1. รับทราบรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 (ตามมติ ก.พ.ร. ในการประชุมครั้งที่ 2/2556 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2556)
2. เห็นชอบแผนการพัฒนาและปรับปรุงสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) (สคพ.) และความเห็นของ ก.พ.ร. เกี่ยวกับการกำหนดตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติงานและการบริหารจัดการในภารกิจที่อาจมีความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น (ตามมติ ก.พ.ร. ในการประชุมครั้งที่ 3/2556 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2556)
สาระสำคัญของเรื่อง
สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่า
1. องค์การมหาชนที่เข้าสู่ระบบการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 มีจำนวน 29 แห่ง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 องค์การมหาชนมีพัฒนาการของการดำเนินงานที่ดีขึ้น สามารถคัดเลือกตัวอย่างที่ดีของการดำเนินงานในแต่ละมิติ โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลงานตามตัวชี้วัดได้ ดังนี้
กรอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน องค์การมหาชนที่ได้รับการคัดเลือก ขององค์การมหาชน เป็นตัวอย่างที่ดี(Best practice) มิติที่ 1 : มิติด้านประสิทธิผลของการ - โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ ปฏิบัติงาน - โรงพยาบาลบ้านแพ้ - ประเมินการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตาม - สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและ - วัตถุประสงค์การจัดตั้ง อำนาจ ภูมิสารสนเทศ หน้าที่ และงานที่องค์การมหาชนได้รับมอบหมาย - สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ เพิ่มเติมจากรัฐบาล - เน้นการประเมินผลลัพธ์มากกว่าผลผลิต - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง มิติที่ 2 : มิติด้านคุณภาพการให้บริการ - สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ - ประเมินการตอบสนองความคาดหวังและ และภูมิสารสนเทศ ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย - ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง มิติที่ 3 : มิติด้านประสิทธิภาพของการ - โรงพยาบาลบ้านแพ้ว ปฏิบัติงาน - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง - ประเมินผลความมีประสิทธิภาพ - สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ความคุ้มค่าในการบริหาร และใช้ งบประมาณรวมถึงทรัพยากรทาง การเงินอื่น ให้สร้างผลผลิตและ ผลลัพธ์สูงสุด ตามหลักการองค์การ มหาชนเป็นหน่วยงานที่ได้รับ งบอุดหนุนจากรัฐเพื่อให้บริการโดยไม่ มุ่งเน้นการแสวงหากำไรเป็นหลัก - การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการ ภายในโดยมุ่งพิจารณากระบวนการ ภายในที่จะช่วยนำเสนอคุณค่าให้ ผู้ใช้บริการหรือกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย หลักขององค์กร พึงพอใจ มิติที่ 4 : มิติด้านตัวชี้วัดร่วม “ระดับการพัฒนาด้านการกำกับดูแล และการพัฒนาองค์การ โดยตัวชี้วัด ร่วม“ระดับการพัฒนาด้านการกำกับ ดูแลกิจการ” - ประเมินความสามารถในการ - โรงพยาบาลบ้านแพ้ว บริหารงานตามหลัก - สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ธรรมาภิบาลและการกำกับดูแล - องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ ตนเองที่ดี รวมถึงความสามารถในการ - เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ก้าวสู่อนาคตหรือการเตรียมพร้อม - สำนักงานความร่วมมือพัฒนา บริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อสนับสนุน - เศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ให้องค์การมหาชนมีระบบการบริหาร - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง จัดการที่ดี มีศักยภาพในการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง มีความโปร่งใสในการ ปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 เรื่องแนวทางการบริหารของ คณะกรรมการองค์การมหาชน - ผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ องค์การมหาชนต้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และก่อประโยชน์สูงสุด แก่ ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่า เทียมกัน รวมถึงการประเมินการพัฒนา องค์กรในระยะยาว
2. แผนการพัฒนาและปรับปรุงสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556-2559 จะมุ่งเน้นพัฒนาการจัดการศึกษาอบรมและการให้การสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยแก่บุคลากรของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียด้านการค้าระหว่างประเทศ การเงิน การคลัง การลงทุน การพัฒนา และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บุคลากรเหล่านั้นสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัฒน์ และแนวทางการเปิดเสรีทางการค้าต่างๆ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียเพื่อสร้างเสริมศักยภาพและความสามารถในการกำหนดนโยบาย ด้านเศรษฐกิจที่เหมาะสมร่วมกัน และการกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าวได้ และยังส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค และสร้างความเป็นเอกภาพโดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ โดยจะเป็นศูนย์กลางจัดการฝึกอบรมและกิจการเสริมศักยภาพต่าง ๆ ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนาและองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สคพ. จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน การพัฒนาองค์การมุ่งเน้น 4 มิติ ประกอบด้วย 1) มิติด้านประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน 2) มิติด้านคุณภาพการให้บริการ 3) มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน และ 4) มิติด้านการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาองค์กร
3. ตัวชี้วัด สคพ. ต้องนำตัวชี้วัดต่างๆ ในแผนการพัฒนาฯ มาพิจารณาเป็นตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติงานของ สคพ. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 — 2559 โดยจะต้องปรับปรุงตัวชี้วัดให้มีความท้าทาย ทันสมัย และเหมาะสมตามระยะเวลาที่ผ่านไป โดยให้สำนักงาน ก.พ.ร. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติงานดังกล่าว และจะต้องบริหารจัดการภารกิจที่อาจมีความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น การวิจัยต่าง ๆ โดยใช้ยุทธศาสตร์ “ร่วมมือ” เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 กรกฎาคม 2556--จบ--