แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
อสังหาริมทรัพย์
กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงการคลัง
กระทรวงมหาดไทย
ทำเนียบรัฐบาล--19 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงรวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และกระทรวงการคลังไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวทั้ง 2 ฉบับ เป็นการดำเนินการเพื่อให้คนต่างด้าวเช่าที่ดินเนื้อที่เกินกว่า 100 ไร่ เพื่อการพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมฯ อันเป็นมาตรการหนึ่งในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ซึ่งกระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และกระทรวงการคลังเห็นชอบในหลักการโดยเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งร่างกฎกระทรวง 2 ฉบับ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 (กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเช่าฯ) มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 กำหนดหลักเกณฑ์การเช่าที่ดินเนื้อที่มากกว่า 100 ไร่ เพื่อประกอบพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม
1.2 หลักฐานการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการเช่าฯ
1.3 การให้ความเห็นของสภาท้องถิ่นเมื่อได้พิจารณาคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการเช่าฯ
1.4 การอนุมัติการเช่าฯ ของอธิบดีกรมที่ดินและการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการเช่าฯ ของพนักงานเจ้าหน้าที่
1.5 จำนวนเงินที่นำมาลงทุนเพื่อประกอบพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมต้องไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท ทั้งนี้ ต้องไม่รวมถึงเงินค่าเช่า
2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 (กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนการเช่า การกำหนดประเภทของพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมที่ให้ทำการเช่าฯ) มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการเช่าที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม
2.2 กำหนดบริเวณที่ดินที่สามารถจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการเช่าได้
2.3 ประเภทของพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมที่สามารถจดทะเบียนการเช่าได้ และประเภทของพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมที่คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลตามมาตรา 97 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินสามารถจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้
2.4 การใช้หรือการเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้อสังหาริมทรัพย์ที่เช่า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ตุลาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงรวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และกระทรวงการคลังไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวทั้ง 2 ฉบับ เป็นการดำเนินการเพื่อให้คนต่างด้าวเช่าที่ดินเนื้อที่เกินกว่า 100 ไร่ เพื่อการพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมฯ อันเป็นมาตรการหนึ่งในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ซึ่งกระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และกระทรวงการคลังเห็นชอบในหลักการโดยเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งร่างกฎกระทรวง 2 ฉบับ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 (กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเช่าฯ) มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 กำหนดหลักเกณฑ์การเช่าที่ดินเนื้อที่มากกว่า 100 ไร่ เพื่อประกอบพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม
1.2 หลักฐานการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการเช่าฯ
1.3 การให้ความเห็นของสภาท้องถิ่นเมื่อได้พิจารณาคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการเช่าฯ
1.4 การอนุมัติการเช่าฯ ของอธิบดีกรมที่ดินและการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการเช่าฯ ของพนักงานเจ้าหน้าที่
1.5 จำนวนเงินที่นำมาลงทุนเพื่อประกอบพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมต้องไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท ทั้งนี้ ต้องไม่รวมถึงเงินค่าเช่า
2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 (กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนการเช่า การกำหนดประเภทของพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมที่ให้ทำการเช่าฯ) มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการเช่าที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม
2.2 กำหนดบริเวณที่ดินที่สามารถจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการเช่าได้
2.3 ประเภทของพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมที่สามารถจดทะเบียนการเช่าได้ และประเภทของพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมที่คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลตามมาตรา 97 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินสามารถจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้
2.4 การใช้หรือการเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้อสังหาริมทรัพย์ที่เช่า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ตุลาคม 2542--