ทำเนียบรัฐบาล--27 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบใน หลักการตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้กระทรวงคม นาคมดำเนินโครงการท่าเรือ และโรงพักสินค้าเพื่อตรวจปล่อยของขาเข้าและบรรจุของขาออกที่ขนส่ง โดยตู้สินค้านอกเขตทำเนียบท่าเรือ (ICD) ริมน้ำที่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำ บางปะกง และชายฝั่งทะเล โดยส่งเสริมให้เอกชนมาลงทุน ก่อสร้างท่าเรือและ ICD ริมน้ำ หรือหาก เอกชนไม่สนใจเข้ามาลงทุน ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินโครงการท่าเรือ ICD ริมน้ำ และ โครงสร้างพื้นฐานพร้อมสาธารณูปโภคไว้บริการด้วย ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรม การพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ในหลักการด้วยแล้วทั้งนี้ เนื่อง จากปัจจุบันปริมาณสินค้าเข้าออกผ่านท่าเรือกรุงเทพยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีถึงแม้รัฐบาลได้มีนโยบายที่ ให้จำกัดปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพได้ปีละ 1 ล้านทีอียู ในปี 2539 และค่อย ๆ ลดลงนั้นแต่ จากสภาพความเป็นจริง ปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าเรือคาดว่าปีหน้าจะมีประมาณ 2.3 ล้านทีอียู ขณะที่ ขีดความสามารถของท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบังสามารถรับตู้สินค้าได้เต็มที่ประมาณ 7 แสนทีอียู และการก่อ สร้างท่าเทียบเรือเพิ่มขึ้นคาดว่าจะไม่แล้วเสร็จทันปริมาณสินค้าที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับปริ มาณตู้สินค้าที่เพิ่มขึ้น และลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจการส่งเสริมการขนส่งตู้สินค้าด้วยเรือลำเลียง โดยให้มีท่าเรือและ ICD ริมน้ำ เป็นรูปแบบการขนส่งอีกแบบหนึ่งที่ควรได้รับการพิจารณาส่งเสริม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 26 พฤศจิกายน 2538--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบใน หลักการตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้กระทรวงคม นาคมดำเนินโครงการท่าเรือ และโรงพักสินค้าเพื่อตรวจปล่อยของขาเข้าและบรรจุของขาออกที่ขนส่ง โดยตู้สินค้านอกเขตทำเนียบท่าเรือ (ICD) ริมน้ำที่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำ บางปะกง และชายฝั่งทะเล โดยส่งเสริมให้เอกชนมาลงทุน ก่อสร้างท่าเรือและ ICD ริมน้ำ หรือหาก เอกชนไม่สนใจเข้ามาลงทุน ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินโครงการท่าเรือ ICD ริมน้ำ และ โครงสร้างพื้นฐานพร้อมสาธารณูปโภคไว้บริการด้วย ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรม การพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ในหลักการด้วยแล้วทั้งนี้ เนื่อง จากปัจจุบันปริมาณสินค้าเข้าออกผ่านท่าเรือกรุงเทพยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีถึงแม้รัฐบาลได้มีนโยบายที่ ให้จำกัดปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพได้ปีละ 1 ล้านทีอียู ในปี 2539 และค่อย ๆ ลดลงนั้นแต่ จากสภาพความเป็นจริง ปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าเรือคาดว่าปีหน้าจะมีประมาณ 2.3 ล้านทีอียู ขณะที่ ขีดความสามารถของท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบังสามารถรับตู้สินค้าได้เต็มที่ประมาณ 7 แสนทีอียู และการก่อ สร้างท่าเทียบเรือเพิ่มขึ้นคาดว่าจะไม่แล้วเสร็จทันปริมาณสินค้าที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับปริ มาณตู้สินค้าที่เพิ่มขึ้น และลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจการส่งเสริมการขนส่งตู้สินค้าด้วยเรือลำเลียง โดยให้มีท่าเรือและ ICD ริมน้ำ เป็นรูปแบบการขนส่งอีกแบบหนึ่งที่ควรได้รับการพิจารณาส่งเสริม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 26 พฤศจิกายน 2538--