แต่งตั้ง

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday March 23, 2005 15:46 —มติคณะรัฐมนตรี

          1.  รายงานสรุปเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติ เห็นชอบ หรือมีคำสั่งตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี  ตามมาตรา 7 ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548  (จำนวน 15 เรื่อง)
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติ เห็นชอบ หรือมีคำสั่ง ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 จำนวน 15 เรื่อง ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
1. แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรี และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1) นาวาอากาศโท รวยลาภ เอี่ยมทอง เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี 2) นายชญานิน เทพาคำ เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
2. แต่งตั้งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง จำนวน 3 ราย ดังนี้ 1) นายบุญถึง ผลพานิชย์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี 2) นายสมพงษ์ หิริกุล เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี (นายวราเทพ รัตนากร) 3) นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
3. แต่งตั้งเลขานุการรัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1) นายบุญธรรม พิกุลศรี เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี 2) นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
4. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง กระทรวงพลังงาน จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1) นายภาคิน สมมิตร เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี 2) นายณัฐพงศ์ ศีตวรรัตน์ เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
5. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 4 ราย ดังนี้ 1) นายณัฐสกล ภวนะวิเชียร เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี 2) นายชลน่าน ศรีแก้ว เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง 3) นายธนะวัตร วัฒนวงษ์ภิญโญ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี 4) นางสาวศุภมาส อิสรภักดี เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
6. แต่งตั้งเลขานุการรัฐมนตรี และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง จำนวน 3 ราย ดังนี้ 1) นายพิมล ศรีวิกรม์ เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง 2) พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง 3) นายวิทยา บุรณศิริ เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
7. แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรี กระทรวงแรงงาน จำนวน 1 ราย คือ นายพงศกร อรรณนพพร เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
8. แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรี และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี กระทรวงการต่างประเทศ จำนวน 3 ราย ดังนี้ 1) นายประชา คุณะเกษม เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี 2) นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง 3) นายไพโรจน์ ตันบรรจง เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
9. แต่งตั้งที่ปรึกษาและเลขานุการรัฐมนตรี กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1) รองศาสตราจารย์ ชรินรัตน์ พุทธปวน เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี 2) นายธีรยุทธ วานิชชัง เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
10. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง กระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1) นางประไพพรรณ เส็งประเสริฐ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี 2) นางอรทัย ฐานะจาโร เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
11. แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรี และเลขานุการรัฐมนตรี กระทรวงคมนาคม จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1) นายวัลลภ สุปริยศิลป์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี 2) นายอนุชา นาคาศัย เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
12. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 1 ราย คือ นายวิทยา คุณปลื้ม เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
13. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 1 ราย คือ นายผดุง ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (รองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
14. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 4 ราย ดังนี้ 1) พลตำรวจเอก จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์ เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (รองนายกรัฐมนตรี พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) 2) นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (รองนายกรัฐมนตรี นายจาตุรนต์ ฉายแสง) 3) นายประวัฒน์ อุตตะโมต เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (รองนายกรัฐมนตรี นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) 4) นายจารุอุดม เรืองสุวรรณ เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (รองนายกรัฐมนตรี นายพินิจ จารุสมบัติ) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
15. แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 16 ราย ดังนี้ 1) นายพรชัย นุชสุวรรณ 2) นางสาวณัฐกมล นนทะโชติ 3) นายสมิทธ ธรรมสโรช 4) นายอุตตม สาวนายน 5) นายสรจักร เกษมสุวรรณ 6) นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ 7) นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ 8) นายวีระชัย วีระเมธีกุล 9) นายปานปรีย์ พหิทธานุกร 10) นายธวัชชัย สัจจกุล 11) นายโกสินทร์ เกษทอง 12) ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ 13) นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ 14) นายจรัล ตฤณวุฒิพงษ์ 15) นายพัฒเดช ธรรมจรีย์ 16) นายกิตติ ลิ่มสกุล ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง และมอบหมายให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง
2. ผู้แทนการค้าไทย (Thai Trade Representatives)
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 63/2548 เรื่องแต่งตั้งผู้แทนการค้าไทย (Thai Trade Representatives) จำนวน 3 ราย ดังนี้ 1) นายประจวบ ไชยสาส์น 2) นายประวิช รัตนเพียร 3) นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
3. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 6 คณะ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 89/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 6 คณะ โดยมีองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่และกลไกการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 (ฝ่ายเศรษฐกิจ)
1.1 องค์ประกอบ
1.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
1.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รองประธานกรรมการ
1.1.3 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
1.1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว
และกีฬา กรรมการ
1.1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ กรรมการ
1.1.6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรรมการ
1.1.7 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กรรมการ
1.1.8 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
1.1.9 ผู้ช่วยรัฐมนตรีที่ประธานกรรมการ กรรมการ
มอบหมายให้เข้าประชุม
1.1.10 ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
1.1.11 ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการ
1.1.12 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
1.1.13 ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
1.1.14 ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
1.1.15 ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
1.1.16 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
1.1.17 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการ
1.1.18 ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรรมการ
1.1.19 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
1.1.20 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
1.1.21 ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
1.1.22 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการและ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขานุการ
1.1.23 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและ
ผู้ช่วยเลขานุการ
1.1.24 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
1.2 อำนาจหน้าที่
1.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพัน หรือมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การภาษีอากร สถาบันการเงิน การลงทุนอุตสาหกรรม การผลิต การหารายได้เข้าประเทศ การท่องเที่ยวและกีฬา การนำเข้าและส่งออกสินค้า รวมทั้งนโยบายรัฐวิสาหกิจ ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
1.2.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางตัดสินใจเชิงรุกในประเด็นนโยบายตามข้อ 1.2.1 ตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 76 มาตรา 81 มาตรา 83 และมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
1.2.3 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
1.3 กลไกการปฏิบัติงาน
1.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามข้อ 1.2.1 ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐเสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบ ให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
1.3.2 เรื่องสำคัญซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการตามคำสั่งนี้หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
1.3.2.1 เรื่องที่เป็นปัญหาในเชิงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน
1.3.2.2 เรื่องที่ต้องใช้งบประมาณดำเนินการเป็นจำนวนมาก
1.3.2.3 เรื่องที่กระทบต่อการปฏิบัติราชการของหลายหน่วยงาน
1.3.2.4 เรื่องที่หน่วยงานต่าง ๆ มีความเห็นไม่สอดคล้องกัน
1.3.2.5 เรื่องที่ยังไม่เคยมีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติมาก่อน
1.3.2.6 เรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สังคมจิตวิทยา หรือความมั่นคงหรือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวม
1.3.2.7 เรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะอื่น นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีขอให้พิจารณา
1.3.3 ในการเสนอปัญหาในเชิงรุกตามข้อ 1.2.2 ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเจ้าของเรื่อง แต่กรรมการคนใดคนหนึ่งโดยความเห็นชอบของประธานกรรมการจะยกประเด็นขึ้นหารือก็ได้
1.3.4 รองนายกรัฐมนตรีทุกคนจะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดังกล่าวก็ได้ตามที่เห็นสมควร ในกรณีเช่นนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมเป็นกรรมการด้วย ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารอื่น ๆ ให้รองนายกรัฐมนตรีทุกคนทราบทุกครั้งด้วย
1.3.5 ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณและโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมประชุมด้วย ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารอื่น ๆ ให้บุคคลดังกล่าวทราบทุกครั้ง
1.3.6 ในการพิจารณากลั่นกรองเรื่องที่กระทรวง ทบวง กรมหรือหน่วยงานของรัฐหน่วยใดเป็นเจ้าของเรื่อง ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการเชิญรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงเข้าร่วมประชุมด้วย ในกรณีเป็นการพิจารณาปัญหาในเชิงรุกตามข้อ 1.2.2 หากสามารถแจ้งรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทราบล่วงหน้าได้ให้ดำเนินการเช่นเดียวกัน
1.3.7 คณะกรรมการมีอำนาจเชิญผู้แทนกระทรวง ทบวง กรมหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลอื่นที่อาจให้ข้อมูลเข้าร่วมประชุมในปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ตามที่เห็นสมควร
1.3.8 วันเวลา สถานที่ และการประชุม ให้เป็นตามที่คณะกรรมการกำหนด
2. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 (ฝ่ายความมั่นคง)
2.1 องค์ประกอบ
2.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์)
2.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รองประธานกรรมการ
2.1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
2.1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
2.1.5 ผู้ช่วยรัฐมนตรีที่ประธานกรรมการ กรรมการ
มอบหมายให้เข้าประชุม
2.1.6 ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
2.1.7 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
2.1.8 ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
2.1.9 ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
2.1.10 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กรรมการ
2.1.11 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
2.1.12 ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ กรรมการ
2.1.13 อัยการสูงสุด กรรมการ
2.1.14 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
2.1.15 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและ กรรมการ
ปราบปรามยาเสพติด
2.1.16 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและ กรรมการ
ปราบปรามการฟอกเงิน
2.1.17 เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
2.1.18 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2.1.19 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
(พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์)
2.2 อำนาจหน้าที่
2.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพันหรือมีผลกระทบต่อเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขต กิจการทหาร กิจการตำรวจการรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน กระบวนการยุติธรรม การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและการฟอกเงิน ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
2.2.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางตัดสินใจเชิงรุกในประเด็นนโยบายตามข้อ 2.2.1ตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง การเมือง การปกครอง กระบวนการยุติธรรม และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 71 มาตรา 72 มาตรา 74 มาตรา 75 มาตรา 76 และมาตรา 78 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
2.2.3 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
2.3 กลไกการปฏิบัติงาน
2.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามข้อ 2.2.1 ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐเสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
2.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการหมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
2.3.3 ในการเสนอปัญหาในเชิงรุกตามข้อ 2.2.2 ให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นเจ้าของเรื่อง แต่กรรมการคนใดคนหนึ่ง โดยความเห็นชอบของประธานกรรมการจะยกประเด็นขึ้นหารือก็ได้
2.3.4 ให้นำข้อ 1.3.4 — ข้อ 1.3.8 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
3. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 (ฝ่ายการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
3.1 องค์ประกอบฝ่ายการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
3.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายจาตุรนต์ ฉายแสง)
3.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รองประธานกรรมการ
3.1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ
3.1.4 ผู้ช่วยรัฐมนตรีที่ประธานกรรมการ กรรมการ
มอบหมายให้เข้าประชุม
3.1.5 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
3.1.6 ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ
3.1.7 เลขาธิการสภาการศึกษา กรรมการ
3.1.8 เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษา กรรมการ
ขั้นพื้นฐาน
3.1.9 เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรรมการ
3.1.10 เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรรมการ
3.1.11 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
3.1.12 อธิบดีกรมการศาสนา กรรมการ
3.1.13 ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนา กรรมการ
แห่งชาติ
3.1.14 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา กรรมการ
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.1.15 ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
3.1.16 ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐาน กรรมการ
และประเมินคุณภาพการศึกษา
(องค์การมหาชน)
3.1.17 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและ
เลขานุการ
3.1.18 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
(นายจาตุรนต์ ฉายแสง)
3.2 องค์ประกอบฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ วิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3.2.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายจาตุรนต์ ฉายแสง)
3.2.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยี รองประธานกรรมการ
สารสนเทศและการสื่อสาร
3.2.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ กรรมการ
และเทคโนโลยี
3.2.4 ผู้ช่วยรัฐมนตรีที่ประธานกรรมการ กรรมการ
มอบหมายให้เข้าประชุม
3.2.5 ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ กรรมการ
และการสื่อสาร
3.2.6 ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
3.2.7 เลขาธิการสภาวิจัยแห่งชาติ กรรมการ
3.2.8 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
3.2.9 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา กรรมการ
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.2.10 อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กรรมการ
3.2.11 เลขาธิการสถิติแห่งชาติ กรรมการ
3.2.12 เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กรรมการ
3.2.13 อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กรรมการ
3.2.14 ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุน กรรมการ
การวิจัย
3.2.15 ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ กรรมการ
และเทคโนโลยีแห่งชาติ
3.2.16 ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบาย กรรมการ
สาธารณะ
3.2.17 ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
3.2.18 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและ
เลขานุการ
3.2.19 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
(นายจาตุรนต์ ฉายแสง)
3.3 อำนาจหน้าที่
3.3.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพันหรือมีผลกระทบต่อการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการวิจัย ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
3.3.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางตัดสินใจเชิงรุกในประเด็นนโยบายตามข้อ 3.3.1 ตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 73 มาตรา 78 และมาตรา 81 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
3.3.3 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
3.4 กลไกการปฏิบัติงาน
3.4.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามข้อ 3.3.1 ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐเสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
3.4.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการหมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
3.4.3 ในการเสนอปัญหาในเชิงรุกตามข้อ 3.3.2 ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ หรือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นเจ้าของเรื่องแต่กรรมการคนใดคนหนึ่งโดยความเห็นชอบของประธานกรรมการจะยกประเด็นขึ้นหารือก็ได้
3.4.4 ให้นำข้อ 1.3.4 — ข้อ 1.3.8 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
4. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 (ฝ่ายการต่างประเทศ แรงงานและการพัฒนาสังคม)
4.1 องค์ประกอบ
4.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย)
4.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รองประธานกรรมการ
4.1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม กรรมการ
และความมั่นคงของมนุษย์
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ