ทำเนียบรัฐบาล--30 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ สรุปผลการประชุมชี้แจงนโยบายรัฐบาลเมื่อวันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม 2540 โดยนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงภาพรวมของนโยบายรัฐบาล สรุปได้ดังนี้
- วัตถุประสงค์ของการประชุม เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในหัวใจสำคัญของนโยบาย เพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินการตามนโยบาย และเพื่อเตรียมจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับนโยบาย
- นโยบายรัฐบาลแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก คือ ระยะเร่งด่วน ใช้ระยะเวลาสั้นที่สุดในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ระยะที่สอง คือ ระยะปานกลาง ใช้เวลา 6 - 12 เดือน
- วิธีดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล คือ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเน้นความรวดเร็ว และการประหยัดงบประมาณ จะเห็นได้ว่าในเอกสารคำแถลงนโยบายจะมีคำว่า "เร่งรัด" มากเป็นพิเศษ รัฐบาลขอให้ทุกหน่วยงานบริหารคน บริหารงบประมาณ และบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะว่าเรากำลังอยู่ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัด โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ
- ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 88 เมื่อรัฐบาลบริหารราชการได้ครบ 1 ปี แล้ว รัฐบาลจำเป็นต้องรายงานสภาว่าได้ทำอะไรไปแล้ว อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ปัญหาอุปสรรคอยู่ที่ใด และทุกหน่วยงานต้องทำตารางสรุปเตรียมไว้ว่า ได้ทำอะไรไปบ้างอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ แล้วส่งผลสรุปดังกล่าวนั้นให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรวบรวมเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อนำไปรายงานประชาชนและรัฐสภา
- เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศทำให้เรามีข้อจำกัดอย่างรุนแรง ไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินตามปกติได้ จำเป็นที่ข้าราชการทุกฝ่ายทุกระดับต้องยอมรับปรับวิธีการทำงาน โดยใช้งบประมาณให้น้อยลง และให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
- ภารกิจสำคัญของรัฐบาลขณะนี้ คือ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่กระทบประชาชนทุกระดับ รัฐบาลจะดำเนินการให้มีแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการชั่วคราว
- การประหยัด รัฐบาลจะเป็นผู้นำในการประหยัดทุก ๆ ด้าน ภายใต้วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะขอเน้นเป็นพิเศษในเรื่องการประหยัดพลังงาน การซื้อของจากต่างประเทศ การเดินทางไปต่างประเทศก็เป็นการใช้จ่ายที่ทำให้รัฐสูญเสียเงินตราไปต่างประเทศมาก จึงขอให้ช่วยกันพิจารณาระงับ
- การแก้ไขปัญหาการว่างงาน ซึ่งจะมีผู้ว่างงานมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในชนบทและในเมือง ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติงาน ร่วมคิด ร่วมทำ โดยใช้วิธีการทางด้านการบริหารและการจัดงบประมาณของกระทรวงต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาความร่วมมือของ 8 กระทรวงหลัก ภายใต้กรอบนโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น การจ้างงานของหน่วยงานทั้งหลายที่มีการใช้เครื่องจักรหรือจ้างบริษัทผู้รับเหมาใหญ่ ๆ ขอให้กลับมาพิจารณาใช้การจ้างแรงงานมากขึ้น
- นโยบายเศรษฐกิจระยะปานกลางเป็นส่วนสำคัญในการวางรากฐานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป นโยบายระยะปานกลางจะดำเนินควบคู่ไปกับนโยบายระยะเร่งด่วน โดยเน้นการปรับโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และการบริการ ให้ไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน
- การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศโดยใช้ภาคการเกษตร ไม่ได้หมายความว่าจะเน้นเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรเท่านั้น แต่รัฐบาลหวังว่าจะมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ ในการจัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการร่วม รวมทั้งมีการนำความรู้ใหม่ ๆ ทางด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต เพื่อให้สินค้าไทยมีมาตรฐานสากล มีคุณภาพ และถูกสุขอนามัย เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
- นโยบายการเมือง การปกครอง และการบริหาร ภารกิจสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการ คือ การออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ คณะกรรมการการเลือกตั้ง และพรรคการเมือง
- การปฏิรูประบบราชการ ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพื่อให้หน่วยราชการมีขนาดเล็กลง กระทัดรัด และมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาข้าราชการให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ มีวิสัยทัศน์ มีมุมมองการบริหารราชการแบบสมัยใหม่ บนพื้นฐานของการรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาบุคลากรเป็นหลัก- มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2540 ได้กำหนดมาตรการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ คือ ไม่ให้มีการขยายหน่วยงาน หรือเพิ่มหน่วยงานขึ้น อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป และมีข้อเสนอของสำนักงาน ก.พ. ว่าต้องไม่เป็นการเพิ่มอัตรากำลัง และงบประมาณค่าใช้จ่าย ต้องเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือเป็นการแก้ไขปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพ และส่วนราชการต้องพิจารณาทบทวนภารกิจ และปรับลดภารกิจที่ไม่จำเป็น รวมทั้งการพิจารณาเรื่องความซ้ำซ้อนของงานให้ชัดเจน ดังนั้น ส่วนราชการอื่นที่จะดำเนินการปรับปรุงหน่วยงาน ขอให้ปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อเสนอของสำนักงาน ก.พ. ด้วย
- ในการทำงานขอให้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้ง มีความเป็นกลางและโปร่งใสในการทำงาน ไม่ฉ้อฉลทุจริตประพฤติมิชอบ และตกอยู่ภายใต้อิทธิพล หรือเห็นแก่ประโยชน์ของพวกพ้องหรือญาติมิตร เรื่องความซื่อสัตย์มีส่วนเกี่ยวพันกับเรื่องการประหยัดด้วย คือ เรื่องการหักเปอร์เซนต์หรือแบ่งเปอร์เซนต์จากภาคเอกชนผู้รับเหมา หัวหน้าส่วนราชการทั้งหลายต้องสั่งผู้ใต้บังคับบัญชาให้ชัดเจนว่าให้ยุติเรื่องนี้ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องเป็นตัวอย่าง และไม่ประพฤติเช่นนี้อีกต่อไป เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายจะขอให้ส่วนราชการต่าง ๆ มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมากขึ้น
- ร่วมมือกันอย่างจริงจัง และยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าขณะนี้เรามีหนี้สินจำนวนมาก และทรัพย์สินที่มีอยู่ก็ไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ นอกเสียจากว่าเราจะต้องประหยัดรายจ่ายและเร่งหารายได้เข้ามา กระทรวงที่มีหน้าที่ดูแลการส่งออก คือ กระทรวงพาณิชย์ จึงได้ขอให้รองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) ดูแลเอง เป้าหมาย คือ ให้จัดระบบการส่งออกให้ชัดเจน เรื่องนี้เป็นเรื่องทุกฝ่ายต้องร่วมกันทำอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้ส่งออกมีเงินลงทุนผลิตสินค้าส่งออก
ทั้งนี้ ให้แจ้งกระทรวง ทบวง ดำเนินการดังนี้
1. รับทราบและถือปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาลที่สำคัญ/เร่งด่วน จากการประชุมชี้แจง
2. ให้กระทรวง/ทบวงเร่งรัดดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการหรือปรับแผนปฏิบัติการของกระทรวง/ทบวง ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล
3. ให้กระทรวง ทบวง เตรียมพร้อมในเรื่องแนวทางปฏิบัติเพื่อรองรับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2540
4. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดทำแบบตารางสรุปผลการดำเนินการและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงไว้ เพื่อแจ้งให้กระทรวง ทบวง ปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 88
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 ธันวาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ สรุปผลการประชุมชี้แจงนโยบายรัฐบาลเมื่อวันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม 2540 โดยนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงภาพรวมของนโยบายรัฐบาล สรุปได้ดังนี้
- วัตถุประสงค์ของการประชุม เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในหัวใจสำคัญของนโยบาย เพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินการตามนโยบาย และเพื่อเตรียมจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับนโยบาย
- นโยบายรัฐบาลแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก คือ ระยะเร่งด่วน ใช้ระยะเวลาสั้นที่สุดในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ระยะที่สอง คือ ระยะปานกลาง ใช้เวลา 6 - 12 เดือน
- วิธีดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล คือ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเน้นความรวดเร็ว และการประหยัดงบประมาณ จะเห็นได้ว่าในเอกสารคำแถลงนโยบายจะมีคำว่า "เร่งรัด" มากเป็นพิเศษ รัฐบาลขอให้ทุกหน่วยงานบริหารคน บริหารงบประมาณ และบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะว่าเรากำลังอยู่ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัด โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ
- ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 88 เมื่อรัฐบาลบริหารราชการได้ครบ 1 ปี แล้ว รัฐบาลจำเป็นต้องรายงานสภาว่าได้ทำอะไรไปแล้ว อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ปัญหาอุปสรรคอยู่ที่ใด และทุกหน่วยงานต้องทำตารางสรุปเตรียมไว้ว่า ได้ทำอะไรไปบ้างอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ แล้วส่งผลสรุปดังกล่าวนั้นให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรวบรวมเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อนำไปรายงานประชาชนและรัฐสภา
- เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศทำให้เรามีข้อจำกัดอย่างรุนแรง ไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินตามปกติได้ จำเป็นที่ข้าราชการทุกฝ่ายทุกระดับต้องยอมรับปรับวิธีการทำงาน โดยใช้งบประมาณให้น้อยลง และให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
- ภารกิจสำคัญของรัฐบาลขณะนี้ คือ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่กระทบประชาชนทุกระดับ รัฐบาลจะดำเนินการให้มีแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการชั่วคราว
- การประหยัด รัฐบาลจะเป็นผู้นำในการประหยัดทุก ๆ ด้าน ภายใต้วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะขอเน้นเป็นพิเศษในเรื่องการประหยัดพลังงาน การซื้อของจากต่างประเทศ การเดินทางไปต่างประเทศก็เป็นการใช้จ่ายที่ทำให้รัฐสูญเสียเงินตราไปต่างประเทศมาก จึงขอให้ช่วยกันพิจารณาระงับ
- การแก้ไขปัญหาการว่างงาน ซึ่งจะมีผู้ว่างงานมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในชนบทและในเมือง ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติงาน ร่วมคิด ร่วมทำ โดยใช้วิธีการทางด้านการบริหารและการจัดงบประมาณของกระทรวงต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาความร่วมมือของ 8 กระทรวงหลัก ภายใต้กรอบนโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น การจ้างงานของหน่วยงานทั้งหลายที่มีการใช้เครื่องจักรหรือจ้างบริษัทผู้รับเหมาใหญ่ ๆ ขอให้กลับมาพิจารณาใช้การจ้างแรงงานมากขึ้น
- นโยบายเศรษฐกิจระยะปานกลางเป็นส่วนสำคัญในการวางรากฐานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป นโยบายระยะปานกลางจะดำเนินควบคู่ไปกับนโยบายระยะเร่งด่วน โดยเน้นการปรับโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และการบริการ ให้ไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน
- การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศโดยใช้ภาคการเกษตร ไม่ได้หมายความว่าจะเน้นเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรเท่านั้น แต่รัฐบาลหวังว่าจะมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ ในการจัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการร่วม รวมทั้งมีการนำความรู้ใหม่ ๆ ทางด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต เพื่อให้สินค้าไทยมีมาตรฐานสากล มีคุณภาพ และถูกสุขอนามัย เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
- นโยบายการเมือง การปกครอง และการบริหาร ภารกิจสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการ คือ การออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ คณะกรรมการการเลือกตั้ง และพรรคการเมือง
- การปฏิรูประบบราชการ ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพื่อให้หน่วยราชการมีขนาดเล็กลง กระทัดรัด และมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาข้าราชการให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ มีวิสัยทัศน์ มีมุมมองการบริหารราชการแบบสมัยใหม่ บนพื้นฐานของการรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาบุคลากรเป็นหลัก- มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2540 ได้กำหนดมาตรการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ คือ ไม่ให้มีการขยายหน่วยงาน หรือเพิ่มหน่วยงานขึ้น อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป และมีข้อเสนอของสำนักงาน ก.พ. ว่าต้องไม่เป็นการเพิ่มอัตรากำลัง และงบประมาณค่าใช้จ่าย ต้องเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือเป็นการแก้ไขปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพ และส่วนราชการต้องพิจารณาทบทวนภารกิจ และปรับลดภารกิจที่ไม่จำเป็น รวมทั้งการพิจารณาเรื่องความซ้ำซ้อนของงานให้ชัดเจน ดังนั้น ส่วนราชการอื่นที่จะดำเนินการปรับปรุงหน่วยงาน ขอให้ปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อเสนอของสำนักงาน ก.พ. ด้วย
- ในการทำงานขอให้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้ง มีความเป็นกลางและโปร่งใสในการทำงาน ไม่ฉ้อฉลทุจริตประพฤติมิชอบ และตกอยู่ภายใต้อิทธิพล หรือเห็นแก่ประโยชน์ของพวกพ้องหรือญาติมิตร เรื่องความซื่อสัตย์มีส่วนเกี่ยวพันกับเรื่องการประหยัดด้วย คือ เรื่องการหักเปอร์เซนต์หรือแบ่งเปอร์เซนต์จากภาคเอกชนผู้รับเหมา หัวหน้าส่วนราชการทั้งหลายต้องสั่งผู้ใต้บังคับบัญชาให้ชัดเจนว่าให้ยุติเรื่องนี้ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องเป็นตัวอย่าง และไม่ประพฤติเช่นนี้อีกต่อไป เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายจะขอให้ส่วนราชการต่าง ๆ มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมากขึ้น
- ร่วมมือกันอย่างจริงจัง และยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าขณะนี้เรามีหนี้สินจำนวนมาก และทรัพย์สินที่มีอยู่ก็ไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ นอกเสียจากว่าเราจะต้องประหยัดรายจ่ายและเร่งหารายได้เข้ามา กระทรวงที่มีหน้าที่ดูแลการส่งออก คือ กระทรวงพาณิชย์ จึงได้ขอให้รองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) ดูแลเอง เป้าหมาย คือ ให้จัดระบบการส่งออกให้ชัดเจน เรื่องนี้เป็นเรื่องทุกฝ่ายต้องร่วมกันทำอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้ส่งออกมีเงินลงทุนผลิตสินค้าส่งออก
ทั้งนี้ ให้แจ้งกระทรวง ทบวง ดำเนินการดังนี้
1. รับทราบและถือปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาลที่สำคัญ/เร่งด่วน จากการประชุมชี้แจง
2. ให้กระทรวง/ทบวงเร่งรัดดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการหรือปรับแผนปฏิบัติการของกระทรวง/ทบวง ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล
3. ให้กระทรวง ทบวง เตรียมพร้อมในเรื่องแนวทางปฏิบัติเพื่อรองรับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2540
4. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดทำแบบตารางสรุปผลการดำเนินการและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงไว้ เพื่อแจ้งให้กระทรวง ทบวง ปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 88
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 ธันวาคม 2540--