1. ภาวะราคา
ภาวะการผลิตโดยรวมสินค้าเกษตรในปีนี้มีประมาณลดลง เนื่องจากฝนทิ้งช่วงในช่วงการเพาะปลูก
และภาวะอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของพืชบางชนิดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับ
ด้านราคา ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดีและสูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออก และสินค้าที่ต้อง
นำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากผลผลิตของประเทศคู่แข่งและประเทศนำเข้าลดลงและความได้เปรียบจากค่าเงิน
บาทที่อ่อนตัวลง
ในการพิจารณาด้านราคาเป็นรายกลุ่มสินค้า จะเห็นภาพที่ชัดเจน ดังนี้
1.1 กลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออก ส่วนใหญ่ราคาสูงขึ้นจากปีก่อนมาก
สินค้า ปีก่อน (ม.ค. 40) ปีนี้ (ม.ค. 41) (เพิ่มขึ้น (%) หมายเหตุ
ข้าวเปลือกหอมมะลิ (บาท/ตัน) 6,763 10,200 50.8 โรงสีรับซื้อ/สุรินทร์
ข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% (บาท/ตัน) 5,085 7,950 56.3 ท่าข้าวกำนันทรง
หัวมันสดคละ (บาท/กก.) 0.87 1.40 60.9 เกษตรกรขายได้
เมล็ดกาแฟ (บาท/กก.) 28.88 79.50 175.3 เกษตรกรขายได้
พริกไทยดำอย่างดี (บาท/กก.) 75.75 235.00 210.2 ขายส่ง/กทม.
ยางแผ่นดิบชั้น 3 (บาท/กก.) 25.13 29.31 19.4 เกษตรกรขายได้/สุราษฎร์ธานี
(ราคายางได้เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากใกล้ช่วงยางผลัดใบ ประกอบกับการเสียหายจากไฟไหม้
โกดังเก็บยางทั้งที่ความต้องการของตลาดโลกลดลงตามภาวะเศรษฐกิจและวิกฤตการณ์ทางการเงิน ซึ่งส่งผลถึงสินค้า
ในกลุ่มยานพาหนะ)
1.2 กลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อบริโภคในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ในภาพรวมปริมาณผลผลิตลดลงเนื่องจากสภาวะ
อากาศไม่เอื้ออำนวย ทำให้ราคารสูงกว่าปีก่อน
สินค้า ปีก่อน (ม.ค. 40) ปีนี้ (ม.ค. 41) (เพิ่มขึ้น (%) หมายเหตุ
หอมแดง (ศรีสะเกษ) (บาท/กก.) 7.50 17.00 126.7 เกษตรกรขายได้
หอมหัวใหญ่ (สันป่าตอง) (บาท/กก.) 5.50 20.75 272.7 เกษตรกรขายได้
ถั่วเหลือง (บาท/กก.) 8.78 12.50 42.4 เกษตรกรขายได้
ผลปาล์มน้ำมัน (กระบี่) (บาท/กก.) 2.74 4.00 46.0 เกษตรกรขายได้
เนื้อมะพร้อมแห้ง 90% (บาท/กก.) 9.04 11.74 29.9 เกษตรกรขายได้.
สับปะรด (บาท/กก.) 2.90-3.10 4.90-5.05 74.1 ราคา ณ หน้าโรงงาน
ไก่เนื้อ/ไก่สดทั้งตัว (บาท/กก.) 34.45 40.50 17.6 ราคาขายส่ง/กทม.
ไข่ไก่/คละ (บาท/ฟอง) 1.05 1.40 33.3 ราคา ณ แหล่งผลิต
กุ้งกุลาดำ (ขนาด 30 ตัว/กก.) (บาท/กก.) 235 635 170.2 ราคาผู้ส่งออกรับซื้อ
สุกรมีชีวิต (บาท/กก.) 43.20 29.00 -32.9 ขายส่ง/กทม.
(ราคาสุกรลดลงรุนแรงเนื่องจากเพิ่มปริมาณการเลี้ยงในช่วงราคาสูง ต่อมาความต้องการลดลงเนื่องจาก
สภาพเศรษฐกิจและผู้เลี้ยงขาดสภาพคล่อง ทำให้ต้องเร่งขาย)
(ผลผลิตปลาป่นภายในประเทศที่มีคุณภาพดี โปรตีนสูงกว่า 60% มีไม่พอเพียงกับความต้องการนำเข้า ทั้งนี้
ราคานำเข้าอยู่ในระดับสูง เพราะผลผลิตจากประเทศที่นำเข้าลดลงและค่าเงินบาทลดลง
สินค้า ปีก่อน (ม.ค. 40) ปีนี้ (ม.ค. 41) (เพิ่มขึ้น (%) หมายเหตุ
ข้าวโพด (บาท/กก.) 3.85 5.04 30.9 เกษตรกรขายได้
กากถั่วเหลือง (บาท/กก.)
- ในประเทศ (เมล็ดนำเข้า ) (บาท/กก.) 9.39 15.80 68.3 ขายส่ง/กทม.
- นำเข้า (บาท/กก.) 9.35 15.65 67.4 ขายส่ง/กทม.
ปลาป่นโปรตีน 60% (บาท/กก.) 4.88 25.80 73.4 ขายส่ง/กทม.
(ผลผลิตปลาป่นภายในประเทศที่มีคุณภาพดี โปรตีนสูงกว่า 60% มีไม่พอเพียงกับความต้องการนำเข้า ทั้งนี้
ราคานำเข้าอยู่ในระดับสูง เพราะผลผลิตจากประเทศที่นำเข้าลดลงและค่าเงินบาทลดลง)
2. ภาวะการส่งออก
จากการที่ค่าเงินบาทลดลง ทำให้ในครึ่งหลังของปี 2540 ถึงปัจจุบัน มีการส่งออกขยายตัวเพิ่มมากขึ้น อาทิ
เช่น ในสินค้าข้าว (ราคา FOB.280 - 330 เหรียญ/ตัน ใกล้เคียงกับราคาข้าวเวียตนาม แต่คุณภาพข้าวไทยโดยรวมดี
กว่า ทั้งนี้ ในปีปกติเวียตนามจะตั้งราคาต่ำกว่าไทย 30 - 40 เหรียญ/ตัน) มันสำปะหลัง ไก่เนื้อ กุ้งกุลาดำ ส่วนปาล์ม
น้ำมันซึ่งปกติไม่ได้มีการส่งออก ก็ได้ส่งออกโดยสามารถแข่งขันกับราคาตลาดโลกได้เป็นอย่างดี (นับจากกันยายน 2540
- ปัจจุบัน ส่งออกประมาณ (48,000 ตัน) นอกจากนี้ยังมีการขยายการส่งออกไก่และผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
3. ผลกระทบต่อค่าครองชีพ
จากการที่สินค้ามีการส่งออกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกและต้องใช้บริโภคภายใน อาทิ
เช่น ข้าวสาร น้ำมันพืช ไก่ มีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ใช้หลักบริหารการจัดการทั้งด้านกำกับดูแล
ปริมาณราคา และจัดระบบการค้า โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกษตรกรได้รับราคาที่สูงขึ้น และได้ประโยชน์ในด้านนำเงินตราเข้า
ประเทศ ทำให้ไม่อาจใช้มาตรการที่จะมุ่งลดภาระค่าครองชีพได้แต่ประการเดียว ทั้งที่มีวิธีการที่จะใช้ได้ อาทิเช่น ห้าม
การส่งออก การกำหนดโควต้าการส่งออก การกำหนดค่าธรรมเนียมการส่งออก และ/หรือการกำหนดมูลภัณฑ์กันชนเพื่อกำ
หนดปริมาณการส่งออก เป็นต้น
ปัญหาราคาสินค้าหมวดอาหารที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วขณะนี้ ได้แก่ ข้าวสาร ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากปริมาณการ
ส่งออกในระยะนี้ หากดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดอาจมีผลกระทบต่อราคาข้าวนาปรังที่กำลังจะออกสู่ตลาดในกลางเดือน
กุมภาพันธ์ - มิถุนายน และเสียโอกาสในการส่งออก ดังนั้นเห็นควรติดตามสถานการณ์ไประยะหนึ่ง เฉพาะอย่างยิ่งจากผล
ผลิตข้าวนาปีในฤดูกาลใหม่ที่จะทำการเพาะปลูกในระหว่างเดือนมิถุนายน - สิงหาคม
สินค้าอีกรายการหนึ่งได้แก่ปาล์มน้ำมันโดยปกติจะต้องมีการนำเข้ามาประมาณปีละ 25,000 ตัน แต่ในปีนี้เป็น
เรื่องตรงกันข้าม คือ มีการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบโดยภาคเอกชนตั้งแต่เดือนกันยายน - มกราคม ประมาณ 50,000 ตัน
ในราคา C&F มาเลเซีย 490 - 515 เหรียญ/ตัน และราคาน้ำมันดิบได้ขยับราคาสูงขึ้นจากเดิมประมาณร้อยละ 60 เป็น
ผลให้ราคาน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์สูงขึ้นตามไปด้วย ถ้าปล่อยให้มีการส่งออกต่อเนื่องไป มีแนวโน้มให้ราคาน้ำมันปาล์มสูงขึ้นและ
อาจขาดแคลนได้
สำหรับหมวดโปรตีนเช่น ไก่เนื้อ กุ้ง ปลา ฯลฯ ซึ่งได้รับประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยนในการแข่งขันกับต่าง
ประเทศ ทำให้มีการส่งออกมากขึ้นและราคาในประเทศสูงขึ้น ประกอบกับวัตถุดิบอาหารสัตว์นำเข้า ไม่ว่ากากถั่วเหลือง
ปลาป่น ข้าวโพด ฯลฯ ได้มีราคาสูงขึ้น อันเนื่องมาจากค่าเงินบาทอ่อนตัวลงและส่งผลโดยตรงต่อราคาต้นทุนอาหารสัตว์
ทำให้ราคาอาหารหมวดโปรตีนสูงตามไปด้วยนั้น กระทรวงพาณิชย์จะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และจำเป็นที่จะ
ต้องลดภาระค่าใช้จ่ายในการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2541--
ภาวะการผลิตโดยรวมสินค้าเกษตรในปีนี้มีประมาณลดลง เนื่องจากฝนทิ้งช่วงในช่วงการเพาะปลูก
และภาวะอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของพืชบางชนิดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับ
ด้านราคา ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดีและสูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออก และสินค้าที่ต้อง
นำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากผลผลิตของประเทศคู่แข่งและประเทศนำเข้าลดลงและความได้เปรียบจากค่าเงิน
บาทที่อ่อนตัวลง
ในการพิจารณาด้านราคาเป็นรายกลุ่มสินค้า จะเห็นภาพที่ชัดเจน ดังนี้
1.1 กลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออก ส่วนใหญ่ราคาสูงขึ้นจากปีก่อนมาก
สินค้า ปีก่อน (ม.ค. 40) ปีนี้ (ม.ค. 41) (เพิ่มขึ้น (%) หมายเหตุ
ข้าวเปลือกหอมมะลิ (บาท/ตัน) 6,763 10,200 50.8 โรงสีรับซื้อ/สุรินทร์
ข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% (บาท/ตัน) 5,085 7,950 56.3 ท่าข้าวกำนันทรง
หัวมันสดคละ (บาท/กก.) 0.87 1.40 60.9 เกษตรกรขายได้
เมล็ดกาแฟ (บาท/กก.) 28.88 79.50 175.3 เกษตรกรขายได้
พริกไทยดำอย่างดี (บาท/กก.) 75.75 235.00 210.2 ขายส่ง/กทม.
ยางแผ่นดิบชั้น 3 (บาท/กก.) 25.13 29.31 19.4 เกษตรกรขายได้/สุราษฎร์ธานี
(ราคายางได้เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากใกล้ช่วงยางผลัดใบ ประกอบกับการเสียหายจากไฟไหม้
โกดังเก็บยางทั้งที่ความต้องการของตลาดโลกลดลงตามภาวะเศรษฐกิจและวิกฤตการณ์ทางการเงิน ซึ่งส่งผลถึงสินค้า
ในกลุ่มยานพาหนะ)
1.2 กลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อบริโภคในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ในภาพรวมปริมาณผลผลิตลดลงเนื่องจากสภาวะ
อากาศไม่เอื้ออำนวย ทำให้ราคารสูงกว่าปีก่อน
สินค้า ปีก่อน (ม.ค. 40) ปีนี้ (ม.ค. 41) (เพิ่มขึ้น (%) หมายเหตุ
หอมแดง (ศรีสะเกษ) (บาท/กก.) 7.50 17.00 126.7 เกษตรกรขายได้
หอมหัวใหญ่ (สันป่าตอง) (บาท/กก.) 5.50 20.75 272.7 เกษตรกรขายได้
ถั่วเหลือง (บาท/กก.) 8.78 12.50 42.4 เกษตรกรขายได้
ผลปาล์มน้ำมัน (กระบี่) (บาท/กก.) 2.74 4.00 46.0 เกษตรกรขายได้
เนื้อมะพร้อมแห้ง 90% (บาท/กก.) 9.04 11.74 29.9 เกษตรกรขายได้.
สับปะรด (บาท/กก.) 2.90-3.10 4.90-5.05 74.1 ราคา ณ หน้าโรงงาน
ไก่เนื้อ/ไก่สดทั้งตัว (บาท/กก.) 34.45 40.50 17.6 ราคาขายส่ง/กทม.
ไข่ไก่/คละ (บาท/ฟอง) 1.05 1.40 33.3 ราคา ณ แหล่งผลิต
กุ้งกุลาดำ (ขนาด 30 ตัว/กก.) (บาท/กก.) 235 635 170.2 ราคาผู้ส่งออกรับซื้อ
สุกรมีชีวิต (บาท/กก.) 43.20 29.00 -32.9 ขายส่ง/กทม.
(ราคาสุกรลดลงรุนแรงเนื่องจากเพิ่มปริมาณการเลี้ยงในช่วงราคาสูง ต่อมาความต้องการลดลงเนื่องจาก
สภาพเศรษฐกิจและผู้เลี้ยงขาดสภาพคล่อง ทำให้ต้องเร่งขาย)
(ผลผลิตปลาป่นภายในประเทศที่มีคุณภาพดี โปรตีนสูงกว่า 60% มีไม่พอเพียงกับความต้องการนำเข้า ทั้งนี้
ราคานำเข้าอยู่ในระดับสูง เพราะผลผลิตจากประเทศที่นำเข้าลดลงและค่าเงินบาทลดลง
สินค้า ปีก่อน (ม.ค. 40) ปีนี้ (ม.ค. 41) (เพิ่มขึ้น (%) หมายเหตุ
ข้าวโพด (บาท/กก.) 3.85 5.04 30.9 เกษตรกรขายได้
กากถั่วเหลือง (บาท/กก.)
- ในประเทศ (เมล็ดนำเข้า ) (บาท/กก.) 9.39 15.80 68.3 ขายส่ง/กทม.
- นำเข้า (บาท/กก.) 9.35 15.65 67.4 ขายส่ง/กทม.
ปลาป่นโปรตีน 60% (บาท/กก.) 4.88 25.80 73.4 ขายส่ง/กทม.
(ผลผลิตปลาป่นภายในประเทศที่มีคุณภาพดี โปรตีนสูงกว่า 60% มีไม่พอเพียงกับความต้องการนำเข้า ทั้งนี้
ราคานำเข้าอยู่ในระดับสูง เพราะผลผลิตจากประเทศที่นำเข้าลดลงและค่าเงินบาทลดลง)
2. ภาวะการส่งออก
จากการที่ค่าเงินบาทลดลง ทำให้ในครึ่งหลังของปี 2540 ถึงปัจจุบัน มีการส่งออกขยายตัวเพิ่มมากขึ้น อาทิ
เช่น ในสินค้าข้าว (ราคา FOB.280 - 330 เหรียญ/ตัน ใกล้เคียงกับราคาข้าวเวียตนาม แต่คุณภาพข้าวไทยโดยรวมดี
กว่า ทั้งนี้ ในปีปกติเวียตนามจะตั้งราคาต่ำกว่าไทย 30 - 40 เหรียญ/ตัน) มันสำปะหลัง ไก่เนื้อ กุ้งกุลาดำ ส่วนปาล์ม
น้ำมันซึ่งปกติไม่ได้มีการส่งออก ก็ได้ส่งออกโดยสามารถแข่งขันกับราคาตลาดโลกได้เป็นอย่างดี (นับจากกันยายน 2540
- ปัจจุบัน ส่งออกประมาณ (48,000 ตัน) นอกจากนี้ยังมีการขยายการส่งออกไก่และผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
3. ผลกระทบต่อค่าครองชีพ
จากการที่สินค้ามีการส่งออกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกและต้องใช้บริโภคภายใน อาทิ
เช่น ข้าวสาร น้ำมันพืช ไก่ มีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ใช้หลักบริหารการจัดการทั้งด้านกำกับดูแล
ปริมาณราคา และจัดระบบการค้า โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกษตรกรได้รับราคาที่สูงขึ้น และได้ประโยชน์ในด้านนำเงินตราเข้า
ประเทศ ทำให้ไม่อาจใช้มาตรการที่จะมุ่งลดภาระค่าครองชีพได้แต่ประการเดียว ทั้งที่มีวิธีการที่จะใช้ได้ อาทิเช่น ห้าม
การส่งออก การกำหนดโควต้าการส่งออก การกำหนดค่าธรรมเนียมการส่งออก และ/หรือการกำหนดมูลภัณฑ์กันชนเพื่อกำ
หนดปริมาณการส่งออก เป็นต้น
ปัญหาราคาสินค้าหมวดอาหารที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วขณะนี้ ได้แก่ ข้าวสาร ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากปริมาณการ
ส่งออกในระยะนี้ หากดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดอาจมีผลกระทบต่อราคาข้าวนาปรังที่กำลังจะออกสู่ตลาดในกลางเดือน
กุมภาพันธ์ - มิถุนายน และเสียโอกาสในการส่งออก ดังนั้นเห็นควรติดตามสถานการณ์ไประยะหนึ่ง เฉพาะอย่างยิ่งจากผล
ผลิตข้าวนาปีในฤดูกาลใหม่ที่จะทำการเพาะปลูกในระหว่างเดือนมิถุนายน - สิงหาคม
สินค้าอีกรายการหนึ่งได้แก่ปาล์มน้ำมันโดยปกติจะต้องมีการนำเข้ามาประมาณปีละ 25,000 ตัน แต่ในปีนี้เป็น
เรื่องตรงกันข้าม คือ มีการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบโดยภาคเอกชนตั้งแต่เดือนกันยายน - มกราคม ประมาณ 50,000 ตัน
ในราคา C&F มาเลเซีย 490 - 515 เหรียญ/ตัน และราคาน้ำมันดิบได้ขยับราคาสูงขึ้นจากเดิมประมาณร้อยละ 60 เป็น
ผลให้ราคาน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์สูงขึ้นตามไปด้วย ถ้าปล่อยให้มีการส่งออกต่อเนื่องไป มีแนวโน้มให้ราคาน้ำมันปาล์มสูงขึ้นและ
อาจขาดแคลนได้
สำหรับหมวดโปรตีนเช่น ไก่เนื้อ กุ้ง ปลา ฯลฯ ซึ่งได้รับประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยนในการแข่งขันกับต่าง
ประเทศ ทำให้มีการส่งออกมากขึ้นและราคาในประเทศสูงขึ้น ประกอบกับวัตถุดิบอาหารสัตว์นำเข้า ไม่ว่ากากถั่วเหลือง
ปลาป่น ข้าวโพด ฯลฯ ได้มีราคาสูงขึ้น อันเนื่องมาจากค่าเงินบาทอ่อนตัวลงและส่งผลโดยตรงต่อราคาต้นทุนอาหารสัตว์
ทำให้ราคาอาหารหมวดโปรตีนสูงตามไปด้วยนั้น กระทรวงพาณิชย์จะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และจำเป็นที่จะ
ต้องลดภาระค่าใช้จ่ายในการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2541--