ทำเนียบรัฐบาล--10 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การให้สัตยาบันกรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว ทั้งนี้ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 14 - 15 ธันวาคม 2538 และปฏิญญาสุดยอดกรุงเทพ 2538 ได้ระบุให้อาเซียนเริ่มดำเนินการเจรจาตามกรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services : AFAS)ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2541 แต่ตามถ้อยแถลงผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้เสนอเร่งรัดให้มีการเจรจาดังกล่าวในบางสาขาบริการที่อาเซียนมีความพร้อมเสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายน 2540 นั้น เพื่อให้การดำเนินการตาม AFAS บรรลุผล จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานด้านบริการของอาเซียน (ASEAN Coordination Committee on Services : ACCS) เพื่อดำเนินการประชุมเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในการประชุม ACCS ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 22 - 24 เมษายน 2540 ที่ประชุมมีมติให้สรุปผลการเจรจาบางสาขาให้เสร็จสิ้นในช่วงการประชุม ACCS ครั้งที่ 10 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 17 - 19 มิถุนายน 2540 ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้นำประเทศสมาชิก
ทั้งนี้ ภายหลังเสร็จสิ้นการเจรจาในช่วงแรก จะมีการร่างพิธีสาร (Protocol) ที่มีตารางข้อผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการในสาขาต่าง ๆ ของประเทศสมาชิกผนวกท้าย และประเทศสมาชิกจะต้องดำเนินการให้สัตยาบันเพื่อให้ข้อผูกพันที่ผนวกท้ายพิธีสาร มีผลผูกพันประเทศสมาชิกอย่างช้าภายในวันที่ 31 มีนาคม 2541 แต่โดยที่การเจรจาจัดทำข้อผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการสาขาต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิกเป็นการเจรจาภายใต้ AFAS ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีผลใช้บังคับ แม้จะมีการลงนามยอมรับความตกลงแล้วก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจากบทบัญญัติใน Article XIV วรรค 3 ของ AFAS ระบุว่า AFAS จะมีผลใช้บังคับต่อเมื่อประเทศสมาชิกที่ลงนามได้ยื่นสัตยาบันสารหรือสารให้การยอมรับ AFAS ครบทุกประเทศ แต่จนถึงปัจจุบันมีเพียง 4 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ที่ได้ยื่นสัตยาบันสาร ที่ประชุมจึงขอให้ประเทศสมาชิกที่ยังไม่ได้ยื่นสัตยาบันสาร เร่งดำเนินการเพื่อให้ AFAS มีผลใช้บังคับโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 10 มิถุนายน 2540--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การให้สัตยาบันกรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว ทั้งนี้ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 14 - 15 ธันวาคม 2538 และปฏิญญาสุดยอดกรุงเทพ 2538 ได้ระบุให้อาเซียนเริ่มดำเนินการเจรจาตามกรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services : AFAS)ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2541 แต่ตามถ้อยแถลงผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้เสนอเร่งรัดให้มีการเจรจาดังกล่าวในบางสาขาบริการที่อาเซียนมีความพร้อมเสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายน 2540 นั้น เพื่อให้การดำเนินการตาม AFAS บรรลุผล จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานด้านบริการของอาเซียน (ASEAN Coordination Committee on Services : ACCS) เพื่อดำเนินการประชุมเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในการประชุม ACCS ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 22 - 24 เมษายน 2540 ที่ประชุมมีมติให้สรุปผลการเจรจาบางสาขาให้เสร็จสิ้นในช่วงการประชุม ACCS ครั้งที่ 10 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 17 - 19 มิถุนายน 2540 ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้นำประเทศสมาชิก
ทั้งนี้ ภายหลังเสร็จสิ้นการเจรจาในช่วงแรก จะมีการร่างพิธีสาร (Protocol) ที่มีตารางข้อผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการในสาขาต่าง ๆ ของประเทศสมาชิกผนวกท้าย และประเทศสมาชิกจะต้องดำเนินการให้สัตยาบันเพื่อให้ข้อผูกพันที่ผนวกท้ายพิธีสาร มีผลผูกพันประเทศสมาชิกอย่างช้าภายในวันที่ 31 มีนาคม 2541 แต่โดยที่การเจรจาจัดทำข้อผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการสาขาต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิกเป็นการเจรจาภายใต้ AFAS ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีผลใช้บังคับ แม้จะมีการลงนามยอมรับความตกลงแล้วก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจากบทบัญญัติใน Article XIV วรรค 3 ของ AFAS ระบุว่า AFAS จะมีผลใช้บังคับต่อเมื่อประเทศสมาชิกที่ลงนามได้ยื่นสัตยาบันสารหรือสารให้การยอมรับ AFAS ครบทุกประเทศ แต่จนถึงปัจจุบันมีเพียง 4 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ที่ได้ยื่นสัตยาบันสาร ที่ประชุมจึงขอให้ประเทศสมาชิกที่ยังไม่ได้ยื่นสัตยาบันสาร เร่งดำเนินการเพื่อให้ AFAS มีผลใช้บังคับโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 10 มิถุนายน 2540--