ทำเนียบรัฐบาล--13 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการเยือนสหภาพพม่าของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) และคณะ ระหว่างวันที่ 8-9 พฤษภาคม 2540 ตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการขนส่งพม่า (Lt.Gen. Thein Win) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการขนส่งและคมนาคมระหว่างไทยกับพม่า ทั้งนี้ ในการเยือนครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ที่มีความสนใจและเป็นประโยชน์ร่วมกัน และเห็นพ้องที่จะเร่งรัดการขยายความร่วมมือด้านการขนส่งและคมนาคม โดยเฉพาะการเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างประเทศทั้งสอง ดังสรุปสาระสำคัญของการหารือระหว่างกันได้ดังนี้
1. ความร่วมมือด้านการขนส่งทางบก
1.1 สะพานมิตรภาพไทย-พม่า ข้ามแม่น้ำเมย ทั้งสองฝ่ายรับทราบว่า การก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า ข้ามแม่น้ำเมย จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในกลางเดือนพฤษภาคม 2540 และเห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมจำนวน 2 คณะ คือ คณะกรรมการบริหารสะพานและคณะกรรมการบำรุงรักษาสะพาน
1.2 การจัดทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางบกระหว่างไทย-พม่า ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้มีการจัดทำความตกลงดังกล่าว ตามมติที่ประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-พม่า ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 5-7 สิงหาคม 2539 ณ เมืองย่างกุ้ง
2. ความร่วมมือด้านการขนส่งทางน้ำ
2.1 การเชื่อมโยงท่าเรือแหลมฉบังกับท่าเรือทะวาย ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้มีการศึกษาเรื่องการสร้างเครือข่ายการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือทะวายของพม่า ทั้งทางถนนและทางรถไฟ อันจะช่วยย่นระยะทางและระยะเวลาในการขนส่งสินค้า โดยให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตู (Gateway) สำหรับสินค้าที่จะส่งไปยังตลาดด้านตะวันออก และให้ท่าเรือทะวายเป็นประตู (Gateway) สำหรับสินค้าที่จะส่งไปยังตลาดด้านตะวันตก
2.2 ร่างความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำโขงตอนบน 4 ประเทศ (ไทย-พม่า-ลาว-จีนตอนใต้) โดยแต่ละประเทศจะนำร่างความตกลงฯ รายงานต่อรัฐบาลของตนและแจ้งผลการพิจารณาให้พม่าทราบ เพื่อพม่าจะได้กำหนดจัดการประชุม 4 ฝ่าย เพื่อให้มีการลงนามความตกลงฯ ต่อไป
3. ความร่วมมือด้านการขนส่งทางอากาศ ได้แก่ ความตกลงด้านการบินระหว่างไทย-พม่า ฝ่ายพม่าเห็นด้วยกับข้อเสนอของฝ่ายไทย ในการเพิ่มสิทธิและความจุความถี่ในเส้นทางกรุงเทพฯ-ย่างกุ้ง เป็นจำนวน 3,500 ที่นั่งต่อสัปดาห์ เพื่อให้บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) สามารถทำการบินได้สัปดาห์ละ 14 เที่ยว ซึ่งเท่ากับวันละ 2 เที่ยว โดยจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในเดือนตุลาคม 2540
4. ความร่วมมือทางวิชาการ ฝ่ายไทยได้แจ้งให้พม่ารับทราบว่า ระหว่างปี 2535-2537 หน่วยงานของกระทรวงคมนาคม ได้แก่ กรมทางหลวง การรถไฟแห่งประเทศ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แลการสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านการขนส่งและสื่อสารให้แก่เจ้าหน้าที่พม่าหน่วยงานละ 3-4 หลักสูตร และยินดีให้พม่าจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการฝึกอบรมในสาขาที่พม่ามีความสนใจ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และให้มีความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการขนส่งของพม่าได้ขอในหลักการให้ฝ่ายไทยพิจารณาให้ทุนฝึกอบรมบุคลากรพม่าด้านท่าเรือ และด้านการขนส่งทางอากาศสาขาละ 2 ทุนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 13 พฤษภาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการเยือนสหภาพพม่าของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) และคณะ ระหว่างวันที่ 8-9 พฤษภาคม 2540 ตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการขนส่งพม่า (Lt.Gen. Thein Win) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการขนส่งและคมนาคมระหว่างไทยกับพม่า ทั้งนี้ ในการเยือนครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ที่มีความสนใจและเป็นประโยชน์ร่วมกัน และเห็นพ้องที่จะเร่งรัดการขยายความร่วมมือด้านการขนส่งและคมนาคม โดยเฉพาะการเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างประเทศทั้งสอง ดังสรุปสาระสำคัญของการหารือระหว่างกันได้ดังนี้
1. ความร่วมมือด้านการขนส่งทางบก
1.1 สะพานมิตรภาพไทย-พม่า ข้ามแม่น้ำเมย ทั้งสองฝ่ายรับทราบว่า การก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า ข้ามแม่น้ำเมย จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในกลางเดือนพฤษภาคม 2540 และเห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมจำนวน 2 คณะ คือ คณะกรรมการบริหารสะพานและคณะกรรมการบำรุงรักษาสะพาน
1.2 การจัดทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางบกระหว่างไทย-พม่า ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้มีการจัดทำความตกลงดังกล่าว ตามมติที่ประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-พม่า ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 5-7 สิงหาคม 2539 ณ เมืองย่างกุ้ง
2. ความร่วมมือด้านการขนส่งทางน้ำ
2.1 การเชื่อมโยงท่าเรือแหลมฉบังกับท่าเรือทะวาย ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้มีการศึกษาเรื่องการสร้างเครือข่ายการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือทะวายของพม่า ทั้งทางถนนและทางรถไฟ อันจะช่วยย่นระยะทางและระยะเวลาในการขนส่งสินค้า โดยให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตู (Gateway) สำหรับสินค้าที่จะส่งไปยังตลาดด้านตะวันออก และให้ท่าเรือทะวายเป็นประตู (Gateway) สำหรับสินค้าที่จะส่งไปยังตลาดด้านตะวันตก
2.2 ร่างความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำโขงตอนบน 4 ประเทศ (ไทย-พม่า-ลาว-จีนตอนใต้) โดยแต่ละประเทศจะนำร่างความตกลงฯ รายงานต่อรัฐบาลของตนและแจ้งผลการพิจารณาให้พม่าทราบ เพื่อพม่าจะได้กำหนดจัดการประชุม 4 ฝ่าย เพื่อให้มีการลงนามความตกลงฯ ต่อไป
3. ความร่วมมือด้านการขนส่งทางอากาศ ได้แก่ ความตกลงด้านการบินระหว่างไทย-พม่า ฝ่ายพม่าเห็นด้วยกับข้อเสนอของฝ่ายไทย ในการเพิ่มสิทธิและความจุความถี่ในเส้นทางกรุงเทพฯ-ย่างกุ้ง เป็นจำนวน 3,500 ที่นั่งต่อสัปดาห์ เพื่อให้บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) สามารถทำการบินได้สัปดาห์ละ 14 เที่ยว ซึ่งเท่ากับวันละ 2 เที่ยว โดยจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในเดือนตุลาคม 2540
4. ความร่วมมือทางวิชาการ ฝ่ายไทยได้แจ้งให้พม่ารับทราบว่า ระหว่างปี 2535-2537 หน่วยงานของกระทรวงคมนาคม ได้แก่ กรมทางหลวง การรถไฟแห่งประเทศ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แลการสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านการขนส่งและสื่อสารให้แก่เจ้าหน้าที่พม่าหน่วยงานละ 3-4 หลักสูตร และยินดีให้พม่าจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการฝึกอบรมในสาขาที่พม่ามีความสนใจ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และให้มีความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการขนส่งของพม่าได้ขอในหลักการให้ฝ่ายไทยพิจารณาให้ทุนฝึกอบรมบุคลากรพม่าด้านท่าเรือ และด้านการขนส่งทางอากาศสาขาละ 2 ทุนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 13 พฤษภาคม 2540--