ทำเนียบรัฐบาล--28 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการเรื่องสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ของสหภาพยุโรป ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินการเจรจากับสหภาพยุโรป
1.1 กระทรวงพาณิชย์ได้ศึกษาหลักเกณฑ์ที่สหภาพยุโรปใช้ในการพิจารณาตัดสิทธิ GSP โดยใช้ตัวเลข GNP percapita (รายได้ประชาชาติต่อหัว) ปรากฏว่า ค่าที่ได้จากการคำนวณยังอยู่ในระดับที่ทำให้สินค้าไทยอาจจะถูกตัดสิทธิ GSP ได้อยู่
1.2 คณะอนุกรรมการเพื่อติดตามและแก้ไขปัญหาการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร GSP ได้ประชุมเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2542 และมีมติให้
- กรมการค้าต่างประเทศร่วมกับผู้ส่งออกที่เกี่ยวข้องศึกษาสาเหตุการลดลงของการส่งออกว่าเป็นผลมาจากการตัดสิทธิ GSP จริงหรือไม่
- กระทรวงการต่างประเทศปรึกษากับสหภาพยุโรปเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือในลักษณะอื่น
- กรมการค้าต่างประเทศติดตามสถิติสินค้าที่ใช้สิทธิ GSP น้อย เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่อไป
- สำนักงานพาณิชย์ประจำประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและกรมการค้าต่างประเทศโน้มน้าวสหภาพยุโรปไม่ให้ตัดสิทธิ GSP เพิ่มเติม และขอให้คืนสิทธิ GSP สินค้าที่ถูกตัดสิทธิไปแล้ว และให้หารือกับภาคเอกชนเกี่ยวกับการสนับสนุนที่ต้องการจากภาครัฐบาลเพื่อการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม
- คณะอนุกรรมการฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันศึกษารายละเอียดข้อกฎหมายของ WTO เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาความพร้อมของไทยในการยกเรื่อง GSP ขึ้นหารือในกรอบของ WTO และให้นำผลมาพิจารณาในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งต่อไป
2. มาตรการลดผลกระทบของการถูกตัดสิทธิ GSP
2.1 คณะอนุกรรมการการค้าต่างตอบแทนได้ทบทวนนโยบายการค้าต่างตอบแทนให้เป็นประโยชน์ต่อการค้าของประเทศมากขึ้น โดยได้ปรับลดวงเงินจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศที่ต้องทำการค้าต่างตอบแทน จากเดิมที่กำหนดให้สำหรับโครงการที่มีวงเงินเกิน 500 ล้านบาท ลดลงเหลือ 300 ล้านบาท และเพิ่มอัตราส่วนการทำการค้าต่างตอบแทนจากร้อยละ 20-50 เป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการจัดทำร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการการค้าต่างตอบแทน พ.ศ.2541 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแล้ว และขณะนี้ได้จัดส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีต่อไป
2.2 การผลักดันสินค้าที่ถูกตัดสิทธิ GSP สู่ตลาดใหม่ โดยกระทรวงพาณิชย์ได้เสนอโครงการผลักดันการส่งออกเพื่อเพิ่มสัดส่วนการส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาดใหม่ มีระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2542 - 2546) ซึ่งรัฐบาลจะให้การสนับสนุนผู้ส่งออกที่เข้าร่วมโครงการใน 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการด้านการเงิน มาตรการด้านภาษี และมาตรการส่งเสริมการส่งออก ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2542 และจนถึงปัจจุบัน (25 กรกฎาคม 2542) มีผู้ส่งออกเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 82 ราย และได้รับอนุมัติ 20 ราย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 กันยายน 2542--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการเรื่องสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ของสหภาพยุโรป ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินการเจรจากับสหภาพยุโรป
1.1 กระทรวงพาณิชย์ได้ศึกษาหลักเกณฑ์ที่สหภาพยุโรปใช้ในการพิจารณาตัดสิทธิ GSP โดยใช้ตัวเลข GNP percapita (รายได้ประชาชาติต่อหัว) ปรากฏว่า ค่าที่ได้จากการคำนวณยังอยู่ในระดับที่ทำให้สินค้าไทยอาจจะถูกตัดสิทธิ GSP ได้อยู่
1.2 คณะอนุกรรมการเพื่อติดตามและแก้ไขปัญหาการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร GSP ได้ประชุมเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2542 และมีมติให้
- กรมการค้าต่างประเทศร่วมกับผู้ส่งออกที่เกี่ยวข้องศึกษาสาเหตุการลดลงของการส่งออกว่าเป็นผลมาจากการตัดสิทธิ GSP จริงหรือไม่
- กระทรวงการต่างประเทศปรึกษากับสหภาพยุโรปเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือในลักษณะอื่น
- กรมการค้าต่างประเทศติดตามสถิติสินค้าที่ใช้สิทธิ GSP น้อย เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่อไป
- สำนักงานพาณิชย์ประจำประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและกรมการค้าต่างประเทศโน้มน้าวสหภาพยุโรปไม่ให้ตัดสิทธิ GSP เพิ่มเติม และขอให้คืนสิทธิ GSP สินค้าที่ถูกตัดสิทธิไปแล้ว และให้หารือกับภาคเอกชนเกี่ยวกับการสนับสนุนที่ต้องการจากภาครัฐบาลเพื่อการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม
- คณะอนุกรรมการฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันศึกษารายละเอียดข้อกฎหมายของ WTO เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาความพร้อมของไทยในการยกเรื่อง GSP ขึ้นหารือในกรอบของ WTO และให้นำผลมาพิจารณาในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งต่อไป
2. มาตรการลดผลกระทบของการถูกตัดสิทธิ GSP
2.1 คณะอนุกรรมการการค้าต่างตอบแทนได้ทบทวนนโยบายการค้าต่างตอบแทนให้เป็นประโยชน์ต่อการค้าของประเทศมากขึ้น โดยได้ปรับลดวงเงินจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศที่ต้องทำการค้าต่างตอบแทน จากเดิมที่กำหนดให้สำหรับโครงการที่มีวงเงินเกิน 500 ล้านบาท ลดลงเหลือ 300 ล้านบาท และเพิ่มอัตราส่วนการทำการค้าต่างตอบแทนจากร้อยละ 20-50 เป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการจัดทำร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการการค้าต่างตอบแทน พ.ศ.2541 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแล้ว และขณะนี้ได้จัดส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีต่อไป
2.2 การผลักดันสินค้าที่ถูกตัดสิทธิ GSP สู่ตลาดใหม่ โดยกระทรวงพาณิชย์ได้เสนอโครงการผลักดันการส่งออกเพื่อเพิ่มสัดส่วนการส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาดใหม่ มีระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2542 - 2546) ซึ่งรัฐบาลจะให้การสนับสนุนผู้ส่งออกที่เข้าร่วมโครงการใน 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการด้านการเงิน มาตรการด้านภาษี และมาตรการส่งเสริมการส่งออก ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2542 และจนถึงปัจจุบัน (25 กรกฎาคม 2542) มีผู้ส่งออกเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 82 ราย และได้รับอนุมัติ 20 ราย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 กันยายน 2542--