ทำเนียบรัฐบาล--25 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการพัฒนาฝีมือแรงงาน (พ.ศ. 2540 - 2544) ตามที่ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมดำเนินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพ การพัฒนาฝีมือแรงงาน (พ.ศ. 2540 - 2544) โดยใช้เงินกู้ธนาคารพัฒนาเอเชีย วงเงิน 80 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 2,000 ล้านบาท) และงบประมาณสมทบจากรัฐบาล วงเงิน 73 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ (ประมาณ 1,825 ล้านบาท)
2. อนุมัติการจัดตั้งองค์กรบริหารโครงการ เพื่อทำหน้าที่บริหารและประสานการดำเนิน โครงการดังกล่าวดังนี้
2.1 หน่วยดำเนินโครงการ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโครงการ 1 คน รองผู้อำ นวยการโครงการ 2 คน เพื่อรับผิดชอบด้านการเงินและการบริหาร การฝึกอาชีพและการติดตามผล โครงการ และมีเจ้าหน้าที่ประจำโครงการในด้านต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
2.2 คณะกรรมการประสานงานโครงการ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัส ดิการสังคม อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้แทนจากกรมการจัดหางาน ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการ ภาคเอกชน และอื่น ๆ ตามความเหมาะสม โดยมีผู้อำนวยการโครงการเป็น เลขานุการคณะกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ จะรับผิดชอบ
1) ประสานงานกิจกรรมตามโครงการระหว่างกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสัง คมกับหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
2) ทบทวนและอนุมัติการปรับนโยบาย
3) ติดตามความคืบหน้าของโครงการ
4) ทบทวนและอนุมัติแผนดำเนินโครงการประจำปี
สำหรับโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการพัฒนาฝีมือแรงงาน (พ.ศ. 2540 - 2544) มี วัตถุประสงค์ที่จะผลิตกำลังแรงงานฝีมือและกึ่งฝีมือเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ดังนี้
1. ปรับปรุงคุณภาพของระบบการพัฒนาฝีมือแรงงานให้คนงานมีความรู้และทักษะที่สอดคล้อง กับความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการมีงานทำและการได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น และ เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม
2. ปรับปรุงและขยายประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในการจัดฝึก อบรมแก่ แรงงานกลุ่มเป้าหมายทั้งในหลักสูตรการฝึกเตรียมเข้าทำงาน ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน และฝึก เคลื่อนที่ในชนบท
3. เสริมขีดความสามารถของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในการวางแผนการจัดการโครงการ และแผน และการประสานงานกับภาครัฐและเอกชน โดยใช้ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี (พ.ศ. 2540 - 2544) มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
1) ปรับปรุงด้านมาตรฐานฝีมือแรงงาน
2) ปรับปรุงด้านการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการผลิตสื่อและเครื่องมือช่วยสอน
3) ปรับปรุงระบบการพัฒนาอาชีพ
4) ปรับปรุงด้านการประชาสัมพันธ์
5) ปรับปรุงด้านการวิจัยและพัฒนา
6) จัดตั้งหน่วยผลิตเป็นโครงการนำร่อง เพื่อสนับสนุนให้ผู้รับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ประ สบการณ์ในภาคอุตสาหกรรมก่อนการเข้าทำงานจริง
7)เสริมประสิทธิภาพด้านการวางแผนและการจัดการด้วยการช่วยในการจัดเตรียม แผนระยะกลาง และแผนประจำปีสำหรับการจัดฝึกอบรม
8) ปรับปรุงและพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีความชำนาญด้านต่าง ๆ
9) ปรับปรุงด้านเครื่องจักร อุปกรณ์การฝึกอบรมให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับเทคโน โลยีในปัจจุบันตามระดับโครงสร้างการฝึก คือ เทคโนโลยีระดับพื้นฐานในศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน ระ ดับกลางในสถาบันพัฒนาฝีมือ แรงงานภูมิภาค และระดับสูงในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานกลาง
10) ส่งเสริมและปรับปรุงการประสานงานกับภาคเอกชนและหน่วยงานเกี่ยวข้องอื่น ๆ
3. ค่าใช้จ่ายของโครงการ ค่าใช้จ่ายรวมวงเงิน 153 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประกอบด้วยค่า ใช้จ่ายในรูปเงินตราต่างประเทศร้อยละ 63.0 และค่าใช้จ่ายในรูปเงินบาทร้อยละ 37.0 โดยมีแหล่ง เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชียร้อยละ 52.3 และรัฐบาลไทยร้อยละ 47.7
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 24 กันยายน 2539--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการพัฒนาฝีมือแรงงาน (พ.ศ. 2540 - 2544) ตามที่ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมดำเนินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพ การพัฒนาฝีมือแรงงาน (พ.ศ. 2540 - 2544) โดยใช้เงินกู้ธนาคารพัฒนาเอเชีย วงเงิน 80 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 2,000 ล้านบาท) และงบประมาณสมทบจากรัฐบาล วงเงิน 73 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ (ประมาณ 1,825 ล้านบาท)
2. อนุมัติการจัดตั้งองค์กรบริหารโครงการ เพื่อทำหน้าที่บริหารและประสานการดำเนิน โครงการดังกล่าวดังนี้
2.1 หน่วยดำเนินโครงการ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโครงการ 1 คน รองผู้อำ นวยการโครงการ 2 คน เพื่อรับผิดชอบด้านการเงินและการบริหาร การฝึกอาชีพและการติดตามผล โครงการ และมีเจ้าหน้าที่ประจำโครงการในด้านต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
2.2 คณะกรรมการประสานงานโครงการ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัส ดิการสังคม อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้แทนจากกรมการจัดหางาน ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการ ภาคเอกชน และอื่น ๆ ตามความเหมาะสม โดยมีผู้อำนวยการโครงการเป็น เลขานุการคณะกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ จะรับผิดชอบ
1) ประสานงานกิจกรรมตามโครงการระหว่างกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสัง คมกับหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
2) ทบทวนและอนุมัติการปรับนโยบาย
3) ติดตามความคืบหน้าของโครงการ
4) ทบทวนและอนุมัติแผนดำเนินโครงการประจำปี
สำหรับโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการพัฒนาฝีมือแรงงาน (พ.ศ. 2540 - 2544) มี วัตถุประสงค์ที่จะผลิตกำลังแรงงานฝีมือและกึ่งฝีมือเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ดังนี้
1. ปรับปรุงคุณภาพของระบบการพัฒนาฝีมือแรงงานให้คนงานมีความรู้และทักษะที่สอดคล้อง กับความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการมีงานทำและการได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น และ เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม
2. ปรับปรุงและขยายประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในการจัดฝึก อบรมแก่ แรงงานกลุ่มเป้าหมายทั้งในหลักสูตรการฝึกเตรียมเข้าทำงาน ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน และฝึก เคลื่อนที่ในชนบท
3. เสริมขีดความสามารถของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในการวางแผนการจัดการโครงการ และแผน และการประสานงานกับภาครัฐและเอกชน โดยใช้ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี (พ.ศ. 2540 - 2544) มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
1) ปรับปรุงด้านมาตรฐานฝีมือแรงงาน
2) ปรับปรุงด้านการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการผลิตสื่อและเครื่องมือช่วยสอน
3) ปรับปรุงระบบการพัฒนาอาชีพ
4) ปรับปรุงด้านการประชาสัมพันธ์
5) ปรับปรุงด้านการวิจัยและพัฒนา
6) จัดตั้งหน่วยผลิตเป็นโครงการนำร่อง เพื่อสนับสนุนให้ผู้รับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ประ สบการณ์ในภาคอุตสาหกรรมก่อนการเข้าทำงานจริง
7)เสริมประสิทธิภาพด้านการวางแผนและการจัดการด้วยการช่วยในการจัดเตรียม แผนระยะกลาง และแผนประจำปีสำหรับการจัดฝึกอบรม
8) ปรับปรุงและพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีความชำนาญด้านต่าง ๆ
9) ปรับปรุงด้านเครื่องจักร อุปกรณ์การฝึกอบรมให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับเทคโน โลยีในปัจจุบันตามระดับโครงสร้างการฝึก คือ เทคโนโลยีระดับพื้นฐานในศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน ระ ดับกลางในสถาบันพัฒนาฝีมือ แรงงานภูมิภาค และระดับสูงในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานกลาง
10) ส่งเสริมและปรับปรุงการประสานงานกับภาคเอกชนและหน่วยงานเกี่ยวข้องอื่น ๆ
3. ค่าใช้จ่ายของโครงการ ค่าใช้จ่ายรวมวงเงิน 153 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประกอบด้วยค่า ใช้จ่ายในรูปเงินตราต่างประเทศร้อยละ 63.0 และค่าใช้จ่ายในรูปเงินบาทร้อยละ 37.0 โดยมีแหล่ง เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชียร้อยละ 52.3 และรัฐบาลไทยร้อยละ 47.7
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 24 กันยายน 2539--