากเดือนมกราคมในปีที่แล้ว
5) เศรษฐกิจรายสาขาการผลิต : ภาคอุตสาหกรรมซบเซา ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมและท่องเที่ยวขยายตัวดี
5.1 ภาคการเกษตรกรรม ในปี 2541 ผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงกว่าปีที่แล้ว สาเหตุเนื่องจาก สาขาพืชผลมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเกือบทุกพืช เช่น ข้าวนาปี ข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพารา เป็นผลมาจากราคาสินค้าเกษตรอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เพิ่มผลผลิต ประกอบกับธัญพืชของโลกได้รับความเสียหายจากภาวะเอลนิโน ทำให้ความต้องการสินค้าเกษตรของตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นสำหรับสาขาปศุสัตว์ ผลผลิตเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเนื้อไก่แช่แข็งของไทยขยายตัวสูง เนื่องจากต้นทุนในช่วงนี้ต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง ซึ่งไทยมีความได้เปรียบทั้งเรื่องคุณภาพของสินค้าและราคาที่มีผลมาจากค่าเงินบาทอ่อนตัว ประกอบกับจีนมีปัญหาเรื่องโรคระบาดของไก่ และมีการประกาศยอมรับคุณภาพสินค้าไทยแล้ว นับว่าเป็นโอกาสดีของไทยที่จะครองตลาดการส่งออกได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการก็ยังประสบกับปัญหาเรื่องวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศไม่เพียงพอจึงจำเป็นต้องมีการนำเข้า ซึ่งในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับสูงส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นตาม ในช่วง 2 เดือนแรกส่งออกไก่แช่แข็ง คิดเป็นมูลค่า 3,110 ล้านบาท ส่วนสาขาประมง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำมีการส่งออกกุ้งแช่แข็งในช่วง 2 เดือนแรก คิดเป็นมูลค่า 12,047 ล้านบาท ประกอบกับกรมประมงประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงกุ้งพ่อ - แม่พันธุ์ที่มีคุณภาพ และได้จากการเพาะเลี้ยงขึ้นเอง โดยมีสายพันธุ์ที่ดี แข็งแรงและตัวโต
5.2 ราคาสินค้าเกษตร โดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอดในช่วง 2 - 3 เดือน เนื่องจากความต้องการสินค้าเกษตรของผู้ส่งออกอยู่ในเกณฑ์สูง และประกอบกับการอ่อนตัวของค่าเงินบาทส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรของไทยได้เปรียบกว่าประเทศคู่แข่งอื่น ๆ โดยราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2541 เพิ่มขึ้นทุกพืช เช่น ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 นาปี ข้าวโพด ยางพารา และมันสำปะหลัง
5.3 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2541 ลดลงร้อยละ 14.8 เทียบกับอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตและเร่งส่งออกให้สูงสุดจากที่เคยพึ่งพาตลาดในประเทศ และลดต้นทุนการผลิตโดยการตัดค่าใช้จ่าย เช่น การปลดพนักงานส่วนหนึ่งออก และในช่วงที่ 2 เดือนแรกของปี 2541 ผลผลิตอุตสาหกรรมเกือบทุกหมวดลดลง เช่น หมวดยานยนต์ หมวดก่อสร้าง หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ยกเว้นหมวดสินค้าอุตสาหกรรมส่งออก2 เดือนแรกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ สินค้าสัตว์น้ำกระป๋อง สับปะรดกระป๋อง ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และแผงวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบมีอัตราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 207.1, 60.2, 94.7 และ 49.8 เทียบกับร้อยละ 7.3, -14.6, -8.5 และ -0.2 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว ตามลำดับ
5.4 การท่องเที่ยว หลังจากภาวะซบเซาในปี 2540 ในเดือนมกราคมจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 เทียบกับร้อยละ 1.7 ในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจากตลาดสำคัญ ๆ ปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวจาก ภูมิภาคเอเซียตะวันออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 เทียบกับร้อยละ 1.2 ในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 เทียบกับลดลงร้อยละ 3.6 ในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว การเพิ่มขึ้นนี้ส่วนหนึ่งเนื่องจากเทศกาลตรุษจีนและฮารีรายอตรงกับเดือนมกราคม ในขณะที่เทศกาลดังกล่าวในปีที่แล้วตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวจาก ภูมิภาคยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว
6) การค้าระหว่างประเทศ : การส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐลดลง แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุลสูง
6.1 การส่งออก หลังจากขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 6.9 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2540 ในไตรมาสแรกของปี 2541 มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.8 เทียบกับลดลงร้อยละ 0.5 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 79.4 เทียบกับร้อยละ 1.7 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
6.2 การนำเข้า มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสแรกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐลดลงร้อยละ 38.6 เทียบกับลดลงร้อยละ 5.4 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมูลค่าการนำเข้าปรับตัวลดลงในทุกหมวดสินค้าตามภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศทั้งด้านการผลิต การส่งออก การลงทุนและการบริโภค อย่างไรก็ตามมูลค่าการนำเข้าในรูปเงินบาทยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 เทียบกับลดลงร้อยละ 3.4 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
6.3 ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด จากมูลค่าการนำเข้าที่ลดลงมากกว่ามูลค่การส่งออก ส่งผลให้ดุลการค้าในช่วง 2 เดือนแรกเกินดุลประมาณ 2,009 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 99,405 ล้านบาท เทียบกับขาดดุล 2,307 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 59,439 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เมื่อรวมกับดุลบริการบริจาคซึ่งเกินดุลประมาณ 721 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 36,050 ล้านบาท ทำให้ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 2 เดือนแรกเกินดุลประมาณ 2,730 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ135,455 ล้านบาท เทียบกับขาดดุล 1,399 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 36,054 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
7) ฐานะการคลัง : ขาดดุลเงินสดประมาณ 30,000 ล้านบาท
ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2541 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 298,750 ล้านบาทลดลงร้อยละ 2.4 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ของระยะเดียวกันกับงบประมาณปีที่แล้ว เนื่องจากการจัดเก็บภาษีรถยนต์ สุรา และอากรขาเข้าลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยและมูลค่าการนำเข้าลดลงมาก แม้ว่าจะจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้นจากการขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2540 ขณะที่มีรายจ่ายรวม 325,657 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.6 เทียบกับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 36.2 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว เนื่องจากการเข้มงวดในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ประเทศไทยได้ทำไว้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ดุลเงินสดในช่วง 5 เดือนแรกขาดดุล 29,741 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกต ดังนี้
1. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจชี้ถึงผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจสาขาการผลิต การลงทุน และการบริโภค ที่รุนแรงในไตรมาสแรกของปี 2541 ประกอบกับแนวโน้มของการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคมีข้อจำกัดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจชะงักงันของประเทศญี่ปุ่น แนวโน้มดังกล่าวอาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวมากกว่าที่คาดไว้ได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการสร้างสภาพคล่องในระบบการเงินให้เกิดขึ้น โดยไม่กระทบต่อดุลยภาพของเงินบาท ทั้งนี้เพื่อให้ภาคการผลิต การลงทุน และการบริโภคฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
2. ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกันยายน 2540 (ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ) เป็นผลมาจากการลดลงของมูลค่าการนำเข้ามากกว่าการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออก นอกจากนั้นมูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐในช่วง 2 เดือนแรกกลับลดลงร้อยละ 2.6 ในขณะที่การนำเข้าลดลงถึงร้อยละ 41.0
3. เนื่องจากการส่งออกเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศในปี 2541จึงควรพิจารณาทบทวนสถานการณ์และวิเคราะห์ปัญหาของภาคการส่งออกทั้งด้านราคา ปริมาณ การผลิตและการตลาด เพื่อให้สามารถวางมาตรการสนับสนุนการส่งออกขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในอนาคตต่อไป
4. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีในช่วงไตรมาสแรก ได้แก่ ค่าเงินบาทที่เริ่มแข็งตัวและมีเสถียรภาพมากขึ้น และเงินเฟ้อซึ่งอาจมีแนวโน้มทั้งปีต่ำกว่าประมาณการเดิม
5. การประเมินภาวะเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกเป็นการประเมินเบื้องต้นซึ่งจะได้มีการประเมินในรายละเอียดร่วมกันระหว่างคณะผู้แทนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศและฝ่ายไทย เพื่อจัดเตรียมหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 4 ในช่วงระหว่างวันที่4 - 14 พฤษภาคม
2. สรุปภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปี 2541 (ธปท.)
ภาพรวมเศรษฐกิจไทย
ในไตรมาสแรกของปี 2541 เศรษฐกิจไทยยังคงหดตัวต่อเนื่องทั้งการผลิตและการลงทุน ขณะที่การส่งออก (ในรูปดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งขยายตัวมาตลอดนับจากช่วงครึ่งหลังของปีก่อนกลับหดตัวลงในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ทั้งนี้ มีสาเหตุจากหลายปัจจัย ที่สำคัญได้แก่ ราคาสินค้าออก (ในรูปดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงมาก การชะลอลงของอุปสงค์นำเข้าของประเทศคู่ค้าของไทยปัญหาสภาพคล่องในระบบการเงินส่งผลให้ผู้ประกอบการขาดเงินทุน ประกอบกับปัญหาในระบบสถาบันการเงินส่งผลกระทบต่อกระบวนการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าออก ขณะเดียวกันผลกระทบจากค่าเงินในภูมิภาคที่อ่อนตัวทำให้การส่งออกได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่จากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ส่วนการลงทุนยังซบเซาตามภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทางด้านการบริโภคหดตัวลงมากเช่นกัน เนื่องจากกำลังซื้อลดลง กอปรกับประชาชนมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพเศรษฐกิจบางด้านปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะค่าเงินบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่นักลงทุนมีความมั่นใจต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของทางการไทยมากขึ้น ทำให้เงินทุนไหลออกน้อยลงและสามารถยืดอายุหนี้ได้มากขึ้น รวมทั้งมีการนำเข้าเงินทุนของทางการ ส่วนฐานะการคลังมีความสมดุลมากขึ้นจากการบริหารรายจ่ายให้สอดคล้องกับรายได้เป็นสำคัญ ขณะที่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องเพราะการลดลงของการนำเข้าตามภาวะการผลิตและการลงทุน ส่วนแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นตามแรงกดดันทางด้านต้นทุนสอดคล้องกับค่าเงินบาทที่อ่อนตัวในช่วงก่อนหน้านี้ และการขึ้นอัตราภาษีบางประเภท อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อไม่รุนแรงมากเนื่องจากอุปสงค์ที่หดตัวลงภายในประเทศ ราคาน้ำมันตลาดโลกที่อ่อนตัวลง และค่าเงินบาทที่มีเสถียรภาพมากขึ้น
รายละเอียดที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2541 มีดังนี้
1. การผลิต การใช้จ่าย การลงทุน หดตัวมาก
การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีก่อน และรุนแรงมากขึ้นตามอุปสงค์ภายในประเทศโดยลดลงเกือบทุกหมวด ยกเว้นหมวดสิ่งทอที่ขยายตัวในเกณฑ์ดีตามการส่งออก หมวดที่กาารผลิตลดลงมาก ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง และหมวดวัสดุก่อสร้าง เป็นที่น่าสังเกตว่า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเริ่มลดลงในปีนี้ หลังจากชะลอตัวอย่างต่อเนื่องในไตรมาสก่อน ส่วนการผลิตภาคเกษตรโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ยกเว้นสาขาปศุสัตว์ และป่าไม้ ดังนั้น ภาคเกษตรจึงมีบทบาทในการพยุงมิให้การผลิตรวมหดตัวลงมาก
ทางด้านการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนยังคงหดตัวต่อเนื่องจากปีก่อน ทั้งนี้ พิจารณาจากเครื่องชี้การบริโภคที่สำคัญ เช่น ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง ปริมาณการจำหน่ายน้ำมัน และรายรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ที่หักผลของการขึ้นอัตราภาษีออก) ลดลงมาก ขณะเดียวกันการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่ำกว่าระดับปกติเป็นเดือนที่ 13 และมีอัตราการขยายตัวติดลบเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน โดยลดลงทั้งการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ และการลงทุนด้านการก่อสร้าง สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐถูกจำกัดด้วยรายได้ที่ลดลง
2. อัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.7 ต่อปี ณ สิ้นปีก่อนเป็นร้อยละ 9.5 ต่อปี ณ สิ้นมีนาคมปีนี้ ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยด้านต้นทุนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อยังต่ำกว่าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 10.8 มาก ทางด้านอัตราเพิ่มของดัชนีราคาขายส่งและดัชนีราคาขายส่งสำหรับสินค้าออกเร่งตัวขึ้นเช่นกันเป็นเฉลี่ยร้อยละ 19.0 และ 31.1 ตามลำดับ ในช่วงไตรมาสแรก เป็นที่น่าสังเกตว่าดัชนีราคาขายส่งได้เร่งตัวขึ้นสูงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีก่อน สำหรับ ปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น ได้แก่ 1) ผลของค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงมากในช่วงก่อนหน้านี้ 2) การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิต อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ช่วยชะลอการเร่งตัวของเงินเฟ้อ ได้แก่ 1) อุปสงค์ภายในประเทศหดตัวลงมาก 2) ค่าเงินบาทที่มีเสถียรภาพมากขึ้น3) ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง 4) ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
3. ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกันยายนปีก่อน เนื่องจากการนำเข้าลดลงมาก ขณะที่การส่งออกขยายตัวต่อเนื่องยกเว้นในเดือนมกราคมปีนี้ โดยมีข้อสังเกตว่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง ซึ่งเคยขยายตัวดีกลับหดตัวลงในเดือนมกราคม และสินค้าบางประเภท เช่น ผลิตภัณฑ์น้ำมัน รองเท้า ของเล่น น้ำตาล และตลับลูกปืน ลดลงมากกว่าร้อยละ 30 อย่างไรก็ตาม สินค้าบางประเภท เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติก ชิ้นส่วนยานยนต์ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน และอาหารทะเลกระป่องยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่เป็นความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของการส่งออกได้แก่ 1) การแข่งขันในตลาดโลกรุนแรงขึ้นทำให้ราคาสินค้าออกลดลงมาก 2) อุปสงค์นำเข้าของประเทศคู่ค้าของไทยชะลอลง โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเซีย 3) ปัญหาสภาพคล่องในระบบการเงิน
ด้านการนำเข้าแสดงแนวโน้มที่หดตัวรุนแรงขึ้นเป็นลำดับจากร้อยละ 25 - 30 ในไตรมาสที่ 4 ของปีก่อนเป็นร้อยละ 45 และ 36 ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ตามลำดับในปีนี้ สะท้อนอุปสงค์ภายในประเทศที่หดตัวมากขึ้น การนำเข้าที่ลดลงมากตามอุปสงค์ภายในประเทศ และการส่งออกที่ลดลงเล็กน้อย ส่งผลให้ดุลการค้าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้เกินดุล 2.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับที่ขาดดุลในระยะเดียวกันปีก่อนทางด้านเงินทุนเคลื่อนย้ายแม้จะยังคงเป็นการไหลออกสุทธิอยู่ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการชำระภาระล่วงหน้าเงินตราต่างประเทศ ธปท. แต่การไหลออกของเงินทุนภาคเอกชนชะลอลง นับจากเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา จากการปรับตัวที่ดีขึ้นของภาคธนาคารพาณิชย์ที่ไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจ ซึ่งกลับมามีเงินทุนไหลเข้าสุทธิในเดือนดังกล่าว เนื่องจากนักลงทุนเริ่มมีความมั่นใจต่อมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไทยมากขึ้น ทำให้สามารถยืดหนี้ต่างประเทศได้ในสัดส่วนที่สูงขึ้น โดยรวมในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ดุลการชำระเงินยังคงขาดดุล 0.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ในเดือนมีนาคมมีเงินทุนต่างประเทศเข้ามามาก ส่วนหนึ่งเป็นการนำเข้าเงินกู้ของทางการ ทำให้ดุลการชำระเงินในเดือนนี้เกินดุลสูง ช่วยให้ดุลการชำระเงินในไตรมาสแรกเกินดุล 0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2541 อยู่ที่ระดับ 27.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 6.1 เดือนของมูลค่าการนำเข้า และยอดคงค้าง Swap มีจำนวน 15.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
4. ฐานะการคลังขาดดุลต่ำกว่าที่คาดไว้ โดยในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2541 ดุลเงินสดรัฐบาลขาดดุล 26.6 พันล้านบาท ดีกว่าเป้าหมายที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศตั้งไว้ 35 พันล้านบาท แบ่งเป็นการขาดดุลงบประมาณ 28.4 พ้นล้านบาท และเกินดุลนอกงบประมาณ 1.8 พันล้านบาท โดยการจัดเก็บรายได้สูงกว่าที่คาดไว้เดิม เนื่องจากการเพิ่มอัตราภาษี เช่น ภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ขณะที่การใช้จ่ายต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่วนหนึ่งเนื่องจากทางการมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย และมีประสิทธิภาพในการควบคุมการใช้จ่ายให้สอดคล้องกับการจัดเก็บรายได้มากขึ้น ตลอดจนการปรับลดค่าใช้จ่ายบางประเภทลง เช่น ค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ ค่าล่วงเวลา และสวัสดิการอื่น ๆ เป็นต้น
5. ภาวะการเงิน ในไตรมาสแรก โดยรวมแล้วสภาพคล่องในตลาดเงินมีความตึงตัวลดลง แต่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ชะลอตัวลงมาก โดยในช่วงต้นปีสภาพคล่องในตลาดเงินมีความตึงตัวมากต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน เนื่องจากเงินบาทยังมีความผันผวนตามค่าเงินในภูมิภาค และมาตรการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินยังไม่บรรลุผลเท่าที่ควร โดยธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและเล็ก และบริษัทเงินทุนยังคงประสบกับปัญหาสภาพคล่อง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่มีสภาพคล่องส่วนเกินเหลือ สภาพคล่องในตลาดเงินปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาส เนื่องจากมีเงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศจากเงินกู้ของทางการและการเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องในตลาดสินเชื่อยังคงตัวตัว เนื่องจากสถาบันการเงินเพิ่มความระมัดระวังในคุณภาพสินทรัพย์ ตลอดจนถือครองสภาพคล่องเพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมการไว้กรณีเรียกคืนหนี้ นอกจากนี้ การขยายตัวของสินเชื่อชะลอลงเหลือร้อยละ 12.4 ณ สิ้นไตรมาส และเมื่อไม่รวมผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนต่อสินเชื่อวิเทศธนกิจแล้ว สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 5.2 เทียบกับร้อยละ 8.2 เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา ทำให้สัดส่วนเงินให้กู้ยืมต่อเงินฝากลดลงต่อเนื่องในไตรมาสที่หนึ่ง
สำหรับอัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงตามสภาพคล่องที่ยังตึงตัว โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร 1 วัน ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 24 ต่อปี เมื่อสิ้นปีก่อน เป็นร้อยละ 19.75 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาสแรกปีนี้ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารลดลงจากร้อยละ 21.73 ต่อปี ในเดือนธันวาคมปีก่อน เหลือร้อยละ 20.57 ต่อปีในเดือนมีนาคมปีนี้ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารขนาดใหญ่และเล็กมีความแตกต่างกัน โดยอัตราดอกเบี้ยของธนาคารขนาดใหญ่ค่อนข้างทรงตัว แต่ธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งประสบปัญหาสภาพคล่องได้ปรับดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้นเพื่อเร่งระดมเงินฝาก
6. อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพมากขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2541 โดยเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีแนวโน้มอ่อนตัวมาตลอดช่วงครึ่งหลังของปีก่อน และอ่อนตัวที่สุดในเดือนมกราคมปีนี้ ที่ระดับเฉลี่ย 53.71 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นมีแนวโน้มแข็งขึ้นเป็น 46.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนกุมภาพันธ์ และ 41.33 บาท ในเดือนมีนาคม หรือแข็งขึ้นร้อยละ 16.0 และร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ตามลำดับ ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินบาทแข็งขึ้น ได้แก่ (1) การยกเลิกมาตรการแบ่งแยกตลาดเงินตราต่างประเทศ (2) ความคืบหน้าในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจทั้งของไทย และในภูมิภาค
7. ภาวะตลาดทุนชะลอตัวต่อเนื่อง มูลค่าหลักทรัพย์ออกใหม่ของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น จากการเร่งเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน การออกพันธบัตรของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และการออกพันธบัตรของรัฐวิสาหกิจ ส่วนการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดรอง ในส่วนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีมูลค่าการซื้อขายต่อวันเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย ขณะที่ดัชนีราคาหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 23.2 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2540 มาปิดที่ 459.11 ณ สิ้นไตรมาส ส่วนปริมาณธุรกรรมในตลาดรองอื่น ๆ ลดลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 พฤษภาคม 2541--