คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการจัดงานปีสากลแห่งการกีฬาและการพลศึกษาตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอแล้วอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 (ฝ่ายการต่างประเทศ วัฒนธรรม ท่องเที่ยว และกีฬา) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธาน ที่เห็นชอบหลักการโครงการ จัดงานปีสากลแห่งการกีฬาและการพลศึกษาตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ สำหรับงบประมาณดำเนินการและแผนกิจกรรม ให้นำไปบูรณาการพร้อมกับยุทธศาสตร์ 4 ปีสร้างกีฬาชาติ (พ.ศ.2548 — 2551) ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุขไปพิจารณาดำเนินการด้วย
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รายงานว่า
1. องค์การยูเนสโกได้จัดประชุมนานาชาติระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสที่รับผิดชอบด้านการพลศึกษาและการกีฬา ครั้งที่ 3 (MINEPS III) ประเทศอุรุกวัยเมื่อปี 2542 ที่เมือง Punta Del Este ประเทศอุรุกวัย การประชุมครั้งนี้นำไปสู่การประกาศปฏิญญา Punta Del Este รวมถึงข้อแนะนำจากที่ประชุมที่ได้ให้ความสำคัญต่อการกีฬาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนทางสังคม ต่อมาในปีเดียวกันได้มีการประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านการกีฬาและการพลศึกษา ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก การประชุมดังกล่าวได้เห็นชอบในบัญญัติที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1.1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการศึกษาด้านการกีฬาและการพลศึกษา เพื่อตอบสนองและแก้ไขปัญหาและภาวะวิกฤติภัยคุกคามการก่อการร้ายที่แพร่ขยายทั่วโลก โดยให้รัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาตินำเอาจุดเด่นและคุณค่าของการกีฬาและการพลศึกษามาปรับปรุงพัฒนาและสร้างประชากรของโลกที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นให้ดำรงชีวิตร่วมกันอย่างสันติ
1.2 การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าทางจริยธรรมให้เชื่อมโยงกับความจำเป็นของอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในนักกีฬา
1.3 การประกาศให้ปี ค.ศ.2005 (2548) เป็นปีสากลแห่งการกีฬาและการพลศึกษา
นอกจากนี้ที่ประชุมยูเนสโกเสนอปฏิญญาฉบับนี้ไปยังเลขาธิการองค์การสหประชาชาติเพื่อบรรจุไว้ในขอบข่ายงานปีสากลเพื่อสันติวัฒนธรรม ปี ค.ศ.2000 (พ.ศ.2543) และทศวรรษสากลเพื่อสันติวัฒนธรรมและการไม่ใช้ ความรุนแรงแก่เด็กของโลกปี ค.ศ.2001 — 2010 (พ.ศ.2544 — 2553) ด้วย
2. ประเทศไทยในฐานะภาคีสมาชิกด้านการกีฬาและการพลศึกษา ได้ให้ความสำคัญต่อการกีฬาและการพลศึกษาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนทางสังคม ประกอบกับในปี พ.ศ.2547 ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 28 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ จำนวน 42 คน ได้รับเหรียญรางวัลเป็นอันดับที่ 25 ของประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 202 ประเทศ และเป็นอันดับที่ 4 ของทวีปเอเชีย รองจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ทำให้ชื่อเสียงของประเทศไทยกระจายไปยังชาวโลก ทำให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของการกีฬาและการพลศึกษาที่มีต่อประเทศชาติ หากมีการดำเนินกิจกรรมทางด้านการกีฬาและพลศึกษาของประเทศอย่างต่อเนื่อง ย่อมส่งผลต่อการปลูกฝังให้เด็ก เยาวชน และประชาชน นำกีฬาและการออกกำลังกายมาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจึงเห็นควรประกาศให้ปีพุทธศักราช 2548 (มกราคม — ธันวาคม 2548) เป็นปีสากลแห่งการกีฬาและการพลศึกษา ตามคำขวัญว่า “การกีฬาและการพลศึกษา เสริมสร้างสุขภาพกาย พัฒนาจิต ยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตและสังคม” โดยมีเป้าหมายให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้เข้าร่วมกิจกรรมการกีฬาและการพลศึกษา จำนวนอย่างน้อยร้อยละ 60 ของประชาชนทั้งประเทศ ขอรับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล จำนวน 300,000,000 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รายงานว่า
1. องค์การยูเนสโกได้จัดประชุมนานาชาติระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสที่รับผิดชอบด้านการพลศึกษาและการกีฬา ครั้งที่ 3 (MINEPS III) ประเทศอุรุกวัยเมื่อปี 2542 ที่เมือง Punta Del Este ประเทศอุรุกวัย การประชุมครั้งนี้นำไปสู่การประกาศปฏิญญา Punta Del Este รวมถึงข้อแนะนำจากที่ประชุมที่ได้ให้ความสำคัญต่อการกีฬาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนทางสังคม ต่อมาในปีเดียวกันได้มีการประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านการกีฬาและการพลศึกษา ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก การประชุมดังกล่าวได้เห็นชอบในบัญญัติที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1.1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการศึกษาด้านการกีฬาและการพลศึกษา เพื่อตอบสนองและแก้ไขปัญหาและภาวะวิกฤติภัยคุกคามการก่อการร้ายที่แพร่ขยายทั่วโลก โดยให้รัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาตินำเอาจุดเด่นและคุณค่าของการกีฬาและการพลศึกษามาปรับปรุงพัฒนาและสร้างประชากรของโลกที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นให้ดำรงชีวิตร่วมกันอย่างสันติ
1.2 การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าทางจริยธรรมให้เชื่อมโยงกับความจำเป็นของอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในนักกีฬา
1.3 การประกาศให้ปี ค.ศ.2005 (2548) เป็นปีสากลแห่งการกีฬาและการพลศึกษา
นอกจากนี้ที่ประชุมยูเนสโกเสนอปฏิญญาฉบับนี้ไปยังเลขาธิการองค์การสหประชาชาติเพื่อบรรจุไว้ในขอบข่ายงานปีสากลเพื่อสันติวัฒนธรรม ปี ค.ศ.2000 (พ.ศ.2543) และทศวรรษสากลเพื่อสันติวัฒนธรรมและการไม่ใช้ ความรุนแรงแก่เด็กของโลกปี ค.ศ.2001 — 2010 (พ.ศ.2544 — 2553) ด้วย
2. ประเทศไทยในฐานะภาคีสมาชิกด้านการกีฬาและการพลศึกษา ได้ให้ความสำคัญต่อการกีฬาและการพลศึกษาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนทางสังคม ประกอบกับในปี พ.ศ.2547 ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 28 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ จำนวน 42 คน ได้รับเหรียญรางวัลเป็นอันดับที่ 25 ของประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 202 ประเทศ และเป็นอันดับที่ 4 ของทวีปเอเชีย รองจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ทำให้ชื่อเสียงของประเทศไทยกระจายไปยังชาวโลก ทำให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของการกีฬาและการพลศึกษาที่มีต่อประเทศชาติ หากมีการดำเนินกิจกรรมทางด้านการกีฬาและพลศึกษาของประเทศอย่างต่อเนื่อง ย่อมส่งผลต่อการปลูกฝังให้เด็ก เยาวชน และประชาชน นำกีฬาและการออกกำลังกายมาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจึงเห็นควรประกาศให้ปีพุทธศักราช 2548 (มกราคม — ธันวาคม 2548) เป็นปีสากลแห่งการกีฬาและการพลศึกษา ตามคำขวัญว่า “การกีฬาและการพลศึกษา เสริมสร้างสุขภาพกาย พัฒนาจิต ยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตและสังคม” โดยมีเป้าหมายให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้เข้าร่วมกิจกรรมการกีฬาและการพลศึกษา จำนวนอย่างน้อยร้อยละ 60 ของประชาชนทั้งประเทศ ขอรับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล จำนวน 300,000,000 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--