คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รายงานความก้าวหน้าผล การดำเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และงานที่สำคัญ ๆ พร้อมปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของปีงบประมาณ 2548 (1 ต.ค.47- 30 ก.ย.48) สรุปได้ดังนี้
ผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ด้านความครอบคลุมของการมีหลักประกันสุขภาพ ของประชาชนไทย ในปีงบประมาณ 2548 เพิ่มเป็น 60.45 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 96.25 จากประชากรทั้งสิ้น 63.15 ล้านคน แบ่งเป็นผู้ลงทะเบียนสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า 47.34 ล้านคน สิทธิประกันสังคม 8.74 ล้านคน สิทธิ สวัสดิการข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ 4.15 ล้านคน หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ลงทะเบียนสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในภาพรวมระหว่างปีงบประมาณ 2547 กับ 2548 พบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 1.25 และสิทธิซ้ำซ้อนเหลือเพียงร้อยละ 0.033
การใช้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในปี 2548 ของผู้ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น มีการให้บริการผู้ป่วยนอก 118.11 ล้านครั้ง จำนวน 41.01 ล้านคน การใช้บริการผู้ป่วยใน 4.48 ล้านราย จำนวนวันนอน 17.63 ล้านวัน เมื่อเปรียบเทียบอัตราการใช้บริการทางการแพทย์ของประชาชนไทยระหว่างปีงบประมาณ 2547 กับ 2548 พบว่า ในปีงบประมาณ 2548 ประชาชนมีการใช้บริการผู้ป่วยนอกเท่ากับ 2.50 ครั้ง/คน/ปี (อัตราลดลงร้อยละ 1.57) อัตราการใช้บริการผู้ป่วยใน เท่ากับ 0.095 ครั้ง/คน/ปี (อัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.26) โดยมีอัตราการส่งต่อผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ 1.67 (อัตราลดลงร้อยละ 0.19)
การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานหน่วยบริการและการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล เปรียบเทียบผล การประเมินโรงพยาบาลเมื่อปีงบประมาณ 2547 กับปี 2548 พบว่าโรงพยาบาลผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐาน Hospital Accreditation (HA) อย่างครบถ้วน จำนวน 134 แห่ง (สัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.58) ผ่านการรับรองว่ามีการประกันคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง จำนวน 48 แห่ง (สัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.93) ผ่านการรับรองว่ามีระบบการจัดการความเสี่ยงในโรงพยาบาล 615 แห่ง (สัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.03) และมีโรงพยาบาลที่อยู่ระหว่างการดำเนินการด้านระบบการจัดการความเสี่ยงในโรงพยาบาลคงเหลือเพียง 170 แห่ง (สัดส่วนลดลงร้อยละ 16.54 ) โดยสรุปผลการดำเนินงานมีความก้าวหน้าที่เห็นได้ชัดเจนคือ โรงพยาบาลส่วนใหญ่ได้ผ่านการรับรองว่ามีระบบการจัดการความเสี่ยงในโรงพยาบาลแล้ว (บันไดขั้นที่ 1) และผ่านการรับรองขั้นที่ 2 (การประกันคุณภาพและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง) เพิ่มมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา รวมทั้งจำนวนโรงพยาบาลได้ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล HA เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จากผลการสำรวจของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ปี 2548 ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คิดเป็นร้อยละ 95.7 ซึ่ง สูงกว่าปี 2547 ที่ผ่านมาร้อยละ 2.8 โดยมีข้อสังเกตประเด็นสำคัญเมื่อเปรียบเทียบผลการสำรวจระหว่างปี 2547 กับ 2548 พบว่า ประชาชนมีแนวโน้มความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการการรักษาพยาบาลในงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า “สูงมากกว่า” ในปี 2547 เช่น ความพึงพอใจต่อคุณภาพของยาเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 4.5 การรักษาพยาบาลด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 2.5 และพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่อื่น ๆ เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 0.9 ส่วนความพึงพอใจของผู้ให้บริการต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2548 คะแนนความพึงพอใจ ในภาพรวมอยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 6.14 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2547 กับ 2548 คะแนนความพึงพอใจใน ภาพรวมลดลงจากปีที่ผ่านมา ปัจจัยที่สร้างความกังวลใจมากที่สุด/มาก คือ การขาดแคลนอัตรากำลัง ร้อยละ 75.9 รองลงมาคือปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 73.7 และข้อจำกัดของงบประมาณร้อยละ 71.9 ตามลำดับ นอกจากนี้สิ่งที่ตัวอย่างเห็นว่ามีส่วนสำคัญต่อการจูงใจในการทำงานในระดับมากที่สุด/มาก คือความสุขในการทำงาน ร้อยละ 73.8 รองลงมาคือ โอกาสที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชน ร้อยละ 70.2 และโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ร้อยละ 69.8 ตามลำดับ
การดำเนินงานด้านการจัดการเรื่องร้องเรียน ในระบบหลักประกันสุขภาพ ปีงบประมาณ 2548 จำนวนทั้งสิ้น 26,589 เรื่อง สามารถดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 26,471 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 99.56 ส่วนเรื่องร้องเรียนตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 57 และมาตรา 59 มีเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 1,800 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 6.77 ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด คิดเป็นอัตราเรื่องร้องเรียนด้านคุณภาพเท่ากับ 1.52 ต่อแสนการใช้บริการ
การช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยในปีงบประมาณ 2548 ได้มีการช่วยเหลือผู้รับบริการจำนวน 160 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 12.765 ล้านบาท แยกเป็น กรณีการเสียชีวิต/ ทุพพลภาพมากที่สุด 116 ราย รองลงมาเป็นกรณีบาดเจ็บ/เจ็บป่วยต่อเนื่อง จำนวน 37 ราย และกรณีการสูญเสียอวัยวะ/พิการ จำนวน 26 ราย นอกจากนี้ได้มีจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ให้บริการอีกจำนวน 46 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1.250 ล้านบาท เป็นกรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร 5 ราย บาดเจ็บ/เจ็บป่วยต่อเนื่อง จำนวน 41 ราย
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้เร่งส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคีในการประสานสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีของทุกฝ่าย ทั้งผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และผู้จัดหาบริการ ทั้งหมดนี้จะนำมาสู่ความพึงพอใจระบบหลักประกันสุขภาพร่วมกัน และให้เป็นหลักประกันสุขภาพของประชาชนอย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานและคุณภาพ เปิดโอกาสและมีกลไกสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพภาคประชาชนโดยสามารถสร้างเครือข่ายเพิ่มขึ้นกว่า 1,330 เครือข่าย เพื่อให้มีความพร้อมในการเข้าไปมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งมีโครงการเปิดช่องทางใหม่ด้านลงทะเบียนผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยประชาชนสามารถลงทะเบียนสิทธิกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 57 แห่งในพื้นที่ของจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ นนทบุรี จันทบุรี ขอนแก่น พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ตรัง และพระนครศรีอยุธยา
นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2548 ที่ผ่านมา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานด้านอื่น ๆ เพื่อให้สามารถสร้างความครอบคลุมในการมีหลักประกันสุขภาพอย่างแท้จริง อาทิ โครงการพิเศษด้านส่งเสริมสุขภาพ (Vertical Program) เป็นการกระตุ้นการบริการส่งเสริมสุขภาพที่สำคัญซึ่งยังดำเนินการไม่ครอบคลุมประชาชนไทยทุกคน และโครงการพัฒนาการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ โดยการพัฒนาระบบการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายผู้ป่วยในด้วยระบบฐานข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ และนำร่องการดำเนินการให้ผู้มีสิทธิไม่ต้องจ่ายเงินล่วงหน้าสำหรับบริการผู้ป่วยนอกที่เป็นโรคเรื้อรัง 4 กลุ่มโรค โดยมีการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิในการเข้ารับบริการเพิ่มขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ เพื่อเป็นการช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย และเป็นขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 ธันวาคม 2548--จบ--
ผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ด้านความครอบคลุมของการมีหลักประกันสุขภาพ ของประชาชนไทย ในปีงบประมาณ 2548 เพิ่มเป็น 60.45 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 96.25 จากประชากรทั้งสิ้น 63.15 ล้านคน แบ่งเป็นผู้ลงทะเบียนสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า 47.34 ล้านคน สิทธิประกันสังคม 8.74 ล้านคน สิทธิ สวัสดิการข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ 4.15 ล้านคน หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ลงทะเบียนสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในภาพรวมระหว่างปีงบประมาณ 2547 กับ 2548 พบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 1.25 และสิทธิซ้ำซ้อนเหลือเพียงร้อยละ 0.033
การใช้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในปี 2548 ของผู้ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น มีการให้บริการผู้ป่วยนอก 118.11 ล้านครั้ง จำนวน 41.01 ล้านคน การใช้บริการผู้ป่วยใน 4.48 ล้านราย จำนวนวันนอน 17.63 ล้านวัน เมื่อเปรียบเทียบอัตราการใช้บริการทางการแพทย์ของประชาชนไทยระหว่างปีงบประมาณ 2547 กับ 2548 พบว่า ในปีงบประมาณ 2548 ประชาชนมีการใช้บริการผู้ป่วยนอกเท่ากับ 2.50 ครั้ง/คน/ปี (อัตราลดลงร้อยละ 1.57) อัตราการใช้บริการผู้ป่วยใน เท่ากับ 0.095 ครั้ง/คน/ปี (อัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.26) โดยมีอัตราการส่งต่อผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ 1.67 (อัตราลดลงร้อยละ 0.19)
การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานหน่วยบริการและการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล เปรียบเทียบผล การประเมินโรงพยาบาลเมื่อปีงบประมาณ 2547 กับปี 2548 พบว่าโรงพยาบาลผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐาน Hospital Accreditation (HA) อย่างครบถ้วน จำนวน 134 แห่ง (สัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.58) ผ่านการรับรองว่ามีการประกันคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง จำนวน 48 แห่ง (สัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.93) ผ่านการรับรองว่ามีระบบการจัดการความเสี่ยงในโรงพยาบาล 615 แห่ง (สัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.03) และมีโรงพยาบาลที่อยู่ระหว่างการดำเนินการด้านระบบการจัดการความเสี่ยงในโรงพยาบาลคงเหลือเพียง 170 แห่ง (สัดส่วนลดลงร้อยละ 16.54 ) โดยสรุปผลการดำเนินงานมีความก้าวหน้าที่เห็นได้ชัดเจนคือ โรงพยาบาลส่วนใหญ่ได้ผ่านการรับรองว่ามีระบบการจัดการความเสี่ยงในโรงพยาบาลแล้ว (บันไดขั้นที่ 1) และผ่านการรับรองขั้นที่ 2 (การประกันคุณภาพและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง) เพิ่มมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา รวมทั้งจำนวนโรงพยาบาลได้ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล HA เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จากผลการสำรวจของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ปี 2548 ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คิดเป็นร้อยละ 95.7 ซึ่ง สูงกว่าปี 2547 ที่ผ่านมาร้อยละ 2.8 โดยมีข้อสังเกตประเด็นสำคัญเมื่อเปรียบเทียบผลการสำรวจระหว่างปี 2547 กับ 2548 พบว่า ประชาชนมีแนวโน้มความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการการรักษาพยาบาลในงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า “สูงมากกว่า” ในปี 2547 เช่น ความพึงพอใจต่อคุณภาพของยาเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 4.5 การรักษาพยาบาลด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 2.5 และพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่อื่น ๆ เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 0.9 ส่วนความพึงพอใจของผู้ให้บริการต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2548 คะแนนความพึงพอใจ ในภาพรวมอยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 6.14 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2547 กับ 2548 คะแนนความพึงพอใจใน ภาพรวมลดลงจากปีที่ผ่านมา ปัจจัยที่สร้างความกังวลใจมากที่สุด/มาก คือ การขาดแคลนอัตรากำลัง ร้อยละ 75.9 รองลงมาคือปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 73.7 และข้อจำกัดของงบประมาณร้อยละ 71.9 ตามลำดับ นอกจากนี้สิ่งที่ตัวอย่างเห็นว่ามีส่วนสำคัญต่อการจูงใจในการทำงานในระดับมากที่สุด/มาก คือความสุขในการทำงาน ร้อยละ 73.8 รองลงมาคือ โอกาสที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชน ร้อยละ 70.2 และโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ร้อยละ 69.8 ตามลำดับ
การดำเนินงานด้านการจัดการเรื่องร้องเรียน ในระบบหลักประกันสุขภาพ ปีงบประมาณ 2548 จำนวนทั้งสิ้น 26,589 เรื่อง สามารถดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 26,471 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 99.56 ส่วนเรื่องร้องเรียนตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 57 และมาตรา 59 มีเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 1,800 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 6.77 ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด คิดเป็นอัตราเรื่องร้องเรียนด้านคุณภาพเท่ากับ 1.52 ต่อแสนการใช้บริการ
การช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยในปีงบประมาณ 2548 ได้มีการช่วยเหลือผู้รับบริการจำนวน 160 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 12.765 ล้านบาท แยกเป็น กรณีการเสียชีวิต/ ทุพพลภาพมากที่สุด 116 ราย รองลงมาเป็นกรณีบาดเจ็บ/เจ็บป่วยต่อเนื่อง จำนวน 37 ราย และกรณีการสูญเสียอวัยวะ/พิการ จำนวน 26 ราย นอกจากนี้ได้มีจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ให้บริการอีกจำนวน 46 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1.250 ล้านบาท เป็นกรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร 5 ราย บาดเจ็บ/เจ็บป่วยต่อเนื่อง จำนวน 41 ราย
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้เร่งส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคีในการประสานสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีของทุกฝ่าย ทั้งผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และผู้จัดหาบริการ ทั้งหมดนี้จะนำมาสู่ความพึงพอใจระบบหลักประกันสุขภาพร่วมกัน และให้เป็นหลักประกันสุขภาพของประชาชนอย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานและคุณภาพ เปิดโอกาสและมีกลไกสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพภาคประชาชนโดยสามารถสร้างเครือข่ายเพิ่มขึ้นกว่า 1,330 เครือข่าย เพื่อให้มีความพร้อมในการเข้าไปมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งมีโครงการเปิดช่องทางใหม่ด้านลงทะเบียนผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยประชาชนสามารถลงทะเบียนสิทธิกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 57 แห่งในพื้นที่ของจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ นนทบุรี จันทบุรี ขอนแก่น พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ตรัง และพระนครศรีอยุธยา
นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2548 ที่ผ่านมา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานด้านอื่น ๆ เพื่อให้สามารถสร้างความครอบคลุมในการมีหลักประกันสุขภาพอย่างแท้จริง อาทิ โครงการพิเศษด้านส่งเสริมสุขภาพ (Vertical Program) เป็นการกระตุ้นการบริการส่งเสริมสุขภาพที่สำคัญซึ่งยังดำเนินการไม่ครอบคลุมประชาชนไทยทุกคน และโครงการพัฒนาการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ โดยการพัฒนาระบบการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายผู้ป่วยในด้วยระบบฐานข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ และนำร่องการดำเนินการให้ผู้มีสิทธิไม่ต้องจ่ายเงินล่วงหน้าสำหรับบริการผู้ป่วยนอกที่เป็นโรคเรื้อรัง 4 กลุ่มโรค โดยมีการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิในการเข้ารับบริการเพิ่มขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ เพื่อเป็นการช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย และเป็นขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 ธันวาคม 2548--จบ--