ทำเนียบรัฐบาล--6 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการประชุมประเทศภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่1ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 7 เมษายน 2538 ณ นครเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมในระดับรัฐมนตรีสรุปผลการประชุมฯ และการเจรจาอื่น ๆ ได้ ดังนี้
1. การประชุมประเทศภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 1
1.1 ที่ประชุมไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับการเจรจาเรื่องการเพิ่มข้อผูกพันในรูปของพิธีสารที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องการให้ประเทศที่พัฒนาแล้วเพิ่มเติมพันธกรณี ในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องการให้ประเทศที่กำลังพัฒนาเข้ามามีส่วนร่วมรับภาระในเรื่องนี้ด้วย จึงมีมติให้จัดตั้ง ad hoc open - ended working group ขึ้นมาเจรจาในเรื่องนี้อีก โดยกำหนดจัดประชุมให้เร็วที่สุด คาดว่าจะก่อนเดือนตุลาคม 2538 ซึ่งจะจัดที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และจะต้องพยายามให้เสร็จก่อนการประชุมสมัยที่ 3 ของการประชุมภาคคีอนุสัญญาในปี 2540
1.2 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับ joint implementation คือการร่วมลงทุนตามโครงการ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือโครงการคุ้มครองและเพิ่มพื้นที่แหล่งรองรับ (sink) เพื่อเก็บกักก๊าซเรือนกระจกที่ประชุมเห็นควรให้จัดทำโครงการร่วมระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่เศรษฐกิจอยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการได้โดยให้ทำในลักษณะโครงการนำร่อง "pilot phase" โดยไม่มีการคิด credit
1.3 บอนน์/เยอรมันนี ได้รับการเสนอชื่อเป็นที่ตั้งถาวรของฝ่ายเลขานุการอนุสัญญา และที่ประชุมมีมติให้ประเทศต่าง ๆ บริจาคเงินสมทบกองทุนอนุสัญญา เพื่อเป็นค่าใชัจ่ายของฝ่ายเลขานุการในการบริหารงานเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2539 สำหรับประเทศไทยจะต้องบริจาคเป็นจำนวน 0.13% ของยอดรายจ่ายรวมทั้งหมดของฝ่ายเลขานุการ
2. การเจรจาหารืออย่างไม่เป็นทางการกับ Ms. sheila Copps รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศแคนาดา ผลการประชุมสรุปได้ว่า ทางแคนาดาประ-สงค์ที่จะเสนอโครงการร่วมลงทุนกับไทยในลักษณะ joint implementation ตามแนวทางการเจรจาในที่ประชุมประเทศภาคีอนุสัญญา โดยจะเน้นในเรื่องของการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจาก ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้ให้ความสนใจ และเห็นควรให้มีการเจรจาในรายละเอียดอีกครั้ง
3.การหารือข้อราชการกับเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก (นายดนัย ดุละลัมพะ) เกี่ยวกับความคืบหน้าของคณะกรรมการด้านการค้าและสิ่งแวดล้อมภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งได้รับทราบว่า ขณะนี้คณะกรรมการดังกล่าวได้เริ่มประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางและประเด็นที่เกี่ยวข้องระหว่างการค้าและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และอาจจะกำหนดให้มีการเจรจาเพื่อกำหนดมาตรการการค้าของโลกกับเงื่อนไขการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งกรณีนี้อาจจะมีผลกระทบโดยตรงกับประเทศไทยทั้งในแง่การส่งออก และในแง่การปฏิบัติตามพันธกรณีที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันหรืออยู่ในระหว่างการเตรียมการให้สัตยาบันข้อตกลงพหุภาคีต่าง ๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จะได้ประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อพิจารณาจัดส่งเจ้าหน้าที่ของ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ไปช่วยราชการในสำนักงานเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก เพื่อติดตามและประสานงานในเรื่องนี้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 มิถุนายน 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการประชุมประเทศภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่1ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 7 เมษายน 2538 ณ นครเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมในระดับรัฐมนตรีสรุปผลการประชุมฯ และการเจรจาอื่น ๆ ได้ ดังนี้
1. การประชุมประเทศภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 1
1.1 ที่ประชุมไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับการเจรจาเรื่องการเพิ่มข้อผูกพันในรูปของพิธีสารที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องการให้ประเทศที่พัฒนาแล้วเพิ่มเติมพันธกรณี ในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องการให้ประเทศที่กำลังพัฒนาเข้ามามีส่วนร่วมรับภาระในเรื่องนี้ด้วย จึงมีมติให้จัดตั้ง ad hoc open - ended working group ขึ้นมาเจรจาในเรื่องนี้อีก โดยกำหนดจัดประชุมให้เร็วที่สุด คาดว่าจะก่อนเดือนตุลาคม 2538 ซึ่งจะจัดที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และจะต้องพยายามให้เสร็จก่อนการประชุมสมัยที่ 3 ของการประชุมภาคคีอนุสัญญาในปี 2540
1.2 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับ joint implementation คือการร่วมลงทุนตามโครงการ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือโครงการคุ้มครองและเพิ่มพื้นที่แหล่งรองรับ (sink) เพื่อเก็บกักก๊าซเรือนกระจกที่ประชุมเห็นควรให้จัดทำโครงการร่วมระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่เศรษฐกิจอยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการได้โดยให้ทำในลักษณะโครงการนำร่อง "pilot phase" โดยไม่มีการคิด credit
1.3 บอนน์/เยอรมันนี ได้รับการเสนอชื่อเป็นที่ตั้งถาวรของฝ่ายเลขานุการอนุสัญญา และที่ประชุมมีมติให้ประเทศต่าง ๆ บริจาคเงินสมทบกองทุนอนุสัญญา เพื่อเป็นค่าใชัจ่ายของฝ่ายเลขานุการในการบริหารงานเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2539 สำหรับประเทศไทยจะต้องบริจาคเป็นจำนวน 0.13% ของยอดรายจ่ายรวมทั้งหมดของฝ่ายเลขานุการ
2. การเจรจาหารืออย่างไม่เป็นทางการกับ Ms. sheila Copps รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศแคนาดา ผลการประชุมสรุปได้ว่า ทางแคนาดาประ-สงค์ที่จะเสนอโครงการร่วมลงทุนกับไทยในลักษณะ joint implementation ตามแนวทางการเจรจาในที่ประชุมประเทศภาคีอนุสัญญา โดยจะเน้นในเรื่องของการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจาก ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้ให้ความสนใจ และเห็นควรให้มีการเจรจาในรายละเอียดอีกครั้ง
3.การหารือข้อราชการกับเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก (นายดนัย ดุละลัมพะ) เกี่ยวกับความคืบหน้าของคณะกรรมการด้านการค้าและสิ่งแวดล้อมภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งได้รับทราบว่า ขณะนี้คณะกรรมการดังกล่าวได้เริ่มประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางและประเด็นที่เกี่ยวข้องระหว่างการค้าและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และอาจจะกำหนดให้มีการเจรจาเพื่อกำหนดมาตรการการค้าของโลกกับเงื่อนไขการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งกรณีนี้อาจจะมีผลกระทบโดยตรงกับประเทศไทยทั้งในแง่การส่งออก และในแง่การปฏิบัติตามพันธกรณีที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันหรืออยู่ในระหว่างการเตรียมการให้สัตยาบันข้อตกลงพหุภาคีต่าง ๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จะได้ประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อพิจารณาจัดส่งเจ้าหน้าที่ของ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ไปช่วยราชการในสำนักงานเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก เพื่อติดตามและประสานงานในเรื่องนี้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 มิถุนายน 2538--