ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการจัดระเบียบสังคมในพื้นที่เป้าหมาย พ.ศ. 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 19, 2013 10:05 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการจัดระเบียบสังคมในพื้นที่เป้าหมาย พ.ศ. 2556 ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ

สาระสำคัญ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการจัดระเบียบสังคมในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการติดตามประเมินผล และวางแผนกำหนดมาตรการการจัดระเบียบสังคม เพื่อให้สังคมน่าอยู่ และคนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยสุ่มประชาชนในพื้นที่เป้าหมายจาก 64,418 ชุมชน/หมู่บ้านมาจำนวนหนึ่งมีประชาชนที่ถูกเลือกเป็นตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 10,000 ราย และเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 — 12 มีนาคม 2556 ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปดังนี้

1. ประชาชนร้อยละ 10.7 ระบุว่ามีสถานบันเทิง/สถานบริการในชุมชน/หมู่บ้านเป้าหมาย และร้อยละ 89.3 ระบุว่าไม่มี โดยสถานบันเทิง/สถานบริการที่มีเกิดเหตุการณ์ ดังนี้

1.1 การเปิด — ปิดเกินเวลา ประชาชนร้อยละ 37.4 ระบุว่ามีเกิดขึ้นและร้อยละ 34.6 ระบุว่าไม่เกิดขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจมีร้อยละ 28.0 โดยกรุงเทพมหานครมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 60.3) ขณะที่ภาคอื่นมีประมาณร้อยละ 35 — 40 ส่วนภาคกลางมีเกิดขึ้นน้อยที่สุด (ร้อยละ 32.1)

1.2 การส่งเสียงดังรบกวน ประชาชนร้อยละ 42.1 ระบุว่ามีเกิดขึ้น และร้อยละ 40.2 ระบุว่าไม่เกิดขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจมีร้อยละ 17.7 โดยกรุงเทพมหานครมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 55.3) ขณะที่ภาคอื่นมีประมาณร้อยละ 40 — 48 ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเกิดขึ้นน้อยที่สุด (ร้อยละ 35.4)

1.3 การจัดการแสดงที่ไม่เหมาะสม ประชาชนร้อยละ 19.7 ระบุว่ามีเกิดขึ้นและร้อยละ 39.3 ระบุว่าไม่เกิดขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจมีร้อยละ 41.0 โดยกรุงเทพมหานครมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 44.1) ขณะที่ภาคอื่นมีประมาณร้อยละ 14 — 24 ส่วนภาคเหนือมีเกิดขึ้นน้อยที่สุด (ร้อยละ12.0)

1.4 การปล่อยให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าไปใช้บริการ ประชาชนร้อยละ 35.5 ระบุว่ามีเกิดขึ้น และร้อยละ 24.3 ระบุว่าไม่เกิดขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจมีร้อยละ 40.2 โดยกรุงเทพมหานครมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 57.1) รองลงมาได้แก่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 54.3) และภาคใต้ (ร้อยละ 44.1) ส่วนภาคกลาง และภาคเหนือมีเกิดขึ้นน้อยที่สุด คือ ร้อยละ 27.1 และ 21.8 ตามลำดับ

2. ประชาชนสูงถึงร้อยละ 89.1 ระบุว่ามีร้านค้าขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/บุหรี่ในชุมชน/หมู่บ้านเป้าหมาย และร้อยละ 10.9 ระบุว่าไม่มี โดยร้านค้าขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/บุหรี่ ที่มีเกิดเหตุการณ์ ดังนี้

2.1 การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/บุหรี่ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ประชาชนร้อยละ 55.5 ระบุว่ามีเกิดขึ้น และร้อยละ 22.4 ระบุว่าไม่เกิดขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจมีร้อยละ 22.1 โดยภาคใต้มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 65.7) ขณะที่ภาคอื่นมีประมาณร้อยละ 49 — 59 ส่วนภาคเหนือมีเกิดขึ้นน้อยที่สุด (ร้อยละ 48.7)

2.2 การขายบริเวณใกล้เคียงหรือรอบ ๆ สถานศึกษา/ศาสนสถาน ประชาชนร้อยละ 44.2 ระบุว่ามีเกิดขึ้น และร้อยละ 36.7 ระบุว่าไม่เกิดขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจมีร้อยละ 19.1 โดยกรุงเทพมหานคร มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 55.5) ขณะที่ภาคอื่น มีเกิดขึ้นประมาณร้อยละ 40 — 52 ส่วนภาคเหนือเกิดขึ้นน้อยที่สุด (ร้อยละ 39.2)

3. ประชาชนประมาณครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 56.3) ระบุว่ามีร้านขายสินค้า/บริการที่ผิดกฎหมาย (ร้านค้าแอบแฝง) และร้อยละ 43.7 ระบุว่าไม่มี โดยร้านขายสินค้า/บริการที่ผิดกฎหมายดังกล่าวประชาชนเห็นว่ามีการลักลอบขายเกิดขึ้นร้อยละ 17.3 และไม่เกิดขึ้นร้อยละ 34.1 ส่วนผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจมีร้อยละ 48.6 โดยกรุงเทพมหานครมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 32.6) ขณะที่ภาคอื่นมีประมาณร้อยละ 17 — 21 ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเกิดขึ้นน้อยที่สุด (ร้อยละ 11.4)

4. ประชาชนร้อยละ 70.7 ระบุว่ามีร้านแต่ง/ซ่อมรถจักรยานยนต์ในชุมชน/หมู่บ้านเป้าหมาย และร้อยละ 29.3 ระบุว่าไม่มี โดยร้านแต่ง/ซ่อมรถจักรยานยนต์ดังกล่าว ประชาชนเห็นว่ามีเหตุการณ์มั่วสุมเสพยาเสพติดเกิดขึ้นร้อยละ 17.8 และไม่เกิดขึ้นมีร้อยละ 42.6 ส่วนผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจมีร้อยละ 39.6 โดยกรุงเทพมหานครมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 30.9) ขณะที่ภาคอื่นมีประมาณร้อยละ 18 — 22 ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเกิดขึ้นน้อยที่สุด (ร้อยละ 12.4)

5. ประชาชนร้อยละ 40.1 ระบุว่ามีร้านอาหาร/ร้านคาราโอเกะในชุมชน/หมู่บ้านเป้าหมาย และร้อยละ 59.9 ระบุว่าไม่มี โดยร้านอาหาร/ร้านคาราโอเกะดังกล่าว ประชาชนเห็นว่ามีการมั่วสุมเสพยาเสพติดเกิดขึ้นร้อยละ 16.7 และไม่เกิดขึ้นร้อยละ 42.4 ส่วนผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจมีร้อยละ 40.9 โดยกรุงเทพมหานครมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 36.9) ขณะที่ภาคอื่นมีประมาณร้อยละ 17-21 ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกิดขึ้นน้อยที่สุด (ร้อยละ 8.6)

6. ประชาชนร้อยละ 22.4 ระบุว่ามีหอพัก บ้านเช่า อพาร์ทเมนต์ และคอนโดมิเนียมในชุมชน/หมู่บ้านเป้าหมาย และร้อยละ 77.6 ระบุว่าไม่มี โดยหอพัก บ้านเช่า อพาร์ทเมนต์และคอนโดมิเนียมที่มีเกิดเหตุการณ์ ดังนี้

6.1 การมั่วสุมเสพยาเสพติด ประชาชนร้อยละ 34.4 ระบุว่ามีเกิดขึ้นและร้อยละ 25.9 ระบุว่าไม่เกิดขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจมีร้อยละ 39.7 โดยภาคใต้มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 46.2) รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือ (ร้อยละ 42.5) กรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 40.4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 28.2) และภาคกลาง (ร้อยละ 26.4)

6.2 การซื้อขายเสพติด ประชาชนร้อยละ 26.8 ระบุว่ามีเกิดขึ้น และร้อยละ 26.3 ระบุว่าไม่เกิดขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจมีร้อยละ 46.9 โดยกรุงเทพมหานครมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 39.4) รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือ (ร้อยละ 37.1) ภาคใต้ (ร้อยละ 34.4) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 19.7) ส่วนภาคกลางมีเกิดขึ้นน้อยที่สุด (ร้อยละ 18.1)

6.3 การมั่วสุมดื่มสุรา ประชาชนร้อยละ 56.8 ระบุว่าเกิดขึ้น และร้อยละ 16.1 ระบุว่าไม่เกิดขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจมีร้อยละ 27.1 โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 69.0) รองลงมาได้แก่ ภาคใต้ (ร้อยละ 61.9) ภาคเหนือ (ร้อยละ 60.8) และกรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 58.4) ส่วนภาคกลางมีเกิดขึ้นน้อยที่สุด (ร้อยละ 50.0)

7. ประชาชนร้อยละ 28.8 ระบุว่ามีร้านเกม — อินเตอร์เน็ต และร้อยละ 71.2 ระบุว่าไม่มี โดยร้านเกม — อินเตอร์เน็ตที่มีเกิดเหตุการณ์ ดังนี้

7.1 การซื้อขายยาเสพติด ประชาชนร้อยละ 14.9 ระบุว่ามีเกิดขึ้น และร้อยละ 42.4 ระบุว่าไม่เกิดขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจมีร้อยละ 42.7 โดยกรุงเทพมหานครมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 36.4) ขณะที่ภาคอื่นมีประมาณร้อยละ 10 - 23 ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเกิดขึ้นน้อยที่สุด (ร้อยละ 7.9)

7.2 การมั่วสุมเสพยาเสพติด ประชาชนร้อยละ 17.1 ระบุว่ามีเกิดขึ้นและร้อยละ 42.0 ระบุว่าไม่เกิดขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจมีร้อยละ 40.9 โดยกรุงเทพมหานครมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 39.9) รองลงมาได้แก่ ภาคใต้ (ร้อยละ 23.6) ภาคเหนือ (ร้อยละ 23.0) ภาคกลาง (ร้อยละ 12.9) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 9.1)

8. พฤติกรรมของเด็ก/เยาวชนที่มีเกิดขึ้นในชุมชน/หมู่บ้านเป้าหมาย มีดังนี้

8.1 การมั่วสุมรวมกลุ่มของเด็ก/เยาวชน (เช่น แกงค์รถซิ่ง) ประชาชนร้อยละ 38.5 ระบุว่ามีเกิดขึ้น และร้อยละ 50.8 ระบุว่าไม่เกิดขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจมีร้อยละ 10.7 โดยกรุงเทพมหานครมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 55.8) ขณะที่ภาคอื่นมีประมาณร้อยละ 36 — 42 ส่วนภาคเหนือมีเกิดขึ้นน้อยที่สุด (ร้อยละ 34.7)

8.2 การมั่วสุมของเด็กนักเรียน/เยาวชน /เด็กเร่ร่อนในมุมอับ/ที่ลับตาคน/สวนสาธารณะ ประชาชนร้อยละ 31.0 ระบุว่ามีเกิดขึ้น ร้อยละ 42.7 ระบุว่าไม่เกิดขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจมีร้อยละ 16.3 โดยกรุงเทพมหานครมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 50.0) รองลงมาได้แก่ ภาคใต้ (ร้อยละ 41.1) ภาคเหนือ (ร้อยละ 29.6) ภาคกลาง (ร้อยละ 29.4) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 26.4)

8.3 การขายบริการทางเพศในสวนสาธารณะ/สถานบันเทิง/สถานบริการ ประชาชนร้อยละ 9.2 ระบุว่ามีเกิดขึ้น และร้อยละ 75.2 ระบุว่าไม่เกิดขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจมีร้อยละ 15.6 โดยกรุงเทพมหานครมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 27.9) รองลงมาได้แก่ ภาคใต้ (ร้อยละ 12.8) ภาคเหนือ (ร้อยละ 9.2) ภาคกลาง (ร้อยละ 8.4) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 6.5)

9. แหล่ง/สถานที่ที่ประชาชนต้องการให้ภาครัฐเข้าไปดูแล/จัดระเบียบมากที่สุด คือ สถานบันเทิง/สถานบริการ (ร้อยละ 50.5) รองลงมาได้แก่ ร้านเกม — อินเตอร์เน็ต (ร้อยละ 41.0) แหล่งอบายมุข เช่น สถานที่รับซื้อหวยใต้ดิน รับพนันบอล ร้านค้าแอบแฝง ฯลฯ (ร้อยละ 35.3) และชุมชนแออัด (ร้อยละ 34.3) เป็นต้น

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 มิถุนายน 2556--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ