คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานมาตรการการส่งเสริมการคุ้มครอง นักท่องเที่ยวจีน ซึ่งกรณีปัญหาที่เกิดกับนักท่องเที่ยวจีนมีประการใหญ่ ๆ กล่าวคือ
1 ปัญหาทัวร์ KICK BACK เป็นปัญหาที่เกิดจากบริษัททัวร์ในประเทศไทย ต้องจ่ายเงินซื้อลูกทัวร์จากบริษัทที่ขายทัวร์ในประเทศจีน ส่วนบริษัททัวร์ในจีนก็ไม่จ่ายค่าหัวนักท่องเที่ยวให้กับบริษัททัวร์ในประเทศไทย จึงเกิดการ นำนักท่องเที่ยวไปต้มตุ๋น หลอกลวง บังคับขายของ หากนักท่องเที่ยวไม่ยินยอม จะเกิดกรณีทิ้งทัวร์ทันที
2. ปัญหาอัญมณี มีการหลอกลวงนักท่องเที่ยวไปซื้ออัญมณีและเครื่องประดับที่ไม่ได้มาตรฐานหรือต่ำกว่ามาตรฐานที่ปิดประกาศไว้ในราคาแพงเกินกว่าความเป็นจริง โดยใช้กลอุบายและการโน้มน้าวอย่างเป็นขบวนการ
3. ปัญหาการดำเนินการของบริษัททัวร์ในประเทศ ไม่เป็นไปตามที่ตกลงกับนักท่องเที่ยว เช่น กำหนดการท่องเที่ยว คุณภาพที่พัก อาหาร พาหนะเดินทาง เป็นต้น
การดำเนินการของกระทรวงที่ผ่านมา
จากสภาพปัญหาหลัก ๆ 3 ประการข้างต้น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ประสานงานกับกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวอย่างใกล้ชิด ในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด ทั้งมาตรการป้องกันและปราบปราม กล่าวคือ
1. มาตรการป้องกัน
1.1 จัดระบบเฝ้าระวังรักษาความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว โดยการตรวจสอบคณะทัวร์และแจกใบแจ้งราคากลางค่าทัวร์ และบริการบางประเภทให้แก่นักท่องเที่ยว โดยมีผลการตรวจสอบ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2546 ถึง ธันวาคม 2547 จำนวน 26,279 คณะ และตั้งแต่เดือนมกราคม 2548 ถึง ปัจจุบัน จำนวน 2,171 คณะ 47,098 คน
1.2 จัดทำบันทึกความตกลงร่วมกับชมรมผู้ค้าอัญมณีไทยสำหรับนักท่องเที่ยว (THAILAND JEWELRY TRADER FOR TOURIST) รายใหญ่ จำนวนจากเดิม 7 เพิ่มเป็น 8 บริษัท และดำเนินการตรวจสอบพฤติการณ์เป็นระยะ
1.3 กำหนดมาตรฐานราคา และให้การรับรองร้านค้าอัญมณีที่ได้มาตรฐาน โดยชมรมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับมาตรฐาน (JEWEL FEST CLUB)
1.4 กำหนดให้มีการลงสัตยาบันร่วมกัน ของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว จากความร่วมมือของสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) จำนวน 156 ราย เพื่อการแก้ไขปัญหา
1.5 ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าอัญมณีเกี่ยวกับมาตรการลงโทษที่รุนแรง ทั้งทางด้านภาษีและการยึดทรัพย์
2. มาตรการปราบปราม
2.1 ดำเนินการมาตรการเฝ้าระวัง โดยการเข้าตรวจสอบ กดดันผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ร้านค้าอัญมณี ร้านอาหาร และร้านขายของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยวที่มีพฤติการณ์กระทำผิดและจับกุมผู้กระทำผิดและผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินคดี จำนวน 18 ราย
2.2 ดำเนินมาตรการปราบปราม จับกุมการกระทำผิดต่อนักท่องเที่ยว มีผลการจับกุม ดังนี้
2.2.1 ความผิดตาม พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2547 จำนวน 161 ราย 168 คน และตั้งแต่ พ.ศ.2548 ถึงปัจจุบัน จำนวน 19 ราย 21 คน
2.2.2 ความผิดตาม พ.ร.บ. การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2547 จำนวน 70 ราย 122 คน และตั้งแต่ พ.ศ.2548 ถึงปัจจุบัน จำนวน 36 ราย 88 คน
2.2.3 ความผิดตาม พ.ร.บ. สถานบริการ พ.ศ.2547 จำนวน 22 ราย 26 คน และตั้งแต่ พ.ศ.2548 ถึงปัจจุบัน จำนวน 27 ราย 29 คน
2.2.4 ความผิดก่อความเดือดร้อนรำคาญ พ.ศ.2547 จำนวน 2,799 ราย 2,908 คน และตั้งแต่ พ.ศ.2548 ถึงปัจจุบัน จำนวน 1,372 ราย 1,518 คน
แนวทางการดำเนินการขั้นต่อไป
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้กำหนดมาตรการเพิ่มเติมในลักษณะมาตรการจูงใจส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทัวร์จีนคุณภาพ รวมกลุ่มกัน ร่วมกับภาครัฐ ดำเนินการสร้างความมั่นใจให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจีน ตลอดจนนักท่องเที่ยวจีนในการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย ดังนี้
1. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ดำเนินการจดทะเบียนสมาคมส่งเสริมการคุ้มครองนักท่องเที่ยวจีนแล้ว โดยจะเชิญชวนให้บริษัทนำเที่ยวชั้นดี และมีความน่าเชื่อถือเข้ามาเป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจ สมาชิกต้องวางเงินหลักประกัน จำนวน 2 ล้านบาท ไว้กับสมาคม เพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาอุปสรรคในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจีน เช่น การเกิดอุบัติเหตุ การจัดหาบริษัททัวร์ทดแทนกรณีเกิดการทิ้งทัวร์ กำหนดการเดินทาง ที่พัก อาหาร มิได้เป็นไปตามที่ตกลงกับนักท่องเที่ยวไว้ ทั้งยังมีการจัดตั้ง CALL CENTER ที่ให้บริการภาษาจีนตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ข้อมูล รับเรื่องร้องเรียน และเข้าแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ในระยะก่อตั้งสมาคม จะใช้เงินทุนประเดิมจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย
2. บริษัทที่เข้าเป็นสมาชิกสมาคมจะได้รับประโยชน์ คือ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะมีหนังสือถึงองค์การบริหารการท่องเที่ยวจีน เพื่อให้ข้อมูลว่า บริษัทสมาชิกของสมาคมเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณภาพมีหลักประกันความเสียหายที่ชัดเจน สามารถส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวชาวจีนใช้บริการได้เป็นอย่างดี อีกทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะให้การสนับสนุนการทำตลาดเป็นกรณีพิเศษ และเมื่อเดินทางถึงประเทศไทย นักท่องเที่ยวจีนที่ใช้บริการบริษัทสมาชิกสมาคม จะได้รับการดูแลเอาใจใส่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างเหมาะสมและสะดวก
3. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจักได้ขอความร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัคร-ราชทูต หรือสถานกงสุลที่ออกวีซ่าให้แก่นักท่องเที่ยวจีน จะตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ของบริษัทนำเที่ยวจีนตั้งแต่ต้นทางเพื่อเป็นการกลั่นกรองเบื้องต้น หากบริษัทใดมีปัญหาจะได้ขึ้นบัญชีไว้เป็นข้อมูลในการพิจารณาอนุญาตออกวีซ่าในครั้งต่อไป ส่งผลให้บริษัทนำเที่ยวจีนที่ดำเนินธุรกิจด้วยความไม่ถูกต้อง หลอกลวง ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เพราะหากนักท่องเที่ยวแจ้งข้อมูลในการขออนุญาตวีซ่าว่าเดินทางกับบริษัทเหล่านี้ จะไม่มีการอนุญาตออกวีซ่าให้โดยเด็ดขาด
4. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจักได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น กรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการปราบปรามการฟอกเงิน ในการกำหนดมาตรการการตรวจสอบบริษัทต่าง ๆ ที่ถูกร้องเรียนผ่าน CALL CENTER ของสมาคมส่งเสริมการคุ้มครองนักท่องเที่ยวจีน เพื่อดำเนินการอย่างเด็ดขาด โดยถือว่าเป็นภัยต่อเศรษฐกิจของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 พฤษภาคม 2548--จบ--
1 ปัญหาทัวร์ KICK BACK เป็นปัญหาที่เกิดจากบริษัททัวร์ในประเทศไทย ต้องจ่ายเงินซื้อลูกทัวร์จากบริษัทที่ขายทัวร์ในประเทศจีน ส่วนบริษัททัวร์ในจีนก็ไม่จ่ายค่าหัวนักท่องเที่ยวให้กับบริษัททัวร์ในประเทศไทย จึงเกิดการ นำนักท่องเที่ยวไปต้มตุ๋น หลอกลวง บังคับขายของ หากนักท่องเที่ยวไม่ยินยอม จะเกิดกรณีทิ้งทัวร์ทันที
2. ปัญหาอัญมณี มีการหลอกลวงนักท่องเที่ยวไปซื้ออัญมณีและเครื่องประดับที่ไม่ได้มาตรฐานหรือต่ำกว่ามาตรฐานที่ปิดประกาศไว้ในราคาแพงเกินกว่าความเป็นจริง โดยใช้กลอุบายและการโน้มน้าวอย่างเป็นขบวนการ
3. ปัญหาการดำเนินการของบริษัททัวร์ในประเทศ ไม่เป็นไปตามที่ตกลงกับนักท่องเที่ยว เช่น กำหนดการท่องเที่ยว คุณภาพที่พัก อาหาร พาหนะเดินทาง เป็นต้น
การดำเนินการของกระทรวงที่ผ่านมา
จากสภาพปัญหาหลัก ๆ 3 ประการข้างต้น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ประสานงานกับกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวอย่างใกล้ชิด ในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด ทั้งมาตรการป้องกันและปราบปราม กล่าวคือ
1. มาตรการป้องกัน
1.1 จัดระบบเฝ้าระวังรักษาความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว โดยการตรวจสอบคณะทัวร์และแจกใบแจ้งราคากลางค่าทัวร์ และบริการบางประเภทให้แก่นักท่องเที่ยว โดยมีผลการตรวจสอบ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2546 ถึง ธันวาคม 2547 จำนวน 26,279 คณะ และตั้งแต่เดือนมกราคม 2548 ถึง ปัจจุบัน จำนวน 2,171 คณะ 47,098 คน
1.2 จัดทำบันทึกความตกลงร่วมกับชมรมผู้ค้าอัญมณีไทยสำหรับนักท่องเที่ยว (THAILAND JEWELRY TRADER FOR TOURIST) รายใหญ่ จำนวนจากเดิม 7 เพิ่มเป็น 8 บริษัท และดำเนินการตรวจสอบพฤติการณ์เป็นระยะ
1.3 กำหนดมาตรฐานราคา และให้การรับรองร้านค้าอัญมณีที่ได้มาตรฐาน โดยชมรมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับมาตรฐาน (JEWEL FEST CLUB)
1.4 กำหนดให้มีการลงสัตยาบันร่วมกัน ของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว จากความร่วมมือของสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) จำนวน 156 ราย เพื่อการแก้ไขปัญหา
1.5 ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าอัญมณีเกี่ยวกับมาตรการลงโทษที่รุนแรง ทั้งทางด้านภาษีและการยึดทรัพย์
2. มาตรการปราบปราม
2.1 ดำเนินการมาตรการเฝ้าระวัง โดยการเข้าตรวจสอบ กดดันผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ร้านค้าอัญมณี ร้านอาหาร และร้านขายของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยวที่มีพฤติการณ์กระทำผิดและจับกุมผู้กระทำผิดและผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินคดี จำนวน 18 ราย
2.2 ดำเนินมาตรการปราบปราม จับกุมการกระทำผิดต่อนักท่องเที่ยว มีผลการจับกุม ดังนี้
2.2.1 ความผิดตาม พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2547 จำนวน 161 ราย 168 คน และตั้งแต่ พ.ศ.2548 ถึงปัจจุบัน จำนวน 19 ราย 21 คน
2.2.2 ความผิดตาม พ.ร.บ. การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2547 จำนวน 70 ราย 122 คน และตั้งแต่ พ.ศ.2548 ถึงปัจจุบัน จำนวน 36 ราย 88 คน
2.2.3 ความผิดตาม พ.ร.บ. สถานบริการ พ.ศ.2547 จำนวน 22 ราย 26 คน และตั้งแต่ พ.ศ.2548 ถึงปัจจุบัน จำนวน 27 ราย 29 คน
2.2.4 ความผิดก่อความเดือดร้อนรำคาญ พ.ศ.2547 จำนวน 2,799 ราย 2,908 คน และตั้งแต่ พ.ศ.2548 ถึงปัจจุบัน จำนวน 1,372 ราย 1,518 คน
แนวทางการดำเนินการขั้นต่อไป
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้กำหนดมาตรการเพิ่มเติมในลักษณะมาตรการจูงใจส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทัวร์จีนคุณภาพ รวมกลุ่มกัน ร่วมกับภาครัฐ ดำเนินการสร้างความมั่นใจให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจีน ตลอดจนนักท่องเที่ยวจีนในการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย ดังนี้
1. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ดำเนินการจดทะเบียนสมาคมส่งเสริมการคุ้มครองนักท่องเที่ยวจีนแล้ว โดยจะเชิญชวนให้บริษัทนำเที่ยวชั้นดี และมีความน่าเชื่อถือเข้ามาเป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจ สมาชิกต้องวางเงินหลักประกัน จำนวน 2 ล้านบาท ไว้กับสมาคม เพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาอุปสรรคในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจีน เช่น การเกิดอุบัติเหตุ การจัดหาบริษัททัวร์ทดแทนกรณีเกิดการทิ้งทัวร์ กำหนดการเดินทาง ที่พัก อาหาร มิได้เป็นไปตามที่ตกลงกับนักท่องเที่ยวไว้ ทั้งยังมีการจัดตั้ง CALL CENTER ที่ให้บริการภาษาจีนตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ข้อมูล รับเรื่องร้องเรียน และเข้าแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ในระยะก่อตั้งสมาคม จะใช้เงินทุนประเดิมจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย
2. บริษัทที่เข้าเป็นสมาชิกสมาคมจะได้รับประโยชน์ คือ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะมีหนังสือถึงองค์การบริหารการท่องเที่ยวจีน เพื่อให้ข้อมูลว่า บริษัทสมาชิกของสมาคมเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณภาพมีหลักประกันความเสียหายที่ชัดเจน สามารถส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวชาวจีนใช้บริการได้เป็นอย่างดี อีกทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะให้การสนับสนุนการทำตลาดเป็นกรณีพิเศษ และเมื่อเดินทางถึงประเทศไทย นักท่องเที่ยวจีนที่ใช้บริการบริษัทสมาชิกสมาคม จะได้รับการดูแลเอาใจใส่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างเหมาะสมและสะดวก
3. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจักได้ขอความร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัคร-ราชทูต หรือสถานกงสุลที่ออกวีซ่าให้แก่นักท่องเที่ยวจีน จะตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ของบริษัทนำเที่ยวจีนตั้งแต่ต้นทางเพื่อเป็นการกลั่นกรองเบื้องต้น หากบริษัทใดมีปัญหาจะได้ขึ้นบัญชีไว้เป็นข้อมูลในการพิจารณาอนุญาตออกวีซ่าในครั้งต่อไป ส่งผลให้บริษัทนำเที่ยวจีนที่ดำเนินธุรกิจด้วยความไม่ถูกต้อง หลอกลวง ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เพราะหากนักท่องเที่ยวแจ้งข้อมูลในการขออนุญาตวีซ่าว่าเดินทางกับบริษัทเหล่านี้ จะไม่มีการอนุญาตออกวีซ่าให้โดยเด็ดขาด
4. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจักได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น กรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการปราบปรามการฟอกเงิน ในการกำหนดมาตรการการตรวจสอบบริษัทต่าง ๆ ที่ถูกร้องเรียนผ่าน CALL CENTER ของสมาคมส่งเสริมการคุ้มครองนักท่องเที่ยวจีน เพื่อดำเนินการอย่างเด็ดขาด โดยถือว่าเป็นภัยต่อเศรษฐกิจของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 พฤษภาคม 2548--จบ--