ทำเนียบรัฐบาล--18 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำมัน รั่วไหลในแหล่งน้ำ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การควบคุมปัญหาน้ำมันรั่วไหลลงทะเลจากท่าเทียบเรือและจากเรือ
1.1 ท่าเทียบเรือขนถ่ายน้ำมันขนาดมากกว่า 500 ตันกรอส จะต้องมีอุปกรณ์กำจัดคราบน้ำมัน และอุปกรณ์ป้องกันน้ำมันรั่วไหลลงในแหล่งน้ำที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอ ตลอดทั้งมีระบบรองรับและกำจัด น้ำมันจากการล้างถัง น้ำถ่วงเรือและน้ำอับเฉา ได้มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
1.2 ท่าเทียบเรือขนถ่ายน้ำมันขนาดเล็กกว่า 500 ตันกรอส ให้จัดเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษและ กำหนดมาตรฐานสำหรับควบคุมมลพิษจากท่าเทียบเรือดังกล่าว
1.3 กำหนดให้เรือขนถ่ายน้ำมันทุกประเภทจะต้องมีอุปกรณ์กำจัด และป้องกันน้ำมันรั่วไหลลง แหล่งน้ำอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
2. กำหนดให้ท่าเทียบเรือที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ ท่าเทียบเรือแหลมฉบัง ท่าเทียบ เรือมาบตาพุด ท่าเทียบเรือกรุงเทพ ท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต ท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา จะต้องจัดทำ ระบบกำจัดน้ำเสีย ซึ่งสามารถ บำบัดน้ำเสียจากน้ำล้างถังเรือ น้ำถ่วงเรือและน้ำอับเฉา อย่างมี ประสิทธิภาพตามมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่กำหนด
3. กำหนดไม่ให้ทำการขยายโครงสร้างท่าเทียบเรือกรุงเทพ และการก่อสร้างคลังเก็บกัก สินค้า สารเคมีภายในบริเวณท่าเทียบเรือ โดยให้พยายามลดกิจกรรมการขนถ่ายสินค้าบริเวณท่าเทียบเรือ กรุงเทพลง ให้กระจายกิจกรรมต่าง ๆ ออกไปยังท่าเรือในส่วนภูมิภาค
4. กำหนดให้มีการขนถ่ายน้ำมันในทะเลกรณีต่าง ๆ ได้โดยให้มีการกำหนดมาตรฐานการสูบ ถ่ายน้ำมันจากเรือหรือสู่เรือผ่านน้ำมันในทะเล ผ่านท่าเรือกลางทะเล และระหว่างเรือกลางทะเลให้ เป็นไปตามมาตรฐานสากล
5. เร่งรัดให้ดำเนินการจัดการแก้ไขปัญหาการจราจรทางน้ำ บริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น ให้มีความคล่องตัว และมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยให้จัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยในการเพิ่ม ประสิทธิภาพ
6. เร่งรัดดำเนินการตามแผนฉุกเฉินในการกำจัดคราบน้ำมันตามที่ระบุ ในแผนปฏิบัติในการ ป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน ซึ่งประกาศโดยคณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำ เนื่องจากน้ำมัน พ.ศ. 2538 (กปน.) อย่างเคร่งครัด
7. กำหนดให้มีแผนการติดตามตรวจสอบปัญหาคราบน้ำมันในทะเลอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มี อุปกรณ์อย่างครบถ้วนและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
8. จัดให้มีการรณรงค์ ฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากรในการดำเนินการและประสานงานใน การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการนี้ และแผนภายใต้คณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน (กปน.)
9. ให้สำนักงบประมาณ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามแผน ปฏิบัติงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 17 ตุลาคม 2538--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำมัน รั่วไหลในแหล่งน้ำ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การควบคุมปัญหาน้ำมันรั่วไหลลงทะเลจากท่าเทียบเรือและจากเรือ
1.1 ท่าเทียบเรือขนถ่ายน้ำมันขนาดมากกว่า 500 ตันกรอส จะต้องมีอุปกรณ์กำจัดคราบน้ำมัน และอุปกรณ์ป้องกันน้ำมันรั่วไหลลงในแหล่งน้ำที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอ ตลอดทั้งมีระบบรองรับและกำจัด น้ำมันจากการล้างถัง น้ำถ่วงเรือและน้ำอับเฉา ได้มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
1.2 ท่าเทียบเรือขนถ่ายน้ำมันขนาดเล็กกว่า 500 ตันกรอส ให้จัดเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษและ กำหนดมาตรฐานสำหรับควบคุมมลพิษจากท่าเทียบเรือดังกล่าว
1.3 กำหนดให้เรือขนถ่ายน้ำมันทุกประเภทจะต้องมีอุปกรณ์กำจัด และป้องกันน้ำมันรั่วไหลลง แหล่งน้ำอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
2. กำหนดให้ท่าเทียบเรือที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ ท่าเทียบเรือแหลมฉบัง ท่าเทียบ เรือมาบตาพุด ท่าเทียบเรือกรุงเทพ ท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต ท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา จะต้องจัดทำ ระบบกำจัดน้ำเสีย ซึ่งสามารถ บำบัดน้ำเสียจากน้ำล้างถังเรือ น้ำถ่วงเรือและน้ำอับเฉา อย่างมี ประสิทธิภาพตามมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่กำหนด
3. กำหนดไม่ให้ทำการขยายโครงสร้างท่าเทียบเรือกรุงเทพ และการก่อสร้างคลังเก็บกัก สินค้า สารเคมีภายในบริเวณท่าเทียบเรือ โดยให้พยายามลดกิจกรรมการขนถ่ายสินค้าบริเวณท่าเทียบเรือ กรุงเทพลง ให้กระจายกิจกรรมต่าง ๆ ออกไปยังท่าเรือในส่วนภูมิภาค
4. กำหนดให้มีการขนถ่ายน้ำมันในทะเลกรณีต่าง ๆ ได้โดยให้มีการกำหนดมาตรฐานการสูบ ถ่ายน้ำมันจากเรือหรือสู่เรือผ่านน้ำมันในทะเล ผ่านท่าเรือกลางทะเล และระหว่างเรือกลางทะเลให้ เป็นไปตามมาตรฐานสากล
5. เร่งรัดให้ดำเนินการจัดการแก้ไขปัญหาการจราจรทางน้ำ บริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น ให้มีความคล่องตัว และมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยให้จัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยในการเพิ่ม ประสิทธิภาพ
6. เร่งรัดดำเนินการตามแผนฉุกเฉินในการกำจัดคราบน้ำมันตามที่ระบุ ในแผนปฏิบัติในการ ป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน ซึ่งประกาศโดยคณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำ เนื่องจากน้ำมัน พ.ศ. 2538 (กปน.) อย่างเคร่งครัด
7. กำหนดให้มีแผนการติดตามตรวจสอบปัญหาคราบน้ำมันในทะเลอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มี อุปกรณ์อย่างครบถ้วนและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
8. จัดให้มีการรณรงค์ ฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากรในการดำเนินการและประสานงานใน การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการนี้ และแผนภายใต้คณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน (กปน.)
9. ให้สำนักงบประมาณ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามแผน ปฏิบัติงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 17 ตุลาคม 2538--