ทำเนียบรัฐบาล--27 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟัง ความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. .... ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ซึ่ง มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังการแสดงความคิดเห็นในปัญหาสำคัญของชาติที่มีข้อ โต้เถียงหลายฝ่าย สำหรับเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจของรัฐในการดำเนินงานอันมีผลกระทบต่อ ประชาชน ซึ่งร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายการเมืองและการบริหาร ของรัฐบาลในการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยส่งเสริมให้มีการแสดงความคิดเห็นในปัญหาสำคัญของชาติ ที่มีข้อโต้เถียงหลายฝ่าย โดยวิธีประชาพิจารณ์เพื่อเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจของรัฐในการดำเนิน งาน และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 11 (8) และวรรคท้าย ได้บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจวางระเบียบปฏิบัติราชการเพื่อให้การบริหาร ราชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมาย อื่นระเบียบดังกล่าวเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบให้ใช้บังคับได้ โดยให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐ มนตรี (นายโภคิน พลกุล) และเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปปรับปรุงถ้อยคำให้ถูกต้องเรียบร้อย แล้ว เสนอนายกรัฐมนตรีลงนามเพื่อประกาศใช้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 26 ธันวาคม 2538--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟัง ความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. .... ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ซึ่ง มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังการแสดงความคิดเห็นในปัญหาสำคัญของชาติที่มีข้อ โต้เถียงหลายฝ่าย สำหรับเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจของรัฐในการดำเนินงานอันมีผลกระทบต่อ ประชาชน ซึ่งร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายการเมืองและการบริหาร ของรัฐบาลในการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยส่งเสริมให้มีการแสดงความคิดเห็นในปัญหาสำคัญของชาติ ที่มีข้อโต้เถียงหลายฝ่าย โดยวิธีประชาพิจารณ์เพื่อเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจของรัฐในการดำเนิน งาน และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 11 (8) และวรรคท้าย ได้บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจวางระเบียบปฏิบัติราชการเพื่อให้การบริหาร ราชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมาย อื่นระเบียบดังกล่าวเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบให้ใช้บังคับได้ โดยให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐ มนตรี (นายโภคิน พลกุล) และเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปปรับปรุงถ้อยคำให้ถูกต้องเรียบร้อย แล้ว เสนอนายกรัฐมนตรีลงนามเพื่อประกาศใช้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 26 ธันวาคม 2538--