ทำเนียบรัฐบาล--31 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบการรายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ระหว่างเดือนตุลาคม 2539 - กันยายน 2540 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าของเรื่องรับไปหารือกระทรวงมหาดไทย ทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ ในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในด้านต่าง ๆ และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ แบ่งเป็น 3 แผนงานรอง คือ
1.1 แผนงานรองพัฒนาศักยภาพคน ครอบครัว และชุมชน ประกอบด้วย
- โครงการเสริมสร้างสมรรถนะชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
- โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
1.2 แผนงานรองบริการสังคมและสังคมจิตวิทยา ประกอบด้วย
- งานจัดสวัสดิการและสงเคราะห์ผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาเอดส์
- โครงการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของผู้ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว
- โครงการคุ้มครองสิทธิประชาชนเกี่ยวกับโรคเอดส์
1.3 แผนงานรองบริหารจัดการ
- งานประสานนโยบายและแผนเอดส์
2. แผนงานป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ แบ่งเป็น 2 แผนงานรอง คือ
2.1 แผนงานรองส่งเสริมสุขภาพและบริการทางการแพทย์ ประกอบด้วย
- งานส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเอดส์
- งานบริการรักษาพยาบาลโรคเอดส์
- งานสนับสนุนการบริการรักษาพยาบาลโรคเอดส์
- งานบริการคำปรึกษา
- โครงการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยโรคเอดส์
2.2 แผนงานรองพัฒนาภูมิปัญญา ประกอบด้วย
- โครงการพัฒนาภูมิปัญญาและการวิจัยเกี่ยวกับโรคเอดส์
3. ปัญหาและอุปสรรค
หน่วยงานในระดับกระทรวง/ทบวง ซึ่งบางหน่วยงานไม่สามารถดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ได้ตามเป้าหมายเกิดจากปัญหาหลาย ๆ ด้าน ได้แก่
3.1 มีการปรับลดงบประมาณเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และบางหน่วยงานมีความจำเป็นต้องมีการปรับแผนฯ เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ ทำให้ขาดประสิทธิภาพ และไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
3.2 ในด้านงานบริการรักษาพยาบาลโรคเอดส์ สถานบริการรักษาพยาบาลสาธารณสุขของรัฐยังขาดบุคลากรเพื่อดูแลและรักษาพยาบาลผู้ป่วย เช่น โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนของกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลของทบวงมหาวิทยาลัย
3.3 ในด้านการประสานงาน การติดตาม การรายงานผลการปฏิบัติงานเกิดล่าช้า เพราะมีความซับซ้อนในขั้นตอนของระบบการรายงาน มีการประสานงานภายในกระทรวง/ทบวง และการประสานระหว่างกระทรวง/ทบวง มีการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 มีนาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบการรายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ระหว่างเดือนตุลาคม 2539 - กันยายน 2540 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าของเรื่องรับไปหารือกระทรวงมหาดไทย ทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ ในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในด้านต่าง ๆ และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ แบ่งเป็น 3 แผนงานรอง คือ
1.1 แผนงานรองพัฒนาศักยภาพคน ครอบครัว และชุมชน ประกอบด้วย
- โครงการเสริมสร้างสมรรถนะชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
- โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
1.2 แผนงานรองบริการสังคมและสังคมจิตวิทยา ประกอบด้วย
- งานจัดสวัสดิการและสงเคราะห์ผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาเอดส์
- โครงการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของผู้ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว
- โครงการคุ้มครองสิทธิประชาชนเกี่ยวกับโรคเอดส์
1.3 แผนงานรองบริหารจัดการ
- งานประสานนโยบายและแผนเอดส์
2. แผนงานป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ แบ่งเป็น 2 แผนงานรอง คือ
2.1 แผนงานรองส่งเสริมสุขภาพและบริการทางการแพทย์ ประกอบด้วย
- งานส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเอดส์
- งานบริการรักษาพยาบาลโรคเอดส์
- งานสนับสนุนการบริการรักษาพยาบาลโรคเอดส์
- งานบริการคำปรึกษา
- โครงการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยโรคเอดส์
2.2 แผนงานรองพัฒนาภูมิปัญญา ประกอบด้วย
- โครงการพัฒนาภูมิปัญญาและการวิจัยเกี่ยวกับโรคเอดส์
3. ปัญหาและอุปสรรค
หน่วยงานในระดับกระทรวง/ทบวง ซึ่งบางหน่วยงานไม่สามารถดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ได้ตามเป้าหมายเกิดจากปัญหาหลาย ๆ ด้าน ได้แก่
3.1 มีการปรับลดงบประมาณเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และบางหน่วยงานมีความจำเป็นต้องมีการปรับแผนฯ เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ ทำให้ขาดประสิทธิภาพ และไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
3.2 ในด้านงานบริการรักษาพยาบาลโรคเอดส์ สถานบริการรักษาพยาบาลสาธารณสุขของรัฐยังขาดบุคลากรเพื่อดูแลและรักษาพยาบาลผู้ป่วย เช่น โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนของกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลของทบวงมหาวิทยาลัย
3.3 ในด้านการประสานงาน การติดตาม การรายงานผลการปฏิบัติงานเกิดล่าช้า เพราะมีความซับซ้อนในขั้นตอนของระบบการรายงาน มีการประสานงานภายในกระทรวง/ทบวง และการประสานระหว่างกระทรวง/ทบวง มีการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 มีนาคม 2541--