ทำเนียบรัฐบาล--26 เม.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบผลการดำเนินงานกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ
ช่วงไตรมาสแรก (มกราคม - มีนาคม 2542) ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปได้ว่า สามารถดำ
เนินการได้ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยได้มีการแก้ไขกฎหมายเป็นการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตน รวมทั้งผู้มีหน้า
ที่จ่ายเงินสมทบให้ความสำคัญต่อกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพในการสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตให้กับตนเองและ
ครอบครัว
สำหรับสาระสำคัญของผลการดำเนินงานการคุ้มครองกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ มีดังนี้
1. การดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537
โดย
1.1 ตราพระราชกฤษฎีกาจัดเก็บเงินสมทบตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป
1.2 การออกกฎกระทรวง 3 ฉบับ ได้แก่
1) กฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบ โดยให้รัฐบาล นายจ้าง ผู้ประกันตนออกเงินสมทบในอัตรา
ฝ่ายละร้อยละ 1 ของค่าจ้าง
2) กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร กำหนดให้ได้รับการ
สงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมายอายุไม่เกิน 6 ปี และได้รับการสงเคราะห์เป็นเงินเหมาจ่ายในอัตรา 150 บาท
ต่อเดือนต่อบุตรหนึ่งคน
3) กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ กำหนดให้ผู้ที่จ่ายเงินสมทบ
มาแล้ว 15 ปี ได้รับเงินรายเดือนในอัตราร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
และกรณีที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 15 ปี ให้ได้รับเพิ่มอีกในอัตราร้อยละ 1 ของทุกปี
กฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ ได้ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2541
2. สาระสำคัญการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 มีดังนี้
2.1 การออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ไม่กำหนดออกฝ่ายละเท่ากัน แต่จะออกเงินสมทบฝ่ายละเท่า
ใดกำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ (เดิม กำหนดให้รัฐบาล นายจ้าง ลูกจ้าง ออกฝ่ายละเท่ากัน)
2.2 เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร
- ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ "ไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเกิดสิทธิ"
- ผู้ประกันตนซึ่งทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย บุตรจะได้รับการสงเคราะห์อย่างต่อเนื่องจนครบตาม
เงื่อนไข
- จำนวนบุตรของผู้ประกันตนที่ได้รับการสงเคราะห์ให้ได้รับคราวละไม่เกิน 2 คน
2.3 เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ
- กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายประโยชน์ทดแทน
- ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จชราภาพ
- ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน ให้มีสิทธิได้รับบำนาญชราภาพ
- กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนนับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับบำนาญชราภาพ ให้ทายาท
มีสิทธิได้รับบำเหน็จชราภาพ
2.4 อัตราเงินบำเหน็จชราภาพ
- จ่ายต่ำกว่า 12 เดือน = จำนวนเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตน
- จ่ายตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ไม่ถึง 180 เดือน = จำนวนเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตน+นายจ้าง+
ดอกผล
ผลการดำเนินงานกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ มีดังนี้
1. ด้านการจัดเก็บเงินสมทบ การดำเนินการจัดเก็บเงินสมทบสำหรับกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพในช่วง
ไตรมาสแรกของปี 2542 (เดือนมกราคม - เดือนมีนาคม) เป็นดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
เดือน เงินสมทบ
มกราคม 2542 (เงินสมทบของค่าจ้างเดือน ธ.ค. 41) 170
กุมภาพันธ์ 2542 (เงินสมทบของค่าจ้างเดือน ม.ค. 42) 518
มีนาคม 2542 (เงินสมทบของค่าจ้างเดือน ก.พ. 42) 660
2. ด้านประมาณการจ่ายประโยชน์ทดแทน ประมาณการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ
ในปี 2542 เป็นดังนี้
2.1 กรณีสงเคราะห์บุตร การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร จะเริ่มดำเนินการครั้งแรกในเดือน
ธันวาคม2542 จำนวนบุตรซึ่งประมาณการเบิกค่าคลอดบุตรของผู้ประกันตน จะได้
จำนวนบุตรที่มีอายุแรกเกิด - 6 ปีบริบูรณ์ = 1,000,000 คน
อัตราประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร = 150 บาท/คน
ดังนั้น ประมาณการประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร = 150 ล้านบาท
2.2 กรณีชราภาพ ประมาณการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ
รวมผู้มีสิทธิ = 32,880 คน
1) ผู้ประกันตนที่มีอายุ 55 ปี และสิ้นสภาพการจ้าง = 18,200 คน
2) ผู้ประกันตนกรณีตาย = 14,200 คน
3) ผู้ประกันตนกรณีทุพพลภาพ = 480 คน
ดังนั้น ประมาณการประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (เมษายน - ธันวาคม 2542) = 36 ล้านบาท
ทั้งนี้ เนื่องจากตั้งแต่เดือนมกราคม - มีนาคม 2542 เป็นระยะที่อยู่ในการใช้บังคับพระราชบัญญัติประกัน
สังคมฉบับเดิมและเมื่อพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 เมษายน 2542 จะมีการจ่าย
ประโยชน์ทดแทนในลักษณะบำเหน็จให้แก่ผู้มีสิทธิดังกล่าวข้างต้น
3. ผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กรณีสงเคราะห์
บุตรและชราภาพเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องแก่กลุ่มเป้าหมายคือ นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน สื่อมวลชน องค์การเอกชน และ
ประชาชนทั่วไปโดยสามารถสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมได้ดังต่อไปนี้
1. ด้านสื่อวิทยุโทรทัศน์ แถลงข่าว จำนวน 1 ครั้ง สัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 32 ครั้ง จัดทำสปอตวิทยุ
จำนวน2 สปอต/1,683 ครั้ง จัดทำสปอตโทรทัศน์ จำนวน 1 สปอต/97 ครั้ง จัดรายการวิทยุ จำนวน 24 ครั้ง
2. ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ จัดทำโปสเตอร์เอกสารแผ่นพับและคู่มือสำหรับนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน จำนวน 350,000
แผ่น วารสาร "สารสัมพันธ์" จำนวน 1 ครั้ง 85,000 ฉบับ
3. ด้านการประชุมชี้แจงจัดนิทรรศการ จำนวน 4 ครั้ง ออกหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ จำนวน 61 ครั้ง/
25,122 ราย จัดประชุมชี้แจงผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ จำนวน 15 ครั้ง 699 ราย จัดประชุมนายจ้าง ลูกจ้าง และ
ผู้เกี่ยวข้อง โดยสำนักงานประกันสังคมจังหวัด จำนวน 18 ครั้ง รวม 1,748 ราย จัดประชุมชี้แจงโดยสภาองค์การนายจ้าง
ลูกจ้าง จำนวน 9 ครั้ง778 ราย ประชุมเผยแพร่ความรู้งานประกันสังคม จำนวน 6 ครั้ง 796 ราย
4. ศูนย์บริการทางโทรศัพท์ หมายเลข 1506 พบว่าข้อมูลการสอบถามในเดือนมกราคม 2542 จำนวน 5,853
ครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2542 และมีนาคม 2542 ลดลงเป็น 2,331 ครั้ง และ 1,407 ครั้ง ตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 เมษายน 2542--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบผลการดำเนินงานกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ
ช่วงไตรมาสแรก (มกราคม - มีนาคม 2542) ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปได้ว่า สามารถดำ
เนินการได้ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยได้มีการแก้ไขกฎหมายเป็นการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตน รวมทั้งผู้มีหน้า
ที่จ่ายเงินสมทบให้ความสำคัญต่อกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพในการสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตให้กับตนเองและ
ครอบครัว
สำหรับสาระสำคัญของผลการดำเนินงานการคุ้มครองกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ มีดังนี้
1. การดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537
โดย
1.1 ตราพระราชกฤษฎีกาจัดเก็บเงินสมทบตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป
1.2 การออกกฎกระทรวง 3 ฉบับ ได้แก่
1) กฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบ โดยให้รัฐบาล นายจ้าง ผู้ประกันตนออกเงินสมทบในอัตรา
ฝ่ายละร้อยละ 1 ของค่าจ้าง
2) กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร กำหนดให้ได้รับการ
สงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมายอายุไม่เกิน 6 ปี และได้รับการสงเคราะห์เป็นเงินเหมาจ่ายในอัตรา 150 บาท
ต่อเดือนต่อบุตรหนึ่งคน
3) กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ กำหนดให้ผู้ที่จ่ายเงินสมทบ
มาแล้ว 15 ปี ได้รับเงินรายเดือนในอัตราร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
และกรณีที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 15 ปี ให้ได้รับเพิ่มอีกในอัตราร้อยละ 1 ของทุกปี
กฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ ได้ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2541
2. สาระสำคัญการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 มีดังนี้
2.1 การออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ไม่กำหนดออกฝ่ายละเท่ากัน แต่จะออกเงินสมทบฝ่ายละเท่า
ใดกำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ (เดิม กำหนดให้รัฐบาล นายจ้าง ลูกจ้าง ออกฝ่ายละเท่ากัน)
2.2 เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร
- ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ "ไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเกิดสิทธิ"
- ผู้ประกันตนซึ่งทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย บุตรจะได้รับการสงเคราะห์อย่างต่อเนื่องจนครบตาม
เงื่อนไข
- จำนวนบุตรของผู้ประกันตนที่ได้รับการสงเคราะห์ให้ได้รับคราวละไม่เกิน 2 คน
2.3 เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ
- กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายประโยชน์ทดแทน
- ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จชราภาพ
- ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน ให้มีสิทธิได้รับบำนาญชราภาพ
- กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนนับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับบำนาญชราภาพ ให้ทายาท
มีสิทธิได้รับบำเหน็จชราภาพ
2.4 อัตราเงินบำเหน็จชราภาพ
- จ่ายต่ำกว่า 12 เดือน = จำนวนเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตน
- จ่ายตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ไม่ถึง 180 เดือน = จำนวนเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตน+นายจ้าง+
ดอกผล
ผลการดำเนินงานกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ มีดังนี้
1. ด้านการจัดเก็บเงินสมทบ การดำเนินการจัดเก็บเงินสมทบสำหรับกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพในช่วง
ไตรมาสแรกของปี 2542 (เดือนมกราคม - เดือนมีนาคม) เป็นดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
เดือน เงินสมทบ
มกราคม 2542 (เงินสมทบของค่าจ้างเดือน ธ.ค. 41) 170
กุมภาพันธ์ 2542 (เงินสมทบของค่าจ้างเดือน ม.ค. 42) 518
มีนาคม 2542 (เงินสมทบของค่าจ้างเดือน ก.พ. 42) 660
2. ด้านประมาณการจ่ายประโยชน์ทดแทน ประมาณการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ
ในปี 2542 เป็นดังนี้
2.1 กรณีสงเคราะห์บุตร การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร จะเริ่มดำเนินการครั้งแรกในเดือน
ธันวาคม2542 จำนวนบุตรซึ่งประมาณการเบิกค่าคลอดบุตรของผู้ประกันตน จะได้
จำนวนบุตรที่มีอายุแรกเกิด - 6 ปีบริบูรณ์ = 1,000,000 คน
อัตราประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร = 150 บาท/คน
ดังนั้น ประมาณการประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร = 150 ล้านบาท
2.2 กรณีชราภาพ ประมาณการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ
รวมผู้มีสิทธิ = 32,880 คน
1) ผู้ประกันตนที่มีอายุ 55 ปี และสิ้นสภาพการจ้าง = 18,200 คน
2) ผู้ประกันตนกรณีตาย = 14,200 คน
3) ผู้ประกันตนกรณีทุพพลภาพ = 480 คน
ดังนั้น ประมาณการประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (เมษายน - ธันวาคม 2542) = 36 ล้านบาท
ทั้งนี้ เนื่องจากตั้งแต่เดือนมกราคม - มีนาคม 2542 เป็นระยะที่อยู่ในการใช้บังคับพระราชบัญญัติประกัน
สังคมฉบับเดิมและเมื่อพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 เมษายน 2542 จะมีการจ่าย
ประโยชน์ทดแทนในลักษณะบำเหน็จให้แก่ผู้มีสิทธิดังกล่าวข้างต้น
3. ผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กรณีสงเคราะห์
บุตรและชราภาพเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องแก่กลุ่มเป้าหมายคือ นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน สื่อมวลชน องค์การเอกชน และ
ประชาชนทั่วไปโดยสามารถสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมได้ดังต่อไปนี้
1. ด้านสื่อวิทยุโทรทัศน์ แถลงข่าว จำนวน 1 ครั้ง สัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 32 ครั้ง จัดทำสปอตวิทยุ
จำนวน2 สปอต/1,683 ครั้ง จัดทำสปอตโทรทัศน์ จำนวน 1 สปอต/97 ครั้ง จัดรายการวิทยุ จำนวน 24 ครั้ง
2. ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ จัดทำโปสเตอร์เอกสารแผ่นพับและคู่มือสำหรับนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน จำนวน 350,000
แผ่น วารสาร "สารสัมพันธ์" จำนวน 1 ครั้ง 85,000 ฉบับ
3. ด้านการประชุมชี้แจงจัดนิทรรศการ จำนวน 4 ครั้ง ออกหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ จำนวน 61 ครั้ง/
25,122 ราย จัดประชุมชี้แจงผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ จำนวน 15 ครั้ง 699 ราย จัดประชุมนายจ้าง ลูกจ้าง และ
ผู้เกี่ยวข้อง โดยสำนักงานประกันสังคมจังหวัด จำนวน 18 ครั้ง รวม 1,748 ราย จัดประชุมชี้แจงโดยสภาองค์การนายจ้าง
ลูกจ้าง จำนวน 9 ครั้ง778 ราย ประชุมเผยแพร่ความรู้งานประกันสังคม จำนวน 6 ครั้ง 796 ราย
4. ศูนย์บริการทางโทรศัพท์ หมายเลข 1506 พบว่าข้อมูลการสอบถามในเดือนมกราคม 2542 จำนวน 5,853
ครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2542 และมีนาคม 2542 ลดลงเป็น 2,331 ครั้ง และ 1,407 ครั้ง ตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 เมษายน 2542--