ทำเนียบรัฐบาล--9 ธ.ค.--บิสนิวส์
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 อนุมัติในหลักการและเงื่อนไขการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2540 คณะรัฐมนตรีได้รับทราบรายงานผลการเจรจาขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการและการเงินจากกองทุนฯ พร้อมทั้งอนุมัติในหลักการให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยกู้เงินจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ และสถาบันการเงินในตลาดเงินทุนต่างประเทศ ตามหลักการที่กระทรวงการคลังเสนอในวงเงิน 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ นั้นกระทรวงการคลังได้รายงานผลการดำเนินการกู้เงินจากธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเซีย วงเงิน 2,700ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนี้
1. ภายใต้กรอบการรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเซียได้ผูกพันที่จะให้เงินกู้แก่ประเทศไทยในวงเงิน 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ และวงเงิน 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ โดยเงินกู้แต่ละแหล่งจะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
เงินกู้ (1) เงินกู้ (2)ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เพื่อปรับโครงสร้าง รวมธนาคารโลกธนาคารพัฒนาเอเซีย รวม 600600 1,200 900600 1,500 1,5001,200หมายเหตุ : (1) เป็นเงินกู้สำหรับโครงการที่ได้ผูกพันแล้ว (Ongoing Projects)
(2) เป็นเงินกู้ที่จะผูกพันใหม่ภายใต้กรอบความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
หรือเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural Adjustment Loan - SAL)
2. สำหรับเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากธนาคารพัฒนาเอเซีย วงเงิน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ จะแยกออกเป็น
2.1 โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างและปฏิรูปตลาดการเงิน วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ
2.2 โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างและปฏิรูปภาคสังคม วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในชั้นแรก ได้กำหนดจะกู้เงินสำหรับโครงการที่ 2.1 ก่อน โดยกระทรวงการคลังในนามราชอาณาจักรไทย มีพันธะที่จะต้องจัดทำหนังสือแสดงเจตจำนงนโยบายเพื่อการพัฒนา (Development Policy Letter - DPL) เพื่อแสดงความตั้งใจจริงของฝ่ายไทยที่จะดำเนินการตามนโยบายและมาตรการในการฟื้นฟูและปฏิรูปตลาดการเงินตามที่กำหนดไว้ในกรอบมาตรการด้านนโยบาย (Policy Matrix) ซึ่งธนาคารฯ จะใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติเงินกู้และถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินด้วย ประกอบกับกระทรวงการคลังมีความจำเป็นต้องเบิกเงินกู้ดังกล่าวโดยด่วน จึงได้ประสานงานกับธนาคารฯ เพื่อให้สามารถเสนอคณะกรรมการบริหารของธนาคารฯ พิจารณาอนุมัติเงินกู้นี้ได้ในโอกาสแรกคือ วันที่ 19 ธันวาคม 2540 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุมคณะกรรมการบริหารธนาคารฯ ในปี 2540
ในการนี้ คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง เรื่อง หนังสือแสดงเจตจำนงขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารพัฒนาเอเซียและรายงานผลการเจรจากู้เงินสำหรับโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างและปฏิรูปตลาดการเงินแล้ว มีมติดังนี้
1. เห็นชอบตามที่ธนาคารพัฒนาเอเซียกำหนดให้คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการในเรื่องต่าง ๆ ที่ปรากฏในกรอบมาตรการด้านนโยบาย (Policy Matrix) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 ก่อนที่สัญญากู้เงินจะมีผลบังคับใช้ ผู้กู้จะต้องดำเนินการแก้ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทเงินทุนและฟื้นฟูสภาพคล่องของบริษัทเงินทุน โดยจะต้องประเมินผลแผนการฟื้นฟูบริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินการทั้ง 58 แห่งให้แล้วเสร็จ พร้อมกับกำหนดให้องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (FRA) จะต้องพิจารณาตัดสินเกี่ยวกับแผนดังกล่าวด้วย
1.2 ก่อนที่สัญญากู้เงินจะมีผลบังคับใช้ ผู้กู้จะต้องดำเนินการในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการกำกับดูแลและกฎระเบียบต่าง ๆ ของตลาดการเงิน ดังนี้
1) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการเพื่อให้มีการปรับโครงสร้างคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ให้มีความอิสระ ภายใต้หลักการคือ
- กรรมการของ กลต. ส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา รวมทั้งประธานกรรมการด้วย
- กรรมการจำนวนไม่เกิน 5 คน ต้องมาจากสาขาการเงินที่แตกต่างกัน
โดยก่อนดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กลต. จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ 1) กรรมการ 3 ใน 11 คน ต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา 2) กรรมการอย่างน้อย 4 คน ที่ปฏิบัติงานไม่เต็มเวลาจะต้องมาจากสาขาการเงินที่แตกต่างกัน และ 3) กรรมการที่ปฏิบัติงานไม่เต็มเวลาไม่เกิน 4 คน มาจากผู้แทนภาครัฐ รวมทั้งประธานกรรมการด้วยทั้งนี้ ได้กำหนดให้ผู้กู้ต้องดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างของคณะกรรมการให้เป็นไปตามหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ ภายในเดือนธันวาคม 2541
2) คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการให้อำนาจอิสระแก่ กลต. ในการออกและถอดถอนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ภายในเดือนธันวาคม 2541 ผู้กู้จะต้องดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ เพื่อให้ กลต.มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในเรื่องดังกล่าว
3) กำหนดให้การเปิดเผยข้อมูลมีความโปร่งใส โดย กลต. จะต้องออกกฎให้บริษัทจดทะเบียนจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบบัญชีที่เป็นที่เชื่อถือได้
4) การเพิ่มความรับผิดชอบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และเพื่อความโปร่งใสและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน กลต. ต้องกำหนดหลักเกณฑ์แนวปฏิบัติเพื่อให้ ตลท. เป็นองค์กรที่กำกับดูแลตนเอง (Self -Regulation Organization - SRO) โดยภายในเดือนธันวาคม 2541 กลต. ต้องแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความอิสระแก่ ตลท.
อย่างไรก็ตาม คณะผู้แทนไทยได้แจ้งให้คณะผู้แทนธนาคารฯ ที่ร่วมเจรจาทราบว่า กระบวนการในการแก้ไขกฎหมายต้องผ่านหลายขั้นตอน และใช้เวลา ดังนั้น การที่ธนาคารฯ กำหนดให้ผุ้กู้ดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2541 นั้น จะมีเงื่อนไขของเวลาที่จำกัดมาเกี่ยวข้องซึ่งคณะผู้แทนของธนาคารฯ รับทราบความเห็นของไทยเกี่ยวกับข้อจำกัดดังกล่าว
1.3 ปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงโดยเสนอให้เพิ่มความเข้มงวดของกฎข้อบังคับสำหรับบริษัทหลักทรัพย์และให้มีเครื่องมือลดความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Hedging Mechanism) คือ
1) กลต. จะต้องดำเนินการออกกฎปรับปรุงมูลค่าหลักทรัพย์ให้เป็นปัจจุบันตามราคาตลาด (Mark - to - Market) และออกกฎการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Margin Lending)
2) โดยให้ กลต. ต้องนำเสนอพระราชบัญญัติอนุพันธ์และตลาดอนุพันธ์ พร้อมทั้งกำหนดกรอบการกำกับดูแลธุรกรรมขายชอร์ตและการยืมหลักทรัพย์ (Short - Selling)
1.4 พัฒนาตลาดหนี้ ตลาดของหลักทรัพย์ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กและตลาดทุน โดยกำหนดให้กระทรวงการคลังต้องจัดทำแผนและทบทวนภาษีต่าง ๆ พร้อมทั้งขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติถือครองหุ้นในธุรกิจหลักทรัพย์ และอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์เหล่านั้นสามารถดำเนินธุรกิจนายหน้าและอนุญาตผู้จัดจำหน่ายได้ภายในเดือนธันวาคม 2541
1.5 กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
1) คณะรัฐมนตรีต้องอนุมัติในหลักการให้มีหน่วยงานกลางของรัฐบาลที่เป็นศูนย์กลางและมีความอิสระในการกำกับดูแลและบริหารงานเกี่ยวกับการรวมระบบกองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยกำหนดให้กระทรวงการคลังร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ (ภายใต้โครงการที่ธนาคารให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแบบให้เปล่าข้างต้น) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของการรวมระบบดังกล่าวเพื่อให้ทั้งระบบมีความสมดุลและให้เงินทุนไหลสู่ตลาดทุน
2) ผู้กู้ต้องดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพของกองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีและการกำกับดูแล
2. มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือแสดงเจตจำนงนโยบายเพื่อการพัฒนา (Development Policy Letter) เพื่อจักได้จัดส่งให้ธนาคารพัฒนาเอเซียต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาจัดทำร่างหนังสือเจตจำนงเกี่ยวกับนโยบายพัฒนา (DPL) ด้านตลาดการเงิน เพื่อขอรับความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการจากธนาคารฯ เพื่อให้สอดคล้องวัตถุประสงค์ 4 ประการ ที่ธนาคารฯ เห็นชอบในการปฏิรูปตลาดการเงิน คือ
1) เสริมสร้างความแข็งแกร่งของกฎระเบียบและการกำกับดูแลของตลาดหลักทรัพย์
2) ปรับปรุงการบริหารความเสี่ยง
3) อำนวยความสะดวกในการเข้าสู่ตลาดการเงินในประเทศของผู้ลงทุนและผู้ออกตราสาร
4) พัฒนาแหล่งทุนระยะยาวจากสถาบันต่าง ๆ โดยการส่งเสริมระบบกองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุน
สำรองเลี้ยงชีพ3. อนุมัติเงื่อนไขตามร่างสัญญากู้เงิน ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ผู้กู้ : กระทรวงการคลังในนามราชอาณาจักรไทยผู้ให้กู้ : ธนาคารพัฒนาเอเซียวงเงิน : เป็นเงินกู้สกุลเงินเหรียญสหรัฐ ในวงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐระยะเวลากู้เงิน : ประมาณ 15 ปี (รวมระยะเวลาปลอดหนี้ 3 ปี)การชำระคืนเงินกู้ : แบ่งเป็น 24 งวด กำหนดชำระปีละ 2 ครั้ง ทุก ๆ 6 เดือน โดยเริ่มชำระคืนต้นเงินกู้งวดแรก
ในวันที่ 15 มกราคม 2544 และชำระคืนต้นเงินกู้งวดสุดท้ายภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2555ระยะเวลาเบิกจ่ายเงินกู้ : ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เงินกู้ยืมมีผลบังคับใช้ โดยสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งจำนวนเพียง
1 งวดค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ : อัตราร้อยละ 0.75 ต่อปี ของวงเงินกู้ที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายอัตราดอกเบี้ย : กำหนดตามอัตราที่ธนาคารฯ ประกาศ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงทุก 6 เดือน (1 มกราคม และ
1 กรกฎาคมของทุกปี) โดยคำนวณตามอัตราต้นทุนการกู้เงินของธนาคารฯ บวกค่าบริการและ
ส่วนต่างอีกร้อยละ 0.4 (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.82 ต่อปี)ระยะเวลาโครงการ : สิ้นสุดการดำเนินโครงการ วันที่ 31 ธันวาคม 2542ความช่วยเหลือทางวิชาการ : จำนวน 2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อนำมาใช้จ่ายตามโครงการศึกษาและฝึกอบรมภายใต้แบบให้เปล่า 1) โครงการเพิ่มสมรรถนะในการเปิดเผยข้อมูล
2) โครงการปฏิรูปกองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
3) โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เงื่อนไขอื่น ๆ : ธนาคารฯ กำหนดเงื่อนไขที่ผู้กู้จะต้องดำเนินการก่อนสัญญามีผลบังคับใช้ (คาดว่าในวันที่
19 ธันวาคม 2540) และก่อนสิ้นสุดโครงการ (วันที่ 31 ธันวาคม 2542)
4. อนุมัติให้กระทรวงการคลังในนามราชอาณาจักรไทยกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเซียในวงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ พ.ศ. 2519 เพื่อใช้ในการดำเนินงานตามโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างและปฏิรูปตลาดการเงิน โดยขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายเป็นผู้ลงนามในสัญญากู้เงินรวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยที่การขออนุมัติให้กระทรวงการคลังกู้เงินดังกล่าวเป็นการก่อหนี้ ก่อนที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปี 2541 ดังนั้น จึงขอให้นับรวมวงเงินกู้ดังกล่าวไว้ในแผนการก่อหนี้ฯ ประจำปีงบประมาณ 2541 ด้วย
5. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดเตรียมทำความเห็นทางกฎหมายโดยด่วนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 ธันวาคม 2540--
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 อนุมัติในหลักการและเงื่อนไขการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2540 คณะรัฐมนตรีได้รับทราบรายงานผลการเจรจาขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการและการเงินจากกองทุนฯ พร้อมทั้งอนุมัติในหลักการให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยกู้เงินจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ และสถาบันการเงินในตลาดเงินทุนต่างประเทศ ตามหลักการที่กระทรวงการคลังเสนอในวงเงิน 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ นั้นกระทรวงการคลังได้รายงานผลการดำเนินการกู้เงินจากธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเซีย วงเงิน 2,700ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนี้
1. ภายใต้กรอบการรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเซียได้ผูกพันที่จะให้เงินกู้แก่ประเทศไทยในวงเงิน 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ และวงเงิน 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ โดยเงินกู้แต่ละแหล่งจะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
เงินกู้ (1) เงินกู้ (2)ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เพื่อปรับโครงสร้าง รวมธนาคารโลกธนาคารพัฒนาเอเซีย รวม 600600 1,200 900600 1,500 1,5001,200หมายเหตุ : (1) เป็นเงินกู้สำหรับโครงการที่ได้ผูกพันแล้ว (Ongoing Projects)
(2) เป็นเงินกู้ที่จะผูกพันใหม่ภายใต้กรอบความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
หรือเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural Adjustment Loan - SAL)
2. สำหรับเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากธนาคารพัฒนาเอเซีย วงเงิน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ จะแยกออกเป็น
2.1 โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างและปฏิรูปตลาดการเงิน วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ
2.2 โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างและปฏิรูปภาคสังคม วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในชั้นแรก ได้กำหนดจะกู้เงินสำหรับโครงการที่ 2.1 ก่อน โดยกระทรวงการคลังในนามราชอาณาจักรไทย มีพันธะที่จะต้องจัดทำหนังสือแสดงเจตจำนงนโยบายเพื่อการพัฒนา (Development Policy Letter - DPL) เพื่อแสดงความตั้งใจจริงของฝ่ายไทยที่จะดำเนินการตามนโยบายและมาตรการในการฟื้นฟูและปฏิรูปตลาดการเงินตามที่กำหนดไว้ในกรอบมาตรการด้านนโยบาย (Policy Matrix) ซึ่งธนาคารฯ จะใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติเงินกู้และถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินด้วย ประกอบกับกระทรวงการคลังมีความจำเป็นต้องเบิกเงินกู้ดังกล่าวโดยด่วน จึงได้ประสานงานกับธนาคารฯ เพื่อให้สามารถเสนอคณะกรรมการบริหารของธนาคารฯ พิจารณาอนุมัติเงินกู้นี้ได้ในโอกาสแรกคือ วันที่ 19 ธันวาคม 2540 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุมคณะกรรมการบริหารธนาคารฯ ในปี 2540
ในการนี้ คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง เรื่อง หนังสือแสดงเจตจำนงขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารพัฒนาเอเซียและรายงานผลการเจรจากู้เงินสำหรับโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างและปฏิรูปตลาดการเงินแล้ว มีมติดังนี้
1. เห็นชอบตามที่ธนาคารพัฒนาเอเซียกำหนดให้คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการในเรื่องต่าง ๆ ที่ปรากฏในกรอบมาตรการด้านนโยบาย (Policy Matrix) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 ก่อนที่สัญญากู้เงินจะมีผลบังคับใช้ ผู้กู้จะต้องดำเนินการแก้ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทเงินทุนและฟื้นฟูสภาพคล่องของบริษัทเงินทุน โดยจะต้องประเมินผลแผนการฟื้นฟูบริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินการทั้ง 58 แห่งให้แล้วเสร็จ พร้อมกับกำหนดให้องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (FRA) จะต้องพิจารณาตัดสินเกี่ยวกับแผนดังกล่าวด้วย
1.2 ก่อนที่สัญญากู้เงินจะมีผลบังคับใช้ ผู้กู้จะต้องดำเนินการในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการกำกับดูแลและกฎระเบียบต่าง ๆ ของตลาดการเงิน ดังนี้
1) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการเพื่อให้มีการปรับโครงสร้างคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ให้มีความอิสระ ภายใต้หลักการคือ
- กรรมการของ กลต. ส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา รวมทั้งประธานกรรมการด้วย
- กรรมการจำนวนไม่เกิน 5 คน ต้องมาจากสาขาการเงินที่แตกต่างกัน
โดยก่อนดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กลต. จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ 1) กรรมการ 3 ใน 11 คน ต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา 2) กรรมการอย่างน้อย 4 คน ที่ปฏิบัติงานไม่เต็มเวลาจะต้องมาจากสาขาการเงินที่แตกต่างกัน และ 3) กรรมการที่ปฏิบัติงานไม่เต็มเวลาไม่เกิน 4 คน มาจากผู้แทนภาครัฐ รวมทั้งประธานกรรมการด้วยทั้งนี้ ได้กำหนดให้ผู้กู้ต้องดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างของคณะกรรมการให้เป็นไปตามหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ ภายในเดือนธันวาคม 2541
2) คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการให้อำนาจอิสระแก่ กลต. ในการออกและถอดถอนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ภายในเดือนธันวาคม 2541 ผู้กู้จะต้องดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ เพื่อให้ กลต.มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในเรื่องดังกล่าว
3) กำหนดให้การเปิดเผยข้อมูลมีความโปร่งใส โดย กลต. จะต้องออกกฎให้บริษัทจดทะเบียนจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบบัญชีที่เป็นที่เชื่อถือได้
4) การเพิ่มความรับผิดชอบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และเพื่อความโปร่งใสและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน กลต. ต้องกำหนดหลักเกณฑ์แนวปฏิบัติเพื่อให้ ตลท. เป็นองค์กรที่กำกับดูแลตนเอง (Self -Regulation Organization - SRO) โดยภายในเดือนธันวาคม 2541 กลต. ต้องแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความอิสระแก่ ตลท.
อย่างไรก็ตาม คณะผู้แทนไทยได้แจ้งให้คณะผู้แทนธนาคารฯ ที่ร่วมเจรจาทราบว่า กระบวนการในการแก้ไขกฎหมายต้องผ่านหลายขั้นตอน และใช้เวลา ดังนั้น การที่ธนาคารฯ กำหนดให้ผุ้กู้ดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2541 นั้น จะมีเงื่อนไขของเวลาที่จำกัดมาเกี่ยวข้องซึ่งคณะผู้แทนของธนาคารฯ รับทราบความเห็นของไทยเกี่ยวกับข้อจำกัดดังกล่าว
1.3 ปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงโดยเสนอให้เพิ่มความเข้มงวดของกฎข้อบังคับสำหรับบริษัทหลักทรัพย์และให้มีเครื่องมือลดความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Hedging Mechanism) คือ
1) กลต. จะต้องดำเนินการออกกฎปรับปรุงมูลค่าหลักทรัพย์ให้เป็นปัจจุบันตามราคาตลาด (Mark - to - Market) และออกกฎการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Margin Lending)
2) โดยให้ กลต. ต้องนำเสนอพระราชบัญญัติอนุพันธ์และตลาดอนุพันธ์ พร้อมทั้งกำหนดกรอบการกำกับดูแลธุรกรรมขายชอร์ตและการยืมหลักทรัพย์ (Short - Selling)
1.4 พัฒนาตลาดหนี้ ตลาดของหลักทรัพย์ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กและตลาดทุน โดยกำหนดให้กระทรวงการคลังต้องจัดทำแผนและทบทวนภาษีต่าง ๆ พร้อมทั้งขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติถือครองหุ้นในธุรกิจหลักทรัพย์ และอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์เหล่านั้นสามารถดำเนินธุรกิจนายหน้าและอนุญาตผู้จัดจำหน่ายได้ภายในเดือนธันวาคม 2541
1.5 กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
1) คณะรัฐมนตรีต้องอนุมัติในหลักการให้มีหน่วยงานกลางของรัฐบาลที่เป็นศูนย์กลางและมีความอิสระในการกำกับดูแลและบริหารงานเกี่ยวกับการรวมระบบกองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยกำหนดให้กระทรวงการคลังร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ (ภายใต้โครงการที่ธนาคารให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแบบให้เปล่าข้างต้น) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของการรวมระบบดังกล่าวเพื่อให้ทั้งระบบมีความสมดุลและให้เงินทุนไหลสู่ตลาดทุน
2) ผู้กู้ต้องดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพของกองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีและการกำกับดูแล
2. มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือแสดงเจตจำนงนโยบายเพื่อการพัฒนา (Development Policy Letter) เพื่อจักได้จัดส่งให้ธนาคารพัฒนาเอเซียต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาจัดทำร่างหนังสือเจตจำนงเกี่ยวกับนโยบายพัฒนา (DPL) ด้านตลาดการเงิน เพื่อขอรับความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการจากธนาคารฯ เพื่อให้สอดคล้องวัตถุประสงค์ 4 ประการ ที่ธนาคารฯ เห็นชอบในการปฏิรูปตลาดการเงิน คือ
1) เสริมสร้างความแข็งแกร่งของกฎระเบียบและการกำกับดูแลของตลาดหลักทรัพย์
2) ปรับปรุงการบริหารความเสี่ยง
3) อำนวยความสะดวกในการเข้าสู่ตลาดการเงินในประเทศของผู้ลงทุนและผู้ออกตราสาร
4) พัฒนาแหล่งทุนระยะยาวจากสถาบันต่าง ๆ โดยการส่งเสริมระบบกองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุน
สำรองเลี้ยงชีพ3. อนุมัติเงื่อนไขตามร่างสัญญากู้เงิน ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ผู้กู้ : กระทรวงการคลังในนามราชอาณาจักรไทยผู้ให้กู้ : ธนาคารพัฒนาเอเซียวงเงิน : เป็นเงินกู้สกุลเงินเหรียญสหรัฐ ในวงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐระยะเวลากู้เงิน : ประมาณ 15 ปี (รวมระยะเวลาปลอดหนี้ 3 ปี)การชำระคืนเงินกู้ : แบ่งเป็น 24 งวด กำหนดชำระปีละ 2 ครั้ง ทุก ๆ 6 เดือน โดยเริ่มชำระคืนต้นเงินกู้งวดแรก
ในวันที่ 15 มกราคม 2544 และชำระคืนต้นเงินกู้งวดสุดท้ายภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2555ระยะเวลาเบิกจ่ายเงินกู้ : ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เงินกู้ยืมมีผลบังคับใช้ โดยสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งจำนวนเพียง
1 งวดค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ : อัตราร้อยละ 0.75 ต่อปี ของวงเงินกู้ที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายอัตราดอกเบี้ย : กำหนดตามอัตราที่ธนาคารฯ ประกาศ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงทุก 6 เดือน (1 มกราคม และ
1 กรกฎาคมของทุกปี) โดยคำนวณตามอัตราต้นทุนการกู้เงินของธนาคารฯ บวกค่าบริการและ
ส่วนต่างอีกร้อยละ 0.4 (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.82 ต่อปี)ระยะเวลาโครงการ : สิ้นสุดการดำเนินโครงการ วันที่ 31 ธันวาคม 2542ความช่วยเหลือทางวิชาการ : จำนวน 2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อนำมาใช้จ่ายตามโครงการศึกษาและฝึกอบรมภายใต้แบบให้เปล่า 1) โครงการเพิ่มสมรรถนะในการเปิดเผยข้อมูล
2) โครงการปฏิรูปกองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
3) โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เงื่อนไขอื่น ๆ : ธนาคารฯ กำหนดเงื่อนไขที่ผู้กู้จะต้องดำเนินการก่อนสัญญามีผลบังคับใช้ (คาดว่าในวันที่
19 ธันวาคม 2540) และก่อนสิ้นสุดโครงการ (วันที่ 31 ธันวาคม 2542)
4. อนุมัติให้กระทรวงการคลังในนามราชอาณาจักรไทยกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเซียในวงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ พ.ศ. 2519 เพื่อใช้ในการดำเนินงานตามโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างและปฏิรูปตลาดการเงิน โดยขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายเป็นผู้ลงนามในสัญญากู้เงินรวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยที่การขออนุมัติให้กระทรวงการคลังกู้เงินดังกล่าวเป็นการก่อหนี้ ก่อนที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปี 2541 ดังนั้น จึงขอให้นับรวมวงเงินกู้ดังกล่าวไว้ในแผนการก่อหนี้ฯ ประจำปีงบประมาณ 2541 ด้วย
5. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดเตรียมทำความเห็นทางกฎหมายโดยด่วนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 ธันวาคม 2540--