คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินโครงการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง ตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2555/56 ในไตรมาสที่ 1/2556 ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
พน. รายงานว่า
1. ในปี 2556 พน. ได้มีการสนับสนุนให้นำมันสำปะหลังผลิตเอทานอลโดยเพิ่มสัดส่วนการใช้กากน้ำตาล : มันสำปะหลัง ในการผลิตเอทานอล เป็น 62 : 38 โดยโรงงานเอทานอลใช้วัตถุดิบมันสำปะหลังผลิตเป็นเอทานอลในปริมาณ 0.76 ล้านลิตรต่อวัน หรือ 255.60 ล้านลิตรต่อปี คิดเป็นปริมาณหัวมันสด 1.6 ล้านตัน ต่อปี ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานได้มีมติเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 เห็นชอบการปรับสูตรราคาเอทานอลตามสัดส่วนการใช้เอทานอลมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้น โดยกำหนดสูตรราคาเอทานอลตามสัดส่วนการใช้เอทานอลจากกากน้ำตาล : มันสำปะหลัง 62 : 38 และมอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานประสานกรมการค้าภายในเพื่อตรวจสอบการใช้มันสำปะหลังในโครงการรับจำนำมันสำปะหลังเพื่อผลิตเอทานอลและหากผู้ผลิตเอทานอลใช้วัตถุดิบมันเส้นให้ใช้มันเส้นจากองค์การคลังสินค้านั้น
2. จากการดำเนินโครงการผลิตเอทานอลจากมันลำปะหลังในไตรมาสที่ 1/2556 ตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี 2555/56 ปรากฏว่า มีสัดส่วนการใช้เอทานอลจากกากน้ำตาล : มันสำปะหลัง เป็น 77.5 22.5 คิดเป็นปริมาณการใช้เอทานอลจากกากน้ำตาล : มันสำปะหลัง เท่ากับ 157,721,430 ลิตร : 45,723,235 ลิตร คิดเป็นปริมาณการใช้หัวมันสดจำนวน 286,227.45 ตัน แต่มีการใช้หัวมันสดในโครงการฯ เพียง 53,145.32 ตัน เนื่องจากมีเกษตรกรมาจำนำหัวมันสดที่โรงงานเอาทานอลที่เปิดเป็นจุดรับจำนำน้อย ทำให้ปริมาณมันสดตามโครงการรับจำนำมันสำปะหลังเพื่อใช้ผลิตเอทานอลไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ผลิตเอทานอลที่เข้าร่วมโครงการฯ อีกทั้งองค์การคลังสินค้ายังไม่ส่งมอบมันเส้นในโครงการฯ ทำให้ผู้ผลิตเอทานอลจำเป็นต้องใช้มันสดและมันเส้นในประเทศซึ่งอยู่นอกโครงการฯ ผลิตเอทานอลจำหน่ายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 เพื่อผสมเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอลจำหน่ายแก่ประชาชนไปพลางก่อน ทั้งนี้ ปริมาณมันสำปะหลังนอกโครงการฯ ดังกล่าวที่บริษัทผู้ผลิตเอทานอลใช้ไปแล้วนั้น ไม่นับรวมเป็นปริมาณมันสำปะหลังที่ต้องใช้ตามโครงการฯ โดยปริมาณมันสำปะหลังที่ผู้ผลิตเอทานอลจะต้องซื้อเพิ่มเติมสำหรับไตรมาสที่ 1/2556 คิดเป็นหัวมันสด 233,082.12 ตัน หรือคิดเป็นมันเส้น 97,924.28 ตัน
3. ในการดำเนินโครงการฯ มีปัญหา / อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้
ผู้ดำเนินการ ปัญหา/อุปสรรค แนวทางแก้ไขปัญหา ผู้ผลิตเอทานอล 1. เกษตรกรนำหัวมันสดมา พณ. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนำที่โรงงานผู้ผลิตเอทา พิจารณาเพื่อเร่งส่งมอบมันเส้น นอลซึ่งเปิดเป็นจุดรับจำนำน้อยกว่า ในโครงการฯ สำหรับไตรมาส เป้าหมาย ที่ 1/2556 ให้กับผู้ผลิตเอทา 2. ปัจจุบันผู้ผลิตเอทานอลยังไม่ นอลจากมันสำปะหลังตาม ทราบราคามัน เส้นที่แน่นอนจาก ปริมาณเอทานอลที่ได้จำหน่าย โครงการแทรกแซงตลาดมัน ให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 สำปะหลังปี 2555/56 ที่จะส่งมอบ ไปแล้ว และส่งมอบมันเส้น ให้ผู้ผลิตเอทานอลและเพิ่งเริ่มทยอย สำหรับไตรมาสที่ 2/2256 ส่งมอบมันเส้นให้กับผู้ผลิตเอทานอล เพื่อให้ผู้ผลิตเอทานอลใช้มัน 3. บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ เอ ทานอล เส้นในโครงการฯ ผลิตเอทานอล จำกัด (กำลังการผลิต 250,000 ลิตรต่อวัน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเอทานอลจากมัน สำปะหลังหยุดการผลิตเอทานอลใน เดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2556 เพื่อปรับปรุงระบบบ่อบำบัดตามคำสั่ง ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ปราจีนบุรี และคาดว่า จะ เดินเครื่องผลิตเอทานอลได้ในเดือน พฤษภาคม 2556 4. ผู้ผลิตเอทานอลบางรายเป็น ผู้ผลิตรายใหม่เพิ่งเริ่มผลิตเอทานอล เชิงพาณิชย์ในเดือนมกราคม 2556 ทำให้เดินเครื่องได้ไม่เต็มกำลังการผลิต ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา7 1. ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 พน. โดยกรมธุรกิจพลังงาน บางราย ได้ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประชุมร่วมกับผู้ค้าน้ำมันตาม กับผู้ผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาลไป มาตรา 7 เพื่อขอความร่วมมือ แล้ว ก่อนเริ่มดำเนินโครงการฯ ให้รับซื้อเอทานอลตามสัดส่วน ทำให้ไม่สามารถซื้อเอทานอลจาก เอทานอลจากกากน้ำตาล : มันสำปะหลังได้ตามสัดส่วน มันสำปะหลัง 62:38 2. มีผู้ผลิตเอทานอลจากมัน สำปะหลังเข้าประมูลน้อยรายและ เสนอราคาประมูลสูงเกินไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 มิถุนายน 2556--จบ--