คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดูแลแก้ปัญหาภัยแล้งของจังหวัดฉะเชิงเทราและนครนายกตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) เสนอ และให้ส่งข้อมูลให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) รับไปประกอบการพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย รวมทั้งเรียนให้รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ทราบผลการดูแลแก้ไขปัญหาภัยแล้งในจังหวัดนครนายกและฉะเชิงเทรา ในฐานะที่กำกับ ติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ และแจ้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทราบด้วย ทั้งนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปติดตามดูแลการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในจังหวัดฉะเชิงเทราและนครนายก เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2548 โดยได้ร่วมประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพื่อรับทราบสถานการณ์ภัยแล้ง การให้ความช่วยเหลือราษฎร และปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ดังนี้
1. ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
1.1 จังหวัดฉะเชิงเทรา
1.1.1 พื้นที่ประสบภัยแล้ง จังหวัดฉะเชิงเทรามีพื้นที่ประสบภัยแล้ง 10 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 89 ตำบล 605 หมู่บ้าน ราษฎรประสบภัย 41,699 ครัวเรือน จำนวน 157,771คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 77,774 ไร่ มูลค่าความเสียหาย 36,149,106 บาท พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 66,616 ไร่ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 15,835,567 บาท
1.1.2 การดำเนินการช่วยเหลือระยะเร่งด่วน ได้มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้รถแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัย จำนวน 68,379,000 ลิตร ติดตั้งจุดจ่ายน้ำ 27 บ่อ รับน้ำที่ระบายจากเขื่อนบางปะกงและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ส่งเข้าคลองหลักและคลองย่อยเพื่อใช้ในการเกษตร เป่า ล้างบ่อบาดาล 307 บ่อ ซ่อมเครื่องสูบน้ำ 157 บ่อ และขุดบ่อน้ำบาดาลเพิ่มเติม (เป้าหมาย 70 บ่อ ดำเนินการแล้ว 16 บ่อ อยู่ระหว่างดำเนินการ 64 บ่อ) สำหรับปัญหาภัยแล้งในระยะสั้นจังหวัดสามารถดูแลแก้ไขปัญหาให้ราษฎรได้เรียบร้อยดี
1.1.3 งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการช่วยเหลือ ใช้เงินทดรองราชการ จำนวน 35,365,627 บาท งบฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4,473,055 บาท งบประมาณอื่น ๆ 200,070 บาท รวม 40,038,752 บาท เพื่อใช้ในการขุดลอก ก่อสร้างฝาย/ทำนบ เช่าเครื่องสูบน้ำ/ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และช่วยเหลือแก่พื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหาย
1.1.4 การรุกล้ำของน้ำเค็ม ได้รับทราบจากผู้ว่าราชการจังหวัดว่า ในช่วงเดือนมกราคม — มีนาคมของทุกปี จะมีปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงขึ้นมามาก เพราะปริมาณน้ำด้านบนน้อยกว่าปริมาณน้ำทะเล ขณะนี้น้ำทะเลลึกเข้ามาประมาณ 220 กิโลเมตร เข้ามาถึงพื้นที่เหนืออำเภอเมืองปราจีนบุรี มีผู้พบเห็นปลาโลมาแถวจังหวัดปราจีนบุรีแล้ว การรุกล้ำของดน้ำเค็มก่อความเสียหายแก่ระบบนิเวศน์ และกระทบต่อพื้นที่การเกษตรเป็นอย่างยิ่ง หน่วยงานที่รับผิดชอบควรหาแนวทางบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมในช่วงเวลาแล้งด้วย
1.1.5 จังหวัดฉะเชิงเทราให้ความสำคัญแก่การแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำเป็นอย่างมาก โดยในคำของบประมาณประจำปี พ.ศ. 2548 และ 2549 ได้วางแผนแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะยาว โดยจัดสรรงบประมาณบางส่วนไปเพื่อการขุดลอกคลองทั้งจังหวัด (คลองสายหลัก 22 คลอง และคลองสายรอง 300 คลองเศษ) เพื่อให้ราษฎรมีน้ำใช้ นอกจากนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ใช้เงินผู้ว่า CEO จำนวน 2 ล้านบาท จ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษาเรื่องการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสียัดน้ำ ผลการศึกษาพบว่าถ้าสร้างฝายยาง ในวงเงิน 120 ล้านบาท จะสามารถเพิ่มปริมาณน้ำได้ 95 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งได้เสนอโครงการไว้ในคำของบประมาณ พ.ศ. 2549 แล้ว
1.1.6 สภาพน้ำในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราแบ่งเป็นพื้นที่ฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำบางปะกงฝั่งซ้าย จะมีเสถียรภาพเรื่องน้ำ เพราะมีแหล่งน้ำต้นทุนคือเขื่อนบางปะกงและเขื่อนสียัด แต่ในฝั่งขวายังขาดเสถียรภาพ ซึ่งทางชลประทานจังหวัดได้ศึกษา และเสนอโครงการเข้าไว้ในแผนหลักของกรมชลประทานแล้ว ในวงเงินงบประมาณ 600 ล้านบาท (แผนดำเนินการประมาณ 3 ปี) ทั้งนี้ ได้ทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความเห็นจากประชาชนด้วยแล้ว
1.1.7 แนวทางการแก้ไขปัญหาระยะกลางและระยะยาว จำเป็นต้องมีการดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำ อาคารบังคับน้ำ และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ที่เป็นต้นน้ำ คือ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยโสมง อ่างเก็บน้ำใสน้อย-ใสใหญ่ อ่างเก็บน้ำพระสพึง อ่างเก็บน้ำลำพระยาธาร อ่างเก็บน้ำพระปรงตอนล่าง และในพื้นที่จังหวัดนครนายก คือ อ่างเก็บน้ำคลองบ้านนา และอ่างเก็บน้ำหนองแก้ว จะสามารถแก้ปัญหาภัยแล้ง และปัญหาอุทกภัยในกลุ่มจังหวัดได้
1.2 จังหวัดนครนายก
1.2.1 พื้นที่ประสบภัยแล้ง จังหวัดนครนายกมีพื้นที่ประสบภัยแล้ง 4 อำเภอ 32 ตำบล 165 หมู่บ้าน ราษฎรประสบภัย 12,757 ครัวเรือน 67,636 คน พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 72,207 ไร่ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 18,054,765 บาท
1.2.2 การดำเนินการช่วยเหลือเร่งด่วน จังหวัดได้บูรณาการหน่วยงานต่าง ๆ ในการให้ความช่วยเหลือราษฎรในด้านน้ำอุปโภค-บริโภค ได้แจกน้ำจำนวน 14,054,000 ลิตร ได้ประสานงานกับโครงการส่งน้ำรังสิตเหนือเพื่อขอน้ำมาเติมในคลองส่งน้ำสายใหญ่เพื่อให้มีน้ำใช้ในการเกษตร ดำเนินการเป่าล้างบ่อบาดาล 87 บ่อ ซ่อมบ่อบาดาล 46 บ่อ จุดจ่ายน้ำ 12 แห่ง เจาะบ่อบาดาล 15 แห่ง ซึ่งสามารถบรรเทาปัญหาภัยแล้งและให้การช่วยเหลือราษฎรได้
1.2.3 งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการช่วยเหลือ เงินทดรองราชการของอำเภอและจังหวัด 26,242,108.70 บาท งบปกติและงบฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3,384,870 บาท งบอื่น ๆ 141,450 บาท ใช้ในการจ่ายค่าชดเชยพืชผลการเกษตร ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง รถบรรทุกน้ำ/เครื่องสูบน้ำ ค่าขุดลอกวัชพืชเพื่อเปิดทางน้ำ
1.2.4 แนวทางแก้ไขปัญหาระยะสั้น และระยะยาวของจังหวัด ได้มีการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำใช้-น้ำเพื่อการปศุสัตว์แบบยั่งยืน โดยมีการขุดสระน้ำประจำไร่-นา หมู่บ้านละ 10 ครัวเรือน ใน 116 หมู่บ้านของอำเภอบ้านนา รวม 1,160 สระ โดยความสมัครใจของเจ้าของที่ดิน เพื่อเป็นแหล่งน้ำกินและเพื่อการปศุสัตว์ในหมู่บ้านอย่างเพียงพอ เพื่อส่งเสริมอาชีพเลี้ยงปลาในหน้าฝนและปลูกพืชสวนครัว ทั้งนี้โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของราชการเลย เป็นความร่วมมือร่วมใจของราษฎร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอำเภอ สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะยาวมีแผนจะปรับปรุงระบบชลประทานให้ครบทุกสายคลอง และวางแผนทำการเกษตรในฤดูแล้งและฤดูฝนให้สอดคล้องกับปริมาณฝน และปริมาณน้ำต้นทุนที่อยู่ในอ่างเก็บน้ำ
1.2.5 แนวทางที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอ ควรมีการวางแผนการใช้ที่ดินที่เป็นระบบ ในการพัฒนาต้องคำนึงถึงการวางผังเมือง มีการจัด Zoning อย่างจริงจัง ควรหารือวางแผนการใช้น้ำร่วมกันในกลุ่มจังหวัดเพื่อใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และควรมีการตั้งคณะกรรมการมาพิจารณาแก้ไขปัญหาผักตบชวาในลุ่มน้ำบางปะกงร่วมกัน (จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี) โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีพื้นที่ติดริมน้ำเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
2. ข้อสั่งการของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2.1 มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราติดตามดูแลการเจาะบ่อน้ำบาดาลที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 64 บ่อ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2548
2.2 ในการแก้ไขปัญหาระยะสั้น ขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือกัน หากใครพบเห็นข้อบกพร่องตรงจุดใดให้รีบแจ้งประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด หากมีปัญหาใดเกินกำลังให้แจ้งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไป
2.3 ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราและนครนายกเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าว ผัก และผลไม้ เป็นพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศเมื่อเกิดภัยแล้งจึงเกิดความเสียหายและเกิดผลกระทบและพื้นที่บริเวณนี้เป็นแหล่งต้นน้ำ มีแม่น้ำหลัก 2 สาย ซึ่งปริมาณน้ำพอใช้ตลอดปี แต่เนื่องจากขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำจึงเกิดปัญหาภัยแล้งขึ้น ดังนั้น ในการแก้ไขปัญหาระยะยาวจึงควรที่ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนด้วยกัน ทั้งในด้านการกำจัดผักตบชวา การสร้างอ่างเก็บน้ำ การขุดลอก การแก้ไขปัญหาน้ำเสีย และอื่น ๆ ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราในฐานะหัวหน้ากลุ่มจังหวัดประชุมร่วมกับจังหวัดในกลุ่ม เพื่อวางแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ทั้งในด้านการวางแผนแก้ไขปัญหาระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว โดยควรดูเป็นลุ่มน้ำเพื่อจะได้แก้ปัญหาได้ครบถ้วน ทั้งนี้ควรเชิญทุกภาคส่วน คือ ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
1.1 จังหวัดฉะเชิงเทรา
1.1.1 พื้นที่ประสบภัยแล้ง จังหวัดฉะเชิงเทรามีพื้นที่ประสบภัยแล้ง 10 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 89 ตำบล 605 หมู่บ้าน ราษฎรประสบภัย 41,699 ครัวเรือน จำนวน 157,771คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 77,774 ไร่ มูลค่าความเสียหาย 36,149,106 บาท พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 66,616 ไร่ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 15,835,567 บาท
1.1.2 การดำเนินการช่วยเหลือระยะเร่งด่วน ได้มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้รถแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัย จำนวน 68,379,000 ลิตร ติดตั้งจุดจ่ายน้ำ 27 บ่อ รับน้ำที่ระบายจากเขื่อนบางปะกงและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ส่งเข้าคลองหลักและคลองย่อยเพื่อใช้ในการเกษตร เป่า ล้างบ่อบาดาล 307 บ่อ ซ่อมเครื่องสูบน้ำ 157 บ่อ และขุดบ่อน้ำบาดาลเพิ่มเติม (เป้าหมาย 70 บ่อ ดำเนินการแล้ว 16 บ่อ อยู่ระหว่างดำเนินการ 64 บ่อ) สำหรับปัญหาภัยแล้งในระยะสั้นจังหวัดสามารถดูแลแก้ไขปัญหาให้ราษฎรได้เรียบร้อยดี
1.1.3 งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการช่วยเหลือ ใช้เงินทดรองราชการ จำนวน 35,365,627 บาท งบฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4,473,055 บาท งบประมาณอื่น ๆ 200,070 บาท รวม 40,038,752 บาท เพื่อใช้ในการขุดลอก ก่อสร้างฝาย/ทำนบ เช่าเครื่องสูบน้ำ/ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และช่วยเหลือแก่พื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหาย
1.1.4 การรุกล้ำของน้ำเค็ม ได้รับทราบจากผู้ว่าราชการจังหวัดว่า ในช่วงเดือนมกราคม — มีนาคมของทุกปี จะมีปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงขึ้นมามาก เพราะปริมาณน้ำด้านบนน้อยกว่าปริมาณน้ำทะเล ขณะนี้น้ำทะเลลึกเข้ามาประมาณ 220 กิโลเมตร เข้ามาถึงพื้นที่เหนืออำเภอเมืองปราจีนบุรี มีผู้พบเห็นปลาโลมาแถวจังหวัดปราจีนบุรีแล้ว การรุกล้ำของดน้ำเค็มก่อความเสียหายแก่ระบบนิเวศน์ และกระทบต่อพื้นที่การเกษตรเป็นอย่างยิ่ง หน่วยงานที่รับผิดชอบควรหาแนวทางบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมในช่วงเวลาแล้งด้วย
1.1.5 จังหวัดฉะเชิงเทราให้ความสำคัญแก่การแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำเป็นอย่างมาก โดยในคำของบประมาณประจำปี พ.ศ. 2548 และ 2549 ได้วางแผนแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะยาว โดยจัดสรรงบประมาณบางส่วนไปเพื่อการขุดลอกคลองทั้งจังหวัด (คลองสายหลัก 22 คลอง และคลองสายรอง 300 คลองเศษ) เพื่อให้ราษฎรมีน้ำใช้ นอกจากนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ใช้เงินผู้ว่า CEO จำนวน 2 ล้านบาท จ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษาเรื่องการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสียัดน้ำ ผลการศึกษาพบว่าถ้าสร้างฝายยาง ในวงเงิน 120 ล้านบาท จะสามารถเพิ่มปริมาณน้ำได้ 95 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งได้เสนอโครงการไว้ในคำของบประมาณ พ.ศ. 2549 แล้ว
1.1.6 สภาพน้ำในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราแบ่งเป็นพื้นที่ฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำบางปะกงฝั่งซ้าย จะมีเสถียรภาพเรื่องน้ำ เพราะมีแหล่งน้ำต้นทุนคือเขื่อนบางปะกงและเขื่อนสียัด แต่ในฝั่งขวายังขาดเสถียรภาพ ซึ่งทางชลประทานจังหวัดได้ศึกษา และเสนอโครงการเข้าไว้ในแผนหลักของกรมชลประทานแล้ว ในวงเงินงบประมาณ 600 ล้านบาท (แผนดำเนินการประมาณ 3 ปี) ทั้งนี้ ได้ทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความเห็นจากประชาชนด้วยแล้ว
1.1.7 แนวทางการแก้ไขปัญหาระยะกลางและระยะยาว จำเป็นต้องมีการดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำ อาคารบังคับน้ำ และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ที่เป็นต้นน้ำ คือ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยโสมง อ่างเก็บน้ำใสน้อย-ใสใหญ่ อ่างเก็บน้ำพระสพึง อ่างเก็บน้ำลำพระยาธาร อ่างเก็บน้ำพระปรงตอนล่าง และในพื้นที่จังหวัดนครนายก คือ อ่างเก็บน้ำคลองบ้านนา และอ่างเก็บน้ำหนองแก้ว จะสามารถแก้ปัญหาภัยแล้ง และปัญหาอุทกภัยในกลุ่มจังหวัดได้
1.2 จังหวัดนครนายก
1.2.1 พื้นที่ประสบภัยแล้ง จังหวัดนครนายกมีพื้นที่ประสบภัยแล้ง 4 อำเภอ 32 ตำบล 165 หมู่บ้าน ราษฎรประสบภัย 12,757 ครัวเรือน 67,636 คน พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 72,207 ไร่ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 18,054,765 บาท
1.2.2 การดำเนินการช่วยเหลือเร่งด่วน จังหวัดได้บูรณาการหน่วยงานต่าง ๆ ในการให้ความช่วยเหลือราษฎรในด้านน้ำอุปโภค-บริโภค ได้แจกน้ำจำนวน 14,054,000 ลิตร ได้ประสานงานกับโครงการส่งน้ำรังสิตเหนือเพื่อขอน้ำมาเติมในคลองส่งน้ำสายใหญ่เพื่อให้มีน้ำใช้ในการเกษตร ดำเนินการเป่าล้างบ่อบาดาล 87 บ่อ ซ่อมบ่อบาดาล 46 บ่อ จุดจ่ายน้ำ 12 แห่ง เจาะบ่อบาดาล 15 แห่ง ซึ่งสามารถบรรเทาปัญหาภัยแล้งและให้การช่วยเหลือราษฎรได้
1.2.3 งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการช่วยเหลือ เงินทดรองราชการของอำเภอและจังหวัด 26,242,108.70 บาท งบปกติและงบฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3,384,870 บาท งบอื่น ๆ 141,450 บาท ใช้ในการจ่ายค่าชดเชยพืชผลการเกษตร ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง รถบรรทุกน้ำ/เครื่องสูบน้ำ ค่าขุดลอกวัชพืชเพื่อเปิดทางน้ำ
1.2.4 แนวทางแก้ไขปัญหาระยะสั้น และระยะยาวของจังหวัด ได้มีการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำใช้-น้ำเพื่อการปศุสัตว์แบบยั่งยืน โดยมีการขุดสระน้ำประจำไร่-นา หมู่บ้านละ 10 ครัวเรือน ใน 116 หมู่บ้านของอำเภอบ้านนา รวม 1,160 สระ โดยความสมัครใจของเจ้าของที่ดิน เพื่อเป็นแหล่งน้ำกินและเพื่อการปศุสัตว์ในหมู่บ้านอย่างเพียงพอ เพื่อส่งเสริมอาชีพเลี้ยงปลาในหน้าฝนและปลูกพืชสวนครัว ทั้งนี้โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของราชการเลย เป็นความร่วมมือร่วมใจของราษฎร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอำเภอ สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะยาวมีแผนจะปรับปรุงระบบชลประทานให้ครบทุกสายคลอง และวางแผนทำการเกษตรในฤดูแล้งและฤดูฝนให้สอดคล้องกับปริมาณฝน และปริมาณน้ำต้นทุนที่อยู่ในอ่างเก็บน้ำ
1.2.5 แนวทางที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอ ควรมีการวางแผนการใช้ที่ดินที่เป็นระบบ ในการพัฒนาต้องคำนึงถึงการวางผังเมือง มีการจัด Zoning อย่างจริงจัง ควรหารือวางแผนการใช้น้ำร่วมกันในกลุ่มจังหวัดเพื่อใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และควรมีการตั้งคณะกรรมการมาพิจารณาแก้ไขปัญหาผักตบชวาในลุ่มน้ำบางปะกงร่วมกัน (จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี) โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีพื้นที่ติดริมน้ำเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
2. ข้อสั่งการของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2.1 มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราติดตามดูแลการเจาะบ่อน้ำบาดาลที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 64 บ่อ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2548
2.2 ในการแก้ไขปัญหาระยะสั้น ขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือกัน หากใครพบเห็นข้อบกพร่องตรงจุดใดให้รีบแจ้งประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด หากมีปัญหาใดเกินกำลังให้แจ้งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไป
2.3 ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราและนครนายกเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าว ผัก และผลไม้ เป็นพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศเมื่อเกิดภัยแล้งจึงเกิดความเสียหายและเกิดผลกระทบและพื้นที่บริเวณนี้เป็นแหล่งต้นน้ำ มีแม่น้ำหลัก 2 สาย ซึ่งปริมาณน้ำพอใช้ตลอดปี แต่เนื่องจากขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำจึงเกิดปัญหาภัยแล้งขึ้น ดังนั้น ในการแก้ไขปัญหาระยะยาวจึงควรที่ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนด้วยกัน ทั้งในด้านการกำจัดผักตบชวา การสร้างอ่างเก็บน้ำ การขุดลอก การแก้ไขปัญหาน้ำเสีย และอื่น ๆ ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราในฐานะหัวหน้ากลุ่มจังหวัดประชุมร่วมกับจังหวัดในกลุ่ม เพื่อวางแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ทั้งในด้านการวางแผนแก้ไขปัญหาระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว โดยควรดูเป็นลุ่มน้ำเพื่อจะได้แก้ปัญหาได้ครบถ้วน ทั้งนี้ควรเชิญทุกภาคส่วน คือ ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--