ทำเนียบรัฐบาล--19 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานภาพของสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการตัดต่อสารพันธุกรรม (GMOs หรือ LMOs) ของประเทศไทย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ความเป็นมาของ GMOs หรือ LMOs
1.1 สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีหน่วยพันธุกรรมที่เรียกว่า DNA (Deoxyribonucleic acid) เป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะประจำตัว DNA เป็นสารเคมีมีลักษณะเกาะตัวกันเป็นเส้นสายเรียกว่า โครโมโซม (Chromosome) บรรจุอยู่ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตซึ่งมีการเรียงตัวต่าง ๆ กัน และจะมีผลปรากฏออกมาเป็นลักษณะเฉพาะประจำตัวของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
1.2 นักปรับปรุงพันธุ์อาศัยความเข้าใจในเรื่อง DNA ไปทำการปรับปรุงพันธุ์ โดยยึดหลักการปรับเปลี่ยน DNA ในโครโมโซม จากพันธุ์หนึ่งถ่ายไปยังอีกพันธุ์หนึ่ง ตัวอย่างได้แก่การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่มีทั้งคุณภาพดีและต้านทานโรค รวมไว้ในพันธุ์เดียวกัน วิธีการเช่นนี้เป็นการปรับปรุงพันธุ์แบบมาตรฐาน (Conventional Breeding) ซึ่งยังใช้ได้ดี 1.3 เมื่อประชากรและความต้องการอาหารของโลกเพิ่มมากขึ้น จึงมีการพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ให้มีความสามารถในการให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี มีความต้านทานโรคแมลงมากขึ้น นักปรับปรุงพันธุ์เห็นว่า น่าจะลองใช้ DNA จากต่างชนิดพันธุ์กันเช่น DNA จากบักเตรีเติมเข้าในโครโมโซมพืชชั้นสูง เป็นต้น
1.4 การนำ DNA จากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งหรือ DNA ที่ทำขึ้นใหม่เข้ารวม หรือร่วมอย่างถาวรกับ DNA ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง แล้วทำให้เกิดลักษณะประจำตัวใหม่ที่ไม่เคยปรากฏในธรรมชาติเรียกว่า "การตัดต่อสารพันธุกรรม" (Genetic Engineering) พืช สัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตที่ได้นั้นเรียก "GMOs" (Genetically Modified Organisms) หรือ "LMOs" (Living Modified Organisms) ตัวอย่างที่ได้ทำสำเร็จแล้ว เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืชให้ต้านทานโรคแมลงในฝ้าย ข้าวโพด และมันฝรั่ง โดยใช้ DNA จากบักเตรี Bacillus Thuringiensis การพัฒนาพันธุ์มะเขือเทศที่สุกงอมช้าเก็บไว้ได้นาน และการพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ให้สามารถกำจัดคราบน้ำมัน เป็นต้น
2. ประโยชน์และความเสี่ยงของ GMOs หรือ LMOs
อาจมีผลกระทบต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ถ้าถ่ายสารพันธุกรรมจากจุลินทรีย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อสาเหตุโรคเข้าในพืชหรือสัตว์ จะมีความเสี่ยงสูงมาก
2.2 การถ่าย DNA ก็ต้องถ่ายผู้ช่วยเข้าไปด้วย แม้ตัว DNA หลักจะปลอดภัย แต่อาจมีปัญหากับ DNA ผู้ช่วยได้
3. GMOs หรือ LMOs ในประเทศไทย
3.1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตรได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้พืช GMOs จำนวน 40 รายการ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง มันฝรั่ง หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำดอก คึ่นช่าย แตงกวา มะเขือยาว ผักกาดหอม แตงไทย ถั่วลันเตา ยาสูบ มะเขือเทศ แอปเปิ้ล มะละกอ เป็นต้น จากทุกแหล่ง(ยกเว้นอาหารสำเร็จรูป) เป็นสิ่งต้องห้ามในการนำเข้าสู่ประเทศไทย ยกเว้นการนำเข้ามาเพื่อการทดลองวิจัยเท่านั้น
3.2 หลังจากออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้พืช GMOs เป็นสิ่งต้องห้าม ได้มีผู้ขออนุญาตนำเข้ามาทดลองและทดสอบ 8 รายการ เช่น ฝ้าย มะเขือเทศ ข้าวโพด ซึ่งทั้งหมดที่อนุญาตยังอยู่ระหว่างการทดสอบและทดลองที่กรมวิชาการเกษตร โดยมีการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด
3.3 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพด้านการเกษตร ตามเงื่อนไขท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามข้อ 3.1 เมื่อปี พ.ศ. 2538 ทั้งนี้ ภายใต้คณะกรรมการดังกล่าว มีคณะทำงานตรวจสอบความปลอดภัยทางชีวภาพภาคสนามในพืขแต่ละชนิดที่อนุญาตให้นำเข้า
3.4 สถานภาพของพืช GMOs ของประเทศไทยในขณะนี้ยังไม่มีการอนุญาตให้นำไปปลูกในพื้นที่การเกษตรใด ๆ ทั้งสิ้น
4. บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพของ GMOs หรือ LMOs
4.1 ในระดับนานาชาติมีหลายหน่วยงาน เช่น Food and Agriculture Organization of the United Nations(FAO) และ United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) ได้จัดทำกฎระเบียบและแนวปฏิบัติขึ้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือชาติต่าง ๆ ที่ยังไม่พร้อมที่จะดำเนินการเองได้
4.2 ในประเทศไทยมีหน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตร และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีแห่งชาติ โดยคณะกรรมการกลางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (National Biosafety Committee - NBC)ดำเนินการควบคุมกำกับดูแลงานวิจัยและพัฒนาด้านนี้
4.3 หน่วยงานวิจัยและพัฒนาของข้าราชการและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้ทยอยตั้งคณะกรรมการภายในสถาบันขึ้นเพื่อรับผิดชอบเรื่องนี้เกือบทุกแห่ง
5. แผนการในอนาคตกับ GMOs ในประเทศไทย
5.1 การศึกษาวิจัยและวิเคราะห์เกี่ยวกับ GMOs หรือ LMOs และการออกใบรับรอง (Certified) การปลอด GMOs เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งในขณะนี้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความสามารถในการตรวจวิเคราะห์พิสูจน์ทราบการมีหรือไม่มี GMOs ในพืชและผลิตภัณฑ์ของพืชเศรษฐกิจหลัก และมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มขีดความสามารถให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2 ปี ประเทศไทยจึงจะมีความพร้อมในเรื่องนี้ ทั้งนี้ หากได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างเพียงพอ
5.2 มีการใช้เงื่อนไขความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้า บางประเทศปฏิเสธผลิตภัณฑ์ที่มาจาก GMOs และหลายประเทศขอให้ติดฉลากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่ามาจาก GMOs หรือปลอด GMOs
5.3 การกำหนดนโยบายและท่าทีของประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตรเป็นสิ่งสำคัญ เพราะแนวคิดการแบ่งเขตปลอด GMOs เขต GMOs และเขตเกษตรอินทรีย์อย่างชัดเจน จะทำให้การส่งออกสินค้าเกษตรมีความคล่องตัวอยู่ตลอดเวลา
5.4 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะให้การสนับสนุนในการศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาพันธุ์พืชและลดการใช้สารเคมีภายใต้การเข้มงวดกวดขันในการตรวจและทดสอบ ควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลเสียแก่ความหลากหลายทางชีวภาพ สุขภาพคน สัตว์ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ตุลาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานภาพของสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการตัดต่อสารพันธุกรรม (GMOs หรือ LMOs) ของประเทศไทย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ความเป็นมาของ GMOs หรือ LMOs
1.1 สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีหน่วยพันธุกรรมที่เรียกว่า DNA (Deoxyribonucleic acid) เป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะประจำตัว DNA เป็นสารเคมีมีลักษณะเกาะตัวกันเป็นเส้นสายเรียกว่า โครโมโซม (Chromosome) บรรจุอยู่ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตซึ่งมีการเรียงตัวต่าง ๆ กัน และจะมีผลปรากฏออกมาเป็นลักษณะเฉพาะประจำตัวของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
1.2 นักปรับปรุงพันธุ์อาศัยความเข้าใจในเรื่อง DNA ไปทำการปรับปรุงพันธุ์ โดยยึดหลักการปรับเปลี่ยน DNA ในโครโมโซม จากพันธุ์หนึ่งถ่ายไปยังอีกพันธุ์หนึ่ง ตัวอย่างได้แก่การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่มีทั้งคุณภาพดีและต้านทานโรค รวมไว้ในพันธุ์เดียวกัน วิธีการเช่นนี้เป็นการปรับปรุงพันธุ์แบบมาตรฐาน (Conventional Breeding) ซึ่งยังใช้ได้ดี 1.3 เมื่อประชากรและความต้องการอาหารของโลกเพิ่มมากขึ้น จึงมีการพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ให้มีความสามารถในการให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี มีความต้านทานโรคแมลงมากขึ้น นักปรับปรุงพันธุ์เห็นว่า น่าจะลองใช้ DNA จากต่างชนิดพันธุ์กันเช่น DNA จากบักเตรีเติมเข้าในโครโมโซมพืชชั้นสูง เป็นต้น
1.4 การนำ DNA จากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งหรือ DNA ที่ทำขึ้นใหม่เข้ารวม หรือร่วมอย่างถาวรกับ DNA ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง แล้วทำให้เกิดลักษณะประจำตัวใหม่ที่ไม่เคยปรากฏในธรรมชาติเรียกว่า "การตัดต่อสารพันธุกรรม" (Genetic Engineering) พืช สัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตที่ได้นั้นเรียก "GMOs" (Genetically Modified Organisms) หรือ "LMOs" (Living Modified Organisms) ตัวอย่างที่ได้ทำสำเร็จแล้ว เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืชให้ต้านทานโรคแมลงในฝ้าย ข้าวโพด และมันฝรั่ง โดยใช้ DNA จากบักเตรี Bacillus Thuringiensis การพัฒนาพันธุ์มะเขือเทศที่สุกงอมช้าเก็บไว้ได้นาน และการพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ให้สามารถกำจัดคราบน้ำมัน เป็นต้น
2. ประโยชน์และความเสี่ยงของ GMOs หรือ LMOs
อาจมีผลกระทบต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ถ้าถ่ายสารพันธุกรรมจากจุลินทรีย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อสาเหตุโรคเข้าในพืชหรือสัตว์ จะมีความเสี่ยงสูงมาก
2.2 การถ่าย DNA ก็ต้องถ่ายผู้ช่วยเข้าไปด้วย แม้ตัว DNA หลักจะปลอดภัย แต่อาจมีปัญหากับ DNA ผู้ช่วยได้
3. GMOs หรือ LMOs ในประเทศไทย
3.1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตรได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้พืช GMOs จำนวน 40 รายการ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง มันฝรั่ง หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำดอก คึ่นช่าย แตงกวา มะเขือยาว ผักกาดหอม แตงไทย ถั่วลันเตา ยาสูบ มะเขือเทศ แอปเปิ้ล มะละกอ เป็นต้น จากทุกแหล่ง(ยกเว้นอาหารสำเร็จรูป) เป็นสิ่งต้องห้ามในการนำเข้าสู่ประเทศไทย ยกเว้นการนำเข้ามาเพื่อการทดลองวิจัยเท่านั้น
3.2 หลังจากออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้พืช GMOs เป็นสิ่งต้องห้าม ได้มีผู้ขออนุญาตนำเข้ามาทดลองและทดสอบ 8 รายการ เช่น ฝ้าย มะเขือเทศ ข้าวโพด ซึ่งทั้งหมดที่อนุญาตยังอยู่ระหว่างการทดสอบและทดลองที่กรมวิชาการเกษตร โดยมีการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด
3.3 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพด้านการเกษตร ตามเงื่อนไขท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามข้อ 3.1 เมื่อปี พ.ศ. 2538 ทั้งนี้ ภายใต้คณะกรรมการดังกล่าว มีคณะทำงานตรวจสอบความปลอดภัยทางชีวภาพภาคสนามในพืขแต่ละชนิดที่อนุญาตให้นำเข้า
3.4 สถานภาพของพืช GMOs ของประเทศไทยในขณะนี้ยังไม่มีการอนุญาตให้นำไปปลูกในพื้นที่การเกษตรใด ๆ ทั้งสิ้น
4. บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพของ GMOs หรือ LMOs
4.1 ในระดับนานาชาติมีหลายหน่วยงาน เช่น Food and Agriculture Organization of the United Nations(FAO) และ United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) ได้จัดทำกฎระเบียบและแนวปฏิบัติขึ้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือชาติต่าง ๆ ที่ยังไม่พร้อมที่จะดำเนินการเองได้
4.2 ในประเทศไทยมีหน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตร และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีแห่งชาติ โดยคณะกรรมการกลางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (National Biosafety Committee - NBC)ดำเนินการควบคุมกำกับดูแลงานวิจัยและพัฒนาด้านนี้
4.3 หน่วยงานวิจัยและพัฒนาของข้าราชการและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้ทยอยตั้งคณะกรรมการภายในสถาบันขึ้นเพื่อรับผิดชอบเรื่องนี้เกือบทุกแห่ง
5. แผนการในอนาคตกับ GMOs ในประเทศไทย
5.1 การศึกษาวิจัยและวิเคราะห์เกี่ยวกับ GMOs หรือ LMOs และการออกใบรับรอง (Certified) การปลอด GMOs เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งในขณะนี้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความสามารถในการตรวจวิเคราะห์พิสูจน์ทราบการมีหรือไม่มี GMOs ในพืชและผลิตภัณฑ์ของพืชเศรษฐกิจหลัก และมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มขีดความสามารถให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2 ปี ประเทศไทยจึงจะมีความพร้อมในเรื่องนี้ ทั้งนี้ หากได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างเพียงพอ
5.2 มีการใช้เงื่อนไขความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้า บางประเทศปฏิเสธผลิตภัณฑ์ที่มาจาก GMOs และหลายประเทศขอให้ติดฉลากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่ามาจาก GMOs หรือปลอด GMOs
5.3 การกำหนดนโยบายและท่าทีของประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตรเป็นสิ่งสำคัญ เพราะแนวคิดการแบ่งเขตปลอด GMOs เขต GMOs และเขตเกษตรอินทรีย์อย่างชัดเจน จะทำให้การส่งออกสินค้าเกษตรมีความคล่องตัวอยู่ตลอดเวลา
5.4 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะให้การสนับสนุนในการศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาพันธุ์พืชและลดการใช้สารเคมีภายใต้การเข้มงวดกวดขันในการตรวจและทดสอบ ควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลเสียแก่ความหลากหลายทางชีวภาพ สุขภาพคน สัตว์ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ตุลาคม 2542--