ทำเนียบรัฐบาล--22 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบมติการประชุมคณะกรรมการพัฒนาชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค (กชช.ภ.) ครั้งที่ 2/2537 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2537 และครั้งที่ 3/2537 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2537 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. การปรับระบบบริหารแผนงานและงบประมาณของ 7 กระทรวงหลัก และหน่วยงานเสริมในระบบ กชช.ภ. ที่ประชุม กชช.ภ. มีมติว่า
1.1 ให้มีการปรับปรุงระบบบริหารแผนงานโครงการของ 7 กระทรวงหลัก และหน่วยงานเสริม โดยให้ปรับวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติให้สั้นลง เพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจของจังหวัดในปัจจุบันมากขึ้น
1.2 ในเรื่องของแผนงานและงบประมาณ จะยังคงรักษาหลักการไว้เหมือนเดิม รวมทั้งยังให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการและทางด้านเทคนิค แต่จังหวัดจะต้องรับผิดชอบในการดำเนินการมากขึ้นและแก้ปัญหาของตนเอง
1.3 เพื่อให้เกิดการประสานงานกันทั้งในบทบาทและภารกิจของส่วนกลางที่จะลงไปดำเนินการในระดับพื้นที่กับบทบาทและภารกิจของจังหวัดที่ต้องรับผิดชอบการแก้ปัญหาของตนเอง จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องการปรับปรุงกระบวนการจัดทำแผนและประสานแผน โดยมุ่งเน้นให้จังหวัดและแผนพัฒนาจังหวัดเป็นศูนย์รวมของการแก้ปัญหา และการดำเนินงานพัฒนาในทุกเรื่องและทุกพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.4 ให้ฝ่ายเลขานุการ กชช.ภ. และคณะอนุกรรมการประสานการวางแผนพัฒนาจังหวัดไปดำเนินการจัดทำรายละเอียดแนวทางการปฏิบัติตามมติข้อ 1.1 และ 1.3 โดยให้มีการระดมความคิดเห็นในระหว่างผู้รับผิดชอบการบริหารโครงการจากส่วนกลางและผู้ปฏิบัติงานในระดับจังหวัดประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อนำข้อมูลบางส่วนมาปรับใช้สำหรับปีงบประมาณ 2539 และใช้เต็มรูปแบบในปีงบประมาณ 2540
1.5 ในปัจจุบันเป็นช่วงระยะเวลาของการเตรียมการเพื่อจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540 - 2544) ดังนั้นเห็นควรให้มีการทบทวนแผนงานและโครงการพัฒนาชนบทของกระทรวงต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและทิศทางการพัฒนา และให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายและแผนงานภายใต้ระบบ กชช.ภ. เพื่อรับผิดชอบดูแลในเรื่องนี้ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นประธาน มีผู้แทนของสำนักงบประมาณผู้แทนจาก 7 กระทรวงหลัก และผู้แทนจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ
1.6 เนื่องจากการจัดสรรและการบริหารงบประมาณจากส่วนกลางลงจังหวัดเป็นเรื่องสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาชนบท แต่ยังไม่มีความชัดเจนในปัจจุบัน จึงควรให้ความสำคัญในเรื่องการกำกับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อการพัฒนาจังหวัดมากขึ้น โดยให้คณะอนุกรรมการนโยบายและแผนงานที่จะจัดตั้งขึ้นตามมติข้อ 1.5 เป็นผู้รับผิดชอบดูแลในเรื่องนี้ โดยประสานกับสำนักงบประมาณอย่างใกล้ชิด
1.7 เพื่อให้การบริหารงานพัฒนาชนบทในส่วนภูมิภาคเป็นไปด้วยความราบรื่นต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงควรให้ความสำคัญในเรื่องการกำกับการจัดทำแผนและการประสานแผนในส่วนภูมิภาคของหน่วยงานต่าง ๆ ตามแนวทางที่จะปรับปรุงใหม่ทั้งในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัดมากขึ้น โดยให้คณะอนุกรรมการประสานการวางแผนพัฒนาจังหวัด (อผจ.) ดำเนินการชี้แจงและทำความเข้าใจในขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติกับผู้ที่เกี่ยวข้องในส่วนภูมิภาค
2. โครงการปรับปรุง และจัดทำสถิติผลิตภัณฑ์รวมระดับภาคและระดับจังหวัดสาขาเกษตร ที่ประชุม กชช.ภ. มีมติว่า
2.1 โครงการนี้สามารถแก้ไขปัญหาความล่าช้าของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการจัดทำข้อมูลสถิติผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดสาขาการเกษตรได้ อันจะทำให้สามารถนำสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมระดับจังหวัดและระดับภาคไปใช้ในการวัดผลกระทบในการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค อันเกิดจากการปรับโครงสร้างในการผลิตการเกษตรซึ่งเป็นนโยบายการพัฒนาของประเทศ
2.2สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติโดยกองบัญชีประชาชาติได้ดำเนินการจัดทำและปรับปรุงสถิติผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดในสาขาการเกษตร โดยรวบรวมข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ จึงให้ทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรจัดทำระบบฐานข้อมูล (Data Base) ทั้งหมดให้เป็นระดับเดียวกัน และสามารถเชื่อมโยงกับระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันมีความสมบูรณ์และถูกต้องน่าเชื่อถือ
2.3 การจัดทำระบบข้อมูลสถิติผลิตภัณฑ์ระดับภาคและจังหวัด สาขาการเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรนั้นสอดคล้องกับแนวทางของ กชช.ภ. ที่สนับสนุนให้หน่วยราชการ ตลอดจนจังหวัดต่าง ๆ พัฒนาระบบฐานข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลในด้านเศรษฐกิจ เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาทั้งส่วนรวมและส่วนราชการหรือสาขาการพัฒนาและแผนพัฒนาของจังหวัด
2.4 สำหรับพื้นที่เป้าหมายดำเนินการในปี 2538 เนื่องจากได้มีการขอทบทวนมติ กชช.ภ.ครั้งที่ 1/2537 โดยจะดำเนินการทุกจังหวัดทั่วประเทศ จึงให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ทบทวนพื้นที่เป้าหมายดำเนินการใหม่ โดยประสานกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.5 ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมให้แก่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรตามที่เสนอไว้
2.6 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับข้อสังเกตของที่เประชุมเกี่ยวกับการจัดทำระบบข้อมูลดังกล่าวโดยให้ความสำคัญในการตรวจสอบข้อมูลการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักให้ชัดเจนกว่าเดิม เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาการตัดสินใจเรื่องการแทรกแซงของรัฐบาลโดยเฉพาะเรื่อง ข้าว มันสำปะหลัง กาแฟ และสับปะรด เป็นต้น
2.7 ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพิจารณาความชัดเจนของการวัดและจัดเก็บข้อมูลแรงงานภาคเกษตร ทั้งแรงงานที่ขาดแคลนในบางพื้นที่ และแรงงานส่วนเกินในบางพื้นที่ รวมทั้งการโยกย้ายถิ่นฐาน เพื่อการกำหนดนโยบายที่ก่อให้เกิดการจ้างงานที่พอเพียงกับแรงงานส่วนเกินนั้น
2.8 ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตรวจสอบข้อมูลที่เชื่อกันว่ารายได้ประชาชนในภูมิภาคที่มาจากภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงไป ในขณะที่รายได้จากภายนอกภาคเกษตรมากขึ้น เพื่อจะได้กำหนดนโยบายกระจายรายได้สำหรับประชาชนในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรได้ชัดเจนขึ้น และขอให้ข้อมูลที่เก็บได้จากโครงการนี้สามารถตอบคำถามได้ว่า รายได้ของเกษตรกรที่ปรากฏในผลิตภัณฑ์มวลรวมของชาติ (GDP) ในปัจจุบันนั้นต่ำกว่าความเป็นจริงหรือไม่
2. ครั้งที่ 3/2537 มีมติรวม 4 เรื่อง ได้แก่
2.1 แนวความคิดในการจัดทำแผนพัฒนาชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่ประชุม กชช.ภ. มีมติว่า
2.1.1 แผนพัฒนาชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคจะต้องสอดคล้องกับทิศทางหลักในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่เน้นประสิทธิภาพและคุณภาพการบริหารงานพัฒนา และเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องเน้นการเตรียมความพร้อมให้แก่ประชากรและชุมชนในชนบท เพื่อให้สามารถรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมจากภายนอก ซึ่งประเด็นการพัฒนาเบื้องต้นควรเน้นในเรื่องคุณภาพชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเตรียมคนและชุมชน และการจัดการของรัฐ ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการนำเรื่องนี้ไปประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.1.2 อนุมัติให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อรับผิดชอบการจัดทำแผนพัฒนาชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อรับผิดชอบในการร่างรายละเอียดแผนฯ โดยให้นำประเด็นสำคัญ ๆ เสนอคณะกรรมการ กชช.ภ. เป็นระยะ ๆ
2.1.3 อนุมัติให้ฝ่ายเลขานุการ กชช.ภ. ไปดำเนินการตามแผนปฏิบัติการและปฏิทินการดำเนินงาน ดังนี้
- ดำเนินการประเมินผลการพัฒนาชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคในช่วงเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2537
- จัดทำร่างข้อเสนอแนวคิดและทิศทางการพัฒนาชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคในช่วงแผนฯ 8 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2537 ถึง มกราคม 2538
- จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมรวม 3 ครั้ง คือในเดือนมกราคมและมิถุนายน 2538 และในเดือนมกราคม 2539
- จัดทำรายละเอียดของแผนเสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการ กชช.ภ. ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง ธันวาคม 2538
- ผนวกแผนพัฒนาชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคเข้ากับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ-และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ในช่วงเดือนมกราคม ถึง กันยายน 2539
2.2 โครงการส่งเสริมขบวนการออมทรัพย์ระดับชุมชน ที่ประชุม กชช.ภ. มีมติว่า
2.2.1 ให้ฝ่ายเลขานุการร่วมกับธนาคารออมสิน และมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย จัดทำรายละเอียดของโครงการและวงเงินประเดิมที่เหมาะสมให้มีความชัดเจนในรูปแบบและวิธีการปฏิบัติ เพื่อเสนอคณะกรรมการ กชช.ภ. พิจารณาต่อไป
2.2.2 ให้ระดมความคิดจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมขบวนการออมทรัพย์ระดับชุมชนเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติที่จัดทำตามข้อ
2.2.1 เกิดผลได้จริงจัง รวมทั้งการหาแนวทางที่ภาคธุรกิจเอกชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและชนบทให้กว้างขวางขึ้นด้วย
2.3 การปรับแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาจังหวัดตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการงบประมาณ ที่ประชุม กชช.ภ. มีมติว่า
2.3.1 ในส่วนของการตรวจสอบโครงการพัฒนาจังหวัดของ ส.ส. ให้เจ้าหน้าที่จัดทำแผนโครงการพัฒนาจังหวัดล่วงหน้า และให้ประสานกับ ส.ส. สำหรับการตรวจสอบระดับพื้นที่นั้นเห็นว่าการเสนอโครงการพัฒนาจังหวัดในปี 2538 จะต้องผ่านการพิจารณาของ กสต. และ กพอ. อยู่แล้ว และหากให้ ส.ส. ได้ตรวจสอบอีกครั้งจะไม่สามารถดำเนินการได้ทัน เพราะไม่มีการจัดทำแผน กพจ. ล่วงหน้าไว้ก่อน แต่ข้อเสนอนี้มีประโยชน์ในแง่การมี ส่วนร่วมและการรับรู้ของประชาชน จึงเห็นควรให้จังหวัดดำเนินการในปี 2539 ต่อไป
2.3.2 ในการประเมินผลโครงการพัฒนาจังหวัดนั้น กชช.ภ. ได้มอบหมายให้สำนักงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว สำหรับปี 2538 เห็นสมควรให้เน้นการติดตามประเมินผล ผลกระทบโครงการต่อประชาชนให้มากขึ้นตามข้อเสนอแนะของ ส.ส. โดยให้หน่วยงานดังกล่าวข้างต้นรับผิดชอบต่อไป โดยประสานกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ให้มีส่วนร่วมในการประเมินผลด้วย อันจะทำให้ผลการประเมินเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
2.3.3 เพื่อให้การบริหารโครงการพัฒนาจังหวัดปี 2538 เป็นไปอย่างคล่องตัว เห็นควรอนุมัติโอนเงินงบประมาณ สำหรับการดำเนินการโครงการพัฒนาจังหวัดได้ทันทีที่ กพจ. อนุมัติ และให้กระทรวงมหาดไทยประมวลผลิการพิจารณาอนุมัติโครงการพัฒนาจังหวัดปี 2538 ให้ กชช.ภ. ทราบเป็นรายโครงการในเดือนธันวาคม 2537 ต่อไป
2.4 การแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในหมู่บ้านชนบทด้วยระบบประชาชนบท ที่ประชุม กชช.ภ. มีข้อสังเกตและมีมติว่า
2.4.1 ข้อสังเกตของที่ประชุม
- ควรมีการประเมินผลระบบประปาหมู่บ้านที่ทำไปแล้ว โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพ รวมทั้งการบริหารจัดการเพื่อประกอบการพิจารณาทบทวนการปรับแผนระบบประปาชนบท และการดำเนินงานในระยะต่อไป
- ควรพิจารณาถึงความต้องการพัฒนาระบบประปาให้ครอบคลุมพื้นที่และครัวเรือนตามข้อเท็จจริงของหมู่บ้าน ซึ่งใน 1 หมู่บ้านอาจมีหลายบ้าน
- งบประมาณในการดำเนินการตามข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทยที่ใช้รูปแบบของระบบประปาอุตรดิตถ์อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ จึงควรคิดถึงความเหมาะสมของรูปแบบ ระบบประปาที่จะดำเนินการให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ โดยคำนึงถึงความพร้อมของผู้รับเหมาที่จะดำเนินการด้วย
- ควรที่จะพิจารณาถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบเนื่องจากการดำเนินการเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน และต้องใช้ความรู้ทางเทคนิค
2.4.2 มติที่ประชุม
- การจัดให้มีน้ำสะอาดในชนบทด้วยระบบประปาเป็นนโยบายสำคัญประการหนึ่งของรัฐบาลที่ได้ดำเนินการมาแล้วจนเป็นผลสำเร็จระดับหนึ่ง และหากจะมีการขยายเป้าหมายการดำเนินการจากที่กำหนดไว้เดิมคือร้อยละ 70 ของหมู่บ้านทั่วประเทศให้ครอบคลุมหมู่บ้านที่มีศักยภาพและสามารถพัฒนาระบบประปาได้ก็จะช่วยให้บรรลุตามนโยบายด้านนี้มากยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรสนับสนุนในหลักการให้มีการทบทวนแผนเร่งรัดให้มีน้ำสะอาดในชนบทด้วยระบบประปา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2534 เพื่อพิจารณาเพิ่มเป้าหมายการดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
- แต่เนื่องจากการพัฒนาระบบประปาชนบทตามข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทยนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่แล้ว อีกทั้งเป็นเรื่องทางเทคนิคที่ต้องพิจารณาตามศักยภาพและความเหมาะสมของพื้นที่ ประกอบกับงบประมาณดำเนินการที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจซึ่งประกอบด้วยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งเพื่อเสนอกรรมการ กชช.ภ. พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบมติการประชุมคณะกรรมการพัฒนาชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค (กชช.ภ.) ครั้งที่ 2/2537 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2537 และครั้งที่ 3/2537 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2537 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. การปรับระบบบริหารแผนงานและงบประมาณของ 7 กระทรวงหลัก และหน่วยงานเสริมในระบบ กชช.ภ. ที่ประชุม กชช.ภ. มีมติว่า
1.1 ให้มีการปรับปรุงระบบบริหารแผนงานโครงการของ 7 กระทรวงหลัก และหน่วยงานเสริม โดยให้ปรับวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติให้สั้นลง เพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจของจังหวัดในปัจจุบันมากขึ้น
1.2 ในเรื่องของแผนงานและงบประมาณ จะยังคงรักษาหลักการไว้เหมือนเดิม รวมทั้งยังให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการและทางด้านเทคนิค แต่จังหวัดจะต้องรับผิดชอบในการดำเนินการมากขึ้นและแก้ปัญหาของตนเอง
1.3 เพื่อให้เกิดการประสานงานกันทั้งในบทบาทและภารกิจของส่วนกลางที่จะลงไปดำเนินการในระดับพื้นที่กับบทบาทและภารกิจของจังหวัดที่ต้องรับผิดชอบการแก้ปัญหาของตนเอง จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องการปรับปรุงกระบวนการจัดทำแผนและประสานแผน โดยมุ่งเน้นให้จังหวัดและแผนพัฒนาจังหวัดเป็นศูนย์รวมของการแก้ปัญหา และการดำเนินงานพัฒนาในทุกเรื่องและทุกพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.4 ให้ฝ่ายเลขานุการ กชช.ภ. และคณะอนุกรรมการประสานการวางแผนพัฒนาจังหวัดไปดำเนินการจัดทำรายละเอียดแนวทางการปฏิบัติตามมติข้อ 1.1 และ 1.3 โดยให้มีการระดมความคิดเห็นในระหว่างผู้รับผิดชอบการบริหารโครงการจากส่วนกลางและผู้ปฏิบัติงานในระดับจังหวัดประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อนำข้อมูลบางส่วนมาปรับใช้สำหรับปีงบประมาณ 2539 และใช้เต็มรูปแบบในปีงบประมาณ 2540
1.5 ในปัจจุบันเป็นช่วงระยะเวลาของการเตรียมการเพื่อจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540 - 2544) ดังนั้นเห็นควรให้มีการทบทวนแผนงานและโครงการพัฒนาชนบทของกระทรวงต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและทิศทางการพัฒนา และให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายและแผนงานภายใต้ระบบ กชช.ภ. เพื่อรับผิดชอบดูแลในเรื่องนี้ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นประธาน มีผู้แทนของสำนักงบประมาณผู้แทนจาก 7 กระทรวงหลัก และผู้แทนจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ
1.6 เนื่องจากการจัดสรรและการบริหารงบประมาณจากส่วนกลางลงจังหวัดเป็นเรื่องสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาชนบท แต่ยังไม่มีความชัดเจนในปัจจุบัน จึงควรให้ความสำคัญในเรื่องการกำกับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อการพัฒนาจังหวัดมากขึ้น โดยให้คณะอนุกรรมการนโยบายและแผนงานที่จะจัดตั้งขึ้นตามมติข้อ 1.5 เป็นผู้รับผิดชอบดูแลในเรื่องนี้ โดยประสานกับสำนักงบประมาณอย่างใกล้ชิด
1.7 เพื่อให้การบริหารงานพัฒนาชนบทในส่วนภูมิภาคเป็นไปด้วยความราบรื่นต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงควรให้ความสำคัญในเรื่องการกำกับการจัดทำแผนและการประสานแผนในส่วนภูมิภาคของหน่วยงานต่าง ๆ ตามแนวทางที่จะปรับปรุงใหม่ทั้งในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัดมากขึ้น โดยให้คณะอนุกรรมการประสานการวางแผนพัฒนาจังหวัด (อผจ.) ดำเนินการชี้แจงและทำความเข้าใจในขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติกับผู้ที่เกี่ยวข้องในส่วนภูมิภาค
2. โครงการปรับปรุง และจัดทำสถิติผลิตภัณฑ์รวมระดับภาคและระดับจังหวัดสาขาเกษตร ที่ประชุม กชช.ภ. มีมติว่า
2.1 โครงการนี้สามารถแก้ไขปัญหาความล่าช้าของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการจัดทำข้อมูลสถิติผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดสาขาการเกษตรได้ อันจะทำให้สามารถนำสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมระดับจังหวัดและระดับภาคไปใช้ในการวัดผลกระทบในการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค อันเกิดจากการปรับโครงสร้างในการผลิตการเกษตรซึ่งเป็นนโยบายการพัฒนาของประเทศ
2.2สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติโดยกองบัญชีประชาชาติได้ดำเนินการจัดทำและปรับปรุงสถิติผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดในสาขาการเกษตร โดยรวบรวมข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ จึงให้ทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรจัดทำระบบฐานข้อมูล (Data Base) ทั้งหมดให้เป็นระดับเดียวกัน และสามารถเชื่อมโยงกับระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันมีความสมบูรณ์และถูกต้องน่าเชื่อถือ
2.3 การจัดทำระบบข้อมูลสถิติผลิตภัณฑ์ระดับภาคและจังหวัด สาขาการเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรนั้นสอดคล้องกับแนวทางของ กชช.ภ. ที่สนับสนุนให้หน่วยราชการ ตลอดจนจังหวัดต่าง ๆ พัฒนาระบบฐานข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลในด้านเศรษฐกิจ เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาทั้งส่วนรวมและส่วนราชการหรือสาขาการพัฒนาและแผนพัฒนาของจังหวัด
2.4 สำหรับพื้นที่เป้าหมายดำเนินการในปี 2538 เนื่องจากได้มีการขอทบทวนมติ กชช.ภ.ครั้งที่ 1/2537 โดยจะดำเนินการทุกจังหวัดทั่วประเทศ จึงให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ทบทวนพื้นที่เป้าหมายดำเนินการใหม่ โดยประสานกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.5 ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมให้แก่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรตามที่เสนอไว้
2.6 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับข้อสังเกตของที่เประชุมเกี่ยวกับการจัดทำระบบข้อมูลดังกล่าวโดยให้ความสำคัญในการตรวจสอบข้อมูลการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักให้ชัดเจนกว่าเดิม เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาการตัดสินใจเรื่องการแทรกแซงของรัฐบาลโดยเฉพาะเรื่อง ข้าว มันสำปะหลัง กาแฟ และสับปะรด เป็นต้น
2.7 ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพิจารณาความชัดเจนของการวัดและจัดเก็บข้อมูลแรงงานภาคเกษตร ทั้งแรงงานที่ขาดแคลนในบางพื้นที่ และแรงงานส่วนเกินในบางพื้นที่ รวมทั้งการโยกย้ายถิ่นฐาน เพื่อการกำหนดนโยบายที่ก่อให้เกิดการจ้างงานที่พอเพียงกับแรงงานส่วนเกินนั้น
2.8 ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตรวจสอบข้อมูลที่เชื่อกันว่ารายได้ประชาชนในภูมิภาคที่มาจากภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงไป ในขณะที่รายได้จากภายนอกภาคเกษตรมากขึ้น เพื่อจะได้กำหนดนโยบายกระจายรายได้สำหรับประชาชนในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรได้ชัดเจนขึ้น และขอให้ข้อมูลที่เก็บได้จากโครงการนี้สามารถตอบคำถามได้ว่า รายได้ของเกษตรกรที่ปรากฏในผลิตภัณฑ์มวลรวมของชาติ (GDP) ในปัจจุบันนั้นต่ำกว่าความเป็นจริงหรือไม่
2. ครั้งที่ 3/2537 มีมติรวม 4 เรื่อง ได้แก่
2.1 แนวความคิดในการจัดทำแผนพัฒนาชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่ประชุม กชช.ภ. มีมติว่า
2.1.1 แผนพัฒนาชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคจะต้องสอดคล้องกับทิศทางหลักในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่เน้นประสิทธิภาพและคุณภาพการบริหารงานพัฒนา และเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องเน้นการเตรียมความพร้อมให้แก่ประชากรและชุมชนในชนบท เพื่อให้สามารถรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมจากภายนอก ซึ่งประเด็นการพัฒนาเบื้องต้นควรเน้นในเรื่องคุณภาพชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเตรียมคนและชุมชน และการจัดการของรัฐ ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการนำเรื่องนี้ไปประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.1.2 อนุมัติให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อรับผิดชอบการจัดทำแผนพัฒนาชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อรับผิดชอบในการร่างรายละเอียดแผนฯ โดยให้นำประเด็นสำคัญ ๆ เสนอคณะกรรมการ กชช.ภ. เป็นระยะ ๆ
2.1.3 อนุมัติให้ฝ่ายเลขานุการ กชช.ภ. ไปดำเนินการตามแผนปฏิบัติการและปฏิทินการดำเนินงาน ดังนี้
- ดำเนินการประเมินผลการพัฒนาชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคในช่วงเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2537
- จัดทำร่างข้อเสนอแนวคิดและทิศทางการพัฒนาชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคในช่วงแผนฯ 8 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2537 ถึง มกราคม 2538
- จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมรวม 3 ครั้ง คือในเดือนมกราคมและมิถุนายน 2538 และในเดือนมกราคม 2539
- จัดทำรายละเอียดของแผนเสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการ กชช.ภ. ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง ธันวาคม 2538
- ผนวกแผนพัฒนาชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคเข้ากับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ-และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ในช่วงเดือนมกราคม ถึง กันยายน 2539
2.2 โครงการส่งเสริมขบวนการออมทรัพย์ระดับชุมชน ที่ประชุม กชช.ภ. มีมติว่า
2.2.1 ให้ฝ่ายเลขานุการร่วมกับธนาคารออมสิน และมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย จัดทำรายละเอียดของโครงการและวงเงินประเดิมที่เหมาะสมให้มีความชัดเจนในรูปแบบและวิธีการปฏิบัติ เพื่อเสนอคณะกรรมการ กชช.ภ. พิจารณาต่อไป
2.2.2 ให้ระดมความคิดจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมขบวนการออมทรัพย์ระดับชุมชนเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติที่จัดทำตามข้อ
2.2.1 เกิดผลได้จริงจัง รวมทั้งการหาแนวทางที่ภาคธุรกิจเอกชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและชนบทให้กว้างขวางขึ้นด้วย
2.3 การปรับแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาจังหวัดตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการงบประมาณ ที่ประชุม กชช.ภ. มีมติว่า
2.3.1 ในส่วนของการตรวจสอบโครงการพัฒนาจังหวัดของ ส.ส. ให้เจ้าหน้าที่จัดทำแผนโครงการพัฒนาจังหวัดล่วงหน้า และให้ประสานกับ ส.ส. สำหรับการตรวจสอบระดับพื้นที่นั้นเห็นว่าการเสนอโครงการพัฒนาจังหวัดในปี 2538 จะต้องผ่านการพิจารณาของ กสต. และ กพอ. อยู่แล้ว และหากให้ ส.ส. ได้ตรวจสอบอีกครั้งจะไม่สามารถดำเนินการได้ทัน เพราะไม่มีการจัดทำแผน กพจ. ล่วงหน้าไว้ก่อน แต่ข้อเสนอนี้มีประโยชน์ในแง่การมี ส่วนร่วมและการรับรู้ของประชาชน จึงเห็นควรให้จังหวัดดำเนินการในปี 2539 ต่อไป
2.3.2 ในการประเมินผลโครงการพัฒนาจังหวัดนั้น กชช.ภ. ได้มอบหมายให้สำนักงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว สำหรับปี 2538 เห็นสมควรให้เน้นการติดตามประเมินผล ผลกระทบโครงการต่อประชาชนให้มากขึ้นตามข้อเสนอแนะของ ส.ส. โดยให้หน่วยงานดังกล่าวข้างต้นรับผิดชอบต่อไป โดยประสานกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ให้มีส่วนร่วมในการประเมินผลด้วย อันจะทำให้ผลการประเมินเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
2.3.3 เพื่อให้การบริหารโครงการพัฒนาจังหวัดปี 2538 เป็นไปอย่างคล่องตัว เห็นควรอนุมัติโอนเงินงบประมาณ สำหรับการดำเนินการโครงการพัฒนาจังหวัดได้ทันทีที่ กพจ. อนุมัติ และให้กระทรวงมหาดไทยประมวลผลิการพิจารณาอนุมัติโครงการพัฒนาจังหวัดปี 2538 ให้ กชช.ภ. ทราบเป็นรายโครงการในเดือนธันวาคม 2537 ต่อไป
2.4 การแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในหมู่บ้านชนบทด้วยระบบประชาชนบท ที่ประชุม กชช.ภ. มีข้อสังเกตและมีมติว่า
2.4.1 ข้อสังเกตของที่ประชุม
- ควรมีการประเมินผลระบบประปาหมู่บ้านที่ทำไปแล้ว โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพ รวมทั้งการบริหารจัดการเพื่อประกอบการพิจารณาทบทวนการปรับแผนระบบประปาชนบท และการดำเนินงานในระยะต่อไป
- ควรพิจารณาถึงความต้องการพัฒนาระบบประปาให้ครอบคลุมพื้นที่และครัวเรือนตามข้อเท็จจริงของหมู่บ้าน ซึ่งใน 1 หมู่บ้านอาจมีหลายบ้าน
- งบประมาณในการดำเนินการตามข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทยที่ใช้รูปแบบของระบบประปาอุตรดิตถ์อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ จึงควรคิดถึงความเหมาะสมของรูปแบบ ระบบประปาที่จะดำเนินการให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ โดยคำนึงถึงความพร้อมของผู้รับเหมาที่จะดำเนินการด้วย
- ควรที่จะพิจารณาถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบเนื่องจากการดำเนินการเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน และต้องใช้ความรู้ทางเทคนิค
2.4.2 มติที่ประชุม
- การจัดให้มีน้ำสะอาดในชนบทด้วยระบบประปาเป็นนโยบายสำคัญประการหนึ่งของรัฐบาลที่ได้ดำเนินการมาแล้วจนเป็นผลสำเร็จระดับหนึ่ง และหากจะมีการขยายเป้าหมายการดำเนินการจากที่กำหนดไว้เดิมคือร้อยละ 70 ของหมู่บ้านทั่วประเทศให้ครอบคลุมหมู่บ้านที่มีศักยภาพและสามารถพัฒนาระบบประปาได้ก็จะช่วยให้บรรลุตามนโยบายด้านนี้มากยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรสนับสนุนในหลักการให้มีการทบทวนแผนเร่งรัดให้มีน้ำสะอาดในชนบทด้วยระบบประปา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2534 เพื่อพิจารณาเพิ่มเป้าหมายการดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
- แต่เนื่องจากการพัฒนาระบบประปาชนบทตามข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทยนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่แล้ว อีกทั้งเป็นเรื่องทางเทคนิคที่ต้องพิจารณาตามศักยภาพและความเหมาะสมของพื้นที่ ประกอบกับงบประมาณดำเนินการที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจซึ่งประกอบด้วยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งเพื่อเสนอกรรมการ กชช.ภ. พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538--