คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคน ดังนี้
1. ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่หรือปอดบวมอยู่ในข่ายเฝ้าระวัง คือ
1.1 วันที่ 1 มกราคม — 12 พฤศจิกายน 2548 เฝ้าระวังรวม 1,943 ราย จาก 74 จังหวัด
1.2 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2548 มีรายงานผู้ป่วยอยู่ในข่ายเฝ้าระวัง 26 ราย จากกรุงเทพมหานคร 9 ราย อุบลราชธานี 5 ราย สุพรรณบุรี 3 ราย นครปฐม นครสวรรค์ จังหวัดละ 2 ราย สิงห์บุรี ตราด เชียงราย สุโขทัย กาฬสินธุ์ อีกจังหวัดละ 1 ราย
2. พบผู้ป่วยเป็นโรคไข้หวัดนกในคน รวม 4 ราย คือ
2.1 เสียชีวิต จำนวน 1 ราย เท่าเดิม คือเพศชาย มีอาชีพรับจ้าง อาศัยอยู่ในอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
2.2 ได้รับการรักษา จำนวน 3 ราย จากรายงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 2 ราย และเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2548 มีรายงานผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้น 1 ราย ในกรุงเทพมหานคร ขณะนี้รักษาอยู่ในโรงพยาบาล อาการดีขึ้นเกือบเป็นปกติแล้ว
3. เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้หวัดนกที่หมู่บ้านเบ็ญพาด ตำบลพังครุ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ปรากฏว่ามีอาการหายเป็นปกติแล้ว
4. กระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มประสิทธิภาพทั้งระบบเฝ้าระวังทุกพื้นที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หากพบผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เปิดห้องตรวจปฏิบัติการแบบเคลื่อนที่เสริมในพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่สีแดงประจำการตรวจที่โรงพยาบาลพหลพลยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี และที่โรงพยาบาลกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งใช้เวลาตรวจเพียง 8 — 12 ชั่วโมงก็จะทราบผล และรายงานด้วยระบบอินเตอร์เน็ต โดยแพทย์ทั้งประเทศสามารถตรวจสอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งถือว่ามาตรการนี้ล้ำหน้าในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
5. กระทรวงสาธารณสุขได้ย้ำกำชับให้ทุกพื้นที่ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกตามแนวทางที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
6. การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ จัดทำคู่มือโปสเตอร์ รวมทั้งติดตั้งป้ายโฆษณาในแหล่งชุมชน เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนมาโดยตลอด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่หรือปอดบวมอยู่ในข่ายเฝ้าระวัง คือ
1.1 วันที่ 1 มกราคม — 12 พฤศจิกายน 2548 เฝ้าระวังรวม 1,943 ราย จาก 74 จังหวัด
1.2 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2548 มีรายงานผู้ป่วยอยู่ในข่ายเฝ้าระวัง 26 ราย จากกรุงเทพมหานคร 9 ราย อุบลราชธานี 5 ราย สุพรรณบุรี 3 ราย นครปฐม นครสวรรค์ จังหวัดละ 2 ราย สิงห์บุรี ตราด เชียงราย สุโขทัย กาฬสินธุ์ อีกจังหวัดละ 1 ราย
2. พบผู้ป่วยเป็นโรคไข้หวัดนกในคน รวม 4 ราย คือ
2.1 เสียชีวิต จำนวน 1 ราย เท่าเดิม คือเพศชาย มีอาชีพรับจ้าง อาศัยอยู่ในอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
2.2 ได้รับการรักษา จำนวน 3 ราย จากรายงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 2 ราย และเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2548 มีรายงานผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้น 1 ราย ในกรุงเทพมหานคร ขณะนี้รักษาอยู่ในโรงพยาบาล อาการดีขึ้นเกือบเป็นปกติแล้ว
3. เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้หวัดนกที่หมู่บ้านเบ็ญพาด ตำบลพังครุ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ปรากฏว่ามีอาการหายเป็นปกติแล้ว
4. กระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มประสิทธิภาพทั้งระบบเฝ้าระวังทุกพื้นที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หากพบผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เปิดห้องตรวจปฏิบัติการแบบเคลื่อนที่เสริมในพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่สีแดงประจำการตรวจที่โรงพยาบาลพหลพลยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี และที่โรงพยาบาลกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งใช้เวลาตรวจเพียง 8 — 12 ชั่วโมงก็จะทราบผล และรายงานด้วยระบบอินเตอร์เน็ต โดยแพทย์ทั้งประเทศสามารถตรวจสอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งถือว่ามาตรการนี้ล้ำหน้าในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
5. กระทรวงสาธารณสุขได้ย้ำกำชับให้ทุกพื้นที่ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกตามแนวทางที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
6. การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ จัดทำคู่มือโปสเตอร์ รวมทั้งติดตั้งป้ายโฆษณาในแหล่งชุมชน เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนมาโดยตลอด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--