คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ จังหวัดพังงา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ในฐานะประธานอำนวยการประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ จังหวัดพังงา ขอรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ จังหวัดพังงา ครั้งที่ 4 (ระหว่างวันที่ 17 - 24 มกราคม 2548) ดังนี้
1. การค้นหาและเก็บศพผู้เสียชีวิต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบให้กองทัพบกปฏิบัติการค้นหา
ผู้ประสบภัยในพื้นที่ ตั้งแต่บ้านคอเขาถึงบ้านเขาหลักซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการค้นหาผู้ประสบภัยพิบัติที่คาดว่ายังตกค้างอยู่ โดยถือว่าเป็นการตรวจสอบครั้งใหญ่ให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ ซึ่งกองทัพบกได้สนธิกำลังจากหน่วยสงครามพิเศษ ศูนย์การทหารราบ และชุดสุนัขสงคราม เข้าปฏิบัติการค้นหาพิสูจน์ทราบทั่วบริเวณ รวมทั้งจัดมนุษย์กบสำรวจแหล่งน้ำ โดยจัดลำดับความเร่งด่วนในการค้นหาให้กับพื้นที่ที่มีผู้มาให้ข้อมูลว่าน่าจะมีศพผู้เสียชีวิตอยู่ในพื้นที่นั้น และกำหนดเวลาในการปฏิบัติการตั้งแต่ 22 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2548 ผลการปฏิบัติการจนถึงวันที่ 24 มกราคม 2548 สามารถเก็บกู้ศพได้เพิ่มจำนวน 9 ศพ
2. การเก็บสิ่งปรักหักพัง และการกู้ซากต่างๆ จังหวัดพังงา ได้ดำเนินการเก็บซากสิ่งปรักหักพังโดยแบ่งออกเป็น 4 โซน ซึ่งการดำเนินการแล้วเสร็จ โซน 1 บริเวณบ้านน้ำเค็ม-หน้าโรงเรียนบ้านบางสัก และคงเหลือ 3 โซน โดยมีผลการดำเนินการ ณ วันที่ 23 มกราคม 2548 ดังนี้
โซนที่ 2 หน้าโรงเรียนบ้านบางสัก — สำนักสงฆ์ปริยัติธรรม บ้านบางเนียง โดยมีรองเจ้ากรมการทหารช่างเป็นผู้รับผิดชอบหลัก ผลการดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 91
โซนที่ 3 สำนักสงฆ์ปริยัติธรรม บ้านบางเนียง — ทางเข้าหาดนางทอง โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานบำรุงทางพังงา เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ผลการดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 75
โซนที่ 4 ทางเข้าหาดนางทอง - บริเวณทางเข้าโรงแรมเขาหลักเมอร์ลิน โดยมีผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ผลการดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 98.68
3. การช่วยเหลือด้านสาธารณูปโภค
3.1 จังหวัดพังงาได้มีการปรับปรุงระบบไฟฟ้า โดยสำนักงานไฟฟ้าภูมิภาคพังงาดำเนินการซ่อมระบบ
จำหน่ายหลักแล้วเสร็จ ในจุดบ้านพักของราษฎรที่ฟื้นฟูแล้ว กระแสไฟฟ้าสามารถพร้อมจ่ายทุกหลังระบบประปาดำเนินการในภาพรวมได้ร้อยละ 95 และระบบโทรศัพท์พร้อมเปิดให้ผู้ใช้บริการแจ้งความประสงค์ขอเปิดใช้บริการ
3.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ยังดำเนินการแจกจ่ายน้ำสะอาดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดำเนินการซ่อมบำรุงระบบประปาสนามให้ใช้การได้
4. การดำเนินการช่วยเหลือด้านที่พักอาศัย
4.1 ด้านที่พักชั่วคราว จังหวัดพังงาได้ดำเนินการสร้างที่พักชั่วคราวจำนวน 18 แห่ง 2,448 หลัง เพื่อรองรับผู้ประสบภัยที่ไม่มีที่อยู่อาศัย โดยมีหลายหน่วยงานเข้าร่วมดำเนินการ ประกอบด้วย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองทัพบก กองทัพเรือ มูลนิธิศุภนิมิตร มูลนิธิรักษ์ไทย โดยมีผู้เข้าอาศัยทั้งหมดแล้ว
4.2 ด้านบ้านพักถาวร อยู่ระหว่างการปรับพื้นที่และเริ่มดำเนินการก่อสร้าง โดยมีชาวบ้านขอรับเงินเพื่อสร้างบ้านใหม่เองทั้งหลัง จำนวน 14 ราย จากบ้านที่เสียหายทั้งหมดจำนวน 2,563 หลัง สำหรับการซ่อมแซมบ้าน ดำเนินการได้จำนวน 59 หลัง จาก 2,052 หลัง ทั้งนี้สำหรับบ้านพักถาวรมีผู้ประสงค์จัดสร้างให้เกินจำนวนผู้ที่ได้รับเสียหายแล้ว
5. การฟื้นฟูด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.1 จังหวัดพังงาได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานฟื้นฟูพื้นที่ โดยมีการวางแผน
ดำเนินการปรับปรุงทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณชายหาดให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
5.2 แหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อน กรมควบคุมมลพิษร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
และผู้เชี่ยวชาญจากรัฐมิชิแกน ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพแหล่งน้ำดิบ โดยการบำบัดน้ำและฆ่าเชื้อบริเวณแหล่งน้ำต่างๆ และทำการตรวจหาเชื้อ E.Coli , Entercoccl, และ Parasit ในบ่อน้ำตื้นที่อาจเป็นอันตรายต่อประชาชนในท้องที่ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า
5.3 การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นอุทยานแห่งชาติในพื้นที่จังหวัดพังงาซึ่งได้รับผลกระทบ กระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำเนินการ Clean up โดยมีอุทยานแห่งชาติที่เปิดทำการได้แล้วตามปกติคือ อุทยานแห่งชาติหาดลำปี-หาดท้ายเหมือง เปิดดำเนินการได้บางส่วนคือ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน และเขาหลัก-ลำรู่ และที่ยังเปิดทำการไม่ได้คือ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
5.4 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการตรวจสอบพื้นที่เกาะระ-เกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์ พบว่ามีการทับถมของตะกอนที่พัดพามาจากทะเล ซึ่งมีความหนาตั้งแต่ 10 เซนติเมตร ถึง 11 เซนติเมตร ตามระยะห่างจากชายฝั่ง และพบว่ามีคราบผลึกเกลือซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาดินเค็มและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ จึงได้ดำเนินการนำตัวอย่างตะกอนไปวิเคราะห์หาปริมาณเกลือที่แน่นอนเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 มกราคม 2548--จบ--
1. การค้นหาและเก็บศพผู้เสียชีวิต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบให้กองทัพบกปฏิบัติการค้นหา
ผู้ประสบภัยในพื้นที่ ตั้งแต่บ้านคอเขาถึงบ้านเขาหลักซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการค้นหาผู้ประสบภัยพิบัติที่คาดว่ายังตกค้างอยู่ โดยถือว่าเป็นการตรวจสอบครั้งใหญ่ให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ ซึ่งกองทัพบกได้สนธิกำลังจากหน่วยสงครามพิเศษ ศูนย์การทหารราบ และชุดสุนัขสงคราม เข้าปฏิบัติการค้นหาพิสูจน์ทราบทั่วบริเวณ รวมทั้งจัดมนุษย์กบสำรวจแหล่งน้ำ โดยจัดลำดับความเร่งด่วนในการค้นหาให้กับพื้นที่ที่มีผู้มาให้ข้อมูลว่าน่าจะมีศพผู้เสียชีวิตอยู่ในพื้นที่นั้น และกำหนดเวลาในการปฏิบัติการตั้งแต่ 22 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2548 ผลการปฏิบัติการจนถึงวันที่ 24 มกราคม 2548 สามารถเก็บกู้ศพได้เพิ่มจำนวน 9 ศพ
2. การเก็บสิ่งปรักหักพัง และการกู้ซากต่างๆ จังหวัดพังงา ได้ดำเนินการเก็บซากสิ่งปรักหักพังโดยแบ่งออกเป็น 4 โซน ซึ่งการดำเนินการแล้วเสร็จ โซน 1 บริเวณบ้านน้ำเค็ม-หน้าโรงเรียนบ้านบางสัก และคงเหลือ 3 โซน โดยมีผลการดำเนินการ ณ วันที่ 23 มกราคม 2548 ดังนี้
โซนที่ 2 หน้าโรงเรียนบ้านบางสัก — สำนักสงฆ์ปริยัติธรรม บ้านบางเนียง โดยมีรองเจ้ากรมการทหารช่างเป็นผู้รับผิดชอบหลัก ผลการดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 91
โซนที่ 3 สำนักสงฆ์ปริยัติธรรม บ้านบางเนียง — ทางเข้าหาดนางทอง โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานบำรุงทางพังงา เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ผลการดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 75
โซนที่ 4 ทางเข้าหาดนางทอง - บริเวณทางเข้าโรงแรมเขาหลักเมอร์ลิน โดยมีผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ผลการดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 98.68
3. การช่วยเหลือด้านสาธารณูปโภค
3.1 จังหวัดพังงาได้มีการปรับปรุงระบบไฟฟ้า โดยสำนักงานไฟฟ้าภูมิภาคพังงาดำเนินการซ่อมระบบ
จำหน่ายหลักแล้วเสร็จ ในจุดบ้านพักของราษฎรที่ฟื้นฟูแล้ว กระแสไฟฟ้าสามารถพร้อมจ่ายทุกหลังระบบประปาดำเนินการในภาพรวมได้ร้อยละ 95 และระบบโทรศัพท์พร้อมเปิดให้ผู้ใช้บริการแจ้งความประสงค์ขอเปิดใช้บริการ
3.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ยังดำเนินการแจกจ่ายน้ำสะอาดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดำเนินการซ่อมบำรุงระบบประปาสนามให้ใช้การได้
4. การดำเนินการช่วยเหลือด้านที่พักอาศัย
4.1 ด้านที่พักชั่วคราว จังหวัดพังงาได้ดำเนินการสร้างที่พักชั่วคราวจำนวน 18 แห่ง 2,448 หลัง เพื่อรองรับผู้ประสบภัยที่ไม่มีที่อยู่อาศัย โดยมีหลายหน่วยงานเข้าร่วมดำเนินการ ประกอบด้วย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองทัพบก กองทัพเรือ มูลนิธิศุภนิมิตร มูลนิธิรักษ์ไทย โดยมีผู้เข้าอาศัยทั้งหมดแล้ว
4.2 ด้านบ้านพักถาวร อยู่ระหว่างการปรับพื้นที่และเริ่มดำเนินการก่อสร้าง โดยมีชาวบ้านขอรับเงินเพื่อสร้างบ้านใหม่เองทั้งหลัง จำนวน 14 ราย จากบ้านที่เสียหายทั้งหมดจำนวน 2,563 หลัง สำหรับการซ่อมแซมบ้าน ดำเนินการได้จำนวน 59 หลัง จาก 2,052 หลัง ทั้งนี้สำหรับบ้านพักถาวรมีผู้ประสงค์จัดสร้างให้เกินจำนวนผู้ที่ได้รับเสียหายแล้ว
5. การฟื้นฟูด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.1 จังหวัดพังงาได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานฟื้นฟูพื้นที่ โดยมีการวางแผน
ดำเนินการปรับปรุงทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณชายหาดให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
5.2 แหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อน กรมควบคุมมลพิษร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
และผู้เชี่ยวชาญจากรัฐมิชิแกน ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพแหล่งน้ำดิบ โดยการบำบัดน้ำและฆ่าเชื้อบริเวณแหล่งน้ำต่างๆ และทำการตรวจหาเชื้อ E.Coli , Entercoccl, และ Parasit ในบ่อน้ำตื้นที่อาจเป็นอันตรายต่อประชาชนในท้องที่ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า
5.3 การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นอุทยานแห่งชาติในพื้นที่จังหวัดพังงาซึ่งได้รับผลกระทบ กระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำเนินการ Clean up โดยมีอุทยานแห่งชาติที่เปิดทำการได้แล้วตามปกติคือ อุทยานแห่งชาติหาดลำปี-หาดท้ายเหมือง เปิดดำเนินการได้บางส่วนคือ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน และเขาหลัก-ลำรู่ และที่ยังเปิดทำการไม่ได้คือ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
5.4 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการตรวจสอบพื้นที่เกาะระ-เกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์ พบว่ามีการทับถมของตะกอนที่พัดพามาจากทะเล ซึ่งมีความหนาตั้งแต่ 10 เซนติเมตร ถึง 11 เซนติเมตร ตามระยะห่างจากชายฝั่ง และพบว่ามีคราบผลึกเกลือซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาดินเค็มและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ จึงได้ดำเนินการนำตัวอย่างตะกอนไปวิเคราะห์หาปริมาณเกลือที่แน่นอนเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 มกราคม 2548--จบ--