ทำเนียบรัฐบาล--12 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ การแต่งตั้งคณะกรรมการไตรภาคีป้องกันและแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องด้านแรงงานในภาวะวิกฤต โดยมีอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นประธาน และมีกรรมการประกอบด้วยผู้แทนสภาองค์การนายจ้าง สภาองค์การลูกจ้างทุกแห่ง และเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยอำนาจหน้าที่มีดังนี้
1) ให้คำแนะนำแก่นายจ้าง ลูกจ้าง ในการประนอมข้อพิพาทแรงงานและข้อขัดแย้งด้านแรงงานในสถานประกอบการ
2) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานและข้อขัดแย้งด้านแรงงาน
3) เข้าระงับข้อพิพาทแรงงานและข้อขัดแย้งด้านแรงงานในสถานประกอบการตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
4) วางกรอบเสนอแนวทางเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการพิจารณากำหนดปรับปรุงสภาพการจ้างต่อรัฐบาล
5) รวบรวมและให้การสนับสนุนข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับปัญหาด้านแรงงาน
6) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางและมาตรการในการเข้าดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านแรงงานในภาวะวิกฤต
7) พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานตามความเหมาะสม
8) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
หลักการสำคัญในการดำเนินการของคณะกรรมการฯ จะเป็นไปในลักษณะทั้งในเชิงป้องกันมิให้ปัญหาข้อขัดแย้งและข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการลุกลามเป็นปัญหาการชุมนุม โดยพยายามให้ยุติลงภายในสถานประกอบการด้วยวิธีการเจรจาโดยสันติ และเชิงแก้ไขหากเกิดสถานการณ์การชุมนุมเรียกร้อง มิให้มีการนำมาตรการที่รุนแรงผิดกฎหมายมาใช้
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รายงานว่า ได้จัดประชุมผู้นำสภาองค์การนายจ้างและสภาองค์การลูกจ้าง ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2541 และวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2541 เพื่อทำความเข้าใจถึงปัญหา และร่วมกันหาแนวทางมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องด้านแรงงาน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคีพิเศษขึ้น เพื่อเข้าไปดำเนินการร่วมแก้ไขปัญหากับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งและข้อพิพาทแรงงานในภาวะวิกฤต โดยมีโครงสร้างรูปแบบการดำเนินการและอำนาจหน้าที่ดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ การแต่งตั้งคณะกรรมการไตรภาคีป้องกันและแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องด้านแรงงานในภาวะวิกฤต โดยมีอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นประธาน และมีกรรมการประกอบด้วยผู้แทนสภาองค์การนายจ้าง สภาองค์การลูกจ้างทุกแห่ง และเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยอำนาจหน้าที่มีดังนี้
1) ให้คำแนะนำแก่นายจ้าง ลูกจ้าง ในการประนอมข้อพิพาทแรงงานและข้อขัดแย้งด้านแรงงานในสถานประกอบการ
2) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานและข้อขัดแย้งด้านแรงงาน
3) เข้าระงับข้อพิพาทแรงงานและข้อขัดแย้งด้านแรงงานในสถานประกอบการตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
4) วางกรอบเสนอแนวทางเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการพิจารณากำหนดปรับปรุงสภาพการจ้างต่อรัฐบาล
5) รวบรวมและให้การสนับสนุนข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับปัญหาด้านแรงงาน
6) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางและมาตรการในการเข้าดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านแรงงานในภาวะวิกฤต
7) พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานตามความเหมาะสม
8) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
หลักการสำคัญในการดำเนินการของคณะกรรมการฯ จะเป็นไปในลักษณะทั้งในเชิงป้องกันมิให้ปัญหาข้อขัดแย้งและข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการลุกลามเป็นปัญหาการชุมนุม โดยพยายามให้ยุติลงภายในสถานประกอบการด้วยวิธีการเจรจาโดยสันติ และเชิงแก้ไขหากเกิดสถานการณ์การชุมนุมเรียกร้อง มิให้มีการนำมาตรการที่รุนแรงผิดกฎหมายมาใช้
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รายงานว่า ได้จัดประชุมผู้นำสภาองค์การนายจ้างและสภาองค์การลูกจ้าง ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2541 และวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2541 เพื่อทำความเข้าใจถึงปัญหา และร่วมกันหาแนวทางมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องด้านแรงงาน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคีพิเศษขึ้น เพื่อเข้าไปดำเนินการร่วมแก้ไขปัญหากับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งและข้อพิพาทแรงงานในภาวะวิกฤต โดยมีโครงสร้างรูปแบบการดำเนินการและอำนาจหน้าที่ดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541--