ทำเนียบรัฐบาล--3 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบรายงาน ความคืบหน้าของมาตรการการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน ตามที่กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. กระทรวงพาณิชย์
1.1 ภาวะการจำหน่ายสินค้า
1) สินค้าอุปโภคบริโภค
ราคาสินค้ายังเคลื่อนไหวในระดับปกติสอดคล้องกับภาวะต้นทุน และปริมาณมีเพียงพอกับความต้องการ สำหรับอาหารปรุงแต่ง (ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว) ราคาส่วนใหญ่ยังคงทรงตัว สำหรับสินค้าน้ำตาลทรายนั้น ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาทั้งผู้ค้าและผู้บริโภคมีความสับสนมาก เนื่องจากมีข่าวว่าจะปรับราคาสูงขึ้น ทำให้ผู้ใช้เพิ่มปริมาณการซื้อมากผิดปกติ จนสินค้าขาดแคลนในบางจุดจำหน่ายนั้น ได้เข้าแก้ไขสถานการณ์ โดยเชิญโรงงานผู้ผลิตและผู้ค้าส่งมาทำความเข้าใจว่าจะไม่มีการปรับราคาในช่วงนี้ ให้จำหน่ายน้ำตาลทรายตามปกติต่อไป
2) สินค้าอาหารสด หมวดเนื้อสัตว์ และผักสด ในช่วงต้นสัปดาห์ราคายังคงทรงตัวในระดับเดียวกันกับสัปดาห์ก่อน
1.2 การจัดจำหน่ายสินค้าธงฟ้า - ราคาประหยัด
1) ในกรุงเทพมหานคร 9 ครั้ง
- กรมการค้าภายในจัดจำหน่ายร่วมกับ กระทรวงกลาโหม กรมการผังเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล การไฟฟ้านครหลวง การบินไทย และโรงแรมแลนด์มาร์ก (จัดทุกวันพุธ)
2) ในระดับส่วนภูมิภาค 23 ครั้ง
- ดำเนินการ ณ จังหวัด ลำพูน อยุธยา สมุทรปราการ ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยภูมิ สุรินทร์ ตรัง และปัตตานี
1.3 การร้องเรียนผ่านศูนย์ฯ
การร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียน สัปดาห์นี้มีจำนวน 23 ราย เป็นเรื่องร้องเรียนโดยทั่วไป สำหรับการตรวจสอบผู้กระทำผิด พบฝ่าฝืนไม่ปิดป้ายแสดงราคาจำหน่ายปลีกสินค้าควบคุม น้ำตาลทรายเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 1,000 บาท
2. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
2.1 สถานการณ์การจ้างงาน
1) ในเดือนตุลาคม 2540 (ข้อมูล ณ 29 ตุลาคม 2540) มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการใหม่ 233 โรงงาน จำนวนเงินลงทุน 18,724 ล้านบาท มีการจ้างงานรวม 4,978 คน 2) จากการดำเนินงานจัดหางานในประเทศของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในเดือนตุลาคม 2540 สามารถบรรจุงานได้ประมาณ 8,500 คน ซึ่งการบรรจุงานส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับการบรรจุงานในต่างประเทศ ปรากฏว่ามีผู้ได้รับอนุญาตเดินทางไปทำงานโดยผ่านด่านตรวจคนหางานดอนเมือง 13,834 คน โดยประเทศที่เดินทางไปส่วนใหญ่เป็นประเทศในทวีปเอเซีย ได้แก่ ไต้หวัน สิงคโปร์ และบรูไน
2.2 สถานการณ์การเลิกจ้าง ในเดือนตุลาคม 2540 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้รับรายงานผู้ถูกเลิกจ้างรวม 995 คนในสถานประกอบการ 48 แห่ง ซึ่งลดลงจากเดือนก่อนที่มีผู้ถูกเลิกจ้าง 5,200 คน โดยการเลิกจ้างส่วนใหญ่เป็นการเลิกจ้างในเขตกรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ภาคกลาง และรอบกรุงเทพมหานคร ในกิจการภาคการก่อสร้าง ผลิตเครื่องประดับและผลิตชิ้นส่วน และผู้ถูกเลิกจ้างร้อยละ 66 เป็นลูกจ้างหญิง
2.3 การให้ความช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้าง
1) กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจขึ้นช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้างคือศูนย์ช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้าง (ศชล.) ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2540 ซึ่งในส่วนกลางได้ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 อาคารกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
2) นับจนถึงปัจจุบัน (30 ตุลาคม 2540) มีผู้มาขอรับบริการทั้งสิ้น 6,228 คน ซึ่งศูนย์ฯ ได้ให้ความช่วยเหลือโดยให้คำแนะนำในเรื่องฝึกอาชีพ กฎหมายแรงงาน การหางานทำ เงินกู้ประกอบอาชีพ ทั้งนี้ ได้แนะนำ/จัดส่งผู้มารับบริการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยเร่งด่วนต่อไป
นอกจากนี้ ได้มีบริษัทแจ้งขอรับสมัครคนงานมายังศูนย์ฯ รวม 558 แห่ง จำนวนกว่า 8,000 อัตราซึ่งศูนย์ได้เผยแพร่ให้สำนักงานจัดหางานเขตในกรุงเทพมหานครและจังหวัดทราบ เพื่อเผยแพร่ตำแหน่งงานว่างต่อไป สำหรับในระยะต่อไปกระทรวงจะเชื่อมโยง ศชล. ทั่วประเทศ เพื่อการประสานงานในการจัดหางานและฝึกอาชีพต่อไป
3) สำหรับในเดือนตุลาคม 2540 มีผู้มาขอรับบริการที่ศูนย์ฯ ทั้งสิ้น 3,123 คน โดยมาขอรับบริการสมัครงานยังสำนักงานจัดหางานเขตพื้นที่และจังหวัด 1,981 คน แยกเป็นกรุงเทพมหานคร 1,191 คน และภูมิภาค 790 คน ซึ่งสามารถบรรจุงานให้ได้ 52 คน โดยเป็นการบรรจุงานในกรุงเทพมหานคร 43 คน ภาคกลาง 5 คน และภาคเหนือ 4 คน
นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ดำเนินการพัฒนาฝีมือแรงงานให้ผู้ถูกเลิกจ้างรวม280 คน ในสาขาพาณิชยกรรมและบริการ 69 คน ช่างไฟฟ้า 80 คน ช่างยนต์ 79 คน ช่างกลโรงงานและช่างเชื่อม 47 คน และช่างก่อสร้าง ช่างเขียนแบบ 5 คน เป็นการฝึกอาชีพในสถาบัน/ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานภาคกลาง 172 คน ภาคตะวันออก 100 คนภาคใต้ 4 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 คน และภาคเหนือ 2 คน
4) ได้พิจารณาคำขอกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพของผู้ถูกเลิกจ้างและประชาชนทั่วไปในเดือนตุลาคม 2540 รวม 97 ราย ปรากฏว่าได้รับอนุมัติ รวม 15 ราย ซึ่งเป็นผู้ถูกเลิกจ้าง 5 ราย รวมวงเงินให้กู้ยืมทั้งสิ้น 1 แสนบาทเศษ
5) ดำเนินการให้ผู้ถูกเลิกจ้างในเดือนตุลาคม 2540 รวม 995 คน ให้ได้รับค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยรวม 21.23 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 3 พฤศจิกายน 2540--
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบรายงาน ความคืบหน้าของมาตรการการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน ตามที่กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. กระทรวงพาณิชย์
1.1 ภาวะการจำหน่ายสินค้า
1) สินค้าอุปโภคบริโภค
ราคาสินค้ายังเคลื่อนไหวในระดับปกติสอดคล้องกับภาวะต้นทุน และปริมาณมีเพียงพอกับความต้องการ สำหรับอาหารปรุงแต่ง (ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว) ราคาส่วนใหญ่ยังคงทรงตัว สำหรับสินค้าน้ำตาลทรายนั้น ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาทั้งผู้ค้าและผู้บริโภคมีความสับสนมาก เนื่องจากมีข่าวว่าจะปรับราคาสูงขึ้น ทำให้ผู้ใช้เพิ่มปริมาณการซื้อมากผิดปกติ จนสินค้าขาดแคลนในบางจุดจำหน่ายนั้น ได้เข้าแก้ไขสถานการณ์ โดยเชิญโรงงานผู้ผลิตและผู้ค้าส่งมาทำความเข้าใจว่าจะไม่มีการปรับราคาในช่วงนี้ ให้จำหน่ายน้ำตาลทรายตามปกติต่อไป
2) สินค้าอาหารสด หมวดเนื้อสัตว์ และผักสด ในช่วงต้นสัปดาห์ราคายังคงทรงตัวในระดับเดียวกันกับสัปดาห์ก่อน
1.2 การจัดจำหน่ายสินค้าธงฟ้า - ราคาประหยัด
1) ในกรุงเทพมหานคร 9 ครั้ง
- กรมการค้าภายในจัดจำหน่ายร่วมกับ กระทรวงกลาโหม กรมการผังเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล การไฟฟ้านครหลวง การบินไทย และโรงแรมแลนด์มาร์ก (จัดทุกวันพุธ)
2) ในระดับส่วนภูมิภาค 23 ครั้ง
- ดำเนินการ ณ จังหวัด ลำพูน อยุธยา สมุทรปราการ ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยภูมิ สุรินทร์ ตรัง และปัตตานี
1.3 การร้องเรียนผ่านศูนย์ฯ
การร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียน สัปดาห์นี้มีจำนวน 23 ราย เป็นเรื่องร้องเรียนโดยทั่วไป สำหรับการตรวจสอบผู้กระทำผิด พบฝ่าฝืนไม่ปิดป้ายแสดงราคาจำหน่ายปลีกสินค้าควบคุม น้ำตาลทรายเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 1,000 บาท
2. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
2.1 สถานการณ์การจ้างงาน
1) ในเดือนตุลาคม 2540 (ข้อมูล ณ 29 ตุลาคม 2540) มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการใหม่ 233 โรงงาน จำนวนเงินลงทุน 18,724 ล้านบาท มีการจ้างงานรวม 4,978 คน 2) จากการดำเนินงานจัดหางานในประเทศของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในเดือนตุลาคม 2540 สามารถบรรจุงานได้ประมาณ 8,500 คน ซึ่งการบรรจุงานส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับการบรรจุงานในต่างประเทศ ปรากฏว่ามีผู้ได้รับอนุญาตเดินทางไปทำงานโดยผ่านด่านตรวจคนหางานดอนเมือง 13,834 คน โดยประเทศที่เดินทางไปส่วนใหญ่เป็นประเทศในทวีปเอเซีย ได้แก่ ไต้หวัน สิงคโปร์ และบรูไน
2.2 สถานการณ์การเลิกจ้าง ในเดือนตุลาคม 2540 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้รับรายงานผู้ถูกเลิกจ้างรวม 995 คนในสถานประกอบการ 48 แห่ง ซึ่งลดลงจากเดือนก่อนที่มีผู้ถูกเลิกจ้าง 5,200 คน โดยการเลิกจ้างส่วนใหญ่เป็นการเลิกจ้างในเขตกรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ภาคกลาง และรอบกรุงเทพมหานคร ในกิจการภาคการก่อสร้าง ผลิตเครื่องประดับและผลิตชิ้นส่วน และผู้ถูกเลิกจ้างร้อยละ 66 เป็นลูกจ้างหญิง
2.3 การให้ความช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้าง
1) กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจขึ้นช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้างคือศูนย์ช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้าง (ศชล.) ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2540 ซึ่งในส่วนกลางได้ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 อาคารกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
2) นับจนถึงปัจจุบัน (30 ตุลาคม 2540) มีผู้มาขอรับบริการทั้งสิ้น 6,228 คน ซึ่งศูนย์ฯ ได้ให้ความช่วยเหลือโดยให้คำแนะนำในเรื่องฝึกอาชีพ กฎหมายแรงงาน การหางานทำ เงินกู้ประกอบอาชีพ ทั้งนี้ ได้แนะนำ/จัดส่งผู้มารับบริการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยเร่งด่วนต่อไป
นอกจากนี้ ได้มีบริษัทแจ้งขอรับสมัครคนงานมายังศูนย์ฯ รวม 558 แห่ง จำนวนกว่า 8,000 อัตราซึ่งศูนย์ได้เผยแพร่ให้สำนักงานจัดหางานเขตในกรุงเทพมหานครและจังหวัดทราบ เพื่อเผยแพร่ตำแหน่งงานว่างต่อไป สำหรับในระยะต่อไปกระทรวงจะเชื่อมโยง ศชล. ทั่วประเทศ เพื่อการประสานงานในการจัดหางานและฝึกอาชีพต่อไป
3) สำหรับในเดือนตุลาคม 2540 มีผู้มาขอรับบริการที่ศูนย์ฯ ทั้งสิ้น 3,123 คน โดยมาขอรับบริการสมัครงานยังสำนักงานจัดหางานเขตพื้นที่และจังหวัด 1,981 คน แยกเป็นกรุงเทพมหานคร 1,191 คน และภูมิภาค 790 คน ซึ่งสามารถบรรจุงานให้ได้ 52 คน โดยเป็นการบรรจุงานในกรุงเทพมหานคร 43 คน ภาคกลาง 5 คน และภาคเหนือ 4 คน
นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ดำเนินการพัฒนาฝีมือแรงงานให้ผู้ถูกเลิกจ้างรวม280 คน ในสาขาพาณิชยกรรมและบริการ 69 คน ช่างไฟฟ้า 80 คน ช่างยนต์ 79 คน ช่างกลโรงงานและช่างเชื่อม 47 คน และช่างก่อสร้าง ช่างเขียนแบบ 5 คน เป็นการฝึกอาชีพในสถาบัน/ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานภาคกลาง 172 คน ภาคตะวันออก 100 คนภาคใต้ 4 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 คน และภาคเหนือ 2 คน
4) ได้พิจารณาคำขอกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพของผู้ถูกเลิกจ้างและประชาชนทั่วไปในเดือนตุลาคม 2540 รวม 97 ราย ปรากฏว่าได้รับอนุมัติ รวม 15 ราย ซึ่งเป็นผู้ถูกเลิกจ้าง 5 ราย รวมวงเงินให้กู้ยืมทั้งสิ้น 1 แสนบาทเศษ
5) ดำเนินการให้ผู้ถูกเลิกจ้างในเดือนตุลาคม 2540 รวม 995 คน ให้ได้รับค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยรวม 21.23 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 3 พฤศจิกายน 2540--