คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. .... ที่ตรวจพิจารณาแล้ว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เห็นชอบด้วยแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติฯ มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ ให้ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคล การนำไปเปิดเผยเพื่อทำบุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้น หรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย
2. ให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “คสช.” มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นรองประธานกรรมการ กำหนดคุณสมบัติของกรรมการ การเลือกกรรมการ อำนาจหน้าที่ วาระการดำรงตำแหน่ง และให้มีคณะกรรมการสรรหาซึ่ง คสช. แต่งตั้งตามกฎหมายเพื่อปฏิบัติหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์การสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ
3. ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มีฐานะเป็นนิติบุคคลเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น ให้สำนักงานมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการของ คสช. และคณะกรรมการบริหารรายได้ของสำนักงานเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสมเป็นรายปี และรายได้อื่นตามที่กำหนด
4. ให้มีเลขาธิการรับผิดชอบการบริหารงานของสำนักงาน ขึ้นตรงต่อ คสช. มีหน้าที่ควบคุมดูแลงานของสำนักงาน กำหนดอำนาจหน้าที่เลขาธิการ วาระการดำรงตำแหน่ง
5. ให้ คสช. แต่งตั้งกรรมการบริหาร เพื่อให้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลการดำเนินงานของสำนักงาน
6. กำหนดให้มีการจัดประชุมสมัชชาสุขภาพ โดยให้ คสช. จัดให้มีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
7. ให้มีธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ โดย คสช. เป็นผู้จัดทำเพื่อให้ใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์ และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
8. กำหนดบทเฉพาะกาลตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้โอนบรรดากิจการทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน และเงินงบประมาณของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขในส่วนของสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 สิงหาคม 2548--จบ--
ทั้งนี้ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติฯ มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ ให้ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคล การนำไปเปิดเผยเพื่อทำบุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้น หรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย
2. ให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “คสช.” มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นรองประธานกรรมการ กำหนดคุณสมบัติของกรรมการ การเลือกกรรมการ อำนาจหน้าที่ วาระการดำรงตำแหน่ง และให้มีคณะกรรมการสรรหาซึ่ง คสช. แต่งตั้งตามกฎหมายเพื่อปฏิบัติหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์การสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ
3. ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มีฐานะเป็นนิติบุคคลเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น ให้สำนักงานมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการของ คสช. และคณะกรรมการบริหารรายได้ของสำนักงานเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสมเป็นรายปี และรายได้อื่นตามที่กำหนด
4. ให้มีเลขาธิการรับผิดชอบการบริหารงานของสำนักงาน ขึ้นตรงต่อ คสช. มีหน้าที่ควบคุมดูแลงานของสำนักงาน กำหนดอำนาจหน้าที่เลขาธิการ วาระการดำรงตำแหน่ง
5. ให้ คสช. แต่งตั้งกรรมการบริหาร เพื่อให้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลการดำเนินงานของสำนักงาน
6. กำหนดให้มีการจัดประชุมสมัชชาสุขภาพ โดยให้ คสช. จัดให้มีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
7. ให้มีธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ โดย คสช. เป็นผู้จัดทำเพื่อให้ใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์ และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
8. กำหนดบทเฉพาะกาลตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้โอนบรรดากิจการทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน และเงินงบประมาณของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขในส่วนของสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 สิงหาคม 2548--จบ--