ทำเนียบรัฐบาล--23 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าในการประสานงานกับวุฒิสภาในการดำเนินการคัดเลือกตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ตามที่สำนักงานศาลปกครอง ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า มีประเด็นข้อกฎหมายที่สำคัญประเด็นหนึ่งที่คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและความประพฤติบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการในศาลปกครอง จำนวน 23 คน ขอให้ให้ความกระจ่าง คือ ประเด็นที่ว่า ตามบทเฉพาะกาลมาตรา 97 และ 98 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 จะขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติมาตรา 277 และ 278 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือไม่ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ มีข้อสังเกตว่า เพื่อมิให้เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ อาจจะต้องมีการเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องเสียก่อน โดยแก้ไขเพิ่มบทเฉพาะกาลกำหนดให้มีองค์กรทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองชุดแรก
นอกจากนี้ คณะกรรมการคัดเลือกตุลาการในศาลปกครองสูงสุดยังได้ชี้แจงด้วยว่า ปัญหาในประเด็นนี้ได้มีการยกขึ้นพิจารณาเป็นการเฉพาะแล้ว ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในขั้นสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และสภาทั้งสองก็เห็นว่าสมควรให้มีบทเฉพาะกาลเช่นนั้นได้ และยังเห็นว่า เป็นปัญหาสำคัญที่อาจจะนำไปสู่การเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อไป ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็จะมีผลทำให้การดำเนินการจัดตั้งศาลปกครองต้องล่าช้าออกไปอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 พฤศจิกายน 2542--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าในการประสานงานกับวุฒิสภาในการดำเนินการคัดเลือกตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ตามที่สำนักงานศาลปกครอง ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า มีประเด็นข้อกฎหมายที่สำคัญประเด็นหนึ่งที่คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและความประพฤติบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการในศาลปกครอง จำนวน 23 คน ขอให้ให้ความกระจ่าง คือ ประเด็นที่ว่า ตามบทเฉพาะกาลมาตรา 97 และ 98 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 จะขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติมาตรา 277 และ 278 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือไม่ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ มีข้อสังเกตว่า เพื่อมิให้เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ อาจจะต้องมีการเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องเสียก่อน โดยแก้ไขเพิ่มบทเฉพาะกาลกำหนดให้มีองค์กรทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองชุดแรก
นอกจากนี้ คณะกรรมการคัดเลือกตุลาการในศาลปกครองสูงสุดยังได้ชี้แจงด้วยว่า ปัญหาในประเด็นนี้ได้มีการยกขึ้นพิจารณาเป็นการเฉพาะแล้ว ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในขั้นสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และสภาทั้งสองก็เห็นว่าสมควรให้มีบทเฉพาะกาลเช่นนั้นได้ และยังเห็นว่า เป็นปัญหาสำคัญที่อาจจะนำไปสู่การเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อไป ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็จะมีผลทำให้การดำเนินการจัดตั้งศาลปกครองต้องล่าช้าออกไปอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 พฤศจิกายน 2542--