ทำเนียบรัฐบาล--14 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบกับมาตรการรณรงค์การออมและการประหยัดการใช้จ่าย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการ สำหรับมาตรการดังกล่าวมี ดังนี้
1. มาตรการภาครัฐ
1.1 ประหยัดการใช้จ่ายงบประมาณในรายการที่ไม่จำเป็น เช่น ตัดทอนค่าใช้จ่ายหมวดค่าตอบแทนใช้สอย วัสดุ ครุภัณฑ์ ค่าก่อสร้าง และค่าเดินทางไปต่างประเทศ 1.2 ให้คณะรัฐมนตรีมีมติประกาศให้หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ โดยให้จัดซื้อของ/สินค้าที่ผลิตในประเทศที่ได้มาตรฐานสากลเป็นลำดับแรก และปรับปรุงระเบียบการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี
1.3 ทบทวนแผนการลงทุนในโครงการที่มีการนำเข้าสินค้าทุนในอัตราสูง
1.4 ปรับปรุงระบบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ซื้อสินค้าไทยให้สามารถคืนภาษีได้เป็นการทั่วไป
1.5 เข้มงวดการอนุมัติการกันเงินงบประมาณไว้เบิกเหลื่อมปีที่ไม่มีข้อผูกพัน
1.6 พิจารณาจำหน่ายหุ้นในส่วนที่รัฐบาลถืออยู่ให้กับประชาชน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง กรมประชาสัมพันธ์รัฐวิสาหกิจทุกแห่ง สำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงคมนาคม
2. มาตรการภาคเอกชน
2.1 ส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางในประเทศให้มากขึ้น
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
2.2 ให้เครดิตภาษีสำหรับธุรกิจเอกชนที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยวิธีการลดการสูญเสียในขบวนการผลิต การลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและวัสดุสิ้นเปลือง
2.3 ให้สิ่งจูงใจด้านภาษีสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมที่นำเทคโนโลยีการลด - การใช้ใหม่ - การแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ (Reduce - Reuse - Recycle)
3. มาตรการภาคประชาชน
3.1 รณรงค์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อปลูกฝังค่านิยมใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศไทย และจ้างบริษัทเอกชนที่มีความสามารถและประสบการณ์จัดทำแผนการณรงค์ใช้สินค้าไทย
3.2 รณรงค์ให้เกิดค่านิยมเดินทางและท่องเที่ยวภายในประเทศ และลดค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงพาณิชย์ สำนักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานคณะกรรมการเอกลักษณ์ไทย
3.3 รณรงค์ให้ประหยัดการใช้ไฟฟ้า
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ทั้งนี้ เนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาทภายหลังปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนได้ส่งผลดีต่อภาคการส่งออกและบริการ อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายของแต่ละภาคเศรษฐกิจยังคงเป็นไปอย่างไม่ประหยัด โดยเฉพาะการใช้จ่ายเกินตัวของภาคครัวเรือนมีผลทำให้ระดับการออมของประเทศลดลงมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2533 และไม่สามารถเป็นแหล่งเงินออมที่สำคัญของประเทศได้ นอกจากนี้ภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และธุรกิจเอกชนยังคงมีรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และในบางกรณีไม่ก่อให้เกิดผลผลิต ดังนั้น การรณรงค์การออมและประหยัดการใช้จ่ายจำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีแผนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม เพื่อส่งเสริมระดับการออมของประเทศให้สามารถเพิ่มสูงขึ้น เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับสนับสนุนการลงทุนในประเทศเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 14 กรกฎาคม 2540--
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบกับมาตรการรณรงค์การออมและการประหยัดการใช้จ่าย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการ สำหรับมาตรการดังกล่าวมี ดังนี้
1. มาตรการภาครัฐ
1.1 ประหยัดการใช้จ่ายงบประมาณในรายการที่ไม่จำเป็น เช่น ตัดทอนค่าใช้จ่ายหมวดค่าตอบแทนใช้สอย วัสดุ ครุภัณฑ์ ค่าก่อสร้าง และค่าเดินทางไปต่างประเทศ 1.2 ให้คณะรัฐมนตรีมีมติประกาศให้หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ โดยให้จัดซื้อของ/สินค้าที่ผลิตในประเทศที่ได้มาตรฐานสากลเป็นลำดับแรก และปรับปรุงระเบียบการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี
1.3 ทบทวนแผนการลงทุนในโครงการที่มีการนำเข้าสินค้าทุนในอัตราสูง
1.4 ปรับปรุงระบบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ซื้อสินค้าไทยให้สามารถคืนภาษีได้เป็นการทั่วไป
1.5 เข้มงวดการอนุมัติการกันเงินงบประมาณไว้เบิกเหลื่อมปีที่ไม่มีข้อผูกพัน
1.6 พิจารณาจำหน่ายหุ้นในส่วนที่รัฐบาลถืออยู่ให้กับประชาชน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง กรมประชาสัมพันธ์รัฐวิสาหกิจทุกแห่ง สำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงคมนาคม
2. มาตรการภาคเอกชน
2.1 ส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางในประเทศให้มากขึ้น
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
2.2 ให้เครดิตภาษีสำหรับธุรกิจเอกชนที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยวิธีการลดการสูญเสียในขบวนการผลิต การลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและวัสดุสิ้นเปลือง
2.3 ให้สิ่งจูงใจด้านภาษีสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมที่นำเทคโนโลยีการลด - การใช้ใหม่ - การแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ (Reduce - Reuse - Recycle)
3. มาตรการภาคประชาชน
3.1 รณรงค์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อปลูกฝังค่านิยมใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศไทย และจ้างบริษัทเอกชนที่มีความสามารถและประสบการณ์จัดทำแผนการณรงค์ใช้สินค้าไทย
3.2 รณรงค์ให้เกิดค่านิยมเดินทางและท่องเที่ยวภายในประเทศ และลดค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงพาณิชย์ สำนักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานคณะกรรมการเอกลักษณ์ไทย
3.3 รณรงค์ให้ประหยัดการใช้ไฟฟ้า
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ทั้งนี้ เนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาทภายหลังปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนได้ส่งผลดีต่อภาคการส่งออกและบริการ อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายของแต่ละภาคเศรษฐกิจยังคงเป็นไปอย่างไม่ประหยัด โดยเฉพาะการใช้จ่ายเกินตัวของภาคครัวเรือนมีผลทำให้ระดับการออมของประเทศลดลงมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2533 และไม่สามารถเป็นแหล่งเงินออมที่สำคัญของประเทศได้ นอกจากนี้ภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และธุรกิจเอกชนยังคงมีรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และในบางกรณีไม่ก่อให้เกิดผลผลิต ดังนั้น การรณรงค์การออมและประหยัดการใช้จ่ายจำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีแผนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม เพื่อส่งเสริมระดับการออมของประเทศให้สามารถเพิ่มสูงขึ้น เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับสนับสนุนการลงทุนในประเทศเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 14 กรกฎาคม 2540--