ทำเนียบรัฐบาล--2 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการปรับระดับตำแหน่งนายเวรผู้บังคับบัญชาตามข้อเสนอของกรมตำรวจ (ตาม มติ กตร.ในการประชุม ครั้งที่ 4/2540 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2540) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
1. นายเวรอธิบดี (เทียบผู้กำกับการ) เป็นนายเวร (สบ 5) (เทียบรองผู้บังคับการ) จำนวน 1 ตำแหน่ง
2. นายเวรรองอธิบดีหรือเทียบเท่า (เทียบรองผู้กำกับการ) เป็น นายเวร (สบ 4) (เทียบผู้กำกับการ) จำนวน 8 ตำแหน่ง
3. ผู้ช่วยนายเวรอธิบดี (เทียบสารวัตร) เป็นผู้ช่วยนายเวร (สบ 4) (เทียบผู้กำกับการ) จำนวน 1 ตำแหน่ง
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันกรมตำรวจต้องปรับลักษณะและวิธีการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยต้องปฏิบัติงานในลักษณะที่มีความยุ่งยากซับซ้อนและมีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ผู้บริหารงานของกรมตำรวจต้องปฏิบัติงานในลักษณะที่มีคุณภาพของงานสูงขึ้น เป็นผลให้ผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้บังคับบัญชา ซึ่งได้แก่ นายเวร และผู้ช่วยนายเวร ต้องปฏิบัติงานในลักษณะที่มีคุณภาพของงานสูงขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับปัจจุบันนายเวรและผู้ช่วยนายเวรของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับในกรมตำรวจมีระดับตำแหน่งเดียวกันหลายระดับ ได้แก่ นายเวรผู้ช่วยอธิบดีและนายเวรผู้บัญชาการ เป็นระดับสารวัตร ผู้ช่วยนายเวรอธิบดีและผู้ช่วยนายเวรรองอธิบดี เป็นระดับสารวัตร ผู้ช่วยนายเวร ผู้ช่วยอธิบดี และผู้ช่วยนายเวร ผู้บัญชาการ เป็นระดับรองสารวัตร ทั้งๆ ที่ นายเวรและผู้ช่วยนายเวรของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยคุณภาพของงานต่างระดับกัน การปรับระดับตำแหน่งครั้งนี้จะมีผลให้ระดับตำแหน่งสูงต่ำลดหลั่นกันไปตามระดับตำแหน่งของผู้บังคับบัญชา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 2 กันยายน 2540--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการปรับระดับตำแหน่งนายเวรผู้บังคับบัญชาตามข้อเสนอของกรมตำรวจ (ตาม มติ กตร.ในการประชุม ครั้งที่ 4/2540 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2540) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
1. นายเวรอธิบดี (เทียบผู้กำกับการ) เป็นนายเวร (สบ 5) (เทียบรองผู้บังคับการ) จำนวน 1 ตำแหน่ง
2. นายเวรรองอธิบดีหรือเทียบเท่า (เทียบรองผู้กำกับการ) เป็น นายเวร (สบ 4) (เทียบผู้กำกับการ) จำนวน 8 ตำแหน่ง
3. ผู้ช่วยนายเวรอธิบดี (เทียบสารวัตร) เป็นผู้ช่วยนายเวร (สบ 4) (เทียบผู้กำกับการ) จำนวน 1 ตำแหน่ง
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันกรมตำรวจต้องปรับลักษณะและวิธีการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยต้องปฏิบัติงานในลักษณะที่มีความยุ่งยากซับซ้อนและมีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ผู้บริหารงานของกรมตำรวจต้องปฏิบัติงานในลักษณะที่มีคุณภาพของงานสูงขึ้น เป็นผลให้ผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้บังคับบัญชา ซึ่งได้แก่ นายเวร และผู้ช่วยนายเวร ต้องปฏิบัติงานในลักษณะที่มีคุณภาพของงานสูงขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับปัจจุบันนายเวรและผู้ช่วยนายเวรของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับในกรมตำรวจมีระดับตำแหน่งเดียวกันหลายระดับ ได้แก่ นายเวรผู้ช่วยอธิบดีและนายเวรผู้บัญชาการ เป็นระดับสารวัตร ผู้ช่วยนายเวรอธิบดีและผู้ช่วยนายเวรรองอธิบดี เป็นระดับสารวัตร ผู้ช่วยนายเวร ผู้ช่วยอธิบดี และผู้ช่วยนายเวร ผู้บัญชาการ เป็นระดับรองสารวัตร ทั้งๆ ที่ นายเวรและผู้ช่วยนายเวรของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยคุณภาพของงานต่างระดับกัน การปรับระดับตำแหน่งครั้งนี้จะมีผลให้ระดับตำแหน่งสูงต่ำลดหลั่นกันไปตามระดับตำแหน่งของผู้บังคับบัญชา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 2 กันยายน 2540--