แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
สำนักนายกรัฐมนตรี
จังหวัดนครนายก
กระทรวงมหาดไทย
ทำเนียบรัฐบาล--9 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดนครนายก ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอ โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ไปดำเนินการด้วย มีดังนี้
1. สืบเนื่องจากคณะกรรมาธิการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร มีมติให้พัฒนาจังหวัดนครนายกเป็นจังหวัดท่องเที่ยวตัวอย่างในเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยมีความเห็นว่าจังหวัดนครนายกมีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูง มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอยู่หลายแห่ง มีกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว ซึ่งบ่งบอกถึงความพร้อมที่จะรองรับการท่องเที่ยวได้ระดับหนึ่ง
2. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลการท่องเที่ยวของประเทศ จึงนำมติคณะกรรมาธิการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร มาพิจารณาดำเนินการ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน และดำเนินการควบคู่กันไปตามแนวความคิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ
2.1 ปรับปรุง ฟื้นฟู หรือพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยว และกิจกรรมที่มีอยู่ ให้มีคุณภาพสามารถรองรับการท่องเที่ยวได้ดียิ่งขึ้น
2.2 จัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อเป็นแม่บทการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัด ในระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2542 - 2546 ซึ่งมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- ศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ถึงแม้ว่าแผนแม่บทการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศได้กำหนดศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครนายกอยู่ในระดับปานกลาง แต่ในพื้นที่ของจังหวัดก็เป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อีกทั้งที่ตั้งของจังหวัดก็อยู่ใกล้กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จังหวัดนครนายกจึงมีความเหมาะสมที่จะรองรับนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- การจัดสรรงบประมาณเพื่อรักษาคุณภาพและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากการพัฒนาการท่องเที่ยวมีส่วนประกอบที่จะต้องพัฒนาร่วมกันหลายส่วนองค์กร ดังนั้น จึงต้องจัดสรรให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างทั่วถึง ในกรณีการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดนครนายก ก็จะต้องจัดสรรงบประมาณตามหลักการที่แผนแม่บทการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศกำหนดไว้
- วิสัยทัศน์และกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวของไทย "กลยุทธการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์" แผนแม่บทการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศ ได้กำหนดให้มีเขตคุ้มครองเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัดนครนายกซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีความเหมาะสมด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จึงมีนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้ความสนใจจำนวนมาก ซึ่งทำให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอาชีพเสริมจากการท่องเที่ยว อันก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง
3. จากเหตุผลดังกล่าว ททท. จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดนครนายก โดยมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรมและครบวงจร เพื่อให้เป็นตัวอย่างที่จะนำไปปฏิบัติกับสถานที่ท่องเที่ยวแห่งอื่น และเนื่องจากจังหวัดนครนายกมีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวหลากหลาย จึงกำหนดภาพลักษณ์การพัฒนานครนายกให้เป็น "อุทยานนคร" มียุทธศาสตร์การพัฒนาที่มุ่งให้เป็น "ศูนย์การท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ใกล้กรุง เมืองแห่งการศึกษาควบคู่กับการพัฒนาที่อยู่อาศัยแหล่งผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมที่สามารถควบคุมมลพิษได้" และมีเป้าหมายคือ "ให้เป็นอุทยานนคร พื้นที่ซึ่งมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน" โดยมีแนวทางพัฒนาหลัก 4 ด้าน คือ
3.1 การพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยว ประกอบด้วย 4 แผนงานย่อย (19 โครงการ) งบประมาณ 347,005,185 บาท ดังนี้
- แผนงานย่อยพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติเดิม จำนวน 5 โครงการ งบประมาณ 57,782,765 บาท วัตถุประสงค์ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติให้สามารถใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ผู้เยี่ยมเยียนและประชาชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน สามารถสร้างงานเพื่อกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น
- แผนงานย่อยพัฒนาแหล่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรม จำนวน 9 โครงการ งบประมาณ 12,164,700 บาท วัตถุประสงค์ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมท้องถิ่น สร้างจิตสำนึกของคนในท้องถิ่นให้ทราบถึงความสำคัญที่จะต้องสืบทอดอนุรักษ์ รักษาศิลปวัฒนธรรม และส่งเสริมเทศกาลประเพณีท้องถิ่น
- แผนงานย่อยสิ่งแวดล้อมชุมชน จำนวน 2 โครงการ งบประมาณ 4,871,400 บาท วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างจิตสำนึกของคนในท้องถิ่นให้ทราบถึงความสำคัญที่จะต้องรักษาสิ่งแวดล้อมชุมชน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและกิจกรรมทางสังคมของคนเมือง
- แผนงานย่อยพื้นที่ท่องเที่ยวใหม่ จำนวน 3 โครงการ งบประมาณ 272,186,320 บาท วัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นที่จัดแสดงกิจกรรม ให้ทราบถึงความสำคัญที่จะต้องอนุรักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและชุมชน
3.2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก ประกอบด้วย 15 โครงการ งบประมาณ 389,004,348 บาทวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวก ความปลอดภัยให้แก่ผู้เยี่ยมเยือน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวใหม่ อันเป็นการสร้างแรงดึงดูดทางการท่องเที่ยวจังหวัดนครนายกมากขึ้น
3.3 การพัฒนากิจกรรม ประกอบด้วย 9 โครงการ งบประมาณ 3,450,000 บาท เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในกิจกรรมใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และส่งเสริมเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนท้องถิ่น
3.4 การพัฒนาการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย 2 โครงการ งบประมาณ 1,794,000 บาท โดยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และกระตุ้นให้ขยายกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณมีความเห็นว่า ควรอนุมัติให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมกันพัฒนาจังหวัดนครนายกให้เป็นจังหวัดท่องเที่ยวตัวอย่าง ตามแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดนครนายกที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอ รวม 4 แผนงาน 42 โครงการ ในวงเงิน 463,104,600 บาท โดยได้ปรับลดวงเงินบางโครงการลง เนื่องจากได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาไปแล้วบางส่วน และได้ปรับลดโครงการลง 3 โครงการ โดยเห็นว่าจะมีปัญหาเรื่องความไม่พร้อมด้านการจัดการ การดูแลบำรุงรักษาหลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ และบางโครงการได้รับเงินกู้ไปดำเนินแล้ว ทั้งนี้ สำนักงบประมาณจะได้พิจารณาจัดสรรงบประมษณให้ตามกำลังเงินในแต่ละปี
อนึ่ง สำนักงบประมาณมีข้อสังเกตว่า ในการปรับแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งต้องใช้จ่ายงบประมาณเป็นจำนวนมากนั้น ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบบำรุงรักษาแหล่งท่องเที่ยวให้คงอยู่ในสภาพที่ดี เพื่อใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าแก่การลงทุน นอกจากนั้นในระยะยาวควรจะส่งเสริมให้ราชการส่วนท้องถิ่นบริหารจัดการโครงการเอง เพื่อพัฒนาการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดนครนายก ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอ โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ไปดำเนินการด้วย มีดังนี้
1. สืบเนื่องจากคณะกรรมาธิการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร มีมติให้พัฒนาจังหวัดนครนายกเป็นจังหวัดท่องเที่ยวตัวอย่างในเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยมีความเห็นว่าจังหวัดนครนายกมีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูง มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอยู่หลายแห่ง มีกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว ซึ่งบ่งบอกถึงความพร้อมที่จะรองรับการท่องเที่ยวได้ระดับหนึ่ง
2. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลการท่องเที่ยวของประเทศ จึงนำมติคณะกรรมาธิการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร มาพิจารณาดำเนินการ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน และดำเนินการควบคู่กันไปตามแนวความคิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ
2.1 ปรับปรุง ฟื้นฟู หรือพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยว และกิจกรรมที่มีอยู่ ให้มีคุณภาพสามารถรองรับการท่องเที่ยวได้ดียิ่งขึ้น
2.2 จัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อเป็นแม่บทการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัด ในระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2542 - 2546 ซึ่งมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- ศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ถึงแม้ว่าแผนแม่บทการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศได้กำหนดศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครนายกอยู่ในระดับปานกลาง แต่ในพื้นที่ของจังหวัดก็เป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อีกทั้งที่ตั้งของจังหวัดก็อยู่ใกล้กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จังหวัดนครนายกจึงมีความเหมาะสมที่จะรองรับนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- การจัดสรรงบประมาณเพื่อรักษาคุณภาพและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากการพัฒนาการท่องเที่ยวมีส่วนประกอบที่จะต้องพัฒนาร่วมกันหลายส่วนองค์กร ดังนั้น จึงต้องจัดสรรให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างทั่วถึง ในกรณีการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดนครนายก ก็จะต้องจัดสรรงบประมาณตามหลักการที่แผนแม่บทการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศกำหนดไว้
- วิสัยทัศน์และกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวของไทย "กลยุทธการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์" แผนแม่บทการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศ ได้กำหนดให้มีเขตคุ้มครองเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัดนครนายกซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีความเหมาะสมด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จึงมีนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้ความสนใจจำนวนมาก ซึ่งทำให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอาชีพเสริมจากการท่องเที่ยว อันก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง
3. จากเหตุผลดังกล่าว ททท. จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดนครนายก โดยมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรมและครบวงจร เพื่อให้เป็นตัวอย่างที่จะนำไปปฏิบัติกับสถานที่ท่องเที่ยวแห่งอื่น และเนื่องจากจังหวัดนครนายกมีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวหลากหลาย จึงกำหนดภาพลักษณ์การพัฒนานครนายกให้เป็น "อุทยานนคร" มียุทธศาสตร์การพัฒนาที่มุ่งให้เป็น "ศูนย์การท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ใกล้กรุง เมืองแห่งการศึกษาควบคู่กับการพัฒนาที่อยู่อาศัยแหล่งผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมที่สามารถควบคุมมลพิษได้" และมีเป้าหมายคือ "ให้เป็นอุทยานนคร พื้นที่ซึ่งมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน" โดยมีแนวทางพัฒนาหลัก 4 ด้าน คือ
3.1 การพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยว ประกอบด้วย 4 แผนงานย่อย (19 โครงการ) งบประมาณ 347,005,185 บาท ดังนี้
- แผนงานย่อยพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติเดิม จำนวน 5 โครงการ งบประมาณ 57,782,765 บาท วัตถุประสงค์ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติให้สามารถใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ผู้เยี่ยมเยียนและประชาชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน สามารถสร้างงานเพื่อกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น
- แผนงานย่อยพัฒนาแหล่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรม จำนวน 9 โครงการ งบประมาณ 12,164,700 บาท วัตถุประสงค์ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมท้องถิ่น สร้างจิตสำนึกของคนในท้องถิ่นให้ทราบถึงความสำคัญที่จะต้องสืบทอดอนุรักษ์ รักษาศิลปวัฒนธรรม และส่งเสริมเทศกาลประเพณีท้องถิ่น
- แผนงานย่อยสิ่งแวดล้อมชุมชน จำนวน 2 โครงการ งบประมาณ 4,871,400 บาท วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างจิตสำนึกของคนในท้องถิ่นให้ทราบถึงความสำคัญที่จะต้องรักษาสิ่งแวดล้อมชุมชน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและกิจกรรมทางสังคมของคนเมือง
- แผนงานย่อยพื้นที่ท่องเที่ยวใหม่ จำนวน 3 โครงการ งบประมาณ 272,186,320 บาท วัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นที่จัดแสดงกิจกรรม ให้ทราบถึงความสำคัญที่จะต้องอนุรักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและชุมชน
3.2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก ประกอบด้วย 15 โครงการ งบประมาณ 389,004,348 บาทวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวก ความปลอดภัยให้แก่ผู้เยี่ยมเยือน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวใหม่ อันเป็นการสร้างแรงดึงดูดทางการท่องเที่ยวจังหวัดนครนายกมากขึ้น
3.3 การพัฒนากิจกรรม ประกอบด้วย 9 โครงการ งบประมาณ 3,450,000 บาท เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในกิจกรรมใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และส่งเสริมเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนท้องถิ่น
3.4 การพัฒนาการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย 2 โครงการ งบประมาณ 1,794,000 บาท โดยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และกระตุ้นให้ขยายกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณมีความเห็นว่า ควรอนุมัติให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมกันพัฒนาจังหวัดนครนายกให้เป็นจังหวัดท่องเที่ยวตัวอย่าง ตามแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดนครนายกที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอ รวม 4 แผนงาน 42 โครงการ ในวงเงิน 463,104,600 บาท โดยได้ปรับลดวงเงินบางโครงการลง เนื่องจากได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาไปแล้วบางส่วน และได้ปรับลดโครงการลง 3 โครงการ โดยเห็นว่าจะมีปัญหาเรื่องความไม่พร้อมด้านการจัดการ การดูแลบำรุงรักษาหลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ และบางโครงการได้รับเงินกู้ไปดำเนินแล้ว ทั้งนี้ สำนักงบประมาณจะได้พิจารณาจัดสรรงบประมษณให้ตามกำลังเงินในแต่ละปี
อนึ่ง สำนักงบประมาณมีข้อสังเกตว่า ในการปรับแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งต้องใช้จ่ายงบประมาณเป็นจำนวนมากนั้น ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบบำรุงรักษาแหล่งท่องเที่ยวให้คงอยู่ในสภาพที่ดี เพื่อใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าแก่การลงทุน นอกจากนั้นในระยะยาวควรจะส่งเสริมให้ราชการส่วนท้องถิ่นบริหารจัดการโครงการเอง เพื่อพัฒนาการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542--