ทำเนียบรัฐบาล--13 ม.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีหลักการและเหตุผลคือ เพิ่มเติมมาตรา 14 ทวิ แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ทั้งนี้ โดยที่ในปัจจุบันได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการปรับปรุงการจำแนกประเภทสินค้าในระบบฮาร์โมไนซ์ของคณะรัฐมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรที่ประเทศไทยและประเทศอื่นอีกประมาณ 130 ประเทศได้นำมาใช้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับรูปแบบการค้าระหว่างประเทศ เทคโนโลยีในการผลิตและการขนส่ง รวมทั้งได้มีแนวโน้มที่จะร่วมมือกันในกลุ่มการค้าและเศรษฐกิจระดับภูมิภาคซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิก ในการที่จะนำระบบการจำแนกประเภทสินค้าของกลุ่มซึ่งพัฒนามาจากระบบ
มาใช้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรของประเทศสมาชิก สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรให้รัฐบาลสามารถแก้ไขเพิ่มเติมความในภาค 1 หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร และในภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า เพื่อนำระบบดังกล่าวมาใช้ให้สอดคล้องกับนานาประเทศตามพันธกรณีที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีในสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ หรือที่ประเทศไทยจะร่วมลงนามหรือเข้าเป็นภาคีในอนาคต รวมทั้งให้สอดคล้องและเป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ ความผาสุกของประชาชนและความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้ โดยจะไม่ให้มีผลต้องเรียกเก็บอากรสูงกว่าอัตราอากรที่กำหนดในภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ คือ เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ หรือเพื่อความผาสุกของประชาชน หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ หรือเพื่อปฏิบัติตามข้อผูกพันตามสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศแก้ไขเพิ่มเติมความในภาค 1 หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลการกร และภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า ท้ายพระราชกำหนดนี้และที่แก้ไขเพิ่มเติม
การแก้ไขเพิ่มเติมในวรรคหนึ่ง หากมีผลให้ต้องเรียกเก็บและเสียอากรในอัตราสูงกว่าอัตราอากรที่กำหนดในภาค 2 ดังกล่าว ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ประกาศแก้ไขให้เรียกเก็บและเสียอากรในอัตราไม่สูงกว่าอัตราดังกล่าว ทั้งนี้โดยไม่ต้องให้มีผลย้อนหลัง
ทั้งนี้ เนื่องจากได้พิจารณาเห็นว่า
1. ประเทศไทยเป็นสมาชิกองค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization) และได้นำระบบการจำแนกประเภทสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized Commodity Description and Coding System) ที่องค์การศุลกากรโลกได้จัดทำขึ้นเป็นระบบสากล มาใช้เป็นภาค 1 หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร และภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 และได้ยื่นภาคยานุวัตรสารเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2534 ซึ่งมีผลเป็นภาคีสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2536 และในปัจจุบันมีประเทศที่นำระบบฮาร์โมไนซ์มาใช้ในกฎหมายพิกัดอัตราศุลกากรเกือบ 130 ประเทศ ครอบคลุมการค้าโลกกว่าร้อยละ 90 และมีประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์ถึง 85 ประเทศ
2. องค์การศุลกากรโลกได้แก้ไขระบบฮาร์โมไนซ์ครั้งแรกและมีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้คณะรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตามลำดับ แต่ได้ตกไปเนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 13 มกราคม 2540--
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีหลักการและเหตุผลคือ เพิ่มเติมมาตรา 14 ทวิ แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ทั้งนี้ โดยที่ในปัจจุบันได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการปรับปรุงการจำแนกประเภทสินค้าในระบบฮาร์โมไนซ์ของคณะรัฐมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรที่ประเทศไทยและประเทศอื่นอีกประมาณ 130 ประเทศได้นำมาใช้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับรูปแบบการค้าระหว่างประเทศ เทคโนโลยีในการผลิตและการขนส่ง รวมทั้งได้มีแนวโน้มที่จะร่วมมือกันในกลุ่มการค้าและเศรษฐกิจระดับภูมิภาคซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิก ในการที่จะนำระบบการจำแนกประเภทสินค้าของกลุ่มซึ่งพัฒนามาจากระบบ
มาใช้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรของประเทศสมาชิก สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรให้รัฐบาลสามารถแก้ไขเพิ่มเติมความในภาค 1 หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร และในภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า เพื่อนำระบบดังกล่าวมาใช้ให้สอดคล้องกับนานาประเทศตามพันธกรณีที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีในสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ หรือที่ประเทศไทยจะร่วมลงนามหรือเข้าเป็นภาคีในอนาคต รวมทั้งให้สอดคล้องและเป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ ความผาสุกของประชาชนและความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้ โดยจะไม่ให้มีผลต้องเรียกเก็บอากรสูงกว่าอัตราอากรที่กำหนดในภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ คือ เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ หรือเพื่อความผาสุกของประชาชน หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ หรือเพื่อปฏิบัติตามข้อผูกพันตามสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศแก้ไขเพิ่มเติมความในภาค 1 หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลการกร และภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า ท้ายพระราชกำหนดนี้และที่แก้ไขเพิ่มเติม
การแก้ไขเพิ่มเติมในวรรคหนึ่ง หากมีผลให้ต้องเรียกเก็บและเสียอากรในอัตราสูงกว่าอัตราอากรที่กำหนดในภาค 2 ดังกล่าว ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ประกาศแก้ไขให้เรียกเก็บและเสียอากรในอัตราไม่สูงกว่าอัตราดังกล่าว ทั้งนี้โดยไม่ต้องให้มีผลย้อนหลัง
ทั้งนี้ เนื่องจากได้พิจารณาเห็นว่า
1. ประเทศไทยเป็นสมาชิกองค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization) และได้นำระบบการจำแนกประเภทสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized Commodity Description and Coding System) ที่องค์การศุลกากรโลกได้จัดทำขึ้นเป็นระบบสากล มาใช้เป็นภาค 1 หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร และภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 และได้ยื่นภาคยานุวัตรสารเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2534 ซึ่งมีผลเป็นภาคีสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2536 และในปัจจุบันมีประเทศที่นำระบบฮาร์โมไนซ์มาใช้ในกฎหมายพิกัดอัตราศุลกากรเกือบ 130 ประเทศ ครอบคลุมการค้าโลกกว่าร้อยละ 90 และมีประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์ถึง 85 ประเทศ
2. องค์การศุลกากรโลกได้แก้ไขระบบฮาร์โมไนซ์ครั้งแรกและมีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้คณะรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตามลำดับ แต่ได้ตกไปเนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 13 มกราคม 2540--