แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
รัฐวิสาหกิจ
รัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--2 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานการติดตามผลการลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2541 ภายใต้เงื่อนไขกองทุนการเงินระหว่างประเทศ สรุปได้ดังนี้
1. สศช. ได้กำกับติดตามการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับวงเงิน RI ที่คาดว่าจะจัดหาได้ เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบของ IMF ที่ให้ฐานะโดยรวมขาดดุลร้อยละ 0.6 ของ GDP จากรายงานประจำเดือนที่รัฐวิสาหกิจจัดส่งให้เป็นประจำทุกเดือน และได้มีหนังสือแจ้งให้รัฐวิสาหกิจบางแห่งลดหรือระงับการจ่ายลงทุนในกรณีที่ไม่สามารถจัดหา RI ได้ตามเป้าหมาย เพื่อให้การลงทุนในภาพรวมสอดคล้องกับเงื่อนไขที่ IMF กำหนด ซึ่งรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ได้ให้ความร่วมมือในการควบคุมการเบิกจ่ายลงทุนให้สอดคล้องกับ RI ที่จะสามารถจัดหาได้
2. จากการประมวลข้อมูลเบื้องต้น ณ 31 สิงหาคม 2541 พบว่าผลการดำเนินงานทั้งปี รัฐวิสาหกิจจะจ่ายลงทุนต่ำกว่ากรอบ (185,141 ล้านบาท) คือ จะจ่ายเพียงประมาณ 175,000 ล้านบาท ในขณะที่สามารถจัดหา RI ได้ประมาณ 149,000 ล้านบาท ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม (164,022 ล้านบาท) ซึ่งจะทำให้ฐานะของรัฐวิสาหกิจโดยรวมขาดดุลเพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 0.4 ของ GDP เป็นประมาณร้อยละ 0.5 ของ GDP
3. เนื่องจากความจำเป็นทางด้านการคลังและงบประมาณ กระทรวงการคลังได้แจ้งให้รัฐวิสาหกิจบางแห่งส่งเงินรายได้เข้ารัฐเพิ่มเติม ในระหว่างวันที่ 28 - 30 กันยายน 2541 เป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น ประมาณ 6,187 ล้านบาท ส่งผลให้การจัดหา RI และฐานะโดยรวมของรัฐวิสาหกิจเปลี่ยนไปจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนสิงหาคม 2541 คือมี RI ลดลงจากประมาณการ 149,000 ล้านบาท เหลือเพียง 141,769 ล้านบาท และทำให้ฐานะของรัฐวิสาหกิจขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 0.66 ของ GDP ตามผลการรายงานประจำเดือนของรัฐวิสาหกิจที่ส่งให้ สศช. ล่าสุด ณ 22 ตุลาคม 2541
ตาราง : สรุปผลการดำเนินงานจริง
ประมาณการ ผลการดำเนินงานจริง
ณ 31 สิงหาคม ณ 30 กันยายน
1. GDP (พันล้านบาท) 4,910 4,910
2. RI ที่คาดว่าจะจัดหาได้ (ล้านบาท) 149,000 141,769
3. เบิกจ่ายลงทุน (ล้านบาท) 175,000 174,138
4. ฐานะโดยรวมขาดดุล ร้อยละของ GDP 0.53 0.66
อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่าการจัดหารายได้และเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2541 ยังเป็นไปตามพันธะกรณีที่รัฐบาลมีกับ IMF ใน LOI ฉบับที่ 4 ที่กำหนดให้รัฐวิสาหกิจในภาพรวมดำรงฐานะขาดดุลได้ประมาณร้อยละ 0.6 ของ GDP
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 พฤศจิกายน 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานการติดตามผลการลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2541 ภายใต้เงื่อนไขกองทุนการเงินระหว่างประเทศ สรุปได้ดังนี้
1. สศช. ได้กำกับติดตามการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับวงเงิน RI ที่คาดว่าจะจัดหาได้ เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบของ IMF ที่ให้ฐานะโดยรวมขาดดุลร้อยละ 0.6 ของ GDP จากรายงานประจำเดือนที่รัฐวิสาหกิจจัดส่งให้เป็นประจำทุกเดือน และได้มีหนังสือแจ้งให้รัฐวิสาหกิจบางแห่งลดหรือระงับการจ่ายลงทุนในกรณีที่ไม่สามารถจัดหา RI ได้ตามเป้าหมาย เพื่อให้การลงทุนในภาพรวมสอดคล้องกับเงื่อนไขที่ IMF กำหนด ซึ่งรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ได้ให้ความร่วมมือในการควบคุมการเบิกจ่ายลงทุนให้สอดคล้องกับ RI ที่จะสามารถจัดหาได้
2. จากการประมวลข้อมูลเบื้องต้น ณ 31 สิงหาคม 2541 พบว่าผลการดำเนินงานทั้งปี รัฐวิสาหกิจจะจ่ายลงทุนต่ำกว่ากรอบ (185,141 ล้านบาท) คือ จะจ่ายเพียงประมาณ 175,000 ล้านบาท ในขณะที่สามารถจัดหา RI ได้ประมาณ 149,000 ล้านบาท ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม (164,022 ล้านบาท) ซึ่งจะทำให้ฐานะของรัฐวิสาหกิจโดยรวมขาดดุลเพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 0.4 ของ GDP เป็นประมาณร้อยละ 0.5 ของ GDP
3. เนื่องจากความจำเป็นทางด้านการคลังและงบประมาณ กระทรวงการคลังได้แจ้งให้รัฐวิสาหกิจบางแห่งส่งเงินรายได้เข้ารัฐเพิ่มเติม ในระหว่างวันที่ 28 - 30 กันยายน 2541 เป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น ประมาณ 6,187 ล้านบาท ส่งผลให้การจัดหา RI และฐานะโดยรวมของรัฐวิสาหกิจเปลี่ยนไปจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนสิงหาคม 2541 คือมี RI ลดลงจากประมาณการ 149,000 ล้านบาท เหลือเพียง 141,769 ล้านบาท และทำให้ฐานะของรัฐวิสาหกิจขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 0.66 ของ GDP ตามผลการรายงานประจำเดือนของรัฐวิสาหกิจที่ส่งให้ สศช. ล่าสุด ณ 22 ตุลาคม 2541
ตาราง : สรุปผลการดำเนินงานจริง
ประมาณการ ผลการดำเนินงานจริง
ณ 31 สิงหาคม ณ 30 กันยายน
1. GDP (พันล้านบาท) 4,910 4,910
2. RI ที่คาดว่าจะจัดหาได้ (ล้านบาท) 149,000 141,769
3. เบิกจ่ายลงทุน (ล้านบาท) 175,000 174,138
4. ฐานะโดยรวมขาดดุล ร้อยละของ GDP 0.53 0.66
อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่าการจัดหารายได้และเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2541 ยังเป็นไปตามพันธะกรณีที่รัฐบาลมีกับ IMF ใน LOI ฉบับที่ 4 ที่กำหนดให้รัฐวิสาหกิจในภาพรวมดำรงฐานะขาดดุลได้ประมาณร้อยละ 0.6 ของ GDP
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 พฤศจิกายน 2541--